บิ๊กคอนโดฯ แนะลงทุนแนวรถไฟฟ้าส่วนต่อขยาย อย่าซื้อที่เก็งกำไรล่วงหน้า ชี้การเมืองไทยไม่นิ่งอาจฉุดโครงการล่าช้า ควรลงทุนในเส้นทางที่กำลังก่อสร้างหรือประมูลแล้วเสร็จ ด้าน AREA แนะซื้อคอนโดฯในเมือง เตือนซื้อไกลอาจจ่ายค่าโดยสารแพงเท่าตัว
แม้ว่าแผนแม่บทในการก่อสร้างรถไฟฟ้าเส้นทางต่างๆ จะถูกกำหนดระยะเวลาจนกระทั้งแล้วเสร็จที่ชัดเจน แต่ในความเป็นจริงการดำเนินงานต่างๆ ยังมีปัจจัยผันแปรอีกหลายประการ โดยเฉพาะปัจจัยสำคัญเรื่องการเมือง เพราะการเมืองไทยไม่นิ่ง พลัดเปลี่ยนรัฐบาลบ่อยครั้ง ซึ่งการเปลี่ยนแต่ละครั้งนั้นหมายถึงการเปลี่ยนนโยบายไปด้วย โดยเฉพาะโครงการขนาดใหญ่มูลค่าและผลประโยชน์มหาศาล ส่งผลให้การก่อสร้างรถไฟฟ้าของไทยล่าช้า
การเปลี่ยนแปลงดังกล่าว นักลงทุนโดยเฉพาะผู้ประกอบการอสังหาฯได้รับความเจ็บช้ำมาแล้ว เมื่อมีกระแสข่าว ข่าววงใน เรื่อง ตัดถนน ทางด่วน แนวรถไฟฟ้า สาธารณูปโภคขนาดใหญ่อื่นๆ นักลงทุนจะแห่ไปซื้อที่ดินเพื่อเก็งกำไร หรือลงทุนพัฒนาโครงการในอนาคต ทำให้ราคาที่ดินพุ่งสูงเกินจริง แต่จนแล้วจนรอด โครงการสาธารณูปโภคกลับไม่เกิดตามที่รัฐบาลวางนโยบายเอาไว้ สุดท้ายที่ดินหรือสินทรัพย์ติดมือ เงินลงทุนจมอยู่กลับที่ดินอันแสนแพง
ปัจจุบันนักลงทุนส่วนใหญ่มีบทเรียนมามากแล้ว หลายคนระมัดระวัง ไม่ซื้อที่ดินล่วงหน้า เพื่อลงทุนในอนาคตหรือที่เรียกว่า แลนด์แบงก์ แต่จะยอมจ่ายแพงขึ้นมาอีกนิด ซื้อตอนที่สาธารณูปโภคแล้วเสร็จ เพื่อป้องกันความเสี่ยง และที่ผ่านมาผู้เชี่ยวชาญด้านการลงทุนอสังหาฯเคยกล่าวไว้ว่า “ถ้าไม่เห็นหินคลุกทำถนน หรือสร้างรางรถไฟฟ้าอย่าซื้อที่ดินรอ”
นายอธิป พีชานนท์ รองกรรมการผู้จัดการ บริษัท ศุภาลัย จำกัด (มหาชน) ในฐานะนายกสมาคมอาคารชุดไทย ถ่ายทอดประสบการณ์ว่า ปัจจุบันผู้ประกอบการหลายรายรู้แผนแม่บทและเส้นทางรถไฟฟ้าในอนาคตหมด อีกทั้งยังสามารถจำเส้นทางได้ขึ้นใจ แต่นั้นไม่ใช่ประเด็นในการซื้อที่ดินเพื่อลงทุนพัฒนาโครงการอสังหาฯ เพราะยังมีความเสี่ยงที่สำคัญคือระยะเวลาในการก่อสร้างที่แท้จริง แผนทุกอย่างปรับเปลี่ยนได้ตลอดเวลา อย่างเช่น โครงการโฮปเวลล์
