แบงก์ชาติเผยสภาวิชาชีพบัญชีฯสั่งเลื่อนใช้มาตรฐานการบัญชีระหว่างประทเศทั้ง IAS39 IAS32 และIFRS7 เป็นปี 56 หลัง IAS39 ถูกมองเป็นจุดเริ่มต้นปัญหาวิกฤตเศรษฐกิจโลก คาดตราสารอนุมัติจะมีการพัฒนาขึ้นเรื่อยๆ และผู้ออกผลิตภัณฑ์และผู้ลงทุนเองระวังมากขึ้น ขณะที่ธปท.เองจะเข้าไปดูแลระบบความเสี่ยงที่ละเอียดมากขึ้น นอกจากนี้ ยื่นหนังสือร้องตำรวจถูกแก๊งหลอกโอนเงินอ้างชื่อให้คนโอนเงินทางเอทีเอ็ม ระบุมีผู้ร้องเรียน 309 ราย เสียหายร่วม 7 แสนบาท
น.ส.จามรี สุทธิพงษ์ชัย ผู้บริหารทีม ทีมอนุพันธ์ทางการเงินและสภาพคล่อง ฝ่ายนโยบายความเสี่ยง สายนโยบายสถาบันการเงิน ธนาคารแห่งประเทศไทย(ธปท.) เปิดเผยว่า จากกรณีที่ผู้กำกับมาตรฐานทางบัญชีในต่างประเทศมองว่าจุดเริ่มต้นของวิกฤตเศรษฐกิจโลกจากปัญหาประเมินสินทรัพย์ตามราคาตลาด (Mark-to-Market) ทำให้สภาวิชาชีพบัญชีฯได้มีการเลื่อนใช้มาตรฐานการบัญชีระหว่างประเทศ (IAS39) (IAS32) และ (IFRS7)ไปใช้ปี 2556 แทน
จากเดิมที่มาตรฐานการบัญชี IAS32 และ IFRS7 ซึ่งเกี่ยวกับการเปิดเผยงบการเงินในหมายเหตุและในหน้างบการเงิน จะนำมาใช้ในปี 2554 ส่วนมาตรฐาน IAS39 คาดว่าจะใช้ฉบับเต็มมาบังคับใช้ปลายปี 2553 ซึ่งขณะนี้ธนาคารพาณิชย์ในระบบเริ่มผ่านกันสำรองหนี้สงสัยจะสูญครบแล้วและการ Mark-to-Market โดยเฉพาะการลงทุนตราสารอนุพันธ์ประเภทที่มีสินทรัพย์หนุนหลัง(CDO)
ด้านน.ส.ปรียานุช จึงประเสริฐ ผู้บริหารส่วน ส่วนความเสี่ยงด้านตลาดลุกำกับแบบรวมกลุ่ม ฝ่ายนโยบายความเสี่ยง สายนโยบายสถาบันการเงิน ธปท.กล่าวว่า บทบาทตราสารอนุพันธ์ในอนาคตคาดว่าจะมีการพัฒนาต่อไปเรื่อยๆ และผู้ที่ใช้ตราสารนี้จะมีความระมัดระวังมากขึ้น ซึ่งผู้ออกผลิตภัณฑ์และผู้ลงทุนต้องการความเข้าใจเป็นอย่างดี ขณะเดียวกันธปท.ก็จะดูแลระบบบริหารความเสี่ยงที่ลงรายละเอียดมากขึ้น ซึ่งได้มีการปรับปรุงประกาศต่างๆที่เกี่ยวข้อง พร้อมทั้งเน้นจุดอ่อนต่างๆ ให้เกิดประสิทธิภาพมากขึ้น
