เอส เอ็น ซี ฯ งวดสิ้นปี 52 กำไรโต 41% หรือ 139 ล้านบาท เพิ่มจากปี 51 ที่ทำไว้ 99 ล้านบาท ผลจากรายได้จากการขายด้านธุรกิจรับจ้างประกอบเครื่องปรับอากาศเพิ่มขึ้นสูง ส่วนค่าใช้จ่ายในการบริหารลดลงจากการปรับลดและควบคุมงบประมาณการใช้จ่ายต่างรวมทั้งดอกเบี้ยจ่ายหลังชำระคืนเงินกู้กับธนาคาร
นายสามิตต์ ผลิตกรรม กรรมการผู้จัดการ บริษัท เอส เอ็น ซี ฟอร์เมอร์ จำกัด ( มหาชน) หรือ SNC แจ้งผลงานของบริษัท และบริษัทย่อย สำหรับปีสิ้นสุดวันที่ 31 ธันวาคม 52 ว่าบริษัทมีกำไรสุทธิ 138.72 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากงวดเดียวกัน 98.71 ล้านบาท หรือเพิ่มขึ้น 40.01 ล้านบาท คิดเป็นเพิ่มขึ้น 40.53%
โดยงวดนี้บริษัทมีรายได้จากการขาย 4,901 ล้านบาท ส่วนปี 51 รายได้จากการขาย 4,021 ล้านบาท หรือ เพิ่มขึ้น 880 ล้านบาท คิดเป็น 22% เป็นผลมาจาก รายได้จากธุรกิจรับจ้างประกอบเครื่องปรับอากาศ 2,963 ล้านบาท ส่วนปี 51 รายได้จากการขาย 1,525 ล้านบาท หรือเพิ่มขึ้น 1,438 ล้านบาท คิดเป็น 94% ส่วนใหญ่เพิ่มขึ้นจากโรงงานที่แหลมฉบังรับจ้างประกอบเครื่องปรับอากาศมากกว่าปีก่อน
ขณะที่รายได้จากการขายชิ้นส่วนเครื่องปรับอากาศและเครื่องทำความเย็น 1,488 ล้านบาท ขณะที่ปี 51 รายได้จากการขาย 1,914 ล้านบาท หรือ ลดลง 426 ล้านบาท คิดเป็น 22% ลดลงเนื่องจากราคาวัตถุดิบเฉลี่ยต่ำกว่าปีก่อนประกอบกับปริมาณการผลิตที่ลดลง ส่วนรายได้จากการขายชิ้นส่วนเครื่องปรับอากาศภายในยานพาหนะ 320 ล้านบาท ขณะที่ปี 51 รายได้จากการขาย 444 ล้านบาท หรือ ลดลง 124 ล้านบาท คิดเป็น 28% ลดลงเนื่องจากปริมาณการผลิตที่ลดลงตามสภาพอุตสาหกรรม อย่างไรก็ตามปริมาณการผลิตกลับมาสูงขึ้นในไตรมาสที่ 4 และรายได้จากธุรกิจอื่นๆ มี 130 ล้านบาท ปี 51 มีรายได้ 138 ล้านบาท ลดลง 8 ล้านบาท คิดเป็น 6% เนื่องจากลูกค้ารายสำคัญของบริษัท ซึ่งอยู่ในอุตสาหกรรมการผลิตเครื่องซักผ้าและผลิตอุปกรณ์อิเล็คทรอนิคส์มียอดการผลิตลดลง
ขณะที่บริษัทมีต้นทุนขาย 4,598 ล้านบาท คิดเป็น 94% ของรายได้จากการขาย ขณะที่ปี 51 รายได้จากการขาย 3,658 ล้านบาท คิดเป็น 91% ต้นทุนขายต่อรายได้เพิ่มขึ้น 3% เนื่องจากสัดส่วนการรับจ้างประกอบเครื่องปรับอากาศเพิ่มขึ้นจากปีก่อน ส่วนค่าใช้จ่ายในการขาย 33 ล้านบาท คิดเป็น 0.7% ของรายได้จากการขาย ส่วนปี 51 รายได้จากการขาย 45 ล้านบาท คิดเป็น 1.1% และค่าใช้จ่ายในการบริหาร 116 ล้านบาท คิดเป็น 2.4% ของรายได้จากการขาย ส่วนปี51 รายได้จากการขาย 128 ล้านบาท คิดเป็น 3.2% จำนวนเงินลดลงเนื่องจากการปรับลดและควบคุมงบประมาณการใช้จ่ายต่าง