ดังนั้น การลงทุนพัฒนาโครงการที่อยู่อาศัย โดยเฉพาะคอนโดฯที่ทำเล คือ หัวใจสำคัญลำดับต้นๆ จะต้องไม่นำเส้นทางรถไฟฟ้าที่ยังไม่เกิดขึ้น แต่ควรใช้ปัจจัยหรือจุดขายอื่น เช่น ทำเลใกล้ชุมชน แหล่งอำนวยความสะดวกต่างๆ ฯลฯ มาคำนวณความเป็นไปได้ของโครงการ สินค้าต้องขายได้ด้วยตัวเอง แต่หากรถไฟฟ้าสร้างแล้วเสร็จขณะที่โครงการเปิดขายก็ให้ถือเป็นผลบวกในด้านการตลาด
“อย่างไรก็ตาม โดยส่วนตัวเชื่อว่า รถไฟฟ้าบีทีเอส สายแบริ่ง-สมุทรปราการ จะสามารถเปิดได้ตรงเวลา แต่ยังมีปัญหาเรื่องการดำเนินการจัดเก็บรายได้ระหว่างกทม.และรัฐบาล ส่วนรองลงมาที่คาดว่าจะแล้วเสร็จตามมาคือ สายสีม่วง ตามมาด้วยสายสีน้ำเงิน ส่วนสายอื่นๆ ผู้ประกอบการยังไม่ควรลงทุนซื้อที่ดินล่วงหน้าแม้ว่าจะมีโครงข่ายรถไฟฟ้าแล้วก็ตาม” นายอธิปกล่าวและว่า
“ตลาดคอนโดฯจะมีลักษณ์ตรงกันข้ามกับสินค้าประเภทอื่น ถ้าทำเลนั้นมีบ้านเดี่ยว ทาวน์เฮาส์ คอนโดฯทำไม่ได้ ช่วงไหนน้ำมันแพงคอนโดฯชอบขายดี ทำคอนโด ฯต้องเอาสมองนำ เงินตาม ถ้าเข้าไปในเซกเมนต์ไหนเราก็ต้องปรับตาม ปัจจัยภายนอกเป็นรอง ตัวเองเป็นหลัก”
**แบงก์แนะหลักลงทุน**
ด้านนายวิศรุต ปัญญาภิญโญผล ผู้อำนวยการ ธนาคารเกียรตินาคิน จำกัด (มหาชน) หรือ KK กล่าวว่า การลงทุนพัฒนาโครงการคอนโดฯตามแนวรถไฟฟ้าส่วนต่อขยายพบว่า ได้รับความนิยมอย่างมาก โดยสายตากสิน-วงเวียนใหญ่ เพียง 2 สถานี พบว่าคอนโดฯเปิดใหม่ถึง 10 โครงการ จำนวนกว่า 4,000 ยูนิต ส่วนเส้นทางอ่อนนุช –แบริ่ง 5 สถานี มีคอนโดฯเปิดใหม่ 15 โครงการ รวมกว่า 7,000 ยูนิต รวม 2 เส้นทาง กว่า 11,000 ยูนิต แต่ยังมีความต้องการของลุกค้าอย่างต่อเนื่อง
ส่วนรถไฟฟ้า สายแอร์พอร์ตลิงก์ เป็นเส้นทางที่ขนคนเข้าและออกนอกเมือง ปัจจุบันมีผู้ประกอบการเข้าไปลงทุนหลายราย โดยช่วงต้นสถานีพญาไท – หัวหมากการพัฒนายงคงเป็นรูปแบบคอนโดฯ เนื่องจากราคาที่ดินสูง ส่วนถัดไปจากหัวหมากจะเป็นทาวน์เฮาส์ในเมือง และจุดตัดถนนถนนศรีนครินทร์จะพัฒนาเป็นคอนโดฯ หลังจากนั้นเป็นบ้านเดี่ยว ยิ่งสถานีห่างออกไปราคายิ่งลดลง ซึ่งสามารถทำทาวน์เฮาส์ บ้านเดี่ยวใกล้เมืองหรือติดรถไฟฟ้าได้ ภาพดังกล่าวแสดงให้เห็นว่าการพัฒนาตามแนวรถไฟฟ้าจะเป็นสินค้าประเภทใดนั้น ขึ้นอยู่กับราคาที่ดินและความห่างออกไปของสถานี
สำหรับการพิจารณาปล่อยสินเชื่อเพื่อพัฒนาโครงการของธนาคารพาณิชย์บางแห่งจะเป็น 2 กรณี คือ ผู้ประกอบการรายใหญ่ในตลาดหลักทรัพย์ ในกลุ่มนี้ธนาคารจะพิจารณาจากศักยภาพการชำระหนี้ของตัวผู้ประกอบการแทนการพิจารณาจากความเป็นไปได้ของโครงการ เพราะมองว่าผู้ประกอบการกลุ่มนี้มีประสบการณ์และความเชี่ยวชาญในธุรกิจอสังหาฯอยู่แล้ว
