นางภัทรียา เบญจพลชัย กรรมการและผู้จัดการ ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย (ตลท.) เปิดเผยว่า บริษัท ซีไอเอ็มบี กรุ๊ป โฮลดิ้ง เบอร์ฮาร์ด (CIMB Group Holdings Berhad) ธนาคารขนาดใหญ่อันดับ 3 ของตลาดหลักทรัพย์มาเลเซียจะเข้ามาจดทะเบียน 2 ตลาด (ดูอัลลิสติ้ง)ในตลาดหุ้นไทย โดยจะเสนอขายหุ้นให้แก่นักลงทุนทั่วไปและนักลงทุนสถาบันในประเทศไม่เกิน 35 ล้านหุ้น คิดเป็นมูลค่าระดมทุนประมาณ 4,550 ล้านบาท จากราคาหุ้นของซีไอเอ็มบี กรุ๊ป ในตลาดหุ้นมาเลเซีย อยู่ที่ 13 ริงกิต หรือประมาณหุ้นละ 130 บาท
ทั้งนี้ ซีไอเอ็มบี กรุ๊ป จะเข้ามาจดทะเบียนในหมวดธนาคารพาณิชย์ประมาณกลางปีหน้า และถือเป็นบริษัทข้ามชาติรายแรกที่เข้ามาจดทะเบียนในตลาดหุ้นไทย ซึ่งจะติดอันดับ 1ใน3 บริษัทที่มูลค่าหลักทรัพย์ตามราคาตลาด (มาร์เกตแคป) สูงสุดในตลาดหุ้นไทย หรือมีขนาดใกล้เคียงกับหุ้นบมจ. ปตท. สำรวจและผลิตปิโตรเลียม จำกัด (PTTEP) โดย ณ วันที่ 13 พ.ย. 52 มาร์เกตแคปซีไอเอ็มบีกรุ๊ป ในตลาดหุ้นมาเลเซียอยู่ที่ 455,900 ล้านบาท
“ซีไอเอ็มบี กรุ๊ป อยู่ระหว่างการพิจารณาหุ้นที่จะนำมาเสนอขายให้แก่นักลงทุนไทย 35 ล้านหุ้น จะเป็นหุ้นเดิม หุ้นเพิ่มทุนใหม่ หรือรวมกันระหว่างหุ้นเดิมและหุ้นใหม่ ซึ่งการเข้ามาจดทะเบียนของซีไอเอ็มบี กรุ๊ป นั้นถือเป็นจุดเริ่มต้นของการเข้ามาจดทะเบียนของบริษัทต่างชาติ หลังจากที่ตลาดหลักทรัพย์ฯได้ทำงานในเรื่องดังกล่าวมากว่า1 ปี”นางภัทรียา กล่าว
นายสุภัค ศิวะรักษ์ กรรมการผู้จัดการใหญ่และประธานเจ้าหน้าที่บริหาร ธนาคาร ซีไอเอ็มบี ไทย กล่าวว่า ซีไอเอ็มบี กรุ๊ป ได้เข้ามาดำเนินธุรกิจในประเทศไทย โดยการถือหุ้นในธนาคารซีไอเอ็มบีไทย ที่จดทะเบียนอยู่ในตลาดหุ้นไทย ในสัดส่วน 93.15% และจะยังคงสถานะเป็นบจ. หลังจากซีไอเอ็มบีกรุ๊ป เข้ามาจดทะเบียน โดยหุ้นที่จะนำมาเสนอขายจำนวน 35 ล้านหุ้นนั้น จะเสนอขายแก่นักลงทุนบุคคล นักลงทุนสถาบันในประเทศไทย ซึ่งอาจรวมถึงลูกค้า พนักงาน ผู้ถือหุ้นรายย่อยของธนาคารซีไอเอ็มบีไทยด้วย
นายวิเชฐ ตันติวานิช รองผู้จัดการ สายงานผู้ออกหลักทรัพย์และบริษัทจดทะเบียน ตลาดหลักทรัพย์ฯ กล่าวว่า ขณะนี้ตลาดหลักทรัพย์ฯ อยู่ระหว่างการเจรจากกับบริษัทต่างชาติเพื่อชักชวนให้เข้ามาจดทะเบียนในตลาดหุ้นไทยอีก 2-3 ราย หลังจากที่ซีไอเอ็มบี กรุ๊ป เป็นบริษัทแรก ซึ่งในระยะแรกบริษัทที่จะเข้ามจดทะเบียนนั้นจะเป็นบริษัทที่มีการทำธุรกิจในประเทศไทยด้วยเพื่อสร้างความสนใจ โดยหลักทรัพย์ฯ ยังไม่ตั้งเป้าหมายการเข้าจดทะเบียนของบริษัทต่างชาติ แต่ต้องการที่จะเพิ่มมูลค่าการซื้อขายให้มากขึ้น
