ตลาดหุ้นเดินหน้าปรับมาตรการกำกับดูแลบริษัทจดทะเบียน(บจ.)เพิ่ม ป้องกัน บจ.ซิกแซกเพื่อทุจริตในรูปแบบต่างๆ ผู้บริหารระบุ ต้องศึกษาและสำรวจความเห็นกับทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้อง เพื่อให้มีความเหมาะสม คาดนำเสนอพร้อมกับมาตรการกำกับดูแลซื้อขาย เพื่อให้บอร์ดพิจารณาภายในมีนาคม หรือเมษายนนี้
นาย ศักรินทร์ ร่วมรังษี ผู้ช่วยผู้จัดการสายงานกำกับตลาด ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย (ตลท.)เปิดเผยว่า ตลาดหลักทรัพย์ฯ อยู่ระหว่างการทบทวนมาตรการ 2 ส่วน คือ มาตรการกำกับดูแลบริษัทจดทะเบียน(บจ.)เพื่อไม่ให้มีการดำเนินการไปในทางไม่สุจริต เช่นการซื้อทรัพย์สินมาในราคาแพงเกินไป หรือขายสินทรัพย์ในราคาถูกเกินไป ฯลฯ
ทั้งนี้ เนื่องจากมาตรการกำกับดูแลบจ.ในปัจจุบันนี้ คือการให้บจ.เปิดเผยข้อมูลเท่านั้น ซึ่งวิธีการใหม่คงจะเป็นการปรับปรุงวิธีการทำงาน เพื่อติดตามดูแลบจ.ให้ทันท่วงทีกับสถานการณ์ ไม่ทำให้เหตุการณ์ที่สร้างความเสียหาย หากมีการทุจริตเกิดขึ้น ซึ่งอาจจะประกาศเป็นเกณฑ์ชัดเจนว่า หากบจ.ใดที่ดำเนินการตามลักษณะที่ตลท.กำหนดก็จะต้องให้มีการเปิดเผยข้อมูลอะไรบ้าง
โดยหากตลาดหลักทรัพย์ฯจะมีการออกมาตรการอะไรออกมานั้น จะต้องมีการศึกษาและสำรวจความเห็นกับทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้อง เพื่อให้มีความเหมาะสม เพราะมีผู้ที่เกี่ยวข้องหลายฝ่าย ซึ่งเป้าหลักของตลาดหลักทรัพย์ฯนั้นในเรื่องเปลี่ยนแปลงต้องไม่ไปเพิ่มภาระให้กับบจ. เพราะหากประกาศเกณฑ์เพื่อให้บจ.ทั้ง 500 แห่งปฏิบัติตาม แต่จำนวนบริษัทที่ตลาดหลักทรัพย์ฯต้องการมุ่งติดตามมีไม่กี่บริษัทนั้น ทางตลาดลักทรัพย์เองก็ไม่อยากจะทำ
สำหรับอีกมาตรการคือการกำกับดูแลการซื้อขายเพื่อให้การซื้อขายเป็นไปอย่างปกติ ว่าจะมีการดำเนินการอย่างไร โดยพิจารณาว่า มารตการเดิมที่ใช้อยู่นั้นเพียงพอหรือไม่ จากที่ตลาดหลักทรัพย์ฯมีเกณฑ์การให้นักลงทุนวางเงินสด ไว้ล่วงหน้าเต็มจำนวนก่อนการซื้อขาย(แคชบาลานซ์) หากมีการซื้อขายหุ้นที่ติดเทิร์นโอเวอร์ลิสต์ของทางสำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ก.ล.ต.)จำเป็นที่จะต้องมีการเพิ่มมาตรการกำกับดูแลอย่างไร ซึ่งคาดว่าจะทบทวนมาตรการการกำกับดูแลบจ.และมาตรการกำกับการซื้อขายเสร็จ และจะเสนอให้คณะกรรมการ(บอร์ด)ตลาดหลักทรัพย์ฯพิจารณาประมาณช่วงเดือนมีนาคม หรือ เมษายนนี้