ส่วนผู้ประกอบการรายกลาง-รายย่อยนอกตลาดหลักทรัพย์ ธนาคารจะพิจารณาจากความเป็นไปได้ของโครงการ ประกอบกับความเสี่ยงของการพัฒนาโครงการแต่ละประเภท โดยเฉพาะคอนโดฯที่มีความเสี่ยงมากที่สุดจากระยะเวลาก่อสร้างแล้วเสร็จ 1-2 ปี นอกจากนี้จะพิจารณาความเหมาะสมของประเภทโครงการกับทำเลนั้นๆ ราคาที่ดินและราคาสินค้าที่จะพัฒนาออกมาขายมีกำไรมากน้อยเพียงใด หากในย่านนั้นรูปแบบการอยู่อาศัยเป็นโครงการบ้านเดี่ยวหรือ ทาวน์เฮาส์ หากผู้ประกอบการสร้างคอนโดฯอาจไม่ได้รับการพิจารณาเพราะคนส่วนใหญ่จะต้องเลือกซื้อบ้านเดี่ยว
“นอกจากนี้ ผู้ประกอบการจะต้องพิจารณาการลงทุนจากกำลังซื้อรายได้ของผู้ซื้อในทำเลนั้นๆ จะต้องพัฒนาสินค้าราคาเท่าไหร่ การเก็งกำไรที่ดินไม่ควรซื้อที่ดินตามคนอื่น หรือซื้อที่ดินในราคาสูงรองรับรถไฟฟ้า แต่ไม่รู้ว่ารถไฟฟ้าจะเกิดเมื่อไหร่, พิจารณาเรื่องผังเมืองว่าสามารถพัฒนาอะไรได้ มี FAR เท่าไหร่, ต้นทุนที่ดินที่เหมาะสมกับรูปแบบของสินค้าที่จะทำ, ความเป็นได้ของโครงการ ถ้าพิจารณาสิ่งเหล่านี้ประกอบการลงทุนเชื่อว่าธนาคารจะปล่อยสินเชื่อให้ไม่ยาก” นายวิศรุต กล่าวแนะนำ
ด้านนายกิติศักดิ์ จำปาทิพย์พงศ์ กล่าวว่า โครงการตามแนวรถไฟฟ้าที่ยังไม่เกิดขึ้น ถือว่าเป็นโครงการที่จับต้องยากใช้เวลานานกว่าจะเกิด ดังนั้นไม่ควรไปยึดติด ในปัจจุบันทำเลที่ขายดีที่สุด คือ สุขุมวิท สาทร พัฒนาออกมาเท่าไหร่ก็ขายได้หากตั้งราคาเหมาะสม เพราะกลุ่มลูกค้ากว้าง มีทั้งชาวไทย ต่างชาติและนักลงทุน ส่วนทำเลย่านราชเทวี พญาไทเป็นทำเลที่ขายดีเช่นกัน แต่ปัจจุบันแทบไม่มีที่ดินเหลือให้พัฒนาอีกแล้ว
ส่วนทำเลพหลโยธิน ย่านอารีย์ สะพานควาย ขายดีมาก ต่างชาติเร่มไปอยู่อาศัยมากขึ้น แต่ปัจจุบันที่ดินไม่ค่อยมีเช่นกัน ทำเลดังกล่าวหากซื้อที่ดินได้ในราคาเหมาะสมในการพัฒนา สามารถขายหมดภายใน 2 วัน ส่วนทำเลอื่นที่ยังไปได้ดี รองลงมาคือ รัชดา ลาดพร้าว ถือเป็นทำเลแฟชั่นเพราะเป็นส่วนต่อขยายรถไฟฟ้า แต่ต้องระวังเพราะมีคู่แข่งจำนวนมาก ส่วนหใญ่เป็นผู้ประกบอารรายใหญ่ ซึ่งมีหลายรายที่ซื้อที่ดินเพิ่ม แต่ยังไม่เปิดโครงการเพราะรอรอบของตลาด
