สมาคมโบรกเกอร์ เปิด แผนการดำเนินงานปี 53 เดินหน้าเพิ่มศักยภาพการแข่งขันบริษัทสมาชิก รองรับเปิดเสรีธุรกิจหลักทรัพย์-หนุนสมาชิกเดินตามแนวทางปฏิบัติงานที่ดี “จงรัก”เผย มติที่ประชุม1 ก.พ.นี้ บล.ทุกแห่งเลิกแข่งขันโปรโมชั่น 0% ฟาก บล.นครหลวงไทย ยอมรับแต่ขอเวลาชี้แจงลูกค้า ส่วนกองทุนที่ประชุมลงมติให้คิด 0.20% ทันทีในสัปดาห์นี้ พร้อมเตรียมผุดชมรมโบรกเกอร์ดูแลลูกค้าสถาบันเพื่อแก้ไขปัญหาข้อติดขัดต่างๆ ล่าสุด“ภัทธีรา ดิลกรุ่งธีระภพ” นั่งเก้าอี้นายกสมาคมคนใหม่
เมื่อวันศุกร์ที่ผ่านมา(22ม.ค.) สมาคมบริษัทหลักทรัพย์ได้มีการจัดทำแผนการดำเนินงานปี 2553 ซึ่งกำหนดบทบาทหลัก 4 ด้าน ดังนี้ คือ 1. เพิ่มศักยภาพในการแข่งขันของสมาชิกเพื่อรองรับการเปิดเสรีธุรกิจหลักทรัพย์ ประกอบด้วย ลดต้นทุนของธุรกิจหลักทรัพย์ เพิ่มแหล่งรายได้ และแสวงหาโอกาสในการขยายธุรกิจหลักทรัพย์ พัฒนาบุคคลากรของธุรกิจหลักทรัพย์ ผลักดันให้มีการออกกฎระเบียบที่เอื้อต่อการพัฒนาธุรกิจรวมถึงการแก้ไขกฎระเบียบที่เป็นอุปสรรคต่อการประกอบธุรกิจ 2.สนันสนุนการดำเนินงานธุรกิจตามแนวทางการปฏิบัติงานที่ดี พัฒนามาตรฐานการดำเนินงานของบริษัทสมาชิกและบุคลากร สร้างความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับกฎหมายและกฎระเบียบที่เกี่ยวข้องกับการประกอบธุรกิจ
3. สร้างพันธมิตรเพื่อประโยชน์ร่วมกัน คือ สร้างความร่วมมือกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเพื่อเชื่อมโยงและเอื้อประโยชน์ร่วมกัน สร้างความสัมพันธ์ที่ดีในกลุ่มสมาชิกเพื่อความแข็งแกร่งของธุรกิจหลักทรัพย์ 4. พัฒนาและยกระดับสมาคมหลักทรัพย์เป็นองค์กรที่กำกับดูแลสมาชิกกันเอง(SRO) ซึ่งทางคณะกรรมการบริหารสมาคมบริษัทหลักทรัพย์ได้มอบหมายให้ ดร. จงรัก ระรวยทรง เป็นผู้แทนสมาคมในการเข้าร่วมการดูงานSROที่ประเทศเกาหลีใต้และประเทศมาเลเซีย ซึ่งจัดโดยคณะกรรมการก.ล.ต. โดยมีการกำหนดการดูงานที่ก.ล.ต.ตลาดหลักทรัพย์ และตลาดหลักทรัพย์และสมาคมที่เกี่ยวเนื่องธุรกิจของแต่บริษัทประเทศเพื่อศึกษาภาพรวมของการกำกับดูแลตลาดทุน พัฒนาการของการก่อตั้งSRO การกำกับดูแลSRO และปฏิบัติงานของSRO ในแต่ละประเทศ รวมทั้งข้อดีข้อเสียและประสบการณ์จัดตั้งSRO
นายจงรัก ระรวยทรง กรรมการผู้อำนวยการ สมาคมบริษัทหลักทรัพย์(สมาคมโบรกเกอร์) เปิดเผยว่า สมาคมโบรกเกอร์ได้มีการจัดประชุมวิสามัญสมาชิกเพื่อมีการเลือกตั้งนายกสมาคมโบรกเกอร์คนใหม่หลังจากนายกัมปนาท โลหเจริญวณิชย์ได้มีการลาออก ซึ่งที่ประชุมได้มีมติแต่งตั้งนางภัทธีรา ดิลกรุ่งธีระภพ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัทหลักทรัพย์ ดีบีเอส วิคเคอร์ส (ประเทศไทย) เป็นนายกสมาคมคนใหม่ หลังจากนาย สุชาย สุทัศน์ธรรมกุล กรรมการผู้จัดการ บริษัทหลักทรัพย์ ฟิลลิป (ประเทศไทย)นาย เชาว์ อรัญวัฒน์ กรรมการผู้จัดการ บริษัทหลักทรัพย์ เคที ซีมิโก้นาง อัศวินี ไตลังคะ กรรมการผู้จัดการ บริษัทหลักทรัพย์ ธนชาต จำกัดได้มีการขอถอนตัว
