ทีเอฟปรับแผนมาม่ารุกต่างประเทศ ลุยอาเซียนบวกจีน ย้ำต้องถือหุ้นมากกว่า 50% จ่อบังคลาเทศใกล้สรุป ตั้งโรงงาน ชี้เทรนด์รูปแบบคัพมาแรงโตดี ทุ่ม 500 ล. ขยายผิตทั้งแบบซองและถ้วย
นายพิพัฒ พะเนียงเวทย์ กรรมการผู้อำนวยการ บริษัท ไทยเพรซิเดนท์ฟูดส์ จำกัด (มหาชน) หรือทีเอฟ ผู้ผลิตบะหมี่กึ่งสำเร็จรูปมาม่า ในเครือสหพัฒน์ เปิดเผยว่า บริษัทฯได้ปรับรูปแบบการลงทุนในต่างประเทศใหม่ โดยการร่วมทุนกับกลุ่มทุนท้องถิ่นในแต่ละประเทศนั้น บริษัทฯจะต้องเป็นผู้ถือหุ้นใหญ่มากกว่า 50% จากเดิมที่บริษัทฯจะถือหุ้นอยู่ระดับ 30-50%
ทั้งนี้บริษัทฯจะมุ่งเน้นตลาดอาเซียนบวกจีนเป็นหลัก โดยแนวทางจะเป็นการส่งสินค้าจากไทยเข้าไปจำหน่ายก่อนเพื่อเป็นการสร้างตลาดให้เติบโตและ ซึ่งหากตลาดรวมมีความต้องการในระดับ 50,000 หีบต่อเดือน ( 1 หีบมี 36 ถ้วย/ซอง) แล้วก็จะพิจารณาลงทุนตั้งโรงงาน
ขณะนี้อยู่ระหว่างการเจรจาในหลายประเทศ ซึ่งประเทศที่มีความคืบหน้ามากที่สุดคือ บังคลาเทศ ซึ่งอยู่ระหว่างการเจรจากับกลุ่มธุรกิจดิสทริบิวเตอร์ 2 ราย เนื่องจากว่า ช่องทางการจำหน่ายเป็นเรื่องสำคัญที่สุด ขณะที่เรื่องเงินทุนและเทคโนโลยีนั้นเรามีความพร้อมอยู่แล้ว
ก่อนหน้านี้บริษัทฯเพิ่งเพิ่มทุนจดทะเบียนในบริษัทที่ลงทุนที่จีนแล้ว 2 แห่งคือที่ ฉงชิง จาก 14 ล้านหยวนเป็น 42 ล้านหยวน แล้วนำเงินส่วนหนึ่งไปซื้อหุ้นเพิ่มที่โรงงานในเฉินตูอีก ซึ่งเป็นผู้ร่วมทุนกลุ่มเดียวกัน ทำให้ ทางฝ่ายไทยถือหุ้น 50% ( ทีเอฟ 35% และบุคคลอีก 15%) ส่วนอีก 50% เป็นฝ่ายจีน
สำหรับประเทศที่น่าสนใจจากนี้ก็เช่น เวียดนาม ซึ่งค่าเงินดองเริ่มนิ่งแล้ว ส่วนอินเดียก็มีเจรจาเช่นกัน แต่ว่าอินเดียต้องการถือหุ้นใหญ่ สำหรับตลาดที่ลงทุนไปก่อนหน้านี้เช่น ในพม่า เขมร ตั้งโรงงานผลิตไปแล้ว
นายพิพัฒกล่าวถึงแผนการลงทุนในประเทศไทยปีนี้ด้วยว่า ใช้งบประมาณกว่า 500 ล้านบาท แบ่งเป็นงบ 250 ล้านบาท ใช้ในการซื้อเครื่องจักรผลิตมาม่ารูปแบบถ้วยหรือคัพ (Cup) ที่โรงงานศรีราชา โดยจะเพิ่มกำลังผลิตอีก 300,000 หีบต่อเดือน จากเดิมผลิตได้ 300,000 หีบต่อเดือน รวมเป็น 600,000 หีบต่อเดือน คาดว่าจะเริ่มผลิตได้ก่อนสิ้นปีนี้
ส่วนอีก 250 ล้านบาท ใช้ในการซื้อเครื่องจักรใหม่ผลิตมาม่ารูปแบบซอง ที่โรงงานศรีราชา คาดว่าจะเริ่มผลิตเดือนสิงหาคมนี้ ซึ่งจะทำให้มีกำลังผลิตมาม่ารูปแบบซองรวมเป็น 6 ล้าน 5 แสนซองต่อวัน