สำหรับทำเลสาทร-ฝั่งธนบุรี และสุขุมวิท-สมุทรปราการ นั้นเส้นทางสุขุมวิท-สมุทรปราการจะดีกว่าสาทร-ฝั่งธนบุรีเพราะมีกลุ่มเป้าหมายที่เป็นนักลงทุนมากกว่า มีบริษัท โรงงาน คอมเมอร์เชียลสิ่งอำนวยความสะดวกหลายแห่ง ซึ่งลูกค้ากลุ่มนี้มีกำลังซื้อสูง แต่ราคาที่ดินในย่านนี้จะสูงกว่าย่านสาทร-ฝั่งธน 20-30% แต่สามารถพัฒนาสินค้าออกมาในราคาสูงได้ อย่างไรก็ตามการพัฒนาของรายกลาง-รายเล็กไม่ควรอยู่ใกล้กับรายใหญ่ เพื่อลดการแข่งขัน
ด้าน ดร.โสภณ พรโชคชัย กรรมการผู้จัดการ บริษัท เอเจนซี่ ฟอร์เรียลเอสเตท แอฟแฟร์ส จำกัด (AREA) กล่าวว่า การลงทุนพัฒนารถไฟฟ้า ควรให้ต่างชาติเข้ามาลงทุนคนละ 1-2 สายคุ้มที่สุด แต่ต้องควบคุมการจัดเก็บรายได้ให้ดี ไม่ใช้ขึ้นราคาได้ตามใจชอบ ส่วนการซื้อที่อยู่อาศัยในแนวรถไฟฟ้าแนะนำให้ซื้อใกล้เมืองแทน เพราะหากรถไฟฟ้าขยายออกไปนอกเมืองจริง แต่อย่าลืมว่าค่าโดยสารจะต้องเพิ่มขึ้นเป็นเท่าตัว เพราะปัจจุบันสูงสุด 40 บาท ไป-กลับ 80 หากอยู่ไกลออกไปอีก ราคาสุดสายน่าจะเกิน 80 บาทไป-กลับ เกือบ 200 บาท ซึ่งเป็นค่าเดินทางที่สูงมาก ทำให้การใช้เส้นทางด่วนจะประหยัดกว่ามาก ดังนั้นผู้บริโภคควรซื้อคอนโดฯแนวรถไฟฟ้าที่อยู่ในเมืองจะดีกว่า ซื้อตามแนวส่วนต่อขยายที่ไกลออกไป
แม้ว่าแผนแม่บทในการก่อสร้างรถไฟฟ้าเส้นทางต่างๆ จะถูกกำหนดระยะเวลาจนกระทั้งแล้วเสร็จที่ชัดเจน แต่ในความเป็นจริงการดำเนินงานต่างๆ ยังมีปัจจัยผันแปรอีกหลายประการ โดยเฉพาะปัจจัยสำคัญเรื่องการเมือง เพราะการเมืองไทยไม่นิ่ง พลัดเปลี่ยนรัฐบาลบ่อยครั้ง ซึ่งการเปลี่ยนแต่ละครั้งนั้นหมายถึงการเปลี่ยนนโยบายไปด้วย โดยเฉพาะโครงการขนาดใหญ่มูลค่าและผลประโยชน์มหาศาล ส่งผลให้การก่อสร้างรถไฟฟ้าของไทยล่าช้า
การเปลี่ยนแปลงดังกล่าว นักลงทุนโดยเฉพาะผู้ประกอบการอสังหาฯได้รับความเจ็บช้ำมาแล้ว เมื่อมีกระแสข่าว ข่าววงใน เรื่อง ตัดถนน ทางด่วน แนวรถไฟฟ้า สาธารณูปโภคขนาดใหญ่อื่นๆ นักลงทุนจะแห่ไปซื้อที่ดินเพื่อเก็งกำไร หรือลงทุนพัฒนาโครงการในอนาคต ทำให้ราคาที่ดินพุ่งสูงเกินจริง แต่จนแล้วจนรอด โครงการสาธารณูปโภคกลับไม่เกิดตามที่รัฐบาลวางนโยบายเอาไว้ สุดท้ายที่ดินหรือสินทรัพย์ติดมือ เงินลงทุนจมอยู่กลับที่ดินอันแสนแพง