ทั้งนี้ที่ประชุมมีการหารือในเรื่องการคิดค่าธรรมเนียมการซื้อขายหลักทรัพย์(ค่าคอมมิชชั่น)ในส่วนมูลค่าการซื้อขายที่เกิน20 ล้านบาทต่อวันว่าบริษัทสมาชิกจะมีการคิดอัตราตามที่สมาคมฯได้มีการกำหนดไว้หรือไม่ หลังจากที่มีบล.นครหลวงไทยได้มีการประกาศที่จะคิดค่าคอมมิชชั่นที่อัตรา0%ซึ่งส่งผลให้บล.หลายแห่งมีการคิดค่าคอมมิชชั่นที่อัตราดังกล่าวเช่นกันเพื่อรักษาฐานลูกค้าของบริษัทไว้ โดยโบรกเกอร์ทุกแห่งมีมติว่าตั้งแต่วันที่1 กุมภาพันธ์นี้ จะคิดค่าคอมมิชชั่นมูลค่าการซื้อขายเกิน20 ล้านบาต่อวันตามอัตราอ้างอิงที่สมาคมฯกำหนด
สำหรับการคิดอัตราอ้างอิงการคิดค่าคอมมิชชั่น กำหนด 3แนวทาง คือ หากนักลงทุนซื้อขายผ่านเจ้าหน้าที่การตลาด (มาร์เกตติ้ง)จะคิดค่าคอมมิชชั่นที่อัตรา 0.15% หากซื้อขายผ่านอินเตอร์เน็ตแบ่งเป็น ซื้อขายผ่านบัญชีเงินสดอัตราที่0.12% ส่วนซื้อขายผ่านบัญชีแคลชบาลานซ์และเครดิตบาลานซ์จะคิดอัตราที่ 0.10% เนื่องจากการคิดค่าคอมมิชชั่นที่อัตราดังกล่าวนั้นเป็นอัตราที่เหมาะสม เพราะ หากคิดอัตราที่ต่ำกว่านี้จะไม่ครอบคลุมต้นทุนของบริษัทได้ และอัตราดังกล่าวเป็นอัตราที่ต่ำ
นายจงรัก กล่าวว่า บล.นครหลวงไทยตอบรับว่าจะมีการคิดค่าคอมมิชชั่นตามอัตราอ้างอิงดังกล่าวตามมติที่ประชุมแต่มีการขอเวลาในการไปแจ้งลูกค้าก่อน จากที่บล.นครหลวงไทยประกาศคิดค่าคอมมิชชั่น0%เป็นเวลา3 เดือนและจะมีการกลับมาคิดค่าคอมมิชชั่นตามอัตราอ้างอิงที่ทางสมาคมโบรกเกอร์กำหนดไว้ในวันที่1กุมภาพันธ์นี้เช่นกัน ซึ่งส่วนตัวมองว่าการที่โบรกเกอร์ กลับมาคิดค่าคอมมิชชั่นที่อัตราอ้างอิงไม่คิดที่อัตรา0% นั้น จะทำให้การแข่งขันไม่รุนแรงจนต้องปิดไปเหมือนกับการเปิดเสรีครั้งแรก และทำให้ผลประกอบการของโบรกเกอร์ปรับตัวลดลงไม่มากนัก จากที่ปีนี้เป็นปีแรกที่มีการเปิดเสรีค่าคอมมิชชั่นแบบขั้นบันได
“ในช่วงที่เรามีการหารือการคิดค่าคอมมิชชั่นในส่วนมูลค่าการซื้อขายที่เกิน20 ล้านบาทต่อวันนั้นเดิมเป็นการหารือในกลุ่มย่อยเท่านั้นไม่ได้มีการหารือกับสมาชิกทุกรายทำให้มีสมาชิกบางรายไม่ทำตามแต่การประชุมครั้งนี้โบรกเกอร์ทุกแห่งได้มีการเข้าร่วมประชุม และทุกโบรกเกอร์เห็นด้วยที่จะมีการคิดค่าคอมมิชชั่นที่อัตราอ้างอิงดังกล่าวซึ่งถือว่าเป็นมติของที่ประชุมที่ทุกโบรกเกอร์ต้องทำตามและทางบล.นครหลวงไทยยินดีที่จะทำตามมติที่ประชุมเช่นกันแต่ขอเวลาแจ้งลูกค้าก่อน”นายจงรัก กล่าวว่า