สาเหตุที่ลงทุนรูปแบบถ้วยเพิ่มเนื่องจากว่า ตลาดแบบซองในไทยเริ่มอิ่มตัวแล้ว เนื่องจากมีการบริโภคใกล้เคียงระดับประมาณ 40 ซองต่อคนต่อปี ซึ่งทำให้ตลาดรูปแบบถ้วยเริ่มมาแรงและมีอนาคตมากกว่าเพราะสอดคลอ้งกับไลฟ์สไตล์การบริโภค ซึ่งเป็นเนวเดียวกับที่เกิดขึ้นในญี่ปุ่นที่รูปแบบถ้วยเติบโตดี
นายพิพัฒกล่าวว่า รูปแบบถ้วย ปัจจุบันมีสัดส่วนประมาณ 6% จากมูลค่าตลาดรวมบะหมึ่กึ่งสำเร็จรูปที่มีประมาณ 12,000 ล้านบาท และคาดว่าภายใน 3 ปีจากนี้น่าจะมีสัดส่วนประมาณ 20% โดยที่มาม่ามีส่วนแบ่งรูปแบบถ้วยประมาณ 60% จากตลาดรวม
สำหรับสัดส่วนรายได้ของบริษัทฯแบ่งเป็น ตลาดในประเทศมีสัดส่วน 80% จากรายได้รวมบริษัท และอีก 20% เป็นรายได้จากต่างประเทศ (ส่งออกจากไทยและผลิตในต่างประเทศ)
ส่วนผลประกอบการของบริษัททีเอฟปี 2552 มีประมาณ 7,400 ล้านบาท เติบโต 6% แต่หากรวมบริษัทอื่นที่เกี่ยวโยงกันรวมทั้งสิ้น 8,449 ล้านบาท เติบโต จากปี 2551 ที่มีรายได้รวม 8,158 ล้านบาท โดยที่รายได้ในประทศเติบโต 8.59% ส่วนตลาดส่งออกเติบโต 10% ทั้งนี้เฉลี่ยแล้วเติบโต 6% ซึ่งสินค้ามาม่าเติบโตดี ส่วนสินค้ากลุ่มเวเฟอร์ บิสกิต นั้นไม่เติบโต โดยแบรนด์นิชชินติลบ 10% และแบรนด์โฮมมี่ ติดลบ 18% ส่วนปี 2553 คาดว่าจะทำรายได้ในส่วนของทีเอฟประมาณ 8,000 ล้านบาท หรือเติบโต 5%
นายพิพัฒ พะเนียงเวทย์ กรรมการผู้อำนวยการ บริษัท ไทยเพรซิเดนท์ฟูดส์ จำกัด (มหาชน) หรือทีเอฟ ผู้ผลิตบะหมี่กึ่งสำเร็จรูปมาม่า ในเครือสหพัฒน์ เปิดเผยว่า บริษัทฯได้ปรับรูปแบบการลงทุนในต่างประเทศใหม่ โดยการร่วมทุนกับกลุ่มทุนท้องถิ่นในแต่ละประเทศนั้น บริษัทฯจะต้องเป็นผู้ถือหุ้นใหญ่มากกว่า 50% จากเดิมที่บริษัทฯจะถือหุ้นอยู่ระดับ 30-50%
ทั้งนี้บริษัทฯจะมุ่งเน้นตลาดอาเซียนบวกจีนเป็นหลัก โดยแนวทางจะเป็นการส่งสินค้าจากไทยเข้าไปจำหน่ายก่อนเพื่อเป็นการสร้างตลาดให้เติบโตและ ซึ่งหากตลาดรวมมีความต้องการในระดับ 50,000 หีบต่อเดือน ( 1 หีบมี 36 ถ้วย/ซอง) แล้วก็จะพิจารณาลงทุนตั้งโรงงาน
ขณะนี้อยู่ระหว่างการเจรจาในหลายประเทศ ซึ่งประเทศที่มีความคืบหน้ามากที่สุดคือ บังคลาเทศ ซึ่งอยู่ระหว่างการเจรจากับกลุ่มธุรกิจดิสทริบิวเตอร์ 2 ราย เนื่องจากว่า ช่องทางการจำหน่ายเป็นเรื่องสำคัญที่สุด ขณะที่เรื่องเงินทุนและเทคโนโลยีนั้นเรามีความพร้อมอยู่แล้ว
