"ผอ.วันชัย" แอ่นอกโต้จัดสรรสลาก 12 ล้านฉบับ โปร่งใสไม่มีหักหัวคิวใบละ 7 บาท เป็นไปตามมติบอร์ด พร้อมเรียกหาใบเสร็จ ชี้กลุ่มผู้เสียผลประโยชน์ปล่อยข่าว สวนทางบอร์ดมีมติเลื่อนขายสลากออกไปก่อนหลังมีข่าวฉาว อ้างเตรียมความพร้อมระบบการจ่ายเงินรางวัล ก่อนเปิดทางผู้ค้าสลากหน้าใหม่ยื่นขอโควตาและให้เจ้าของโควตาเดิมเช็คชื่ออีกครั้งก่อน 27 พ.ย.นี้
กรณีมีข่าวนักการเมืองหักค่าหัวคิวยี่ปั๊วฉบับละ 7 บาท จากการจัดสรรสลากการกุศล 12 ล้านฉบับ 120 งวด เป็นเงิน 7.4 พันล้านบาท นั้น นายวันชัย สุระกุล ผู้อำนวยการสำนักงานสลากกินแบ่งรัฐบาล ซึ่งเพิ่งเดินทางกลับจากต่างประเทศ ให้สัมภาษณ์ภายหลังประชุมคณะกรรมการ (บอร์ด) สำนักงานสลากฯ เมื่อวานนี้ว่า กลุ่มผู้ค้าสลากที่เสียผลประโยชน์ไม่ได้รับการจัดสรรสลากออกมาปล่อยข่าวว่ากลุ่มทุนการเมืองเข้าไปหักหัวคิวจากการจำหน่ายสลากใบละ 7 บาท ตนยืนยันว่าการจัดสรรสลากของสำนักงานสลากฯ ดำเนินการไปตามมติของบอร์ดอย่างเคร่งครัด สามารถตรวจสอบได้
“ยังไม่เห็นมีใครนำหลักฐานมาแจ้งอย่างเป็นทางการกับผลมีแต่ข่าวที่ปล่อยออกมาอยู่ตลอดเวลาหรือไปร้องเรียนที่หน่วยงานอื่นจึงทำให้เรื่องไม่ถึงผม หากใครมาร้องเรียนเรื่องดังกล่าวผมก็พร้อมที่จะเข้าไปดูแลด้วยตนเอง ถ้ามีหลักฐานเชิญเข้ามาร้องเรียนได้เลยผมยินดีรับข้อร้องเรียนของผู้ที่เดือดร้อนด้วยตัวผมเอง”
งง! เลื่อนขายสลาก 12 ล้านฉบับ
แม้จะปฏิเสธข่าวค่าหัวคิวแต่นายวันชัยกลับเปิดเผยว่า ที่ประชุมบอร์ดสำนักงานสลากฯ สั่งให้เลื่อนการจำหน่ายสลกาการกุศลอกไป 1 เดือนจากที่เริ่มงวด 16 ธ.ค.นี้ เป็นงวดวันที่ 16 ม.ค. 53 เพราะต้องดูจำนวนสลากว่าจะออกกี่ฉบับ อาจจะทยอยออกก่อน 6 ล้านฉบับ หรืออาจจะ 8 ล้านฉบับก่อน ก็ต้องพิจารณาอีกครั้ง นอกจากนี้สำนักงานสลากฯ ต้องเตรียมความพร้อมของระบบการจ่ายเงินรางวัลและการจัดสรรโควตาให้ผู้ค้า โดยในเร็วๆ นี้จะเปิดให้ผู้ต้องการขายสลากเสนอรายเชื่อขอโคตาเข้ามาเพื่อจัดสรรให้แล้วเสร็จก่อนปลายเดือนธ.ค. โดยจะเปิดให้บุคคลทั่วไป องค์กรการกุศลต่างๆ ที่ยังไม่เคยได้รับโควตาเสนอขอเข้ามาและจะพิจารณาให้ต่อรายได้รับไม่เกิน 20 เล่ม
ส่วนผู้ที่เคยเสนอรายชื่อเข้ามาแล้วก็พิจารณาจัดสรรให้ด้วยโดยไม่ต้องยื่นรายชื่อเข้ามาใหม่ให้เกิดความซ้ำซ้อนของข้อมูลเหมือนปี 47-48 ที่ยื่นเข้ามาเป็นแสนราย โดยยืนยันว่าสำนักงานสลากฯ จะจัดสรรโควตาให้ทั่วถึงเพราะขณะนี้สินค้าจาก 3 องค์กรรวมจำนวน 14 ล้านฉบับนั้นมีเพียงพออยู่แล้ว แต่เมื่อได้รับแล้วถือเป็นการซื้อขายขาด สินค้าเหลือห้ามคืนและต้องนำไปขายจริงต้อง
