ASTVผู้จัดการรายวัน - นายสาธิต รังคสิริ ผู้อำนวยการสำนักงานเศรษฐกิจการคลัง (สศค.) เปิดเผยในงานสัมมนาวิชาการเวทีสำนักงานเศรษฐกิจการคลัง (FPO Forum) ภายใต้โครงการขยายบทบาทสำนักงานเศรษฐกิจการคลังสู่ภูมิภาคโดยได้กล่าวปาฐกถาในหัวข้อ "แนวโน้มเศรษฐกิจปี 2553 การฟื้นตัวบนความท้าทาย" ว่า วิกฤตเศรษฐกิจที่ผ่านมาได้เสริมสร้างภูมิคุ้มกันของประเทศไทยให้แกร่งขึ้น โดยจากประสบการณ์วิกฤตต้มยำกุ้งในปี 2540 ซึ่งมีต้นตอมาจากการกู้หนี้ยืมสินที่เกินตัว ทำให้คนไทยมีวินัยในการกู้ยืมมากขึ้น รวมถึงวิกฤตแฮมเบอร์เกอร์ช่วงปลายปี 2551 ซึ่งส่งผลให้การส่งออกของไทยไปยังสหรัฐฯลดน้อยลงได้ทำให้ไทยได้มีการกระจายความเสี่ยงโดยการหาตลาดการส่งออกใหม่ อาทิ จีน ออสเตรเลีย ตะวันออกกลาง และเวียดนาม
ทั้งนี้ จากภูมิคุ้มกันที่แกร่งขึ้น ส่งผลให้เศรษฐกิจไทยได้ฟื้นตัวจากวิกฤตเศรษฐกิจอย่างรวดเร็ว โดยคาดว่าในไตรมาสที่ 4 ปี 2552 เศรษฐกิจไทยจะขยายตัวถึงร้อยละ 3.6 ต่อปี จากในเดือนธันวาคม 2552 ที่การส่งออกขยายตัวร้อยละ 26.1 ต่อปี และนักท่องเที่ยวต่างชาติที่เข้ามาเที่ยวถึง 1.6 ล้านคน ส่งผลให้ทั้งปี 2552 เศรษฐกิจไทยหดตัวเพียงร้อยละ -2.8 ต่อปี และในปี 2553 คาดว่าเศรษฐกิจไทยจะขยายตัวต่อเนื่องที่ร้อยละ 3.5 ต่อปี
อย่างไรก็ตาม ก็ยังมีปัจจัยเสี่ยงหลายประการ อาทิ ผลกระทบที่อาจจะเกิดขึ้นจากการลดหรือเลิกมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจของรัฐบาลต่างๆผลกระทบจากการเปิดเสรีการค้าอาเซียน (อาฟต้า) ที่ทำให้การแข่งขันในภูมิภาคมีความเข้มข้นมากขึ้น ราคาน้ำมันที่เพิ่มสูงขึ้น และความผันผวนของค่าเงิน และราคาสินค้าโภคภัณฑ์ที่มากขึ้น ดังนั้น ภาคเอกชนจึงต้องมีการปรับตัวของภาคเอกชน โดยเฉพาะในเรื่องการสร้างมูลค่าเพิ่มของผลผลิตไทย และการบริหารจัดการความเสี่ยงทางการเงิน
นอกจากนี้ นายกอบศักดิ์ ภูตระกูล ผู้บริหารส่วนกลยุทธ์นโยบายการเงิน ธนาคารแห่งประเทศไทย(ธปท.)ให้มุมมองเกี่ยวกับเศรษฐกิจโลกว่ามีสัญญาณการฟื้นตัวที่ชัดเจนมากขึ้น แต่การฟื้นตัวดังกล่าวยังอยู่บนพื้นฐานที่เปราะบางจากภาคแรงงานสหรัฐฯที่ยังไม่ดีขึ้น กอปรกับความอ่อนแอของสถาบันการเงินสหรัฐฯ ที่ได้รับผลกระทบจากหนี้เสียในภาคอสังหาริมทรัพย์ ที่จะเป็นข้อจำกัดในการจับจ่ายใช้สอยของภาคเอกชน นอกจากนี้ มาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจของสหรัฐฯ อย่างต่อเนื่อง ได้ก่อให้มีสภาพคล่องที่สูง อันนำไปสู่ความผันผวนของตลาดเงินและราคาสินค้าโภคภัณฑ์ในช่วงที่ผ่านมา
