เตรียมขันนอตคุมผู้บริหารกระทรวงคลัง ระดับรองอธิบดีขึ้นไปรวมถึงคู่สมรส ผู้ที่ได้รับแต่งตั้งให้เป็นกรรมการในรัฐวิสาหกิจ จากนี้ห้ามเป็นกรรมการ-ที่ปรึกษาในกิจการที่มีผลประโยชน์หรือขัดแย้งกับตำแหน่งหน้าที่ “กรณ์” แถลงอังคารนี้
นายสถิตย์ ลิ่มพงศ์พันธุ์ ปลัดกระทรวงการคลัง เปิดเผยว่า จากนี้ไปข้าราชการกระทรวงการคลังตั้งแต่ระดับรองอธิบดีหรือที่เรียกใหม่ในการจัดลำดับแท่งใหม่ว่าผู้บริหารระดับต้นขึ้นไปรวมถึงคู่สมรส และผู้ที่ได้รับแต่งตั้งให้เป็นกรรมการในรัฐวิสาหกิจ ห้ามไม่ให้เป็นกรรมการหรือที่ปรึกษาในกิจการที่มีผลประโยชน์หรือขัดแย้งกับภาระหน้าที่ ส่วนในการซื้อขายหลักทรัพย์ (หุ้น) สามารถทำได้ แต่ต้องรายงานให้นักวิเคราะห์ซึ่งจะมีการจัดตั้งขึ้นภายหลังรับทราบ เพื่อวิเคราะห์ว่าหุ้นที่ซื้อขัดแย้งหรือได้รับประโยชน์ทั้งส่วนตนและส่วนรวมหรือไม่
“ระเบียบนี้จะบังคับใช้กับผู้บริหารซี 9 กระทรวงการคลังทุกคนที่มีประมาณ 200 คน ซึ่งรวมถึงคู่สมรส และครอบคลุมถึงกรมสรรพากร โดยที่ผ่านมามีปัญหาร้องเรียนเรื่องเจ้าหน้าที่สรรพากรไปเป็นที่ปรึกษากฎหมายทำให้เกิดการเลี่ยงภาษีจำนวนมาก ดังนั้นหากเกิดระเบียบนี้ขึ้นก็จะบังคับใช้จริงจังมากขึ้น” นายสถิตย์กล่าว
โดยวันที่ 9 ก.พ.นี้ นายกรณ์ จาติกวณิช รมว.คลัง จะแถลงข่าวหัวข้อธรรมาภิบาลของข้าราชการกระทรวงการคลัง โดยเฉพาะที่เกี่ยวข้องกับผลประโยชน์จากการซื้อขายหลักทรัพย์ของข้าราชการ ซึ่งที่ผ่านมาได้สำรวจความคิดเห็นของข้าราชการซึ่งได้ข้อสรุปแล้ว
ทั้งนี้ ระเบียบที่จะร่างขึ้นเพื่อบังคับกับผู้บริหารระดับต้นของกระทรวงการคลังนั้นจะเป็นอำนาจของปลัดกระทรวงการคลัง ขณะที่รมว.คลังก็จะนำระเบียบที่ล้อเลียนฉบับดังกล่าวนี้ไปบังคับใช้กับข้าราชการการเมืองหรือผู้ปฏิบัติงานที่เกี่ยวข้องกับการเมืองด้วย
สำหรับเป้าหมายหลักของระเบียบดังกล่าวนี้ เพื่อต้องการให้ข้าราชการในกระทรวงการคลังที่เป็นผู้บริหารได้ปฏิบัติตามนโยบายและมีจรรยาบรรณอย่างเคร่งครัด ทั้งนี้หากผู้บริหารคนใดไม่ปฏิบัติตามระเบียบดังกล่าวนี้ก็จะมีความผิดวินัย
แนวทางการพัฒนาระบบธรรมาภิบาลของข้าราชการดังกล่าว ได้มอบหมายให้ น.ส. สุภา ปิยะจิตติ ผู้อำนวยการสำนักงานคณะกรรมการนโยบายรัฐวิสาหกิจ (สคร.) เป็นผู้จัดทำ บนเงื่อนไขต้องไม่มีความเสี่ยงเรื่องปฏิบัติการ ความเสี่ยงเรื่องกฎหมายเพื่อให้การดำเนินการต่างๆ ของกระทรวงการคลังมี ความเสี่ยงด้านกฎหมายน้อยลง และความเสี่ยงทางด้านชื่อเสียง เป็นเรื่องสำคัญเพราะเป็นกระทรวงที่ควรปฏิบัติราชการโดยมีหลักเกณฑ์ที่แน่นอนรักษาไว้ซึ่งความถูกต้องและความเป็นธรรม
ที่มาของนโยบายที่เข่มงวดมักขึ้น เกิดจากก่อนหน้านี้ นายวิสิฐ ตันติสุนทร เลขาธการกองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ (กบข.) มีปัยหาเรื่องการซื้อขายหุ้นส่วนตัวโดยไม่ขัดข้อบังคับทางด้านกฎหมายเป็นที่วิจารณ์กันอย่างกว้างขวางกระทั่งการแต่งตั้งเลขาธิการ กบข.คนใหม่คือ น.ส.โสภาวดี เลิศมนัสชัย เมื่อเดือนที่ผ่านมา สัญญาว่าจ้างจึงกำหนดเงื่อนไขเกี่ยวกับกรอบการลงทุนของเลขาธิการ กบข.ไว้ชัดเจนว่า ไม่สามารถเข้าไปซื้อหุ้นใดๆ หรือซื้อหุ้นแบบเฉพาะเจาะจงได้ ยกเว้นเป็นการถือหุ้นเดิมที่มีอยู่ก่อนรับตำแหน่ง เลขาธิการ กบข.และครอบครัวยังต้องรายงานการถือครองหลักทรัพย์ภายใน 15 วัน หลังการลงนามในสัญญาว่าจ้างด้วย