สำหรับการรื้อโควตาสลากกินแบ่งปกติที่มีจำนวนงวดละ 50 ล้านฉบับในปัจจุบันนั้น ขณะนี้อยู่ระหว่างตรวจสอบรายชื่อผู้ค้า โดยวันที่ 19- 27 พ.ย. จะเปิดให้รายย่อยมาแสดงตน ซึ่งน่าจะมีหมื่นกว่าคนคิดเป็น 70% ของจำนวนสลากทั้งหมดหรือประมาณ 30 ล้านฉบับหากไม่มาแสดงตนภายในกำหนดจะตัดสิทธิการเป็นผู้ค้าสลากทันทีเพราะมองว่าที่ผ่านมามีกลุ่มที่รับไปแล้วไม่ได้ขายจริง กลุ่มที่เสียชีวิตหรือที่เลิกอาชีพไปแล้วจำนวนไม่น้อยที่ถูกแอบอ้างรายชื่อมารับโควตาไป โดยต่อไปการตรวจสอบจะเข้มข้นมากขึ้นโดยเฉพาะการมีหลักแหล่งจำหน่ายสลากที่ชัดเจน
ตามหลักเกณฑ์จัดสรรโควตาใหม่นั้นเบื้องต้นจะลดสัดส่วนของรายย่อยลงเหลือ 50% และเพิ่มสัดส่วนของนิติบุคคลและสมาคมอย่างละ 25% ตามที่นายนครินทร์ เมฆไตรรัตน์ กรรมการและประธานคณะทำงานศึกษาผลกระทบทางสังคมเกี่ยวกับโครงการสลากเลขท้าย 2 ตัว 3 ตัวและการจัดทำหลักเกณฑ์โควตาสลากเสนอมา
นายนครินทร์ เมฆไตรรัตน์ กรรมการ สำนักงานสลากฯ กล่าวถึงการเดินหน้าสลากเลขท้าย 2 ตัว 3 ตัวหรือสลากออนไลน์ ว่าบอร์ดเห็นชอบมาตรการเยียวยาทางสังคมโดยให้จัดสรรเงินกำไรสุทธิ 50% จากการจำหน่ายสลากออนไลน์ตั้งกองทุนช่วยเหลือสังคม แต่ให้สำนักงานสลากฯกลับไปพิจารณาออกระเบียบรองรับการใช้เงินดังกล่าวให้สอดคล้องกับพ.ร.บ.สลากฯ ทั้งรูปแบบการจัดสรรเงิน อำนาจการอนุมัติและขยายขอบเขตการช่วยเหลือให้กว้างขึ้นจากที่เสนอไป 3 กลุ่มอาจจะเป็น 5-6 กลุ่มทั้งเด็ก คนพิการ สตรี และอื่นๆ โดยให้เสนอความชัดเจนเข้าที่ประชุมอีกครั้งเดือนหน้า
“โดยหลักการบอร์ดสลากเห็นชอบให้เดินหน้าหวยออนไลน์อยู่แล้วแต่ที่ผ่านมาติดขัดที่การตีความด้านกฎหมายและการหามาตรการเยียวยาสังคม ครั้งนี้ถือมีความชัดเจนในการนำเงินมาใช้ในการช่วยเหลือสังคมเป็นครั้งแรก โดยจะจัดสรรมาจากเงินกำไรสุทธิหลังจากหักค่าใช้จ่ายต่างๆซึ่งจะอยู่ใน 12%ที่เป็นค่าริหารจัดการ ส่วนเม็ดเงินอยู่ที่ยอดขายหวยออนไลน์หากขายไม่ดีนักก็มีกำไรงวดละ 150 ล้านบาทหากขายได้มากก็มีกำไรที่งวดละ 500-600 บาท ส่วนหลักเกณฑ์การใช้เงินหรือการเสนอโครงการเข้ามานั้นน่าจะได้ข้อสรุปภายในสิ้นปีนี้” นายนครินทร์ กล่าว
ส่วนการเดินหน้าจำหน่ายสลากออนไลน์นั้นหลังจากทุกอย่างมีความชัดเจนแล้วต้องใช้เวลาในการปรับปรุงระบบออนไลน์อีกประมาณ 45 วันจึงจะเริ่มดำเนินการได้จริงก็คงเป็นต้นปีหน้า แต่คงไม่ทันงวดเดือนมกราคม 2553