อย่างไรก็ตามจากการที่ทุกโบรกเกอร์จะไม่มีการคิดค่าคอมมิชชั่นที่อัตรา0%ในเดือนหน้านั้น จะไม่ทำให้ในสัปดาห์นี้ นักลงทุนรายใหญ่ที่มีมูลค่าการซื้อขายเกิน20 ล้านบาทต่อวันมีการแห่เข้ามาซื้อขายหุ้นในช่วงสัปดาห์นี้จำนวนมากเพื่อที่จะไม่เสียค่าคอมมิชชั่นในส่วนที่วอลุ่มเกินกว่า20 ล้านบาท เพราะ นักลงทุนดังกล่าวนั้นมีไม่มาก
นายจงรัก กล่าวว่า การคิดค่าคอมมิชชั่นกับบริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุน(บลจ.)นั้นที่ประชุมมีมติให้มีการคิดที่อัตรา0.20% เหมือนเดิมตั้งแต่สัปดาห์นี้ เนื่องจากเป็นอัตราที่เหมาะสมแล้ว เพราะการดูแลลูกค้าสถาบันนั้นมีต้นทุนที่สูงกว่าการให้บริการนักลงทุนรายย่อยรายย่อยจากที่จะต้องมีการให้บริการที่มากกว่า โดยในเรื่องนี้เป็นหน้าที่ของโบรกเกอร์ที่จะต้องมีการแจ้งให้กับบลจ.ที่เป็นลูกค้าของตนทราบเรื่องดังกล่าว โดยทางสมาคมโบรกเกอร์จะไม่มีการจัดประชุมหารือกับทางบลจ.เพราะ ผู้ที่มีการคิดค่าคอมมิชชั่นแก่บลจ.ที่ต่ำกว่า0.20% นั้นมีไม่กี่ราย
นอกจากนี้ทางสมาคมฯมติให้มีการจัดตั้งชมรมบริษัทหลักทรัพย์ลูกค้าสถาบัน เพื่อที่จะทำหน้าที่ในการแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้นเกี่ยวกับการให้บริการนักลงทุนสถาบัน จากปัจจุบันที่สมาคมฯจะมีการหารือเฉพาะปัญหาของโบรกเกอร์ที่มีฐานรายย่อยเท่านั้น เพราะ ปัญหาของโบรกเกอร์ที่ให้บริการเฉพาะนักลงทุนสาถบันนั้นเป็นปัญหาที่แตกต่างกับโบรกเกอร์ที่มีฐานนักลงทุนรายย่อย
เมื่อวันศุกร์ที่ผ่านมา(22ม.ค.) สมาคมบริษัทหลักทรัพย์ได้มีการจัดทำแผนการดำเนินงานปี 2553 ซึ่งกำหนดบทบาทหลัก 4 ด้าน ดังนี้ คือ 1. เพิ่มศักยภาพในการแข่งขันของสมาชิกเพื่อรองรับการเปิดเสรีธุรกิจหลักทรัพย์ ประกอบด้วย ลดต้นทุนของธุรกิจหลักทรัพย์ เพิ่มแหล่งรายได้ และแสวงหาโอกาสในการขยายธุรกิจหลักทรัพย์ พัฒนาบุคคลากรของธุรกิจหลักทรัพย์ ผลักดันให้มีการออกกฎระเบียบที่เอื้อต่อการพัฒนาธุรกิจรวมถึงการแก้ไขกฎระเบียบที่เป็นอุปสรรคต่อการประกอบธุรกิจ 2.สนันสนุนการดำเนินงานธุรกิจตามแนวทางการปฏิบัติงานที่ดี พัฒนามาตรฐานการดำเนินงานของบริษัทสมาชิกและบุคลากร สร้างความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับกฎหมายและกฎระเบียบที่เกี่ยวข้องกับการประกอบธุรกิจ
