หุ้นกลุ่มชิน คอร์ป ยังจูงกันร่วงต่อเป็นวันที่ 2 “เอไอเอส”หนักสุด 2 วัน 5.75 บาท วอลุ่มขายทะลัก ด้านสถาบันวิจัยนครหลวงไทย คาด ตลาดหุ้นไทยระยะสั้นโอกาสปรับตัวเพิ่มขึ้น หลังปัจจัยกดดันจากต่างประเทศมีทิศทางดีขึ้น รวมทั้งกำไรรวมบจ.ปี52เติบโต45% เป็น 4.46 แสนล้านบาทจากปีก่อน ต่างชาติกลับซื้อสุทธิ และสถาบันเพิ่มพอร์ตลงทุน แนะนำเพิ่มน้ำหนักลงทุนหุ้นมีนาคมนี้เป็น 50% พร้อมให้แนะจับตาการเมืองเสี่ยงแตกหัก "แดงนรก" โชว์ชุมนุมย่อยเขย่าขวัญ โบรกชี้ มีโอกาสเกิดความรุนแรง 66%
ดัชนีตลาดหุ้นไทย วานนี้(3มี.ค.) ปิดที่ระดับ 735.04 จุด เพิ่มขึ้น 1.85 จุด หรือ 0.25% มูลค่าการซื้อขาย 23,626.51 ล้านบาท เป็นการปรับตัวคล้ายตลาดภูมิภาคที่ส่วนใหญ่แกว่งแคบสลับบวก-ลบ เหตุไร้ปัจจัยหนุน อย่างไรก็ตาม หุ้นในกลุ่มชินคอร์ป ทุกตัว ยังเคลื่อนไหวในแดนลบ จากความกังวลของนักลงทุนในเรื่องผลกระทบหลังศาลฯพิพากษา คดียึดทรัพย์อดีตนายกรัฐมนตรี ที่อาจมีผลต่อการดำเนินธุรกิจของบริษัท
โดยข้อมูลจากตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย (ตลท.) พบว่า หุ้นของ บมจ.แอดวานซ์ อินโฟร์ เซอร์วิส (ADVANC) ปรับลดลงสูงสุด โดยปิดที่ 82.25 บาท ลดลง 2.00 บาท หรือ 2.34% มูลค่าการซื้อขาย 1,286.65 ล้านบาท รวม 2วัน(2 -3 มี.ค.)ที่ผ่านมาลดลง 5.75 บาท หรือ6.53% จากราคา 88.00 บาท ถัดมา บมจ. ไทยคม (THCOM) ปิดที่ 4.74 บาทลดลง 0.66บาท หรือ12.72% มูลค่าซื้อขาย 160.50 ล้านบาท รวม 2 วันลดลง 1.31 บาท หรือ 21.65% บมจ.ชิน คอร์ปอเรชั่น (SHIN) ปิดที่ 27.00 บาท ลดลง 1.00 บาท หรือ 3.57% มูลค่าซื้อขาย 48.82ล้านบาท รวม 2 วันลดลง 2.00 บาท หรือ 6.89% , บมจ. ซีเอส ล็อกซอินโฟ (CSL) ปิดที่3.22 บาท ลดลง 0.04 บาท หรือ 1.23% มูลค่าซื้อขาย 12.53 ล้านบาท รวม 2 วันลดลง 0.06 บาท หรือ 1.82% ส่วนหุ้น บมจ.เอสซีแอสเสท (SC) ปิดที่ 11.10 บาท -0.10 บาทหรือ 0.89 % มูลค่าซื้อขาย 13.74 ล้านบาท รวม 2 วันลดลง 0.40 บาท หรือ 3.47%
นายสุกิจ อุดมศิริกุล ผู้ช่วยกรรมการผุ้จัดการอาวุโส สถาบันวิจัยนครหลวงไทย เปิดเผยว่า ปัจจัยทางการเมืองมีแนวโน้มที่จะเกิดความรุนแรงต่อเนื่องตลาดทั้งเดือนมีนาคมนี้ โดยจุดสูงสุดของเหตุการณ์จะอยู่ในช่วงวันที่ 11-16 มีนาคมนี้ ซึ่งเป็นช่วงที่กลุ่มเสื้อแดงมีการนัดชุมนุม ซึ่งทางสถาบันฯได้มีการประเมินสถานการณ์ในเชิงเศรษฐศาสตร์พบว่าการชุมนุมในวันดังกล่าวมีโอกาสที่จะเกิดความรุนแรงถึง 66% จากการตั้งสมมุติฐาน3 กรณี คือ 1 .เสื้อแดงมีการชุมนุมปกติ 33% 2.การชุมนุมครั้งนี้จะเหมือนกับเหตุการณ์ในช่วงสงกรานต์ปีที่ผ่านมา และ 3. เกิดความรุนแรงสูงจนทหารเข้ามาควบคุมสถานการณ์ 33%