ทั้งนี้ ในระบบมีปริมาณการใช้ตราสารอนุพันธ์โดยรวมเพิ่มขึ้นทุกปี ซึ่งส่วนใหญ่เป็นการทำธุรกิจของธนาคารพาณิชย์กับลูกค้าผ่านอัตราดอกเบี้ยและอัตราแลกเปลี่ยน โดยเฉพาะผู้ส่งออกมีการซื้อขายเงินตราต่างประเทศกับธนาคารพาณิชย์ ซึ่งธปท.ควบคุมด้วยการกำหนดให้ลูกค้าต้องมีธุรกรรมรองรับ ทำให้โอกาสเก็งกำไรในลักษณะนี้ไม่ค่อยเกิดขึ้น
นอกจากนี้หากสำรวจพบว่า ในปี 2547-2548 ธุรกรรมตราสารอนุพันธ์มีการขยายค่อนข้างมาก แต่หลังจากเกิดปัญหาการลงทุนตราสารอนุพันธ์ประเภทที่มีสินทรัพย์หนุนหลัง(CDO) และตราสารอนุพันธ์ประกันความเสี่ยง(CDS) ในระบบเศรษฐกิจโลก ทำให้ขณะนี้ธนาคารพาณิชย์ไทยไม่กล้าลงทุน CDO และ CDS เลย แม้ธปท.ยังอนุญาตให้ลงทุนได้ ส่วนธนาคารพาณิชย์บางแห่งที่เคยลงทุนตราสารดังกล่าวก็มีการกันสำรองครบแล้ว จึงไม่น่าจะมีปัญหาอะไร
อย่างไรก็ตาม ในปัจจุบันธนาคารพาณิชย์มีการติดตามดูแลเรื่องนี้อย่างใกล้ชิดมากขึ้น ซึ่งก่อนที่จะออกผลิตภัณฑ์แบบพิเศษจะมีการขออนุมัติจากบอร์ดใหญ่ของธนาคารพาณิชย์ก่อน และหารือกับธปท.ในการกลั่นกรองอีกครั้งหนึ่ง ซึ่งรวมถึงทดสอบความเข้าใจของผู้ออกผลิตภัณฑ์ก่อน โดยเฉพาะตราสารอนุพันธ์ที่มีความซ้ำซ้อน เพื่อลดความเสี่ยงที่เกิดขึ้นในอนาคต
ด้านธนาคารเฉพาะกิจของรัฐที่ต้องการจะลงทุนในตราสารอนุพันธ์จะนำหลักเกณฑ์การกำกับดูแลการลงทุนตราสารอนุพันธ์เช่นเดียวกับหลักเกณฑ์ที่ธปท.ใช้กำกับธนาคารพาณิชย์ และธปท.มีหน้าที่แค่ตรวจสอบและส่งรายงานการตรวจสอบให้คลังพิจารณาเท่านั้น เพราะธนาคารเฉพาะกิจอยู่ภายใต้การกำกับดูแลของคลัง
**ร้องถูกแกงค์อ้างชื่อหลอกโอนเงิน**
นอกจากนี้ เมื่อวันที่ 23 ธ.ค.ที่ผ่านมา ผู้สื่อข่าวรายงานว่า เจ้าหน้าที่ฝ่ายกฎหมายและคดี ธปท. ในฐานะตัวแทนของนางธาริษา วัฒนเกส ผู้ว่าการ ธปท. ยื่นหนังสือให้กับพล.ต.อ.ปทีป ตันประเสิรฐ รรท.ผบ.ตร. เพื่อขอให้ดำเนินคดีกับผู้ที่แอบอ้างตนเองเป็นพนักงานของธปท. หลอกถามข้อมูลการเงินและข้อมูลส่วนตัว ก่อนจะหลอกล่อให้ไปที่ตู้เอทีเอ็ม และให้โอนเงินทางเอทีเอ็ม ซึ่งเป็นวิธีการเช่นเดียวกับแก๊งหลอกโอนเงิน โดยมีพ.ต.อ.สุทธินาท สุดยอด รองเลขานุการ ตร. เป็นตัวแทนมารับหนังสือ