3. สร้างพันธมิตรเพื่อประโยชน์ร่วมกัน คือ สร้างความร่วมมือกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเพื่อเชื่อมโยงและเอื้อประโยชน์ร่วมกัน สร้างความสัมพันธ์ที่ดีในกลุ่มสมาชิกเพื่อความแข็งแกร่งของธุรกิจหลักทรัพย์ 4. พัฒนาและยกระดับสมาคมหลักทรัพย์เป็นองค์กรที่กำกับดูแลสมาชิกกันเอง(SRO) ซึ่งทางคณะกรรมการบริหารสมาคมบริษัทหลักทรัพย์ได้มอบหมายให้ ดร. จงรัก ระรวยทรง เป็นผู้แทนสมาคมในการเข้าร่วมการดูงานSROที่ประเทศเกาหลีใต้และประเทศมาเลเซีย ซึ่งจัดโดยคณะกรรมการก.ล.ต. โดยมีการกำหนดการดูงานที่ก.ล.ต.ตลาดหลักทรัพย์ และตลาดหลักทรัพย์และสมาคมที่เกี่ยวเนื่องธุรกิจของแต่บริษัทประเทศเพื่อศึกษาภาพรวมของการกำกับดูแลตลาดทุน พัฒนาการของการก่อตั้งSRO การกำกับดูแลSRO และปฏิบัติงานของSRO ในแต่ละประเทศ รวมทั้งข้อดีข้อเสียและประสบการณ์จัดตั้งSRO
นายจงรัก ระรวยทรง กรรมการผู้อำนวยการ สมาคมบริษัทหลักทรัพย์(สมาคมโบรกเกอร์) เปิดเผยว่า สมาคมโบรกเกอร์ได้มีการจัดประชุมวิสามัญสมาชิกเพื่อมีการเลือกตั้งนายกสมาคมโบรกเกอร์คนใหม่หลังจากนายกัมปนาท โลหเจริญวณิชย์ได้มีการลาออก ซึ่งที่ประชุมได้มีมติแต่งตั้งนางภัทธีรา ดิลกรุ่งธีระภพ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัทหลักทรัพย์ ดีบีเอส วิคเคอร์ส (ประเทศไทย) เป็นนายกสมาคมคนใหม่ หลังจากนาย สุชาย สุทัศน์ธรรมกุล กรรมการผู้จัดการ บริษัทหลักทรัพย์ ฟิลลิป (ประเทศไทย)นาย เชาว์ อรัญวัฒน์ กรรมการผู้จัดการ บริษัทหลักทรัพย์ เคที ซีมิโก้นาง อัศวินี ไตลังคะ กรรมการผู้จัดการ บริษัทหลักทรัพย์ ธนชาต จำกัดได้มีการขอถอนตัว
ทั้งนี้ที่ประชุมมีการหารือในเรื่องการคิดค่าธรรมเนียมการซื้อขายหลักทรัพย์(ค่าคอมมิชชั่น)ในส่วนมูลค่าการซื้อขายที่เกิน20 ล้านบาทต่อวันว่าบริษัทสมาชิกจะมีการคิดอัตราตามที่สมาคมฯได้มีการกำหนดไว้หรือไม่ หลังจากที่มีบล.นครหลวงไทยได้มีการประกาศที่จะคิดค่าคอมมิชชั่นที่อัตรา0%ซึ่งส่งผลให้บล.หลายแห่งมีการคิดค่าคอมมิชชั่นที่อัตราดังกล่าวเช่นกันเพื่อรักษาฐานลูกค้าของบริษัทไว้ โดยโบรกเกอร์ทุกแห่งมีมติว่าตั้งแต่วันที่1 กุมภาพันธ์นี้ จะคิดค่าคอมมิชชั่นมูลค่าการซื้อขายเกิน20 ล้านบาต่อวันตามอัตราอ้างอิงที่สมาคมฯกำหนด
สำหรับการคิดอัตราอ้างอิงการคิดค่าคอมมิชชั่น กำหนด 3แนวทาง คือ หากนักลงทุนซื้อขายผ่านเจ้าหน้าที่การตลาด (มาร์เกตติ้ง)จะคิดค่าคอมมิชชั่นที่อัตรา 0.15% หากซื้อขายผ่านอินเตอร์เน็ตแบ่งเป็น ซื้อขายผ่านบัญชีเงินสดอัตราที่0.12% ส่วนซื้อขายผ่านบัญชีแคลชบาลานซ์และเครดิตบาลานซ์จะคิดอัตราที่ 0.10% เนื่องจากการคิดค่าคอมมิชชั่นที่อัตราดังกล่าวนั้นเป็นอัตราที่เหมาะสม เพราะ หากคิดอัตราที่ต่ำกว่านี้จะไม่ครอบคลุมต้นทุนของบริษัทได้ และอัตราดังกล่าวเป็นอัตราที่ต่ำ
