ครม.คุมเข้มบอร์ด รสก. ห้ามลาออกยกชุดหรือมีผู้บริหารระดับสูงรักษาการนานเกิน 1 ปี
นายกรณ์ จาติกวณิช รมว.คลัง เปิดเผยว่า ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.)รับทราบตามรายงานของกระทรวงการคลังในการรายงานผลงานรัฐวิสากิจปี 51 ซึ่งกระทรวงการคลังได้มีการตั้งข้อสังเกตุต่อประเด็นการแต่งตั้งระดับผู้บริหารในหน่วยงานรัฐวิสาหกิจไว้ ซึ่งพบว่า บางแห่งมีขั้นตอนการแต่งตั้งที่มีความล่าช้ามาก ส่งผลกระทบต่อการบริหารจัดการนโยบายขององค์กร รวมถึงว่าเริ่มมีวัฒนธรรมในการที่คณะกรรมการลาออกยกชุด
กระทรวงการคลังจึงเสนอว่าจากนี้ต่อไป คณะกรรมการบริหารหน่วยงานรัฐวิสาหกิจไม่สามารถที่จะลาออกยกชุดได้ เนื่องจากจะทำให้นโยบายขาดความต่อเนื่อง และกรณีการแต่งตั้งระดับผู้บริหารของรัฐวิสากิจ กระทรวงการคลังได้ตั้งเกณฑ์ไว้จากนี้ไปกระบวนการสรรหาและแต่งตั้งระดับผู้บริการในหน่วยงานรัฐวิสาหกิจจะต้องดำเนินการให้แล้วเสร็จภายในระยะเวลา 1 ปี ซึ่ง ครม.เห็นด้วยกับข้อสังเกตดังกล่าว
"เข้าใจว่าบางหน่วยงานมีข้อจำกัดและมีกระบวนการในการคัดสรรหลายขั้นตอน แต่ก็ไม่ควรนานเกิน 1 ปี" นายกรณ์ กล่าว
ด้านนายวัชระ กรรณิการ์ รองโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี เปิดเผยว่า จากการรายงานของกระทรวงการคลังถึงผลการดำเนินงานในปี 51 ของ 52 รัฐวิสาหกิจและอีก 1 บริษัท พบว่าได้คะแนนเฉลี่ย 3.59 จากคะแนนเต็ม 5 ลดลงเล็กน้อยจากปี 50 ที่ได้คะแนนเฉลี่ย 3.60 คะแนน
กระทรวงการคลังให้เหตุผลว่า ในปี 51 หน่วยงานรัฐวิสาหกิจได้รับผลกระทบทั้งทางตรงและทางอ้อมจากปัญหาเศรษฐกิจ รวมถึงราคาน้ำมันเชิ้อเพลิงที่สูงขึ้น ส่งผลให้ต้นทุนของหน่วยงานของรัฐวิสาหกิจที่ดำเนินกิจการด้านการขนส่งมีผลคะแนนลดลง
ทั้งนี้ หน่วยงานรัฐวิสาหกิจ 5 อันดับแรกที่ได้คะแนนสูงสุด คือ บมจ.ปตท.(PTT) ธนาคารออมสิน การนิคมอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย(กนอ.) การไฟฟ้าส่วนภูมิภาค(กฟภ.) และการไฟฟ้านครหลวง(กฟน.) ส่วน 5 อันดับ รัฐวิสาหกิจที่ได้คะแนนต่ำสุด การรถไฟแห่งประเทศไทย(รฟท.) สถาบันการบินพลเรือน องค์การสะพานปลา บริษัทอู่กรุงเทพ องค์การคลังสินค้า (อคส.)
"หลักเกณฑ์ในการให้คะแนน ประกอบด้วย 3 หลักเกณฑ์ คือ การดำเนินงานตามนโยบาย 20% หลักเกณฑ์ผลการดำเนินงานด้านการเงินและที่ไม่ใช่ด้านการเงิน 50% และ การบริหารจัดการองค์กร 30%" นายวัชระกล่าว
ด้านการนำส่งรายได้รัฐวิสาหกิจประจำเดือนธันวาคม 2552 รัฐวิสาหกิจสามารถนำส่งรายได้เข้ารัฐเป็นจำนวน 2,584.97 ล้านบาท จากเป้าที่ตั้งไว้จำนวน 2,295.57 ล้านบาท ซึ่งสูงกว่าที่ประมาณการ 289.40 ล้านบาท Ffpรัฐวิสาหกิจที่นำส่งรายได้เข้ารัฐประจำเดือนธันวาคม 2552 ได้แก่ สำนักงานสลากกินแบ่งรัฐบาล จำนวน 1,538.46 ล้านบาท การไฟฟ้าส่วนภูมิภาค (กฟภ.) จำนวน 530 ล้านบาท การทางพิเศษแห่งประเทศไทย (กทพ.) จำนวน 304 ล้านบาท
การประปาส่วนภูมิภาค (กปภ.) จำนวน 200 ล้านบาท องค์การส่งเสริมกิจการโคนมแห่งประเทศไทย (อสค.) จำนวน 10 ล้านบาท บรรษัทตลาดรองสินเชื่อที่อยู่อาศัย (บตท.) จำนวน 1.31 ล้านบาท และกิจการที่กระทรวงการคลังถือหุ้นต่ำกว่าร้อยละ 50 คือ บริษัท เอ็น ซี ซี แมนเนจเม้นท์ & ดิเวลลอปเม้นท์ จำกัด จำนวน 1.2 ล้านบาท