นอกจากนั้นบอร์ดยังอนุมัติให้สำนักงานสลากเป็นเจ้าภาพการจัดประชุมสลากเอเชียแปซิฟิกที่ จ.ภูเก็ตเดือนพ.ค.2553 ซึ่งจะมีองค์กรด้านสลากเข้าร่วมประชุมจำนวนมากเพื่อแลกเปลี่ยนข้อมูลและติดตามความก้าวหน้าของแต่ละประเทศ และยังส่งผลดีต่อการท่องเที่ยวของไทยด้วย
กรณีมีข่าวนักการเมืองหักค่าหัวคิวยี่ปั๊วฉบับละ 7 บาท จากการจัดสรรสลากการกุศล 12 ล้านฉบับ 120 งวด เป็นเงิน 7.4 พันล้านบาท นั้น นายวันชัย สุระกุล ผู้อำนวยการสำนักงานสลากกินแบ่งรัฐบาล ซึ่งเพิ่งเดินทางกลับจากต่างประเทศ ให้สัมภาษณ์ภายหลังประชุมคณะกรรมการ (บอร์ด) สำนักงานสลากฯ เมื่อวานนี้ว่า กลุ่มผู้ค้าสลากที่เสียผลประโยชน์ไม่ได้รับการจัดสรรสลากออกมาปล่อยข่าวว่ากลุ่มทุนการเมืองเข้าไปหักหัวคิวจากการจำหน่ายสลากใบละ 7 บาท ตนยืนยันว่าการจัดสรรสลากของสำนักงานสลากฯ ดำเนินการไปตามมติของบอร์ดอย่างเคร่งครัด สามารถตรวจสอบได้
“ยังไม่เห็นมีใครนำหลักฐานมาแจ้งอย่างเป็นทางการกับผลมีแต่ข่าวที่ปล่อยออกมาอยู่ตลอดเวลาหรือไปร้องเรียนที่หน่วยงานอื่นจึงทำให้เรื่องไม่ถึงผม หากใครมาร้องเรียนเรื่องดังกล่าวผมก็พร้อมที่จะเข้าไปดูแลด้วยตนเอง ถ้ามีหลักฐานเชิญเข้ามาร้องเรียนได้เลยผมยินดีรับข้อร้องเรียนของผู้ที่เดือดร้อนด้วยตัวผมเอง”
งง! เลื่อนขายสลาก 12 ล้านฉบับ
แม้จะปฏิเสธข่าวค่าหัวคิวแต่นายวันชัยกลับเปิดเผยว่า ที่ประชุมบอร์ดสำนักงานสลากฯ สั่งให้เลื่อนการจำหน่ายสลกาการกุศลอกไป 1 เดือนจากที่เริ่มงวด 16 ธ.ค.นี้ เป็นงวดวันที่ 16 ม.ค. 53 เพราะต้องดูจำนวนสลากว่าจะออกกี่ฉบับ อาจจะทยอยออกก่อน 6 ล้านฉบับ หรืออาจจะ 8 ล้านฉบับก่อน ก็ต้องพิจารณาอีกครั้ง นอกจากนี้สำนักงานสลากฯ ต้องเตรียมความพร้อมของระบบการจ่ายเงินรางวัลและการจัดสรรโควตาให้ผู้ค้า โดยในเร็วๆ นี้จะเปิดให้ผู้ต้องการขายสลากเสนอรายเชื่อขอโคตาเข้ามาเพื่อจัดสรรให้แล้วเสร็จก่อนปลายเดือนธ.ค. โดยจะเปิดให้บุคคลทั่วไป องค์กรการกุศลต่างๆ ที่ยังไม่เคยได้รับโควตาเสนอขอเข้ามาและจะพิจารณาให้ต่อรายได้รับไม่เกิน 20 เล่ม
ส่วนผู้ที่เคยเสนอรายชื่อเข้ามาแล้วก็พิจารณาจัดสรรให้ด้วยโดยไม่ต้องยื่นรายชื่อเข้ามาใหม่ให้เกิดความซ้ำซ้อนของข้อมูลเหมือนปี 47-48 ที่ยื่นเข้ามาเป็นแสนราย โดยยืนยันว่าสำนักงานสลากฯ จะจัดสรรโควตาให้ทั่วถึงเพราะขณะนี้สินค้าจาก 3 องค์กรรวมจำนวน 14 ล้านฉบับนั้นมีเพียงพออยู่แล้ว แต่เมื่อได้รับแล้วถือเป็นการซื้อขายขาด สินค้าเหลือห้ามคืนและต้องนำไปขายจริงต้อง
