นวนครผนึกปตท.-ราชบุรีฯ ร่วมทุนตั้งโรงไฟฟ้าขนาด240-260 เมกะวัตต์ที่นิคมฯนวนคร หวังป้อนลูกค้า คาดว่าจะเริ่มก่อสร้างได้กลางปีหน้า
นายนิพิฐ อรุณวงษ์ ณ อยุธยา กรรมการผู้จัดการ บริษัท นวนคร จำกัด (มหาชน)(NNCL) เปิดเผยว่าบริษัทฯมีโครงการลงทุนโรงไฟฟ้าใช้ก๊าซธรรมชาติเป็นเชื้อเพลิงที่นิคมฯนวนคร จ.ปทุมธานี ขนาดกำลังการผลิต 240-260 เมกะวัตต์ โดยเบื้องต้นบริษัทฯจะร่วมทุนกับบมจ.ปตท. (PTT) และบมจ. ผลิตไฟฟ้าราชบุรี โฮลดิ้ง (RATCH) เพื่อดำเนินการโรงไฟฟ้าตามแผนงานดังกล่าว โดยคาดว่าจะเริ่มก่อสร้างภายในครึ่งหลังของปี 53
สำหรับสัดส่วนการถือหุ้น NNCL จะถือหุ้น 30%, PTT ถือหุ้น 30% และ RATCH ถือหุ้น 40% สาเหตุที่ผลิตไฟฟ้าราชบุรีฯถือหุ้นในสัดส่วนที่สูงกว่า เนื่องจากเป็นผู้ที่มีความเชี่ยวขาญธุรกิจโรงไฟฟ้าอยู่แล้ว
นายนิพิฐ กล่าวว่า ขณะนี้อยู่ระหว่างหารือเกี่ยวกับการกำหนดกำลังการผลิตของโรงไฟฟ้าดังกล่าว โดยอาจจะขยายกำลังการผลิตเป็น 240-260 เมกะวัตต์ จากเดิมที่เคยระบุว่าจะสร้างขนาด 120 เมกะวัตต์ เนื่องจากมองว่าจะคุ้มต่อการลงทุนมากกว่า อีกอย่างคงจะเป็นโรงไฟฟ้าที่ใช้ในระบบพลังงานความร้อนร่วม(โคเจนเนอเรชั่น) หลังจากนี้คงจะมีการศึกษาในเรื่องของปริมาณการใช้ไฟฟ้า
สำหรับเงินลงทุนนั้น จะต้องพิจารณาว่าจะใช้วิธีไหนเพื่อให้ได้ต้นทุนถูกที่สุด ขณะนี้มีแผนเตรียมไว้ คือ การกู้สถาบันการเงินและการเพิ่มทุน โดยขณะนี้อยู่ระหว่างการศึกษาด้วย
นายนพพล มิลินทางกูร กรรมการผู้จัดการ บมจ. ผลิตไฟฟ้าราชบุรีโฮลดิ้ง กล่าวว่า ขณะนี้อยู่ระหว่างการหารือขนาดของโรงไฟฟ้าที่เหมาะสมเบื้องต้นจะอยู่ที่ 200-300 เมกะวัตต์ โดยจะพิจารณาจากความต้องการใช้ไฟฟ้าของลูกค้าในนิคมฯ สัดส่วนการถือหุ้น คาดว่าจะสรุปรายละเอียดได้ภายในเร็วๆนี้
ส่วนกรณีมาบตาพุดจะส่งผลกระทบต่อโครงการดังกล่าวหรือไม่ นายนพพล กล่าวว่า บริษัทฯจะทำความเข้าใจกับชุมชนในพื้นที่ก่อนที่จะขื่นขออีไอเอ อยากให้เอ็นจีโอเข้าใจ เพราะเป็นเรื่องผลประโยชน์ของประเทศชาติ ขณะเดียวกันประเด็นเรื่องสิ่งแวดล้อมภาครัฐจำเป็นต้องเร่งทำความเข้าใจกับชุมชนและองค์กรภาคประชาชน มิฉะนั้นประเทศชาติก็เดินต่อไปไม่ได้