นายกรณ์ จาติกวณิช รมว.คลัง เปิดเผยว่า ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.)รับทราบตามรายงานของกระทรวงการคลังในการรายงานผลงานรัฐวิสากิจปี 51 ซึ่งกระทรวงการคลังได้มีการตั้งข้อสังเกตุต่อประเด็นการแต่งตั้งระดับผู้บริหารในหน่วยงานรัฐวิสาหกิจไว้ ซึ่งพบว่า บางแห่งมีขั้นตอนการแต่งตั้งที่มีความล่าช้ามาก ส่งผลกระทบต่อการบริหารจัดการนโยบายขององค์กร รวมถึงว่าเริ่มมีวัฒนธรรมในการที่คณะกรรมการลาออกยกชุด
กระทรวงการคลังจึงเสนอว่าจากนี้ต่อไป คณะกรรมการบริหารหน่วยงานรัฐวิสาหกิจไม่สามารถที่จะลาออกยกชุดได้ เนื่องจากจะทำให้นโยบายขาดความต่อเนื่อง และกรณีการแต่งตั้งระดับผู้บริหารของรัฐวิสากิจ กระทรวงการคลังได้ตั้งเกณฑ์ไว้จากนี้ไปกระบวนการสรรหาและแต่งตั้งระดับผู้บริการในหน่วยงานรัฐวิสาหกิจจะต้องดำเนินการให้แล้วเสร็จภายในระยะเวลา 1 ปี ซึ่ง ครม.เห็นด้วยกับข้อสังเกตดังกล่าว
"เข้าใจว่าบางหน่วยงานมีข้อจำกัดและมีกระบวนการในการคัดสรรหลายขั้นตอน แต่ก็ไม่ควรนานเกิน 1 ปี" นายกรณ์ กล่าว
ด้านนายวัชระ กรรณิการ์ รองโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี เปิดเผยว่า จากการรายงานของกระทรวงการคลังถึงผลการดำเนินงานในปี 51 ของ 52 รัฐวิสาหกิจและอีก 1 บริษัท พบว่าได้คะแนนเฉลี่ย 3.59 จากคะแนนเต็ม 5 ลดลงเล็กน้อยจากปี 50 ที่ได้คะแนนเฉลี่ย 3.60 คะแนน
กระทรวงการคลังให้เหตุผลว่า ในปี 51 หน่วยงานรัฐวิสาหกิจได้รับผลกระทบทั้งทางตรงและทางอ้อมจากปัญหาเศรษฐกิจ รวมถึงราคาน้ำมันเชิ้อเพลิงที่สูงขึ้น ส่งผลให้ต้นทุนของหน่วยงานของรัฐวิสาหกิจที่ดำเนินกิจการด้านการขนส่งมีผลคะแนนลดลง
ทั้งนี้ หน่วยงานรัฐวิสาหกิจ 5 อันดับแรกที่ได้คะแนนสูงสุด คือ บมจ.ปตท.(PTT) ธนาคารออมสิน การนิคมอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย(กนอ.) การไฟฟ้าส่วนภูมิภาค(กฟภ.) และการไฟฟ้านครหลวง(กฟน.) ส่วน 5 อันดับ รัฐวิสาหกิจที่ได้คะแนนต่ำสุด การรถไฟแห่งประเทศไทย(รฟท.) สถาบันการบินพลเรือน องค์การสะพานปลา บริษัทอู่กรุงเทพ องค์การคลังสินค้า (อคส.)
"หลักเกณฑ์ในการให้คะแนน ประกอบด้วย 3 หลักเกณฑ์ คือ การดำเนินงานตามนโยบาย 20% หลักเกณฑ์ผลการดำเนินงานด้านการเงินและที่ไม่ใช่ด้านการเงิน 50% และ การบริหารจัดการองค์กร 30%" นายวัชระกล่าว
ด้านการนำส่งรายได้รัฐวิสาหกิจประจำเดือนธันวาคม 2552 รัฐวิสาหกิจสามารถนำส่งรายได้เข้ารัฐเป็นจำนวน 2,584.97 ล้านบาท จากเป้าที่ตั้งไว้จำนวน 2,295.57 ล้านบาท ซึ่งสูงกว่าที่ประมาณการ 289.40 ล้านบาท Ffpรัฐวิสาหกิจที่นำส่งรายได้เข้ารัฐประจำเดือนธันวาคม 2552 ได้แก่ สำนักงานสลากกินแบ่งรัฐบาล จำนวน 1,538.46 ล้านบาท การไฟฟ้าส่วนภูมิภาค (กฟภ.) จำนวน 530 ล้านบาท การทางพิเศษแห่งประเทศไทย (กทพ.) จำนวน 304 ล้านบาท
การประปาส่วนภูมิภาค (กปภ.) จำนวน 200 ล้านบาท องค์การส่งเสริมกิจการโคนมแห่งประเทศไทย (อสค.) จำนวน 10 ล้านบาท บรรษัทตลาดรองสินเชื่อที่อยู่อาศัย (บตท.) จำนวน 1.31 ล้านบาท และกิจการที่กระทรวงการคลังถือหุ้นต่ำกว่าร้อยละ 50 คือ บริษัท เอ็น ซี ซี แมนเนจเม้นท์ & ดิเวลลอปเม้นท์ จำกัด จำนวน 1.2 ล้านบาท