นายจงรัก กล่าวว่า บล.นครหลวงไทยตอบรับว่าจะมีการคิดค่าคอมมิชชั่นตามอัตราอ้างอิงดังกล่าวตามมติที่ประชุมแต่มีการขอเวลาในการไปแจ้งลูกค้าก่อน จากที่บล.นครหลวงไทยประกาศคิดค่าคอมมิชชั่น0%เป็นเวลา3 เดือนและจะมีการกลับมาคิดค่าคอมมิชชั่นตามอัตราอ้างอิงที่ทางสมาคมโบรกเกอร์กำหนดไว้ในวันที่1กุมภาพันธ์นี้เช่นกัน ซึ่งส่วนตัวมองว่าการที่โบรกเกอร์ กลับมาคิดค่าคอมมิชชั่นที่อัตราอ้างอิงไม่คิดที่อัตรา0% นั้น จะทำให้การแข่งขันไม่รุนแรงจนต้องปิดไปเหมือนกับการเปิดเสรีครั้งแรก และทำให้ผลประกอบการของโบรกเกอร์ปรับตัวลดลงไม่มากนัก จากที่ปีนี้เป็นปีแรกที่มีการเปิดเสรีค่าคอมมิชชั่นแบบขั้นบันได
“ในช่วงที่เรามีการหารือการคิดค่าคอมมิชชั่นในส่วนมูลค่าการซื้อขายที่เกิน20 ล้านบาทต่อวันนั้นเดิมเป็นการหารือในกลุ่มย่อยเท่านั้นไม่ได้มีการหารือกับสมาชิกทุกรายทำให้มีสมาชิกบางรายไม่ทำตามแต่การประชุมครั้งนี้โบรกเกอร์ทุกแห่งได้มีการเข้าร่วมประชุม และทุกโบรกเกอร์เห็นด้วยที่จะมีการคิดค่าคอมมิชชั่นที่อัตราอ้างอิงดังกล่าวซึ่งถือว่าเป็นมติของที่ประชุมที่ทุกโบรกเกอร์ต้องทำตามและทางบล.นครหลวงไทยยินดีที่จะทำตามมติที่ประชุมเช่นกันแต่ขอเวลาแจ้งลูกค้าก่อน”นายจงรัก กล่าวว่า
อย่างไรก็ตามจากการที่ทุกโบรกเกอร์จะไม่มีการคิดค่าคอมมิชชั่นที่อัตรา0%ในเดือนหน้านั้น จะไม่ทำให้ในสัปดาห์นี้ นักลงทุนรายใหญ่ที่มีมูลค่าการซื้อขายเกิน20 ล้านบาทต่อวันมีการแห่เข้ามาซื้อขายหุ้นในช่วงสัปดาห์นี้จำนวนมากเพื่อที่จะไม่เสียค่าคอมมิชชั่นในส่วนที่วอลุ่มเกินกว่า20 ล้านบาท เพราะ นักลงทุนดังกล่าวนั้นมีไม่มาก
นายจงรัก กล่าวว่า การคิดค่าคอมมิชชั่นกับบริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุน(บลจ.)นั้นที่ประชุมมีมติให้มีการคิดที่อัตรา0.20% เหมือนเดิมตั้งแต่สัปดาห์นี้ เนื่องจากเป็นอัตราที่เหมาะสมแล้ว เพราะการดูแลลูกค้าสถาบันนั้นมีต้นทุนที่สูงกว่าการให้บริการนักลงทุนรายย่อยรายย่อยจากที่จะต้องมีการให้บริการที่มากกว่า โดยในเรื่องนี้เป็นหน้าที่ของโบรกเกอร์ที่จะต้องมีการแจ้งให้กับบลจ.ที่เป็นลูกค้าของตนทราบเรื่องดังกล่าว โดยทางสมาคมโบรกเกอร์จะไม่มีการจัดประชุมหารือกับทางบลจ.เพราะ ผู้ที่มีการคิดค่าคอมมิชชั่นแก่บลจ.ที่ต่ำกว่า0.20% นั้นมีไม่กี่ราย
นอกจากนี้ทางสมาคมฯมติให้มีการจัดตั้งชมรมบริษัทหลักทรัพย์ลูกค้าสถาบัน เพื่อที่จะทำหน้าที่ในการแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้นเกี่ยวกับการให้บริการนักลงทุนสถาบัน จากปัจจุบันที่สมาคมฯจะมีการหารือเฉพาะปัญหาของโบรกเกอร์ที่มีฐานรายย่อยเท่านั้น เพราะ ปัญหาของโบรกเกอร์ที่ให้บริการเฉพาะนักลงทุนสาถบันนั้นเป็นปัญหาที่แตกต่างกับโบรกเกอร์ที่มีฐานนักลงทุนรายย่อย