ทั้งนี้เชื่อว่าความรุนแรงทางการเมืองในเดือนมีนาคมนี้ จะไม่ส่งผลกระทบต่อเสถียรภาพของรัฐบาล และเชื่อว่ามีความเป็นไปได้ในระดับต่ำที่กองทัพจะออกมาทำการแทรกแซงทางการเมือง แต่หากเกิดความรุนแรงทางการเมืองเกิดขึ้น จะกระทบต่อความเชื่อมั่นในการลงทุนภาคเอกชนทำให้การเติบโตของจีดีพีปีนี้ลดลง1% จากเดิมที่คาดว่าจะอยู่ที่ 3-4%
ส่วนที่ช่วงนี้ ดัชนีตลาดหุ้นไทยสามารถปรับตัวเพิ่มขึ้นได้เนื่องจาก ปัจจัยต่างประเทศในเรื่องปัญหาวิกฤตการเงินของกรีซมีความชัดเจนมากขึ้นที่จะได้รับความช่วยเหลือ ทำให้ตลาดมีความมั่นใจว่าเศราฐกิจจะมีการเติบโตได้ ปัญหาภายในประเทศเรื่องมาบตาพุดมีพัฒนาไปในเชิงบวกมากขึ้น ส่วนปัจจัยทางการเมืองยังไม่มีผลกระทบเชิงลบ ขณะที่นักลงทุนต่างประเทศกลับมาซื้อสุทธิ 4,000 ล้านบาทหลังจากที่ในวันที่ 26 กุมภาพันธ์ไม่เกิดความรุนแรง โดยการกลับมาซื้อของนักลงทุนต่างประเทศเป็นลักษณะการเพิ่มพอร์ตการลงทุน ซึ่งจะเป็นลักษณะซื้อเป็นช่วงๆจากประเมินสถานการณ์ไม่ได้เข้าซื้อต่อเนื่อง
อย่างไรก็ตามจากการที่สถานการณ์ภาพรวมในต่างประเทศที่ปรับตัวดีขึ้น และกรณีมาบตาพุดที่มีพัฒนาการที่ดีขึ้นและราคาหุ้นมีการสะท้อนไปแล้ว 17-18 เดือน เหลือเพียงปัจจัยการเมืองเพียงเรื่องเดียว บริษัทจึงได้มีการแนะนำให้มีการเพิ่มพอร์ตการลงทุนในหุ้นเพิ่มขึ้นเป็น 50% จากเดิมที่30% ลักษณะค่อยทยอยซื้อเมื่อราคาปรับตัวลดลง จากเดือนกุมภาพันธ์ที่บริษัทแนะนำให้ถือเงินสดจำนวนมาก เพราะ ผลตอบแทนจากากรลงทุนในหุ้นมากขึ้น เพื่อเทียบกับตลาดพันธบัตรส่งผลให้นักลงทุนสถาบันมีการเพิ่มพอร์ตการลงทุนในหุ้นมากขึ้น
นายสุกิจ กล่าวว่า จากการที่ดัชนีตลาดหุ้นไทยปรับตัวเพิ่มขึ้นอยู่ที่ 730-740 จุด นั้นถือว่าเป็นช่วงที่ตลาดน่าจะทรงตัวแล้วจากที่ปรับตัวเพิ่มขึ้นมา 8% จากจุดต่ำสุด ซึ่งดัชนีมีโอกาสปรับตัวเพิ่มขึ้นได้ในลักษณะค่อยๆปรับตัว เพราะยังมีปัจจัยการเมืองที่คอยกดดันการลงทุนในเดือนนี้ โดยมีโอกาสที่ดัชนีมีปรับตัวลดลงอยู่ที่ 660-670 จุด แต่หากสถานการณ์รุนแรงอาจปรับตัวลดลงอยู่ที่ระดับ 540 จุด แต่เฉลี่ยดัชนีปีนี้ยังอยู่ที่ 700-750 จุด
