คลังเปิดรับฟังความเห็นเตรียมรื้อระบบโครงสร้างภาษีกฎเกณฑ์ต่างๆ หนุนบรรษัทข้ามชาติตั้งสำนักงานปฏิบัติการภูมิภาค (ROH) ในไทยดูดเม็ดเงินลงทุนเข้าประเทศ แย้มลดภาษีไม่น้อยหน้าสิงคโปร์-มาเลย์ พร้อมหาทางอุดช่องโหว่ตั้งบริษัทโดยไม่มีพนักงานเพื่อเลี่ยงภาษี
นายประดิษฐ์ ภัทรประสิทธิ์ รมช.คลัง เป็นประธานเปิดการสัมมนารับฟังความเห็นจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง รวมถึงนักลงทุนต่างชาติในการเข้ามาตั้งสำนักงานปฏิบัติการภูมิภาค (ROH) เพื่อปรับปรุงสิทธิประโยชน์ต่าง ๆ ในการดึงดูดให้บริษัทขนาดใหญ่ในต่างประเทศมาตั้งสำนักงานในประเทศไทย
นายประดิษฐ์ กล่าวว่า ในช่วง 8 ปีที่ผ่านมามีบริษัทต่างชาติเข้ามาตั้งสำนักงานในไทยแล้วนับ 100 ราย จึงต้องมีการทบทวนกฎเกณฑ์เงื่อนไขต่างๆ ให้ทันสมัยและแข่งกับประเทศเพื่อนบ้านได้ โดยกฎเกณฑ์ของไทยผ่อนปรนภาษีเงินได้ให้กับ ROH จากร้อยละ 30 เหลือร้อยละ 10 และหากเป็นธุรกิจที่เกี่ยวกับการทำวิจัยและพัฒนาจะลดเหลือร้อยละ 10 รวมถึงหากบริษัทแม่นำเงินมาปล่อยกู้ต่อให้กับบริษัทในเครือที่อยู่ในประเทศไทยแล้วมีผลกำไรเป็นรายได้ก็ลดภาษีเหลือร้อยละ 10 เช่นกัน ขณะที่สิงคโปร์ลดภาษีทั้ง 3 ประเภทที่ร้อยละ 15 มาเลเซียยกเว้นภาษี แต่กำหนดระยะเวลา 10 ปี ส่วนไทยไม่มีการกำหนดระยะเวลา
ด้านการจ่ายเงินปันผล สำหรับไทยเมื่อมีการจ่ายเงินปันผลจาก ROH ให้กับบริษัทในเครือจะได้รับการยกเว้น แต่ถ้าหาก ROH มีรายได้โอนส่งไปยังสำนักงานใหญ่ในต่างประเทศจะได้รับการลดหย่อนเหลือร้อยละ 10 ขณะที่มาเลเซียและสิงคโปร์ยกเว้นให้ ด้านการหักค่าเสื่อมราคาของสินค้าทุน เครื่องมือ เครื่องจักร อุปกรณ์ ไทยหักค่าเสื่อมราคาปีแรกร้อยละ 25 ส่วนอีกร้อยละ 25 หักตามเกณฑ์บัญชีมาตรฐาน ทำให้ปีแรกต่างชาติที่มาตั้ง ROH จะมีภาระภาษีน้อยมาก
สำหรับชาวต่างชาติที่ทำงานใน ROH เมื่อมีรายได้เป็นเงินเดือนและค่าตอบแทนต่าง ๆ ทั้งไทย มาเลเซีย และสิงคโปร์ จะยกเว้นภาษีเหมือนกัน โดยไทยยกเว้นภาษีให้ 4 ปี มาเลเซีย ยกเว้น 3-5 ปี แต่สิงคโปร์ ลดภาษีเหลือร้อยละ 10 แต่กำหนดระยะเวลา 5 ปี ส่วนการกำหนดเงินทุนขั้นต่ำ ที่เข้ามาลงทุนในประเทศ ไทยกำหนดว่า ต้องมีเงินทุนไม่ต่ำกว่า 10 ล้านบาท คงไม่เป็นปัญหา ธุรกิจขนาดใหญ่ที่จะเข้ามาลงทุน ขณะที่สิงคโปร์ กำหนดปีแรกต้องลงทุน 4.8-5 ล้านบาท หลังจากนั้นต้องเพิ่มเป็น 12 ล้านบาท ส่วนมาเลเซีย ต้องลงทุน 5 ล้านบาท จึงถือว่าเงื่อนไขดังกล่าวไม่ต่างกันมากนัก