ด้านธนวรรธน์ พลวิชัย คณบดีคณะเศรษฐศาสตร์ และผู้อำนวยการศูนย์พยากรณ์เศรษฐกิจและธุรกิจ มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย กล่าวว่า การฟื้นตัวของเศรษฐกิจไทยในปี 2553 มีปัจจัยบวก ได้แก่ 1) ราคาสินค้าเกษตรที่สูงขึ้นส่งผลดีต่อ การบริโภคภาคเอกชน 2) ภาพรวมของเศรษฐกิจโลกที่ดีขึ้น ซึ่งจะส่งผลดีต่อการท่องเที่ยวและการส่งออก และ 3) การเมืองและกฎหมายที่เอื้อต่อการขยายตัวของเศรษฐกิจในแต่ละภูมิภาคของไทย ซึ่งจะช่วยทำให้การฟื้นตัวของไทยกระจายไปอย่างทั่วถึง อย่างไรก็ตาม ยังมีความกังวลในสถานการณ์ การเมืองไทย และการฟื้นตัวของประเทศมหาอำนาจทางเศรษฐกิจ
ขณะที่นายฉัตรชัย บุญรัตน์ รองประธานกรรมการสภาหอการค้าแห่งประเทศไทยได้ย้ำถึงความสำคัญในการปรับกลยุทธ์ของการเปลี่ยนแปลงของโลกในด้านต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นการเปิดเสรีการค้าที่มากขึ้น การให้ความสำคัญกับสิ่งแวดล้อมและสุขอนามัย เป็นต้น สิ่งสำคัญที่ต้องคำนึงถึง คือ ความมีมาตรฐานสากล ความปลอดภัย ความมั่นคง และความยั่งยืน โดยได้เสนอยุทธศาสตร์หลักในการพัฒนาเศรษฐกิจไทย เช่น การเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขัน การปรับปรุงโครงสร้างทางเศรษฐกิจ การพัฒนาทักษะและองค์ความรู้ และรักษาสิ่งแวดล้อมและคุณภาพชีวิต เป็นต้น
นอกจากนี้ ยังเสนอแนวทางในการพัฒนากลุ่มธุรกิจหลัก อาทิ กลุ่มธุรกิจเกษตร ประมง และอาหารกลุ่มธุรกิจบริการสุขภาพ และกลุ่มธุรกิจท่องเที่ยว ทั้งนี้ นายฉัตรชัยฯ ได้วิเคราะห์ว่า จังหวัดเพชรบุรี มีศักยภาพในการพัฒนาธุรกิจผลิตและแปรรูปสินค้าประมง
ทั้งนี้ จากภูมิคุ้มกันที่แกร่งขึ้น ส่งผลให้เศรษฐกิจไทยได้ฟื้นตัวจากวิกฤตเศรษฐกิจอย่างรวดเร็ว โดยคาดว่าในไตรมาสที่ 4 ปี 2552 เศรษฐกิจไทยจะขยายตัวถึงร้อยละ 3.6 ต่อปี จากในเดือนธันวาคม 2552 ที่การส่งออกขยายตัวร้อยละ 26.1 ต่อปี และนักท่องเที่ยวต่างชาติที่เข้ามาเที่ยวถึง 1.6 ล้านคน ส่งผลให้ทั้งปี 2552 เศรษฐกิจไทยหดตัวเพียงร้อยละ -2.8 ต่อปี และในปี 2553 คาดว่าเศรษฐกิจไทยจะขยายตัวต่อเนื่องที่ร้อยละ 3.5 ต่อปี
อย่างไรก็ตาม ก็ยังมีปัจจัยเสี่ยงหลายประการ อาทิ ผลกระทบที่อาจจะเกิดขึ้นจากการลดหรือเลิกมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจของรัฐบาลต่างๆผลกระทบจากการเปิดเสรีการค้าอาเซียน (อาฟต้า) ที่ทำให้การแข่งขันในภูมิภาคมีความเข้มข้นมากขึ้น ราคาน้ำมันที่เพิ่มสูงขึ้น และความผันผวนของค่าเงิน และราคาสินค้าโภคภัณฑ์ที่มากขึ้น ดังนั้น ภาคเอกชนจึงต้องมีการปรับตัวของภาคเอกชน โดยเฉพาะในเรื่องการสร้างมูลค่าเพิ่มของผลผลิตไทย และการบริหารจัดการความเสี่ยงทางการเงิน