นายนิพิฐ อรุณวงษ์ ณ อยุธยา กรรมการผู้จัดการ บริษัท นวนคร จำกัด (มหาชน)(NNCL) เปิดเผยว่าบริษัทฯมีโครงการลงทุนโรงไฟฟ้าใช้ก๊าซธรรมชาติเป็นเชื้อเพลิงที่นิคมฯนวนคร จ.ปทุมธานี ขนาดกำลังการผลิต 240-260 เมกะวัตต์ โดยเบื้องต้นบริษัทฯจะร่วมทุนกับบมจ.ปตท. (PTT) และบมจ. ผลิตไฟฟ้าราชบุรี โฮลดิ้ง (RATCH) เพื่อดำเนินการโรงไฟฟ้าตามแผนงานดังกล่าว โดยคาดว่าจะเริ่มก่อสร้างภายในครึ่งหลังของปี 53
สำหรับสัดส่วนการถือหุ้น NNCL จะถือหุ้น 30%, PTT ถือหุ้น 30% และ RATCH ถือหุ้น 40% สาเหตุที่ผลิตไฟฟ้าราชบุรีฯถือหุ้นในสัดส่วนที่สูงกว่า เนื่องจากเป็นผู้ที่มีความเชี่ยวขาญธุรกิจโรงไฟฟ้าอยู่แล้ว
นายนิพิฐ กล่าวว่า ขณะนี้อยู่ระหว่างหารือเกี่ยวกับการกำหนดกำลังการผลิตของโรงไฟฟ้าดังกล่าว โดยอาจจะขยายกำลังการผลิตเป็น 240-260 เมกะวัตต์ จากเดิมที่เคยระบุว่าจะสร้างขนาด 120 เมกะวัตต์ เนื่องจากมองว่าจะคุ้มต่อการลงทุนมากกว่า อีกอย่างคงจะเป็นโรงไฟฟ้าที่ใช้ในระบบพลังงานความร้อนร่วม(โคเจนเนอเรชั่น) หลังจากนี้คงจะมีการศึกษาในเรื่องของปริมาณการใช้ไฟฟ้า
สำหรับเงินลงทุนนั้น จะต้องพิจารณาว่าจะใช้วิธีไหนเพื่อให้ได้ต้นทุนถูกที่สุด ขณะนี้มีแผนเตรียมไว้ คือ การกู้สถาบันการเงินและการเพิ่มทุน โดยขณะนี้อยู่ระหว่างการศึกษาด้วย
นายนพพล มิลินทางกูร กรรมการผู้จัดการ บมจ. ผลิตไฟฟ้าราชบุรีโฮลดิ้ง กล่าวว่า ขณะนี้อยู่ระหว่างการหารือขนาดของโรงไฟฟ้าที่เหมาะสมเบื้องต้นจะอยู่ที่ 200-300 เมกะวัตต์ โดยจะพิจารณาจากความต้องการใช้ไฟฟ้าของลูกค้าในนิคมฯ สัดส่วนการถือหุ้น คาดว่าจะสรุปรายละเอียดได้ภายในเร็วๆนี้
ส่วนกรณีมาบตาพุดจะส่งผลกระทบต่อโครงการดังกล่าวหรือไม่ นายนพพล กล่าวว่า บริษัทฯจะทำความเข้าใจกับชุมชนในพื้นที่ก่อนที่จะขื่นขออีไอเอ อยากให้เอ็นจีโอเข้าใจ เพราะเป็นเรื่องผลประโยชน์ของประเทศชาติ ขณะเดียวกันประเด็นเรื่องสิ่งแวดล้อมภาครัฐจำเป็นต้องเร่งทำความเข้าใจกับชุมชนและองค์กรภาคประชาชน มิฉะนั้นประเทศชาติก็เดินต่อไปไม่ได้