ธ.ก.ส.คาดหลังคัดกรองหนี้นอกระบบจะมีเกษตรกรผ่านเกณฑ์ 70% หรือประมาณ 2.5 แสนราย ใช้วงเงินสินเชื่อกว่า 3 หมื่นล้านบาท “ลักษณ์ วจนานวัช” ยาหอมพร้อมเปิดทางรายที่ไม่ผ่านเกณฑ์เข้าเจรจาเป็นกรณีพิเศษได้แต่ต้องเข้ากระบวนการฟื้นฟูอาชีพอย่างยั่งยืน ลั่นเปิดรับแก้หนี้ไม่มีสิ้นสุดตามวัตถุประสงค์การก่อตั้ง
นายลักษณ์ วจนานวัช ผู้จัดการ ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร (ธ.ก.ส.) เปิดเผยว่า จากการเปิดรับลงทะเบียนแก้ปัญหาหนี้นอกระบบที่ผ่านมาในส่วนที่ธ.ก.ส.รับผิดชอบมีประชาชนมาลงทะเบียนทุกสาขาทั่วประเทศและจุดให้บริการพิเศษมีผู้มาลงทะเบียนแล้วทั้งสิ้น 3.5 แสนราย มูลหนี้เฉลี่ยรายละประมาณ 1.1 แสนบาท ซึ่งหากธ.ก.ส.รับภาระแก้หนี้ทั้งหมดจะใช้เงินประมาณ 4 หมื่นล้านบาท
แต่เมื่อกระบวนการลงทะเบียนแก้ไขหนี้เกษตรกรตามที่กระทรวงการคลังกำหนดสิ้นสุดลงและส่งรายชื่อไปยังกรมบัญชีกลางเพื่อคัดกรองประเภทลูกหนี้เพื่อส่งต่อไปยังธนาคารต่างๆ คาดว่าจะมีลูกหนี้เข้ามายังธ.ก.ส.เพื่อแก้ปัญหาหนี้นอกระบบประมาณ 70% ของจำนวนที่ธ.ก.ส.รับลงทะเบียน หรือประมาณ 2.5 แสนราย โดยธ.ก.ส.ได้เตรียมวงเงินสำหรับให้สินเชื่อนี้ไว้ที่ 3 หมื่นล้านบาท
“ที่เราประมาณการไว้ที่ประมาณ 60 – 70% เนื่องจากเมื่อมีการคัดแยกลูกหนี้แล้วการขอสินเชื่อจะต้องเข้าสู่กระบวนการวิเคราะห์สินเชื่อตามปกติของธ.ก.ส.แต่อาจมีการผ่อนปรนหลักเกณฑ์บางอย่างเล็กน้อยเพื่อช่วยเหลือกลูกหนี้นอกระบบเหล่านี้ให้สามารถเข้าสู่ระบบสินเชื่อของธนาคารได้จากเดิมที่ไม่เคยมีโอกาสเข้าถึง” นายลักษณ์กล่าว
สำหรับลูกหนี้ที่ไม่ผ่านการขอสินเชื่อหรือผ่านการคัดกรองนั้น ธ.ก.ส.จะเปิดโอกาสให้เข้ามาเจรจาเป็นรายๆ ไปเพื่อทราบถึงที่มาของปัญหาและร่วมกันหาทางแก้ไขให้สามารถเข้าสู่ระบบสินเชื่อได้แต่ต้องมีเงื่อนไขพิเศษบางอย่าง เช่นการฟื้นฟูอาชีพและปลูกฝังทัศนคติในการเป็นหนี้และเงื่อนไขอื่นๆ ที่กำหนดขึ้นร่วมกัน ส่วนวงเงินการกู้ยืมก็ไม่เกิน 2 แสนบาทต่อรายเช่นกัน
ธ.ก.ส.ได้รณรงค์กับพนักงานทุกสาขาทั่วประเทศให้ยึดนโยบายการลดบทบาทของนายทุนเงินกู้นอกระบบเพื่อร่วมกันแก้ไขปัญหาหนี้สินเกษตรกรให้สามารถทำการเกษตรได้อย่างยั่งยืนลดการพึ่งพานายทุนซึ่งเป็นบทบาทที่ธ.ก.ส.ต้องทำอยู่แล้วตามวัตถุประสงค์ที่จัดตั้งขึ้นมา แต่ทั้งนี้จะต้องดูปัจจัยต่างๆ ประกอบด้วยว่าลูกหนี้นอกระบบเมื่อเข้ามาแล้วจะมีศักยภาพทำได้เพียงใดและธ.ก.ส.ต้องเข้าไปช่วยเหลือด้านใดเพิ่มเติมบ้าง
“ในส่วนของธ.ก.ส.นั้นแม้ว่านโยบายของรัฐมนตรีกำหนดไว้ว่าการลงทะเบียนแก้หนี้นอกระบบจะสิ้นสุดในเดือนมกราคมนี้ แต่เราก็จะเดินหน้าแก้ปัญหานี้ต่อไปหากเกษตรกรรายใดมีปัญหาก็เข้ามาที่สาขาเพื่อขอคำแนะนำแก้ไขปัญหาได้ตอลดไปเพราธ.ก.ส.ก่อตั้งมาโดยมีวัตถุประสงค์เพื่อแก้ปัญหาหนี้นอกระบบของเกษตรกรให้หลุดพ้นจากปัญหานี้อยู่แล้ว” นายลักษณ์กล่าว