ภาพรวมบจ.ปีนี้กำไร4.4แสนล้าน
ทั้งนี้ภาพรวมผลประกอบการของบริษัทจดทะเบียนไทยปี2552 จำนวน 495 บริษัท คิดเป็นสัดส่วน 98% ของมูลค่าหลักทรัพย์ตามราคาตลาด (มาร์เกตแคป)พบว่า มีกำไรสุทธิรวม 4.46 แสนล้านบาทเพิ่มขึ้น 45% เทียบกับกำไรสุทธิปี 2551 ที่มี 3.1 แสนล้านบาท ซึ่งกลุ่มที่อัตรากำไรสุทธิปรับตัวเพิ่มขึ้นสูงสุด คือ กลุ่มบริหาร เพิ่มขึ้น 90% กลุ่มทรัพยากรเพิ่มขึ้น 78% กลุ่มเกษตรและอาหารเพิ่มขึ้น 70% กลุ่มอสังหาริทัพย์และก่อสร้างเพิ่มขึ้น 61% เนื่องจากที่ก่อนมีฐานกำไรที่ต่ำ และจากปัจจัยเศรษฐกิจในประเทศที่มีการฟื้นตัว
สำหรับบกำไรบจ.ปี 2553 ทางสถาบันวิจัยนครหลวงไทยที่มีการวิเคราะห์จำนวน 88 บริษัท คาดว่าจะโตขึ้น 5% จากปีก่อนเป็น 3.85 แสนล้านบาท โดยกลุ่มที่มีการเติบโตโดดเด่น คือ กลุ่มทองเที่ยวที่จะปรับตัวเพิ่มขึ้น 170% กลุ่มยานยนต์ปรับตัวเพิ่มขึ้น 49% และกลุ่มพาณิชย์ปรับตัวเพิ่มขึ้น 15% และได้มีการปรับประมารณการกำไรสุทธิต่อหุ้น (EPSปี 2553 เพิ่มขึ้น 12% โดยตั้งแต่ประกาศงบการเงินปี 2552 ในเดือนกุมภาพันธ์นั้น กลุ่มอุตสาหกรรมที่นักวิเคราะห์มีการปรับประมาณการขึ้นสูงสุด 3 อันดับแรก คือ กลุ่มยานยนต์เพิ่มขึ้น 14.8% กลุ่มขนส่ง เพิ่มขึ้น 11% กลุ่มชิ้นส่วนอตุสาหกรรมและเครื่องจักรเพิ่มขึ้น 25.8%
ส่วนกลุ่มที่นักวิเคราะห์ได้มีการปรับประมาณการลงในช่วงเดือนกุมภาพันธ์เทียบเดือนมกราคามีปีนี้ คือ กลุ่มปิโตรเคมี และเคมีภัณฑ์ลดลง 9% กลุ่มพลังงานลดลง 1.6% และกลุ่มเกตรอาหารลดลง 1.4% และกลุ่มอิเล็กทรอนิกส์ลดลง 0.9%
นายอนุพนธ์ ศรีอาจ ผู้อำนวยการฝ่ายวิเคราะห์หลักทรัพย์ บล.บีฟิท กล่าวว่า ตลาดหุ้นไทยวานนี้ยังปรับตัวขึ้นไปได้แต่ไม่มาก ซึ่งอยู่ในทิศทางคล้ายตลาดหุ้นอื่นในภูมิภาคเอเชียที่ส่วนใหญ่จะแกว่งแคบสลับบวก-ลบ เนื่องจากไม่ได้มีปัจจัยบวกอะไรเข้ามา ขณะเดียวกับในประเทศยังยังปรับตัวขึ้นในกรอบที่จำกัดเป็นเพราะนักลงทุนยังไม่มั่นใจทีเดียวกับเหตุการณ์การเมือง เพราะการเรียกชุมนุมของกลุ่มเสื้อแดง หากคนเข้ามาเยอะก็จะสร้างปัญหาได้ ประเมินอย่างระมัดระวังก็มองว่าการลงทุนยังไม่น่าดึงดูด เพราะความเสี่ยงยังมีอยู่ จึงไม่ควรรีบลงทุน และยิ่งใกล้วันนัดชุมนุมฯ เชื่อว่าตลาดฯคงจะซึมลงอีก คนเล่นก็จะระวังมากขึ้น