ขณะที่การกำหนดรายได้ขั้นต่ำที่ต้องใช้จ่ายในประเทศเมื่อตั้ง ROH สิงคโปร์กำหนดว่า 3 ปีแรก ต้องใช้จ่ายเงินถึง 48 ล้านบาท เฉลี่ยในช่วง 3 ปีแรกต้องจ่ายเงินมากกว่า 72 ล้านบาท เพื่อต้องการกระตุ้นให้ใช้จ่ายในประเทศสิงคโปร์ ส่วนมาเลเซียกำหนดให้มีการใช้จ่ายเงินในประเทศ 15 ล้านบาท ขณะที่ไทยไม่กำหนดเงื่อนไขดังกล่าว จึงมองว่าผ่อนปรนเงื่อนไขดังกล่าวให้กับต่างชาติมากเกินไปหรือไม่
รวมทั้งกรณีการกำหนดให้มีพนักงานเจ้าหน้าที่มาประจำ ROH นั้น สิงคโปร์กำหนดต่างชาติต้องทำงานไม่ต่ำกว่า 10 คน และต้องมีพนักงานทำงานประจำ มาเลเซียกำหนดต้องมีผู้เชี่ยวชาญทำงานมากกว่า 3 คน ไทยไม่มีข้อกำหนดดังกล่าว ซึ่งอาจเป็นช่องว่างในการจดทะเบียนตั้งบริษัทหวังหลีกเลี่ยงภาษี แต่ไม่มีคนทำงานจริง ๆ ดังนั้น เงื่อนไขดังกล่าวอาจจะต้องมีการกำหนดเพิ่มเติม โดยเมื่อได้รับฟังความคิดเห็นจากส่วนต่าง ๆ จะทำข้อสรุป เพื่อเสนอต่อรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังและนายกรัฐมนตรีพิจารณาเกี่ยวกับการปรับปรุงหลักเกณฑ์และส่งเสริมการตั้ง ROH ในประเทศไทย
นายประดิษฐ์ ภัทรประสิทธิ์ รมช.คลัง เป็นประธานเปิดการสัมมนารับฟังความเห็นจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง รวมถึงนักลงทุนต่างชาติในการเข้ามาตั้งสำนักงานปฏิบัติการภูมิภาค (ROH) เพื่อปรับปรุงสิทธิประโยชน์ต่าง ๆ ในการดึงดูดให้บริษัทขนาดใหญ่ในต่างประเทศมาตั้งสำนักงานในประเทศไทย
นายประดิษฐ์ กล่าวว่า ในช่วง 8 ปีที่ผ่านมามีบริษัทต่างชาติเข้ามาตั้งสำนักงานในไทยแล้วนับ 100 ราย จึงต้องมีการทบทวนกฎเกณฑ์เงื่อนไขต่างๆ ให้ทันสมัยและแข่งกับประเทศเพื่อนบ้านได้ โดยกฎเกณฑ์ของไทยผ่อนปรนภาษีเงินได้ให้กับ ROH จากร้อยละ 30 เหลือร้อยละ 10 และหากเป็นธุรกิจที่เกี่ยวกับการทำวิจัยและพัฒนาจะลดเหลือร้อยละ 10 รวมถึงหากบริษัทแม่นำเงินมาปล่อยกู้ต่อให้กับบริษัทในเครือที่อยู่ในประเทศไทยแล้วมีผลกำไรเป็นรายได้ก็ลดภาษีเหลือร้อยละ 10 เช่นกัน ขณะที่สิงคโปร์ลดภาษีทั้ง 3 ประเภทที่ร้อยละ 15 มาเลเซียยกเว้นภาษี แต่กำหนดระยะเวลา 10 ปี ส่วนไทยไม่มีการกำหนดระยะเวลา