“ตลาดหลักทรัพย์ฯ จะไม่นับรวมมาร์เกตแคปของบริษัทต่างชาติที่เข้ามาจดทะเบียนในตลาดหุ้นไทย เพราะหุ้นดังกล่าวไม่ได้ขายหุ้นครั้งแรกที่ตลาดหุ้นไทย แต่การเข้ามาจดทะเบียนนั้นจะเป็นการเพิ่มวอลุ่มการซื้อขาย ประมาณ 0.75% ของมาร์เกตแคปของหุ้นบริษัทข้ามชาติ” นายวิเชฐ กล่าว
ทั้งนี้ คณะกรรมการตลาดหลักทรัพย์ฯได้ปรับปรุงหลักเกณฑ์เพื่อรองรับการเข้าจดทะเบียนของบริษัทต่างชาติ โดยในช่วงแรกบริษัทต่างประเทศที่จะเข้ามาจดทะเบียนในตลาดหุ้นไทยจะต้องเข้าจดทะเบียนในตลาดหุ้นต่างประเทศแล้วไม่ต่ำกว่า 3 ปี มาร์เกตแคปติด 1 ใน 25 ของตลาดหุ้นต่างประเทศ หรือไม่ต่ำกว่า 10,000 ล้านบาท เป็นต้น
ขณะเดียวกัน บริษัทจะทะเบียนต่างชาติจะได้รับการยกเว้นไม่ต้องปฎิบัติตามหลักเกณฑ์ฟรีโฟลท หากแสดงให้ตลาดหลักทรัพย์ฯ มั่นใจว่าหุ้นของบริษัทต่างชาติจะมีการซื้อขายและมีสภาพคล่องในตลาดหุ้นไทย เช่น ผู้ถือหุ้นของบริษัทต่างชาติรแบ่งหุ้นส่วนหนึ่งเข้ามาจดทะเบียนในประเทศไทย โดยจำนวนหุ้นไม่น้อยกว่า 5% ของทุนชำระแล้ว หรือมาร์เกตแคปไม่น้อกยว่า 300 ล้านบาท และบริษัทต่างชาติทำPO ในประเทศไทย ไม่น้อยกว่า 5% ของทุนชำระแล้ว หรือมีมาร์เกตแคปของหุ้นไม่น้อยกว่า 300 ล้านบาท โดยจะต้องมีผู้ติดต่อกับผู้ลงทุนไทย ไม่เป็นบริษัทที่อยู่ระหว่างการแก้ไขคุณสมบัติในการเป็นบริษัทจดทะเบียนในตลาดหุ้นต่างประเทศ
ทั้งนี้ ซีไอเอ็มบี กรุ๊ป จะเข้ามาจดทะเบียนในหมวดธนาคารพาณิชย์ประมาณกลางปีหน้า และถือเป็นบริษัทข้ามชาติรายแรกที่เข้ามาจดทะเบียนในตลาดหุ้นไทย ซึ่งจะติดอันดับ 1ใน3 บริษัทที่มูลค่าหลักทรัพย์ตามราคาตลาด (มาร์เกตแคป) สูงสุดในตลาดหุ้นไทย หรือมีขนาดใกล้เคียงกับหุ้นบมจ. ปตท. สำรวจและผลิตปิโตรเลียม จำกัด (PTTEP) โดย ณ วันที่ 13 พ.ย. 52 มาร์เกตแคปซีไอเอ็มบีกรุ๊ป ในตลาดหุ้นมาเลเซียอยู่ที่ 455,900 ล้านบาท
“ซีไอเอ็มบี กรุ๊ป อยู่ระหว่างการพิจารณาหุ้นที่จะนำมาเสนอขายให้แก่นักลงทุนไทย 35 ล้านหุ้น จะเป็นหุ้นเดิม หุ้นเพิ่มทุนใหม่ หรือรวมกันระหว่างหุ้นเดิมและหุ้นใหม่ ซึ่งการเข้ามาจดทะเบียนของซีไอเอ็มบี กรุ๊ป นั้นถือเป็นจุดเริ่มต้นของการเข้ามาจดทะเบียนของบริษัทต่างชาติ หลังจากที่ตลาดหลักทรัพย์ฯได้ทำงานในเรื่องดังกล่าวมากว่า1 ปี”นางภัทรียา กล่าว