ดังนั้น แนวโน้มการลงทุนในวันนี้(4 มี.ค.) คาดว่า ตลาดหุ้นไทยคงจะยังแกว่งตัวในกรอบแคบ หากยังไม่มีปัจจัยอะไรเข้ามาใหม่ อย่างไรก็ดีควรจะรอดูทิศทางตลาดยุโรปและตลาดสหรัฐฯประกอบด้วย พร้อมให้แนวรับไว้ที่ 723 จุด แนวต้าน 740 จุด
ดัชนีตลาดหุ้นไทย วานนี้(3มี.ค.) ปิดที่ระดับ 735.04 จุด เพิ่มขึ้น 1.85 จุด หรือ 0.25% มูลค่าการซื้อขาย 23,626.51 ล้านบาท เป็นการปรับตัวคล้ายตลาดภูมิภาคที่ส่วนใหญ่แกว่งแคบสลับบวก-ลบ เหตุไร้ปัจจัยหนุน อย่างไรก็ตาม หุ้นในกลุ่มชินคอร์ป ทุกตัว ยังเคลื่อนไหวในแดนลบ จากความกังวลของนักลงทุนในเรื่องผลกระทบหลังศาลฯพิพากษา คดียึดทรัพย์อดีตนายกรัฐมนตรี ที่อาจมีผลต่อการดำเนินธุรกิจของบริษัท
โดยข้อมูลจากตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย (ตลท.) พบว่า หุ้นของ บมจ.แอดวานซ์ อินโฟร์ เซอร์วิส (ADVANC) ปรับลดลงสูงสุด โดยปิดที่ 82.25 บาท ลดลง 2.00 บาท หรือ 2.34% มูลค่าการซื้อขาย 1,286.65 ล้านบาท รวม 2วัน(2 -3 มี.ค.)ที่ผ่านมาลดลง 5.75 บาท หรือ6.53% จากราคา 88.00 บาท ถัดมา บมจ. ไทยคม (THCOM) ปิดที่ 4.74 บาทลดลง 0.66บาท หรือ12.72% มูลค่าซื้อขาย 160.50 ล้านบาท รวม 2 วันลดลง 1.31 บาท หรือ 21.65% บมจ.ชิน คอร์ปอเรชั่น (SHIN) ปิดที่ 27.00 บาท ลดลง 1.00 บาท หรือ 3.57% มูลค่าซื้อขาย 48.82ล้านบาท รวม 2 วันลดลง 2.00 บาท หรือ 6.89% , บมจ. ซีเอส ล็อกซอินโฟ (CSL) ปิดที่3.22 บาท ลดลง 0.04 บาท หรือ 1.23% มูลค่าซื้อขาย 12.53 ล้านบาท รวม 2 วันลดลง 0.06 บาท หรือ 1.82% ส่วนหุ้น บมจ.เอสซีแอสเสท (SC) ปิดที่ 11.10 บาท -0.10 บาทหรือ 0.89 % มูลค่าซื้อขาย 13.74 ล้านบาท รวม 2 วันลดลง 0.40 บาท หรือ 3.47%
นายสุกิจ อุดมศิริกุล ผู้ช่วยกรรมการผุ้จัดการอาวุโส สถาบันวิจัยนครหลวงไทย เปิดเผยว่า ปัจจัยทางการเมืองมีแนวโน้มที่จะเกิดความรุนแรงต่อเนื่องตลาดทั้งเดือนมีนาคมนี้ โดยจุดสูงสุดของเหตุการณ์จะอยู่ในช่วงวันที่ 11-16 มีนาคมนี้ ซึ่งเป็นช่วงที่กลุ่มเสื้อแดงมีการนัดชุมนุม ซึ่งทางสถาบันฯได้มีการประเมินสถานการณ์ในเชิงเศรษฐศาสตร์พบว่าการชุมนุมในวันดังกล่าวมีโอกาสที่จะเกิดความรุนแรงถึง 66% จากการตั้งสมมุติฐาน3 กรณี คือ 1 .เสื้อแดงมีการชุมนุมปกติ 33% 2.การชุมนุมครั้งนี้จะเหมือนกับเหตุการณ์ในช่วงสงกรานต์ปีที่ผ่านมา และ 3. เกิดความรุนแรงสูงจนทหารเข้ามาควบคุมสถานการณ์ 33%