ด้านการจ่ายเงินปันผล สำหรับไทยเมื่อมีการจ่ายเงินปันผลจาก ROH ให้กับบริษัทในเครือจะได้รับการยกเว้น แต่ถ้าหาก ROH มีรายได้โอนส่งไปยังสำนักงานใหญ่ในต่างประเทศจะได้รับการลดหย่อนเหลือร้อยละ 10 ขณะที่มาเลเซียและสิงคโปร์ยกเว้นให้ ด้านการหักค่าเสื่อมราคาของสินค้าทุน เครื่องมือ เครื่องจักร อุปกรณ์ ไทยหักค่าเสื่อมราคาปีแรกร้อยละ 25 ส่วนอีกร้อยละ 25 หักตามเกณฑ์บัญชีมาตรฐาน ทำให้ปีแรกต่างชาติที่มาตั้ง ROH จะมีภาระภาษีน้อยมาก
สำหรับชาวต่างชาติที่ทำงานใน ROH เมื่อมีรายได้เป็นเงินเดือนและค่าตอบแทนต่าง ๆ ทั้งไทย มาเลเซีย และสิงคโปร์ จะยกเว้นภาษีเหมือนกัน โดยไทยยกเว้นภาษีให้ 4 ปี มาเลเซีย ยกเว้น 3-5 ปี แต่สิงคโปร์ ลดภาษีเหลือร้อยละ 10 แต่กำหนดระยะเวลา 5 ปี ส่วนการกำหนดเงินทุนขั้นต่ำ ที่เข้ามาลงทุนในประเทศ ไทยกำหนดว่า ต้องมีเงินทุนไม่ต่ำกว่า 10 ล้านบาท คงไม่เป็นปัญหา ธุรกิจขนาดใหญ่ที่จะเข้ามาลงทุน ขณะที่สิงคโปร์ กำหนดปีแรกต้องลงทุน 4.8-5 ล้านบาท หลังจากนั้นต้องเพิ่มเป็น 12 ล้านบาท ส่วนมาเลเซีย ต้องลงทุน 5 ล้านบาท จึงถือว่าเงื่อนไขดังกล่าวไม่ต่างกันมากนัก
ขณะที่การกำหนดรายได้ขั้นต่ำที่ต้องใช้จ่ายในประเทศเมื่อตั้ง ROH สิงคโปร์กำหนดว่า 3 ปีแรก ต้องใช้จ่ายเงินถึง 48 ล้านบาท เฉลี่ยในช่วง 3 ปีแรกต้องจ่ายเงินมากกว่า 72 ล้านบาท เพื่อต้องการกระตุ้นให้ใช้จ่ายในประเทศสิงคโปร์ ส่วนมาเลเซียกำหนดให้มีการใช้จ่ายเงินในประเทศ 15 ล้านบาท ขณะที่ไทยไม่กำหนดเงื่อนไขดังกล่าว จึงมองว่าผ่อนปรนเงื่อนไขดังกล่าวให้กับต่างชาติมากเกินไปหรือไม่
รวมทั้งกรณีการกำหนดให้มีพนักงานเจ้าหน้าที่มาประจำ ROH นั้น สิงคโปร์กำหนดต่างชาติต้องทำงานไม่ต่ำกว่า 10 คน และต้องมีพนักงานทำงานประจำ มาเลเซียกำหนดต้องมีผู้เชี่ยวชาญทำงานมากกว่า 3 คน ไทยไม่มีข้อกำหนดดังกล่าว ซึ่งอาจเป็นช่องว่างในการจดทะเบียนตั้งบริษัทหวังหลีกเลี่ยงภาษี แต่ไม่มีคนทำงานจริง ๆ ดังนั้น เงื่อนไขดังกล่าวอาจจะต้องมีการกำหนดเพิ่มเติม โดยเมื่อได้รับฟังความคิดเห็นจากส่วนต่าง ๆ จะทำข้อสรุป เพื่อเสนอต่อรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังและนายกรัฐมนตรีพิจารณาเกี่ยวกับการปรับปรุงหลักเกณฑ์และส่งเสริมการตั้ง ROH ในประเทศไทย