นายสถิตย์ ลิ่มพงศ์พันธุ์ ปลัดกระทรวงการคลัง เปิดเผยว่า จากนี้ไปข้าราชการกระทรวงการคลังตั้งแต่ระดับรองอธิบดีหรือที่เรียกใหม่ในการจัดลำดับแท่งใหม่ว่าผู้บริหารระดับต้นขึ้นไปรวมถึงคู่สมรส และผู้ที่ได้รับแต่งตั้งให้เป็นกรรมการในรัฐวิสาหกิจ ห้ามไม่ให้เป็นกรรมการหรือที่ปรึกษาในกิจการที่มีผลประโยชน์หรือขัดแย้งกับภาระหน้าที่ ส่วนในการซื้อขายหลักทรัพย์ (หุ้น) สามารถทำได้ แต่ต้องรายงานให้นักวิเคราะห์ซึ่งจะมีการจัดตั้งขึ้นภายหลังรับทราบ เพื่อวิเคราะห์ว่าหุ้นที่ซื้อขัดแย้งหรือได้รับประโยชน์ทั้งส่วนตนและส่วนรวมหรือไม่
“ระเบียบนี้จะบังคับใช้กับผู้บริหารซี 9 กระทรวงการคลังทุกคนที่มีประมาณ 200 คน ซึ่งรวมถึงคู่สมรส และครอบคลุมถึงกรมสรรพากร โดยที่ผ่านมามีปัญหาร้องเรียนเรื่องเจ้าหน้าที่สรรพากรไปเป็นที่ปรึกษากฎหมายทำให้เกิดการเลี่ยงภาษีจำนวนมาก ดังนั้นหากเกิดระเบียบนี้ขึ้นก็จะบังคับใช้จริงจังมากขึ้น” นายสถิตย์กล่าว
โดยวันที่ 9 ก.พ.นี้ นายกรณ์ จาติกวณิช รมว.คลัง จะแถลงข่าวหัวข้อธรรมาภิบาลของข้าราชการกระทรวงการคลัง โดยเฉพาะที่เกี่ยวข้องกับผลประโยชน์จากการซื้อขายหลักทรัพย์ของข้าราชการ ซึ่งที่ผ่านมาได้สำรวจความคิดเห็นของข้าราชการซึ่งได้ข้อสรุปแล้ว
ทั้งนี้ ระเบียบที่จะร่างขึ้นเพื่อบังคับกับผู้บริหารระดับต้นของกระทรวงการคลังนั้นจะเป็นอำนาจของปลัดกระทรวงการคลัง ขณะที่รมว.คลังก็จะนำระเบียบที่ล้อเลียนฉบับดังกล่าวนี้ไปบังคับใช้กับข้าราชการการเมืองหรือผู้ปฏิบัติงานที่เกี่ยวข้องกับการเมืองด้วย
สำหรับเป้าหมายหลักของระเบียบดังกล่าวนี้ เพื่อต้องการให้ข้าราชการในกระทรวงการคลังที่เป็นผู้บริหารได้ปฏิบัติตามนโยบายและมีจรรยาบรรณอย่างเคร่งครัด ทั้งนี้หากผู้บริหารคนใดไม่ปฏิบัติตามระเบียบดังกล่าวนี้ก็จะมีความผิดวินัย
แนวทางการพัฒนาระบบธรรมาภิบาลของข้าราชการดังกล่าว ได้มอบหมายให้ น.ส. สุภา ปิยะจิตติ ผู้อำนวยการสำนักงานคณะกรรมการนโยบายรัฐวิสาหกิจ (สคร.) เป็นผู้จัดทำ บนเงื่อนไขต้องไม่มีความเสี่ยงเรื่องปฏิบัติการ ความเสี่ยงเรื่องกฎหมายเพื่อให้การดำเนินการต่างๆ ของกระทรวงการคลังมี ความเสี่ยงด้านกฎหมายน้อยลง และความเสี่ยงทางด้านชื่อเสียง เป็นเรื่องสำคัญเพราะเป็นกระทรวงที่ควรปฏิบัติราชการโดยมีหลักเกณฑ์ที่แน่นอนรักษาไว้ซึ่งความถูกต้องและความเป็นธรรม
ที่มาของนโยบายที่เข่มงวดมักขึ้น เกิดจากก่อนหน้านี้ นายวิสิฐ ตันติสุนทร เลขาธการกองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ (กบข.) มีปัยหาเรื่องการซื้อขายหุ้นส่วนตัวโดยไม่ขัดข้อบังคับทางด้านกฎหมายเป็นที่วิจารณ์กันอย่างกว้างขวางกระทั่งการแต่งตั้งเลขาธิการ กบข.คนใหม่คือ น.ส.โสภาวดี เลิศมนัสชัย เมื่อเดือนที่ผ่านมา สัญญาว่าจ้างจึงกำหนดเงื่อนไขเกี่ยวกับกรอบการลงทุนของเลขาธิการ กบข.ไว้ชัดเจนว่า ไม่สามารถเข้าไปซื้อหุ้นใดๆ หรือซื้อหุ้นแบบเฉพาะเจาะจงได้ ยกเว้นเป็นการถือหุ้นเดิมที่มีอยู่ก่อนรับตำแหน่ง เลขาธิการ กบข.และครอบครัวยังต้องรายงานการถือครองหลักทรัพย์ภายใน 15 วัน หลังการลงนามในสัญญาว่าจ้างด้วย