นายลักษณ์ วจนานวัช ผู้จัดการ ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร (ธ.ก.ส.) เปิดเผยว่า จากการเปิดรับลงทะเบียนแก้ปัญหาหนี้นอกระบบที่ผ่านมาในส่วนที่ธ.ก.ส.รับผิดชอบมีประชาชนมาลงทะเบียนทุกสาขาทั่วประเทศและจุดให้บริการพิเศษมีผู้มาลงทะเบียนแล้วทั้งสิ้น 3.5 แสนราย มูลหนี้เฉลี่ยรายละประมาณ 1.1 แสนบาท ซึ่งหากธ.ก.ส.รับภาระแก้หนี้ทั้งหมดจะใช้เงินประมาณ 4 หมื่นล้านบาท
แต่เมื่อกระบวนการลงทะเบียนแก้ไขหนี้เกษตรกรตามที่กระทรวงการคลังกำหนดสิ้นสุดลงและส่งรายชื่อไปยังกรมบัญชีกลางเพื่อคัดกรองประเภทลูกหนี้เพื่อส่งต่อไปยังธนาคารต่างๆ คาดว่าจะมีลูกหนี้เข้ามายังธ.ก.ส.เพื่อแก้ปัญหาหนี้นอกระบบประมาณ 70% ของจำนวนที่ธ.ก.ส.รับลงทะเบียน หรือประมาณ 2.5 แสนราย โดยธ.ก.ส.ได้เตรียมวงเงินสำหรับให้สินเชื่อนี้ไว้ที่ 3 หมื่นล้านบาท
“ที่เราประมาณการไว้ที่ประมาณ 60 – 70% เนื่องจากเมื่อมีการคัดแยกลูกหนี้แล้วการขอสินเชื่อจะต้องเข้าสู่กระบวนการวิเคราะห์สินเชื่อตามปกติของธ.ก.ส.แต่อาจมีการผ่อนปรนหลักเกณฑ์บางอย่างเล็กน้อยเพื่อช่วยเหลือกลูกหนี้นอกระบบเหล่านี้ให้สามารถเข้าสู่ระบบสินเชื่อของธนาคารได้จากเดิมที่ไม่เคยมีโอกาสเข้าถึง” นายลักษณ์กล่าว
สำหรับลูกหนี้ที่ไม่ผ่านการขอสินเชื่อหรือผ่านการคัดกรองนั้น ธ.ก.ส.จะเปิดโอกาสให้เข้ามาเจรจาเป็นรายๆ ไปเพื่อทราบถึงที่มาของปัญหาและร่วมกันหาทางแก้ไขให้สามารถเข้าสู่ระบบสินเชื่อได้แต่ต้องมีเงื่อนไขพิเศษบางอย่าง เช่นการฟื้นฟูอาชีพและปลูกฝังทัศนคติในการเป็นหนี้และเงื่อนไขอื่นๆ ที่กำหนดขึ้นร่วมกัน ส่วนวงเงินการกู้ยืมก็ไม่เกิน 2 แสนบาทต่อรายเช่นกัน
ธ.ก.ส.ได้รณรงค์กับพนักงานทุกสาขาทั่วประเทศให้ยึดนโยบายการลดบทบาทของนายทุนเงินกู้นอกระบบเพื่อร่วมกันแก้ไขปัญหาหนี้สินเกษตรกรให้สามารถทำการเกษตรได้อย่างยั่งยืนลดการพึ่งพานายทุนซึ่งเป็นบทบาทที่ธ.ก.ส.ต้องทำอยู่แล้วตามวัตถุประสงค์ที่จัดตั้งขึ้นมา แต่ทั้งนี้จะต้องดูปัจจัยต่างๆ ประกอบด้วยว่าลูกหนี้นอกระบบเมื่อเข้ามาแล้วจะมีศักยภาพทำได้เพียงใดและธ.ก.ส.ต้องเข้าไปช่วยเหลือด้านใดเพิ่มเติมบ้าง
“ในส่วนของธ.ก.ส.นั้นแม้ว่านโยบายของรัฐมนตรีกำหนดไว้ว่าการลงทะเบียนแก้หนี้นอกระบบจะสิ้นสุดในเดือนมกราคมนี้ แต่เราก็จะเดินหน้าแก้ปัญหานี้ต่อไปหากเกษตรกรรายใดมีปัญหาก็เข้ามาที่สาขาเพื่อขอคำแนะนำแก้ไขปัญหาได้ตอลดไปเพราธ.ก.ส.ก่อตั้งมาโดยมีวัตถุประสงค์เพื่อแก้ปัญหาหนี้นอกระบบของเกษตรกรให้หลุดพ้นจากปัญหานี้อยู่แล้ว” นายลักษณ์กล่าว