ทั้งนี้เชื่อว่าความรุนแรงทางการเมืองในเดือนมีนาคมนี้ จะไม่ส่งผลกระทบต่อเสถียรภาพของรัฐบาล และเชื่อว่ามีความเป็นไปได้ในระดับต่ำที่กองทัพจะออกมาทำการแทรกแซงทางการเมือง แต่หากเกิดความรุนแรงทางการเมืองเกิดขึ้น จะกระทบต่อความเชื่อมั่นในการลงทุนภาคเอกชนทำให้การเติบโตของจีดีพีปีนี้ลดลง1% จากเดิมที่คาดว่าจะอยู่ที่ 3-4%
ส่วนที่ช่วงนี้ ดัชนีตลาดหุ้นไทยสามารถปรับตัวเพิ่มขึ้นได้เนื่องจาก ปัจจัยต่างประเทศในเรื่องปัญหาวิกฤตการเงินของกรีซมีความชัดเจนมากขึ้นที่จะได้รับความช่วยเหลือ ทำให้ตลาดมีความมั่นใจว่าเศราฐกิจจะมีการเติบโตได้ ปัญหาภายในประเทศเรื่องมาบตาพุดมีพัฒนาไปในเชิงบวกมากขึ้น ส่วนปัจจัยทางการเมืองยังไม่มีผลกระทบเชิงลบ ขณะที่นักลงทุนต่างประเทศกลับมาซื้อสุทธิ 4,000 ล้านบาทหลังจากที่ในวันที่ 26 กุมภาพันธ์ไม่เกิดความรุนแรง โดยการกลับมาซื้อของนักลงทุนต่างประเทศเป็นลักษณะการเพิ่มพอร์ตการลงทุน ซึ่งจะเป็นลักษณะซื้อเป็นช่วงๆจากประเมินสถานการณ์ไม่ได้เข้าซื้อต่อเนื่อง
อย่างไรก็ตามจากการที่สถานการณ์ภาพรวมในต่างประเทศที่ปรับตัวดีขึ้น และกรณีมาบตาพุดที่มีพัฒนาการที่ดีขึ้นและราคาหุ้นมีการสะท้อนไปแล้ว 17-18 เดือน เหลือเพียงปัจจัยการเมืองเพียงเรื่องเดียว บริษัทจึงได้มีการแนะนำให้มีการเพิ่มพอร์ตการลงทุนในหุ้นเพิ่มขึ้นเป็น 50% จากเดิมที่30% ลักษณะค่อยทยอยซื้อเมื่อราคาปรับตัวลดลง จากเดือนกุมภาพันธ์ที่บริษัทแนะนำให้ถือเงินสดจำนวนมาก เพราะ ผลตอบแทนจากากรลงทุนในหุ้นมากขึ้น เพื่อเทียบกับตลาดพันธบัตรส่งผลให้นักลงทุนสถาบันมีการเพิ่มพอร์ตการลงทุนในหุ้นมากขึ้น
นายสุกิจ กล่าวว่า จากการที่ดัชนีตลาดหุ้นไทยปรับตัวเพิ่มขึ้นอยู่ที่ 730-740 จุด นั้นถือว่าเป็นช่วงที่ตลาดน่าจะทรงตัวแล้วจากที่ปรับตัวเพิ่มขึ้นมา 8% จากจุดต่ำสุด ซึ่งดัชนีมีโอกาสปรับตัวเพิ่มขึ้นได้ในลักษณะค่อยๆปรับตัว เพราะยังมีปัจจัยการเมืองที่คอยกดดันการลงทุนในเดือนนี้ โดยมีโอกาสที่ดัชนีมีปรับตัวลดลงอยู่ที่ 660-670 จุด แต่หากสถานการณ์รุนแรงอาจปรับตัวลดลงอยู่ที่ระดับ 540 จุด แต่เฉลี่ยดัชนีปีนี้ยังอยู่ที่ 700-750 จุด
ภาพรวมบจ.ปีนี้กำไร4.4แสนล้าน