นายศักรินทร์ กล่าวว่า ในปีที่ผ่านมาตลาดหลักทรัพย์ฯได้มีการนำส่งข้อมูลการซื้อขายที่มีความผิดปกติให้กับสำนักงานก.ล.ต.มีการดำเนินการตรวจสอบต่อไปนั้นพบว่า มีจำนวนต่ำกว่าค่าเฉลี่ยปกติในอดีตที่จะมีประมาณ 60 กรณี เนื่องจาก จากภาวะตลาดหุ้นในช่วงต้นปี 2552 ไม่ค่อยดี จึงทำให้ไม่มีผู้เข้ามากระทำผิดในเรื่องการซื้อขายไม่มาก และมาตรการดูแลการซื้อขายหุ้นที่ตลาดหลักทรัพย์ใช้อยู่นั้นเป็นไปในลักษณะเชิงป้องกัน โดยเมื่อพบความผิดปกติก็จะขอความร่วมมือไปยังบริษัทหลักทรัพย์เพื่อขอข้อมูลการซื้อขาย
ทั้งนี้การที่ตลาดหลักทรัพย์ฯต้องมีการทบทวนมาตรการดูแล ทั้งที่ในปีที่ผ่านมานั้นมีการดูแลที่ดีทำให้จำนวนการกระทำผิดลดลงนั้น เนื่องจาก การป้องกันดูแลนั้นยังไม่เป็นไปตามเป้าหมายที่ตลาดหลักทรัพย์ฯตั้งเป้าไว้ และ มาตรการที่ใช้อยู่นั้นมีการใช้มาเป็นระยะเวลานานพอสมควรจึง จึงมองว่าควรที่จะมีการการทบทวนเพื่อให้ มาตรการทันกับเหตุการณ์ที่จะเปลี่ยนแปลงไป
“การทบทวนมาตรการดูแลการซื้อขายและมาตรการดูแลนั้นเนื่องจาก มาตรการเดิมนั้นได้มีการใช้มาเป็นเวลานานพอสมควร จึงจะต้องมีการทบทวนว่ามาตรการที่ใช้นั้นมีประสิทธิภาพหรือไม่ โดยจะต้องมีการปรับตัวตรงไหนหรือไม่ เพื่อให้การดูแลมีประสิทธิภาพมากขึ้น ซึ่งถือว่าเป็นเรื่องปกติที่จะต้องมีการทบทวนแม้จำนวนคดีที่มีการกระทำผิดนั้นมีจำนวนที่ลดลงก็ตาม แต่ก็ยังไม่ได้ดั่งใจที่เราต้องการ และต้องปรับให้ทันกับรูปแบบการกระทำผิดใหม่ๆที่เกิดขึ้น”นายศักรินทร์ กล่าว
นาย ศักรินทร์ ร่วมรังษี ผู้ช่วยผู้จัดการสายงานกำกับตลาด ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย (ตลท.)เปิดเผยว่า ตลาดหลักทรัพย์ฯ อยู่ระหว่างการทบทวนมาตรการ 2 ส่วน คือ มาตรการกำกับดูแลบริษัทจดทะเบียน(บจ.)เพื่อไม่ให้มีการดำเนินการไปในทางไม่สุจริต เช่นการซื้อทรัพย์สินมาในราคาแพงเกินไป หรือขายสินทรัพย์ในราคาถูกเกินไป ฯลฯ
ทั้งนี้ เนื่องจากมาตรการกำกับดูแลบจ.ในปัจจุบันนี้ คือการให้บจ.เปิดเผยข้อมูลเท่านั้น ซึ่งวิธีการใหม่คงจะเป็นการปรับปรุงวิธีการทำงาน เพื่อติดตามดูแลบจ.ให้ทันท่วงทีกับสถานการณ์ ไม่ทำให้เหตุการณ์ที่สร้างความเสียหาย หากมีการทุจริตเกิดขึ้น ซึ่งอาจจะประกาศเป็นเกณฑ์ชัดเจนว่า หากบจ.ใดที่ดำเนินการตามลักษณะที่ตลท.กำหนดก็จะต้องให้มีการเปิดเผยข้อมูลอะไรบ้าง