เจ้าหน้าที่ฝ่ายกฎหมายและคดีระบุว่า ตั้งแต่วันที่ 1ต.ค.- 15 ธ.ค.ที่ผ่านมา ธปท. ได้รับการร้องเรียนจากประชาชนทางโทรศัพท์ว่า มีผู้แอบอ้างเป็นพนักงานธนาคารแห่งประเทศไทย ศูนย์กลางบัตรเครดิตทุกธนาคาร สำนักงานใหญ่แบงก์ชาติ หรือ สำนักงานป้องกันอาชญากรรมทางเศรษฐกิจ ธนาคารแห่งประเทศไทย จำนวน 309 ราย โดยประชาชนส่วนใหญ่ที่ถูกหลอกลวงจะให้ข้อมูลว่า ถูกหลอกถามข้อมูลเกี่ยวกับบัญชีเงินฝาก เลขที่บัตรเอทีเอ็ม เลขที่บัตรเครดิต และข้อมูลส่วนตัวอืน ๆ เช่น วัน เดือน ปีเกิด เลขที่บัตรประชาชน ที่อยู่ของผู้ร้องเรียน พร้อมพูดจาหว่านล้อมให้ผู้ร้องเรียนไปดำเนินการแก้ไขข้อมูลที่เครื่องเอทีเอ็ม ตามขั้นตอนที่ผู้แอบอ้างบอก ซึ่งส่วนมากจะให้ไปที่เครื่องเอทีเอ็มภายในห้างสรรพสินค้าสยามพารากอน หากเหยื่อหลงเชื่อ ก็จะเป็นการโอนเงินให้กับผู้แอบอ้างโดยไม่รู้ต้ว ซึ่งจากกลุ่มผู้ร้องเรียนนั้น พบการกระทำผิดแล้ว 4ราย เป็นเงินทั้งสิ้น 701,006บาท
"ทางธนาคารแห่งประเทศไทยต้องการให้ข้อมูลเพื่อเตือนประชาชนว่า ธนาคารแห่งประเทศไทยไม่มีภารกิจที่จะติดต่อกับประชาชนโดยตรง และหน่วยงานที่ผู้แอบอ้างกล่าวถึงนั้นก็ไม่มีจริงด้วย จึงอยากเตือนให้ประชาชนอย่าหลงเชื่อบุคคลใดก็ตามที่โทรศัพท์ไปแอบอ้างว่าเป็นพนักงานของธนาคารแห่งประเทศไทย"
น.ส.จามรี สุทธิพงษ์ชัย ผู้บริหารทีม ทีมอนุพันธ์ทางการเงินและสภาพคล่อง ฝ่ายนโยบายความเสี่ยง สายนโยบายสถาบันการเงิน ธนาคารแห่งประเทศไทย(ธปท.) เปิดเผยว่า จากกรณีที่ผู้กำกับมาตรฐานทางบัญชีในต่างประเทศมองว่าจุดเริ่มต้นของวิกฤตเศรษฐกิจโลกจากปัญหาประเมินสินทรัพย์ตามราคาตลาด (Mark-to-Market) ทำให้สภาวิชาชีพบัญชีฯได้มีการเลื่อนใช้มาตรฐานการบัญชีระหว่างประเทศ (IAS39) (IAS32) และ (IFRS7)ไปใช้ปี 2556 แทน
จากเดิมที่มาตรฐานการบัญชี IAS32 และ IFRS7 ซึ่งเกี่ยวกับการเปิดเผยงบการเงินในหมายเหตุและในหน้างบการเงิน จะนำมาใช้ในปี 2554 ส่วนมาตรฐาน IAS39 คาดว่าจะใช้ฉบับเต็มมาบังคับใช้ปลายปี 2553 ซึ่งขณะนี้ธนาคารพาณิชย์ในระบบเริ่มผ่านกันสำรองหนี้สงสัยจะสูญครบแล้วและการ Mark-to-Market โดยเฉพาะการลงทุนตราสารอนุพันธ์ประเภทที่มีสินทรัพย์หนุนหลัง(CDO)