ทั้งนี้ภาพรวมผลประกอบการของบริษัทจดทะเบียนไทยปี2552 จำนวน 495 บริษัท คิดเป็นสัดส่วน 98% ของมูลค่าหลักทรัพย์ตามราคาตลาด (มาร์เกตแคป)พบว่า มีกำไรสุทธิรวม 4.46 แสนล้านบาทเพิ่มขึ้น 45% เทียบกับกำไรสุทธิปี 2551 ที่มี 3.1 แสนล้านบาท ซึ่งกลุ่มที่อัตรากำไรสุทธิปรับตัวเพิ่มขึ้นสูงสุด คือ กลุ่มบริหาร เพิ่มขึ้น 90% กลุ่มทรัพยากรเพิ่มขึ้น 78% กลุ่มเกษตรและอาหารเพิ่มขึ้น 70% กลุ่มอสังหาริทัพย์และก่อสร้างเพิ่มขึ้น 61% เนื่องจากที่ก่อนมีฐานกำไรที่ต่ำ และจากปัจจัยเศรษฐกิจในประเทศที่มีการฟื้นตัว
สำหรับบกำไรบจ.ปี 2553 ทางสถาบันวิจัยนครหลวงไทยที่มีการวิเคราะห์จำนวน 88 บริษัท คาดว่าจะโตขึ้น 5% จากปีก่อนเป็น 3.85 แสนล้านบาท โดยกลุ่มที่มีการเติบโตโดดเด่น คือ กลุ่มทองเที่ยวที่จะปรับตัวเพิ่มขึ้น 170% กลุ่มยานยนต์ปรับตัวเพิ่มขึ้น 49% และกลุ่มพาณิชย์ปรับตัวเพิ่มขึ้น 15% และได้มีการปรับประมารณการกำไรสุทธิต่อหุ้น (EPSปี 2553 เพิ่มขึ้น 12% โดยตั้งแต่ประกาศงบการเงินปี 2552 ในเดือนกุมภาพันธ์นั้น กลุ่มอุตสาหกรรมที่นักวิเคราะห์มีการปรับประมาณการขึ้นสูงสุด 3 อันดับแรก คือ กลุ่มยานยนต์เพิ่มขึ้น 14.8% กลุ่มขนส่ง เพิ่มขึ้น 11% กลุ่มชิ้นส่วนอตุสาหกรรมและเครื่องจักรเพิ่มขึ้น 25.8%
ส่วนกลุ่มที่นักวิเคราะห์ได้มีการปรับประมาณการลงในช่วงเดือนกุมภาพันธ์เทียบเดือนมกราคามีปีนี้ คือ กลุ่มปิโตรเคมี และเคมีภัณฑ์ลดลง 9% กลุ่มพลังงานลดลง 1.6% และกลุ่มเกตรอาหารลดลง 1.4% และกลุ่มอิเล็กทรอนิกส์ลดลง 0.9%
นายอนุพนธ์ ศรีอาจ ผู้อำนวยการฝ่ายวิเคราะห์หลักทรัพย์ บล.บีฟิท กล่าวว่า ตลาดหุ้นไทยวานนี้ยังปรับตัวขึ้นไปได้แต่ไม่มาก ซึ่งอยู่ในทิศทางคล้ายตลาดหุ้นอื่นในภูมิภาคเอเชียที่ส่วนใหญ่จะแกว่งแคบสลับบวก-ลบ เนื่องจากไม่ได้มีปัจจัยบวกอะไรเข้ามา ขณะเดียวกับในประเทศยังยังปรับตัวขึ้นในกรอบที่จำกัดเป็นเพราะนักลงทุนยังไม่มั่นใจทีเดียวกับเหตุการณ์การเมือง เพราะการเรียกชุมนุมของกลุ่มเสื้อแดง หากคนเข้ามาเยอะก็จะสร้างปัญหาได้ ประเมินอย่างระมัดระวังก็มองว่าการลงทุนยังไม่น่าดึงดูด เพราะความเสี่ยงยังมีอยู่ จึงไม่ควรรีบลงทุน และยิ่งใกล้วันนัดชุมนุมฯ เชื่อว่าตลาดฯคงจะซึมลงอีก คนเล่นก็จะระวังมากขึ้น
ดังนั้น แนวโน้มการลงทุนในวันนี้(4 มี.ค.) คาดว่า ตลาดหุ้นไทยคงจะยังแกว่งตัวในกรอบแคบ หากยังไม่มีปัจจัยอะไรเข้ามาใหม่ อย่างไรก็ดีควรจะรอดูทิศทางตลาดยุโรปและตลาดสหรัฐฯประกอบด้วย พร้อมให้แนวรับไว้ที่ 723 จุด แนวต้าน 740 จุด