นายสุภัค ศิวะรักษ์ กรรมการผู้จัดการใหญ่และประธานเจ้าหน้าที่บริหาร ธนาคาร ซีไอเอ็มบี ไทย กล่าวว่า ซีไอเอ็มบี กรุ๊ป ได้เข้ามาดำเนินธุรกิจในประเทศไทย โดยการถือหุ้นในธนาคารซีไอเอ็มบีไทย ที่จดทะเบียนอยู่ในตลาดหุ้นไทย ในสัดส่วน 93.15% และจะยังคงสถานะเป็นบจ. หลังจากซีไอเอ็มบีกรุ๊ป เข้ามาจดทะเบียน โดยหุ้นที่จะนำมาเสนอขายจำนวน 35 ล้านหุ้นนั้น จะเสนอขายแก่นักลงทุนบุคคล นักลงทุนสถาบันในประเทศไทย ซึ่งอาจรวมถึงลูกค้า พนักงาน ผู้ถือหุ้นรายย่อยของธนาคารซีไอเอ็มบีไทยด้วย
นายวิเชฐ ตันติวานิช รองผู้จัดการ สายงานผู้ออกหลักทรัพย์และบริษัทจดทะเบียน ตลาดหลักทรัพย์ฯ กล่าวว่า ขณะนี้ตลาดหลักทรัพย์ฯ อยู่ระหว่างการเจรจากกับบริษัทต่างชาติเพื่อชักชวนให้เข้ามาจดทะเบียนในตลาดหุ้นไทยอีก 2-3 ราย หลังจากที่ซีไอเอ็มบี กรุ๊ป เป็นบริษัทแรก ซึ่งในระยะแรกบริษัทที่จะเข้ามจดทะเบียนนั้นจะเป็นบริษัทที่มีการทำธุรกิจในประเทศไทยด้วยเพื่อสร้างความสนใจ โดยหลักทรัพย์ฯ ยังไม่ตั้งเป้าหมายการเข้าจดทะเบียนของบริษัทต่างชาติ แต่ต้องการที่จะเพิ่มมูลค่าการซื้อขายให้มากขึ้น
“ตลาดหลักทรัพย์ฯ จะไม่นับรวมมาร์เกตแคปของบริษัทต่างชาติที่เข้ามาจดทะเบียนในตลาดหุ้นไทย เพราะหุ้นดังกล่าวไม่ได้ขายหุ้นครั้งแรกที่ตลาดหุ้นไทย แต่การเข้ามาจดทะเบียนนั้นจะเป็นการเพิ่มวอลุ่มการซื้อขาย ประมาณ 0.75% ของมาร์เกตแคปของหุ้นบริษัทข้ามชาติ” นายวิเชฐ กล่าว
ทั้งนี้ คณะกรรมการตลาดหลักทรัพย์ฯได้ปรับปรุงหลักเกณฑ์เพื่อรองรับการเข้าจดทะเบียนของบริษัทต่างชาติ โดยในช่วงแรกบริษัทต่างประเทศที่จะเข้ามาจดทะเบียนในตลาดหุ้นไทยจะต้องเข้าจดทะเบียนในตลาดหุ้นต่างประเทศแล้วไม่ต่ำกว่า 3 ปี มาร์เกตแคปติด 1 ใน 25 ของตลาดหุ้นต่างประเทศ หรือไม่ต่ำกว่า 10,000 ล้านบาท เป็นต้น
ขณะเดียวกัน บริษัทจะทะเบียนต่างชาติจะได้รับการยกเว้นไม่ต้องปฎิบัติตามหลักเกณฑ์ฟรีโฟลท หากแสดงให้ตลาดหลักทรัพย์ฯ มั่นใจว่าหุ้นของบริษัทต่างชาติจะมีการซื้อขายและมีสภาพคล่องในตลาดหุ้นไทย เช่น ผู้ถือหุ้นของบริษัทต่างชาติรแบ่งหุ้นส่วนหนึ่งเข้ามาจดทะเบียนในประเทศไทย โดยจำนวนหุ้นไม่น้อยกว่า 5% ของทุนชำระแล้ว หรือมาร์เกตแคปไม่น้อกยว่า 300 ล้านบาท และบริษัทต่างชาติทำPO ในประเทศไทย ไม่น้อยกว่า 5% ของทุนชำระแล้ว หรือมีมาร์เกตแคปของหุ้นไม่น้อยกว่า 300 ล้านบาท โดยจะต้องมีผู้ติดต่อกับผู้ลงทุนไทย ไม่เป็นบริษัทที่อยู่ระหว่างการแก้ไขคุณสมบัติในการเป็นบริษัทจดทะเบียนในตลาดหุ้นต่างประเทศ