ด้านน.ส.ปรียานุช จึงประเสริฐ ผู้บริหารส่วน ส่วนความเสี่ยงด้านตลาดลุกำกับแบบรวมกลุ่ม ฝ่ายนโยบายความเสี่ยง สายนโยบายสถาบันการเงิน ธปท.กล่าวว่า บทบาทตราสารอนุพันธ์ในอนาคตคาดว่าจะมีการพัฒนาต่อไปเรื่อยๆ และผู้ที่ใช้ตราสารนี้จะมีความระมัดระวังมากขึ้น ซึ่งผู้ออกผลิตภัณฑ์และผู้ลงทุนต้องการความเข้าใจเป็นอย่างดี ขณะเดียวกันธปท.ก็จะดูแลระบบบริหารความเสี่ยงที่ลงรายละเอียดมากขึ้น ซึ่งได้มีการปรับปรุงประกาศต่างๆที่เกี่ยวข้อง พร้อมทั้งเน้นจุดอ่อนต่างๆ ให้เกิดประสิทธิภาพมากขึ้น
ทั้งนี้ ในระบบมีปริมาณการใช้ตราสารอนุพันธ์โดยรวมเพิ่มขึ้นทุกปี ซึ่งส่วนใหญ่เป็นการทำธุรกิจของธนาคารพาณิชย์กับลูกค้าผ่านอัตราดอกเบี้ยและอัตราแลกเปลี่ยน โดยเฉพาะผู้ส่งออกมีการซื้อขายเงินตราต่างประเทศกับธนาคารพาณิชย์ ซึ่งธปท.ควบคุมด้วยการกำหนดให้ลูกค้าต้องมีธุรกรรมรองรับ ทำให้โอกาสเก็งกำไรในลักษณะนี้ไม่ค่อยเกิดขึ้น
นอกจากนี้หากสำรวจพบว่า ในปี 2547-2548 ธุรกรรมตราสารอนุพันธ์มีการขยายค่อนข้างมาก แต่หลังจากเกิดปัญหาการลงทุนตราสารอนุพันธ์ประเภทที่มีสินทรัพย์หนุนหลัง(CDO) และตราสารอนุพันธ์ประกันความเสี่ยง(CDS) ในระบบเศรษฐกิจโลก ทำให้ขณะนี้ธนาคารพาณิชย์ไทยไม่กล้าลงทุน CDO และ CDS เลย แม้ธปท.ยังอนุญาตให้ลงทุนได้ ส่วนธนาคารพาณิชย์บางแห่งที่เคยลงทุนตราสารดังกล่าวก็มีการกันสำรองครบแล้ว จึงไม่น่าจะมีปัญหาอะไร
อย่างไรก็ตาม ในปัจจุบันธนาคารพาณิชย์มีการติดตามดูแลเรื่องนี้อย่างใกล้ชิดมากขึ้น ซึ่งก่อนที่จะออกผลิตภัณฑ์แบบพิเศษจะมีการขออนุมัติจากบอร์ดใหญ่ของธนาคารพาณิชย์ก่อน และหารือกับธปท.ในการกลั่นกรองอีกครั้งหนึ่ง ซึ่งรวมถึงทดสอบความเข้าใจของผู้ออกผลิตภัณฑ์ก่อน โดยเฉพาะตราสารอนุพันธ์ที่มีความซ้ำซ้อน เพื่อลดความเสี่ยงที่เกิดขึ้นในอนาคต