นอกจากนี้ นายกอบศักดิ์ ภูตระกูล ผู้บริหารส่วนกลยุทธ์นโยบายการเงิน ธนาคารแห่งประเทศไทย(ธปท.)ให้มุมมองเกี่ยวกับเศรษฐกิจโลกว่ามีสัญญาณการฟื้นตัวที่ชัดเจนมากขึ้น แต่การฟื้นตัวดังกล่าวยังอยู่บนพื้นฐานที่เปราะบางจากภาคแรงงานสหรัฐฯที่ยังไม่ดีขึ้น กอปรกับความอ่อนแอของสถาบันการเงินสหรัฐฯ ที่ได้รับผลกระทบจากหนี้เสียในภาคอสังหาริมทรัพย์ ที่จะเป็นข้อจำกัดในการจับจ่ายใช้สอยของภาคเอกชน นอกจากนี้ มาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจของสหรัฐฯ อย่างต่อเนื่อง ได้ก่อให้มีสภาพคล่องที่สูง อันนำไปสู่ความผันผวนของตลาดเงินและราคาสินค้าโภคภัณฑ์ในช่วงที่ผ่านมา
ด้านธนวรรธน์ พลวิชัย คณบดีคณะเศรษฐศาสตร์ และผู้อำนวยการศูนย์พยากรณ์เศรษฐกิจและธุรกิจ มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย กล่าวว่า การฟื้นตัวของเศรษฐกิจไทยในปี 2553 มีปัจจัยบวก ได้แก่ 1) ราคาสินค้าเกษตรที่สูงขึ้นส่งผลดีต่อ การบริโภคภาคเอกชน 2) ภาพรวมของเศรษฐกิจโลกที่ดีขึ้น ซึ่งจะส่งผลดีต่อการท่องเที่ยวและการส่งออก และ 3) การเมืองและกฎหมายที่เอื้อต่อการขยายตัวของเศรษฐกิจในแต่ละภูมิภาคของไทย ซึ่งจะช่วยทำให้การฟื้นตัวของไทยกระจายไปอย่างทั่วถึง อย่างไรก็ตาม ยังมีความกังวลในสถานการณ์ การเมืองไทย และการฟื้นตัวของประเทศมหาอำนาจทางเศรษฐกิจ
ขณะที่นายฉัตรชัย บุญรัตน์ รองประธานกรรมการสภาหอการค้าแห่งประเทศไทยได้ย้ำถึงความสำคัญในการปรับกลยุทธ์ของการเปลี่ยนแปลงของโลกในด้านต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นการเปิดเสรีการค้าที่มากขึ้น การให้ความสำคัญกับสิ่งแวดล้อมและสุขอนามัย เป็นต้น สิ่งสำคัญที่ต้องคำนึงถึง คือ ความมีมาตรฐานสากล ความปลอดภัย ความมั่นคง และความยั่งยืน โดยได้เสนอยุทธศาสตร์หลักในการพัฒนาเศรษฐกิจไทย เช่น การเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขัน การปรับปรุงโครงสร้างทางเศรษฐกิจ การพัฒนาทักษะและองค์ความรู้ และรักษาสิ่งแวดล้อมและคุณภาพชีวิต เป็นต้น
นอกจากนี้ ยังเสนอแนวทางในการพัฒนากลุ่มธุรกิจหลัก อาทิ กลุ่มธุรกิจเกษตร ประมง และอาหารกลุ่มธุรกิจบริการสุขภาพ และกลุ่มธุรกิจท่องเที่ยว ทั้งนี้ นายฉัตรชัยฯ ได้วิเคราะห์ว่า จังหวัดเพชรบุรี มีศักยภาพในการพัฒนาธุรกิจผลิตและแปรรูปสินค้าประมง