ก่อนหน้านี้บริษัทฯเพิ่งเพิ่มทุนจดทะเบียนในบริษัทที่ลงทุนที่จีนแล้ว 2 แห่งคือที่ ฉงชิง จาก 14 ล้านหยวนเป็น 42 ล้านหยวน แล้วนำเงินส่วนหนึ่งไปซื้อหุ้นเพิ่มที่โรงงานในเฉินตูอีก ซึ่งเป็นผู้ร่วมทุนกลุ่มเดียวกัน ทำให้ ทางฝ่ายไทยถือหุ้น 50% ( ทีเอฟ 35% และบุคคลอีก 15%) ส่วนอีก 50% เป็นฝ่ายจีน
สำหรับประเทศที่น่าสนใจจากนี้ก็เช่น เวียดนาม ซึ่งค่าเงินดองเริ่มนิ่งแล้ว ส่วนอินเดียก็มีเจรจาเช่นกัน แต่ว่าอินเดียต้องการถือหุ้นใหญ่ สำหรับตลาดที่ลงทุนไปก่อนหน้านี้เช่น ในพม่า เขมร ตั้งโรงงานผลิตไปแล้ว
นายพิพัฒกล่าวถึงแผนการลงทุนในประเทศไทยปีนี้ด้วยว่า ใช้งบประมาณกว่า 500 ล้านบาท แบ่งเป็นงบ 250 ล้านบาท ใช้ในการซื้อเครื่องจักรผลิตมาม่ารูปแบบถ้วยหรือคัพ (Cup) ที่โรงงานศรีราชา โดยจะเพิ่มกำลังผลิตอีก 300,000 หีบต่อเดือน จากเดิมผลิตได้ 300,000 หีบต่อเดือน รวมเป็น 600,000 หีบต่อเดือน คาดว่าจะเริ่มผลิตได้ก่อนสิ้นปีนี้
ส่วนอีก 250 ล้านบาท ใช้ในการซื้อเครื่องจักรใหม่ผลิตมาม่ารูปแบบซอง ที่โรงงานศรีราชา คาดว่าจะเริ่มผลิตเดือนสิงหาคมนี้ ซึ่งจะทำให้มีกำลังผลิตมาม่ารูปแบบซองรวมเป็น 6 ล้าน 5 แสนซองต่อวัน
สาเหตุที่ลงทุนรูปแบบถ้วยเพิ่มเนื่องจากว่า ตลาดแบบซองในไทยเริ่มอิ่มตัวแล้ว เนื่องจากมีการบริโภคใกล้เคียงระดับประมาณ 40 ซองต่อคนต่อปี ซึ่งทำให้ตลาดรูปแบบถ้วยเริ่มมาแรงและมีอนาคตมากกว่าเพราะสอดคลอ้งกับไลฟ์สไตล์การบริโภค ซึ่งเป็นเนวเดียวกับที่เกิดขึ้นในญี่ปุ่นที่รูปแบบถ้วยเติบโตดี
นายพิพัฒกล่าวว่า รูปแบบถ้วย ปัจจุบันมีสัดส่วนประมาณ 6% จากมูลค่าตลาดรวมบะหมึ่กึ่งสำเร็จรูปที่มีประมาณ 12,000 ล้านบาท และคาดว่าภายใน 3 ปีจากนี้น่าจะมีสัดส่วนประมาณ 20% โดยที่มาม่ามีส่วนแบ่งรูปแบบถ้วยประมาณ 60% จากตลาดรวม
สำหรับสัดส่วนรายได้ของบริษัทฯแบ่งเป็น ตลาดในประเทศมีสัดส่วน 80% จากรายได้รวมบริษัท และอีก 20% เป็นรายได้จากต่างประเทศ (ส่งออกจากไทยและผลิตในต่างประเทศ)
ส่วนผลประกอบการของบริษัททีเอฟปี 2552 มีประมาณ 7,400 ล้านบาท เติบโต 6% แต่หากรวมบริษัทอื่นที่เกี่ยวโยงกันรวมทั้งสิ้น 8,449 ล้านบาท เติบโต จากปี 2551 ที่มีรายได้รวม 8,158 ล้านบาท โดยที่รายได้ในประทศเติบโต 8.59% ส่วนตลาดส่งออกเติบโต 10% ทั้งนี้เฉลี่ยแล้วเติบโต 6% ซึ่งสินค้ามาม่าเติบโตดี ส่วนสินค้ากลุ่มเวเฟอร์ บิสกิต นั้นไม่เติบโต โดยแบรนด์นิชชินติลบ 10% และแบรนด์โฮมมี่ ติดลบ 18% ส่วนปี 2553 คาดว่าจะทำรายได้ในส่วนของทีเอฟประมาณ 8,000 ล้านบาท หรือเติบโต 5%