ขณะที่บริษัทมีดอกเบี้ยจ่าย 4.2 ล้านบาท ส่วนปี 52 มี 12.2 ล้านบาท หรือ ลดลง 8.0 ล้านบาท เนื่องจากบริษัทจ่ายคืนเงินกู้ยืมจากธนาคารอย่างสม่ำเสมอ และบริษัทได้จ่ายคืนเงินกู้ยืมระยะยาวทั้งหมดในเดือนธันวาคม
นายสามิตต์ ผลิตกรรม กรรมการผู้จัดการ บริษัท เอส เอ็น ซี ฟอร์เมอร์ จำกัด ( มหาชน) หรือ SNC แจ้งผลงานของบริษัท และบริษัทย่อย สำหรับปีสิ้นสุดวันที่ 31 ธันวาคม 52 ว่าบริษัทมีกำไรสุทธิ 138.72 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากงวดเดียวกัน 98.71 ล้านบาท หรือเพิ่มขึ้น 40.01 ล้านบาท คิดเป็นเพิ่มขึ้น 40.53%
โดยงวดนี้บริษัทมีรายได้จากการขาย 4,901 ล้านบาท ส่วนปี 51 รายได้จากการขาย 4,021 ล้านบาท หรือ เพิ่มขึ้น 880 ล้านบาท คิดเป็น 22% เป็นผลมาจาก รายได้จากธุรกิจรับจ้างประกอบเครื่องปรับอากาศ 2,963 ล้านบาท ส่วนปี 51 รายได้จากการขาย 1,525 ล้านบาท หรือเพิ่มขึ้น 1,438 ล้านบาท คิดเป็น 94% ส่วนใหญ่เพิ่มขึ้นจากโรงงานที่แหลมฉบังรับจ้างประกอบเครื่องปรับอากาศมากกว่าปีก่อน
ขณะที่รายได้จากการขายชิ้นส่วนเครื่องปรับอากาศและเครื่องทำความเย็น 1,488 ล้านบาท ขณะที่ปี 51 รายได้จากการขาย 1,914 ล้านบาท หรือ ลดลง 426 ล้านบาท คิดเป็น 22% ลดลงเนื่องจากราคาวัตถุดิบเฉลี่ยต่ำกว่าปีก่อนประกอบกับปริมาณการผลิตที่ลดลง ส่วนรายได้จากการขายชิ้นส่วนเครื่องปรับอากาศภายในยานพาหนะ 320 ล้านบาท ขณะที่ปี 51 รายได้จากการขาย 444 ล้านบาท หรือ ลดลง 124 ล้านบาท คิดเป็น 28% ลดลงเนื่องจากปริมาณการผลิตที่ลดลงตามสภาพอุตสาหกรรม อย่างไรก็ตามปริมาณการผลิตกลับมาสูงขึ้นในไตรมาสที่ 4 และรายได้จากธุรกิจอื่นๆ มี 130 ล้านบาท ปี 51 มีรายได้ 138 ล้านบาท ลดลง 8 ล้านบาท คิดเป็น 6% เนื่องจากลูกค้ารายสำคัญของบริษัท ซึ่งอยู่ในอุตสาหกรรมการผลิตเครื่องซักผ้าและผลิตอุปกรณ์อิเล็คทรอนิคส์มียอดการผลิตลดลง
ขณะที่บริษัทมีต้นทุนขาย 4,598 ล้านบาท คิดเป็น 94% ของรายได้จากการขาย ขณะที่ปี 51 รายได้จากการขาย 3,658 ล้านบาท คิดเป็น 91% ต้นทุนขายต่อรายได้เพิ่มขึ้น 3% เนื่องจากสัดส่วนการรับจ้างประกอบเครื่องปรับอากาศเพิ่มขึ้นจากปีก่อน ส่วนค่าใช้จ่ายในการขาย 33 ล้านบาท คิดเป็น 0.7% ของรายได้จากการขาย ส่วนปี 51 รายได้จากการขาย 45 ล้านบาท คิดเป็น 1.1% และค่าใช้จ่ายในการบริหาร 116 ล้านบาท คิดเป็น 2.4% ของรายได้จากการขาย ส่วนปี51 รายได้จากการขาย 128 ล้านบาท คิดเป็น 3.2% จำนวนเงินลดลงเนื่องจากการปรับลดและควบคุมงบประมาณการใช้จ่ายต่าง
ขณะที่บริษัทมีดอกเบี้ยจ่าย 4.2 ล้านบาท ส่วนปี 52 มี 12.2 ล้านบาท หรือ ลดลง 8.0 ล้านบาท เนื่องจากบริษัทจ่ายคืนเงินกู้ยืมจากธนาคารอย่างสม่ำเสมอ และบริษัทได้จ่ายคืนเงินกู้ยืมระยะยาวทั้งหมดในเดือนธันวาคม