ด้านธนาคารเฉพาะกิจของรัฐที่ต้องการจะลงทุนในตราสารอนุพันธ์จะนำหลักเกณฑ์การกำกับดูแลการลงทุนตราสารอนุพันธ์เช่นเดียวกับหลักเกณฑ์ที่ธปท.ใช้กำกับธนาคารพาณิชย์ และธปท.มีหน้าที่แค่ตรวจสอบและส่งรายงานการตรวจสอบให้คลังพิจารณาเท่านั้น เพราะธนาคารเฉพาะกิจอยู่ภายใต้การกำกับดูแลของคลัง
**ร้องถูกแกงค์อ้างชื่อหลอกโอนเงิน**
นอกจากนี้ เมื่อวันที่ 23 ธ.ค.ที่ผ่านมา ผู้สื่อข่าวรายงานว่า เจ้าหน้าที่ฝ่ายกฎหมายและคดี ธปท. ในฐานะตัวแทนของนางธาริษา วัฒนเกส ผู้ว่าการ ธปท. ยื่นหนังสือให้กับพล.ต.อ.ปทีป ตันประเสิรฐ รรท.ผบ.ตร. เพื่อขอให้ดำเนินคดีกับผู้ที่แอบอ้างตนเองเป็นพนักงานของธปท. หลอกถามข้อมูลการเงินและข้อมูลส่วนตัว ก่อนจะหลอกล่อให้ไปที่ตู้เอทีเอ็ม และให้โอนเงินทางเอทีเอ็ม ซึ่งเป็นวิธีการเช่นเดียวกับแก๊งหลอกโอนเงิน โดยมีพ.ต.อ.สุทธินาท สุดยอด รองเลขานุการ ตร. เป็นตัวแทนมารับหนังสือ
เจ้าหน้าที่ฝ่ายกฎหมายและคดีระบุว่า ตั้งแต่วันที่ 1ต.ค.- 15 ธ.ค.ที่ผ่านมา ธปท. ได้รับการร้องเรียนจากประชาชนทางโทรศัพท์ว่า มีผู้แอบอ้างเป็นพนักงานธนาคารแห่งประเทศไทย ศูนย์กลางบัตรเครดิตทุกธนาคาร สำนักงานใหญ่แบงก์ชาติ หรือ สำนักงานป้องกันอาชญากรรมทางเศรษฐกิจ ธนาคารแห่งประเทศไทย จำนวน 309 ราย โดยประชาชนส่วนใหญ่ที่ถูกหลอกลวงจะให้ข้อมูลว่า ถูกหลอกถามข้อมูลเกี่ยวกับบัญชีเงินฝาก เลขที่บัตรเอทีเอ็ม เลขที่บัตรเครดิต และข้อมูลส่วนตัวอืน ๆ เช่น วัน เดือน ปีเกิด เลขที่บัตรประชาชน ที่อยู่ของผู้ร้องเรียน พร้อมพูดจาหว่านล้อมให้ผู้ร้องเรียนไปดำเนินการแก้ไขข้อมูลที่เครื่องเอทีเอ็ม ตามขั้นตอนที่ผู้แอบอ้างบอก ซึ่งส่วนมากจะให้ไปที่เครื่องเอทีเอ็มภายในห้างสรรพสินค้าสยามพารากอน หากเหยื่อหลงเชื่อ ก็จะเป็นการโอนเงินให้กับผู้แอบอ้างโดยไม่รู้ต้ว ซึ่งจากกลุ่มผู้ร้องเรียนนั้น พบการกระทำผิดแล้ว 4ราย เป็นเงินทั้งสิ้น 701,006บาท
"ทางธนาคารแห่งประเทศไทยต้องการให้ข้อมูลเพื่อเตือนประชาชนว่า ธนาคารแห่งประเทศไทยไม่มีภารกิจที่จะติดต่อกับประชาชนโดยตรง และหน่วยงานที่ผู้แอบอ้างกล่าวถึงนั้นก็ไม่มีจริงด้วย จึงอยากเตือนให้ประชาชนอย่าหลงเชื่อบุคคลใดก็ตามที่โทรศัพท์ไปแอบอ้างว่าเป็นพนักงานของธนาคารแห่งประเทศไทย"