ปัจจุบันนักลงทุนส่วนใหญ่มีบทเรียนมามากแล้ว หลายคนระมัดระวัง ไม่ซื้อที่ดินล่วงหน้า เพื่อลงทุนในอนาคตหรือที่เรียกว่า แลนด์แบงก์ แต่จะยอมจ่ายแพงขึ้นมาอีกนิด ซื้อตอนที่สาธารณูปโภคแล้วเสร็จ เพื่อป้องกันความเสี่ยง และที่ผ่านมาผู้เชี่ยวชาญด้านการลงทุนอสังหาฯเคยกล่าวไว้ว่า “ถ้าไม่เห็นหินคลุกทำถนน หรือสร้างรางรถไฟฟ้าอย่าซื้อที่ดินรอ”
นายอธิป พีชานนท์ รองกรรมการผู้จัดการ บริษัท ศุภาลัย จำกัด (มหาชน) ในฐานะนายกสมาคมอาคารชุดไทย ถ่ายทอดประสบการณ์ว่า ปัจจุบันผู้ประกอบการหลายรายรู้แผนแม่บทและเส้นทางรถไฟฟ้าในอนาคตหมด อีกทั้งยังสามารถจำเส้นทางได้ขึ้นใจ แต่นั้นไม่ใช่ประเด็นในการซื้อที่ดินเพื่อลงทุนพัฒนาโครงการอสังหาฯ เพราะยังมีความเสี่ยงที่สำคัญคือระยะเวลาในการก่อสร้างที่แท้จริง แผนทุกอย่างปรับเปลี่ยนได้ตลอดเวลา อย่างเช่น โครงการโฮปเวลล์
ดังนั้น การลงทุนพัฒนาโครงการที่อยู่อาศัย โดยเฉพาะคอนโดฯที่ทำเล คือ หัวใจสำคัญลำดับต้นๆ จะต้องไม่นำเส้นทางรถไฟฟ้าที่ยังไม่เกิดขึ้น แต่ควรใช้ปัจจัยหรือจุดขายอื่น เช่น ทำเลใกล้ชุมชน แหล่งอำนวยความสะดวกต่างๆ ฯลฯ มาคำนวณความเป็นไปได้ของโครงการ สินค้าต้องขายได้ด้วยตัวเอง แต่หากรถไฟฟ้าสร้างแล้วเสร็จขณะที่โครงการเปิดขายก็ให้ถือเป็นผลบวกในด้านการตลาด
“อย่างไรก็ตาม โดยส่วนตัวเชื่อว่า รถไฟฟ้าบีทีเอส สายแบริ่ง-สมุทรปราการ จะสามารถเปิดได้ตรงเวลา แต่ยังมีปัญหาเรื่องการดำเนินการจัดเก็บรายได้ระหว่างกทม.และรัฐบาล ส่วนรองลงมาที่คาดว่าจะแล้วเสร็จตามมาคือ สายสีม่วง ตามมาด้วยสายสีน้ำเงิน ส่วนสายอื่นๆ ผู้ประกอบการยังไม่ควรลงทุนซื้อที่ดินล่วงหน้าแม้ว่าจะมีโครงข่ายรถไฟฟ้าแล้วก็ตาม” นายอธิปกล่าวและว่า
“ตลาดคอนโดฯจะมีลักษณ์ตรงกันข้ามกับสินค้าประเภทอื่น ถ้าทำเลนั้นมีบ้านเดี่ยว ทาวน์เฮาส์ คอนโดฯทำไม่ได้ ช่วงไหนน้ำมันแพงคอนโดฯชอบขายดี ทำคอนโด ฯต้องเอาสมองนำ เงินตาม ถ้าเข้าไปในเซกเมนต์ไหนเราก็ต้องปรับตาม ปัจจัยภายนอกเป็นรอง ตัวเองเป็นหลัก”
**แบงก์แนะหลักลงทุน**
ด้านนายวิศรุต ปัญญาภิญโญผล ผู้อำนวยการ ธนาคารเกียรตินาคิน จำกัด (มหาชน) หรือ KK กล่าวว่า การลงทุนพัฒนาโครงการคอนโดฯตามแนวรถไฟฟ้าส่วนต่อขยายพบว่า ได้รับความนิยมอย่างมาก โดยสายตากสิน-วงเวียนใหญ่ เพียง 2 สถานี พบว่าคอนโดฯเปิดใหม่ถึง 10 โครงการ จำนวนกว่า 4,000 ยูนิต ส่วนเส้นทางอ่อนนุช –แบริ่ง 5 สถานี มีคอนโดฯเปิดใหม่ 15 โครงการ รวมกว่า 7,000 ยูนิต รวม 2 เส้นทาง กว่า 11,000 ยูนิต แต่ยังมีความต้องการของลุกค้าอย่างต่อเนื่อง