สำหรับการรื้อโควตาสลากกินแบ่งปกติที่มีจำนวนงวดละ 50 ล้านฉบับในปัจจุบันนั้น ขณะนี้อยู่ระหว่างตรวจสอบรายชื่อผู้ค้า โดยวันที่ 19- 27 พ.ย. จะเปิดให้รายย่อยมาแสดงตน ซึ่งน่าจะมีหมื่นกว่าคนคิดเป็น 70% ของจำนวนสลากทั้งหมดหรือประมาณ 30 ล้านฉบับหากไม่มาแสดงตนภายในกำหนดจะตัดสิทธิการเป็นผู้ค้าสลากทันทีเพราะมองว่าที่ผ่านมามีกลุ่มที่รับไปแล้วไม่ได้ขายจริง กลุ่มที่เสียชีวิตหรือที่เลิกอาชีพไปแล้วจำนวนไม่น้อยที่ถูกแอบอ้างรายชื่อมารับโควตาไป โดยต่อไปการตรวจสอบจะเข้มข้นมากขึ้นโดยเฉพาะการมีหลักแหล่งจำหน่ายสลากที่ชัดเจน
ตามหลักเกณฑ์จัดสรรโควตาใหม่นั้นเบื้องต้นจะลดสัดส่วนของรายย่อยลงเหลือ 50% และเพิ่มสัดส่วนของนิติบุคคลและสมาคมอย่างละ 25% ตามที่นายนครินทร์ เมฆไตรรัตน์ กรรมการและประธานคณะทำงานศึกษาผลกระทบทางสังคมเกี่ยวกับโครงการสลากเลขท้าย 2 ตัว 3 ตัวและการจัดทำหลักเกณฑ์โควตาสลากเสนอมา
นายนครินทร์ เมฆไตรรัตน์ กรรมการ สำนักงานสลากฯ กล่าวถึงการเดินหน้าสลากเลขท้าย 2 ตัว 3 ตัวหรือสลากออนไลน์ ว่าบอร์ดเห็นชอบมาตรการเยียวยาทางสังคมโดยให้จัดสรรเงินกำไรสุทธิ 50% จากการจำหน่ายสลากออนไลน์ตั้งกองทุนช่วยเหลือสังคม แต่ให้สำนักงานสลากฯกลับไปพิจารณาออกระเบียบรองรับการใช้เงินดังกล่าวให้สอดคล้องกับพ.ร.บ.สลากฯ ทั้งรูปแบบการจัดสรรเงิน อำนาจการอนุมัติและขยายขอบเขตการช่วยเหลือให้กว้างขึ้นจากที่เสนอไป 3 กลุ่มอาจจะเป็น 5-6 กลุ่มทั้งเด็ก คนพิการ สตรี และอื่นๆ โดยให้เสนอความชัดเจนเข้าที่ประชุมอีกครั้งเดือนหน้า
“โดยหลักการบอร์ดสลากเห็นชอบให้เดินหน้าหวยออนไลน์อยู่แล้วแต่ที่ผ่านมาติดขัดที่การตีความด้านกฎหมายและการหามาตรการเยียวยาสังคม ครั้งนี้ถือมีความชัดเจนในการนำเงินมาใช้ในการช่วยเหลือสังคมเป็นครั้งแรก โดยจะจัดสรรมาจากเงินกำไรสุทธิหลังจากหักค่าใช้จ่ายต่างๆซึ่งจะอยู่ใน 12%ที่เป็นค่าริหารจัดการ ส่วนเม็ดเงินอยู่ที่ยอดขายหวยออนไลน์หากขายไม่ดีนักก็มีกำไรงวดละ 150 ล้านบาทหากขายได้มากก็มีกำไรที่งวดละ 500-600 บาท ส่วนหลักเกณฑ์การใช้เงินหรือการเสนอโครงการเข้ามานั้นน่าจะได้ข้อสรุปภายในสิ้นปีนี้” นายนครินทร์ กล่าว
ส่วนการเดินหน้าจำหน่ายสลากออนไลน์นั้นหลังจากทุกอย่างมีความชัดเจนแล้วต้องใช้เวลาในการปรับปรุงระบบออนไลน์อีกประมาณ 45 วันจึงจะเริ่มดำเนินการได้จริงก็คงเป็นต้นปีหน้า แต่คงไม่ทันงวดเดือนมกราคม 2553
นอกจากนั้นบอร์ดยังอนุมัติให้สำนักงานสลากเป็นเจ้าภาพการจัดประชุมสลากเอเชียแปซิฟิกที่ จ.ภูเก็ตเดือนพ.ค.2553 ซึ่งจะมีองค์กรด้านสลากเข้าร่วมประชุมจำนวนมากเพื่อแลกเปลี่ยนข้อมูลและติดตามความก้าวหน้าของแต่ละประเทศ และยังส่งผลดีต่อการท่องเที่ยวของไทยด้วย