โดยหากตลาดหลักทรัพย์ฯจะมีการออกมาตรการอะไรออกมานั้น จะต้องมีการศึกษาและสำรวจความเห็นกับทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้อง เพื่อให้มีความเหมาะสม เพราะมีผู้ที่เกี่ยวข้องหลายฝ่าย ซึ่งเป้าหลักของตลาดหลักทรัพย์ฯนั้นในเรื่องเปลี่ยนแปลงต้องไม่ไปเพิ่มภาระให้กับบจ. เพราะหากประกาศเกณฑ์เพื่อให้บจ.ทั้ง 500 แห่งปฏิบัติตาม แต่จำนวนบริษัทที่ตลาดหลักทรัพย์ฯต้องการมุ่งติดตามมีไม่กี่บริษัทนั้น ทางตลาดลักทรัพย์เองก็ไม่อยากจะทำ
สำหรับอีกมาตรการคือการกำกับดูแลการซื้อขายเพื่อให้การซื้อขายเป็นไปอย่างปกติ ว่าจะมีการดำเนินการอย่างไร โดยพิจารณาว่า มารตการเดิมที่ใช้อยู่นั้นเพียงพอหรือไม่ จากที่ตลาดหลักทรัพย์ฯมีเกณฑ์การให้นักลงทุนวางเงินสด ไว้ล่วงหน้าเต็มจำนวนก่อนการซื้อขาย(แคชบาลานซ์) หากมีการซื้อขายหุ้นที่ติดเทิร์นโอเวอร์ลิสต์ของทางสำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ก.ล.ต.)จำเป็นที่จะต้องมีการเพิ่มมาตรการกำกับดูแลอย่างไร ซึ่งคาดว่าจะทบทวนมาตรการการกำกับดูแลบจ.และมาตรการกำกับการซื้อขายเสร็จ และจะเสนอให้คณะกรรมการ(บอร์ด)ตลาดหลักทรัพย์ฯพิจารณาประมาณช่วงเดือนมีนาคม หรือ เมษายนนี้
นายศักรินทร์ กล่าวว่า ในปีที่ผ่านมาตลาดหลักทรัพย์ฯได้มีการนำส่งข้อมูลการซื้อขายที่มีความผิดปกติให้กับสำนักงานก.ล.ต.มีการดำเนินการตรวจสอบต่อไปนั้นพบว่า มีจำนวนต่ำกว่าค่าเฉลี่ยปกติในอดีตที่จะมีประมาณ 60 กรณี เนื่องจาก จากภาวะตลาดหุ้นในช่วงต้นปี 2552 ไม่ค่อยดี จึงทำให้ไม่มีผู้เข้ามากระทำผิดในเรื่องการซื้อขายไม่มาก และมาตรการดูแลการซื้อขายหุ้นที่ตลาดหลักทรัพย์ใช้อยู่นั้นเป็นไปในลักษณะเชิงป้องกัน โดยเมื่อพบความผิดปกติก็จะขอความร่วมมือไปยังบริษัทหลักทรัพย์เพื่อขอข้อมูลการซื้อขาย
ทั้งนี้การที่ตลาดหลักทรัพย์ฯต้องมีการทบทวนมาตรการดูแล ทั้งที่ในปีที่ผ่านมานั้นมีการดูแลที่ดีทำให้จำนวนการกระทำผิดลดลงนั้น เนื่องจาก การป้องกันดูแลนั้นยังไม่เป็นไปตามเป้าหมายที่ตลาดหลักทรัพย์ฯตั้งเป้าไว้ และ มาตรการที่ใช้อยู่นั้นมีการใช้มาเป็นระยะเวลานานพอสมควรจึง จึงมองว่าควรที่จะมีการการทบทวนเพื่อให้ มาตรการทันกับเหตุการณ์ที่จะเปลี่ยนแปลงไป
“การทบทวนมาตรการดูแลการซื้อขายและมาตรการดูแลนั้นเนื่องจาก มาตรการเดิมนั้นได้มีการใช้มาเป็นเวลานานพอสมควร จึงจะต้องมีการทบทวนว่ามาตรการที่ใช้นั้นมีประสิทธิภาพหรือไม่ โดยจะต้องมีการปรับตัวตรงไหนหรือไม่ เพื่อให้การดูแลมีประสิทธิภาพมากขึ้น ซึ่งถือว่าเป็นเรื่องปกติที่จะต้องมีการทบทวนแม้จำนวนคดีที่มีการกระทำผิดนั้นมีจำนวนที่ลดลงก็ตาม แต่ก็ยังไม่ได้ดั่งใจที่เราต้องการ และต้องปรับให้ทันกับรูปแบบการกระทำผิดใหม่ๆที่เกิดขึ้น”นายศักรินทร์ กล่าว