ส่วนรถไฟฟ้า สายแอร์พอร์ตลิงก์ เป็นเส้นทางที่ขนคนเข้าและออกนอกเมือง ปัจจุบันมีผู้ประกอบการเข้าไปลงทุนหลายราย โดยช่วงต้นสถานีพญาไท – หัวหมากการพัฒนายงคงเป็นรูปแบบคอนโดฯ เนื่องจากราคาที่ดินสูง ส่วนถัดไปจากหัวหมากจะเป็นทาวน์เฮาส์ในเมือง และจุดตัดถนนถนนศรีนครินทร์จะพัฒนาเป็นคอนโดฯ หลังจากนั้นเป็นบ้านเดี่ยว ยิ่งสถานีห่างออกไปราคายิ่งลดลง ซึ่งสามารถทำทาวน์เฮาส์ บ้านเดี่ยวใกล้เมืองหรือติดรถไฟฟ้าได้ ภาพดังกล่าวแสดงให้เห็นว่าการพัฒนาตามแนวรถไฟฟ้าจะเป็นสินค้าประเภทใดนั้น ขึ้นอยู่กับราคาที่ดินและความห่างออกไปของสถานี
สำหรับการพิจารณาปล่อยสินเชื่อเพื่อพัฒนาโครงการของธนาคารพาณิชย์บางแห่งจะเป็น 2 กรณี คือ ผู้ประกอบการรายใหญ่ในตลาดหลักทรัพย์ ในกลุ่มนี้ธนาคารจะพิจารณาจากศักยภาพการชำระหนี้ของตัวผู้ประกอบการแทนการพิจารณาจากความเป็นไปได้ของโครงการ เพราะมองว่าผู้ประกอบการกลุ่มนี้มีประสบการณ์และความเชี่ยวชาญในธุรกิจอสังหาฯอยู่แล้ว
ส่วนผู้ประกอบการรายกลาง-รายย่อยนอกตลาดหลักทรัพย์ ธนาคารจะพิจารณาจากความเป็นไปได้ของโครงการ ประกอบกับความเสี่ยงของการพัฒนาโครงการแต่ละประเภท โดยเฉพาะคอนโดฯที่มีความเสี่ยงมากที่สุดจากระยะเวลาก่อสร้างแล้วเสร็จ 1-2 ปี นอกจากนี้จะพิจารณาความเหมาะสมของประเภทโครงการกับทำเลนั้นๆ ราคาที่ดินและราคาสินค้าที่จะพัฒนาออกมาขายมีกำไรมากน้อยเพียงใด หากในย่านนั้นรูปแบบการอยู่อาศัยเป็นโครงการบ้านเดี่ยวหรือ ทาวน์เฮาส์ หากผู้ประกอบการสร้างคอนโดฯอาจไม่ได้รับการพิจารณาเพราะคนส่วนใหญ่จะต้องเลือกซื้อบ้านเดี่ยว
“นอกจากนี้ ผู้ประกอบการจะต้องพิจารณาการลงทุนจากกำลังซื้อรายได้ของผู้ซื้อในทำเลนั้นๆ จะต้องพัฒนาสินค้าราคาเท่าไหร่ การเก็งกำไรที่ดินไม่ควรซื้อที่ดินตามคนอื่น หรือซื้อที่ดินในราคาสูงรองรับรถไฟฟ้า แต่ไม่รู้ว่ารถไฟฟ้าจะเกิดเมื่อไหร่, พิจารณาเรื่องผังเมืองว่าสามารถพัฒนาอะไรได้ มี FAR เท่าไหร่, ต้นทุนที่ดินที่เหมาะสมกับรูปแบบของสินค้าที่จะทำ, ความเป็นได้ของโครงการ ถ้าพิจารณาสิ่งเหล่านี้ประกอบการลงทุนเชื่อว่าธนาคารจะปล่อยสินเชื่อให้ไม่ยาก” นายวิศรุต กล่าวแนะนำ
ด้านนายกิติศักดิ์ จำปาทิพย์พงศ์ กล่าวว่า โครงการตามแนวรถไฟฟ้าที่ยังไม่เกิดขึ้น ถือว่าเป็นโครงการที่จับต้องยากใช้เวลานานกว่าจะเกิด ดังนั้นไม่ควรไปยึดติด ในปัจจุบันทำเลที่ขายดีที่สุด คือ สุขุมวิท สาทร พัฒนาออกมาเท่าไหร่ก็ขายได้หากตั้งราคาเหมาะสม เพราะกลุ่มลูกค้ากว้าง มีทั้งชาวไทย ต่างชาติและนักลงทุน ส่วนทำเลย่านราชเทวี พญาไทเป็นทำเลที่ขายดีเช่นกัน แต่ปัจจุบันแทบไม่มีที่ดินเหลือให้พัฒนาอีกแล้ว
ส่วนทำเลพหลโยธิน ย่านอารีย์ สะพานควาย ขายดีมาก ต่างชาติเร่มไปอยู่อาศัยมากขึ้น แต่ปัจจุบันที่ดินไม่ค่อยมีเช่นกัน ทำเลดังกล่าวหากซื้อที่ดินได้ในราคาเหมาะสมในการพัฒนา สามารถขายหมดภายใน 2 วัน ส่วนทำเลอื่นที่ยังไปได้ดี รองลงมาคือ รัชดา ลาดพร้าว ถือเป็นทำเลแฟชั่นเพราะเป็นส่วนต่อขยายรถไฟฟ้า แต่ต้องระวังเพราะมีคู่แข่งจำนวนมาก ส่วนหใญ่เป็นผู้ประกบอารรายใหญ่ ซึ่งมีหลายรายที่ซื้อที่ดินเพิ่ม แต่ยังไม่เปิดโครงการเพราะรอรอบของตลาด
สำหรับทำเลสาทร-ฝั่งธนบุรี และสุขุมวิท-สมุทรปราการ นั้นเส้นทางสุขุมวิท-สมุทรปราการจะดีกว่าสาทร-ฝั่งธนบุรีเพราะมีกลุ่มเป้าหมายที่เป็นนักลงทุนมากกว่า มีบริษัท โรงงาน คอมเมอร์เชียลสิ่งอำนวยความสะดวกหลายแห่ง ซึ่งลูกค้ากลุ่มนี้มีกำลังซื้อสูง แต่ราคาที่ดินในย่านนี้จะสูงกว่าย่านสาทร-ฝั่งธน 20-30% แต่สามารถพัฒนาสินค้าออกมาในราคาสูงได้ อย่างไรก็ตามการพัฒนาของรายกลาง-รายเล็กไม่ควรอยู่ใกล้กับรายใหญ่ เพื่อลดการแข่งขัน
ด้าน ดร.โสภณ พรโชคชัย กรรมการผู้จัดการ บริษัท เอเจนซี่ ฟอร์เรียลเอสเตท แอฟแฟร์ส จำกัด (AREA) กล่าวว่า การลงทุนพัฒนารถไฟฟ้า ควรให้ต่างชาติเข้ามาลงทุนคนละ 1-2 สายคุ้มที่สุด แต่ต้องควบคุมการจัดเก็บรายได้ให้ดี ไม่ใช้ขึ้นราคาได้ตามใจชอบ ส่วนการซื้อที่อยู่อาศัยในแนวรถไฟฟ้าแนะนำให้ซื้อใกล้เมืองแทน เพราะหากรถไฟฟ้าขยายออกไปนอกเมืองจริง แต่อย่าลืมว่าค่าโดยสารจะต้องเพิ่มขึ้นเป็นเท่าตัว เพราะปัจจุบันสูงสุด 40 บาท ไป-กลับ 80 หากอยู่ไกลออกไปอีก ราคาสุดสายน่าจะเกิน 80 บาทไป-กลับ เกือบ 200 บาท ซึ่งเป็นค่าเดินทางที่สูงมาก ทำให้การใช้เส้นทางด่วนจะประหยัดกว่ามาก ดังนั้นผู้บริโภคควรซื้อคอนโดฯแนวรถไฟฟ้าที่อยู่ในเมืองจะดีกว่า ซื้อตามแนวส่วนต่อขยายที่ไกลออกไป