คนกรุงเทพฯแหยงการเมือง ปัจจัยหลักฉุดเศรษฐกิจยากจะฟื้นตัว แม้นโยบายภาครัฐจะช่วยลดความกังวล คนไทยเริ่มใช้จ่ายมากขึ้น ส.วิจัยการตลาด เชื่อกลางปี 53 เส้นกราฟเศรษฐกิจจะดีขึ้น ไฟเขียวโอกาสดีเปิดตัวสินค้ารองรับกำลังซื้อกลางปีหน้า
นางสาววิริยา วรกิตติคุณ นายกสมาคมวิจัยการตลาดแห่งประเทศไทย เปิดเผยว่า ทางสมาคมฯได้จัดทำการวิจัย ThaiView (ไทยวิว) ครั้งที่ 12 ช่วงครึ่งปีหลังของปี 2552 กับการสำรวจความคิดเห็นของคนกรุงเทพฯ เมื่อปลายเดือนส.ค. ที่ผ่านมา โดยมีกลุ่มตัวอย่าง 500คน อายุตั้งแต่ 18ปีขึ้นไป รายได้ครอบครัวเฉลี่ย 10,000 บาทขึ้นไป พบว่า คนกรุงเทพฯมีความเครียดสูงขึ้น
โดยสิ่งที่สร้างความกังวลใจ คือ เรื่องของการเมืองและเศรษฐกิจ โดยคาดหวังให้มาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจของภาครัฐ เร่งช่วยเหลือด้านอาชีพและลดภาวะค่าใช้จ่ายมากขึ้น จะเห็นว่าสัญญาณตัวเลขเศรษฐกิจ แม้เริ่มดีขึ้นก็ตาม แต่ตัวเลขความกังวลของคนกรุงเทพฯ กลับเท่ากันกับช่วงเวลาเดียวกันในปีก่อน คือประมาณ 19-20% ทั้งที่สถานการณ์ในตอนนั้นแย่กว่าปีนี้ ส่วนสำคัญมาจากปัจจัยเรื่องของการเมืองเป็นหลัก ดังนั้นหากการเมืองไม่นิ่ง ความสามัคคีไม่เกิด ตัวเลขทางเศรษฐกิจในความเป็นจริง ก็ยังจะฟื้นตัวได้ช้าต่อไปอีก
แต่เท่าที่ศึกษากราฟการสำรวจ ThaiView ตั้งแต่ ส.ค. 2549 มาจนถึงปัจจุบัน ในเรื่องของความมั่นใจต่อสภาวะเศรษฐกิจในช่วง 12 เดือนจากนี้ของคนกรุงเทพฯแล้ว พบว่า จะเป็นเส้นกราฟในลักษณะเป็นรูปตัวยู ซึ่งแนวโน้มที่มีความเป็นไปได้มากสุด หากการเมืองเริ่มดีขึ้นจริงๆ คาดว่ากลางปี 2553 เศรษฐกิจจะกลับมาฟื้นตัวอย่างเต็มที่ ดังนั้นในช่วงนี้ ถือเป็นช่วงที่เหมาะสมกับการเปิดตัวสินค้าใหม่ ซึ่งการที่สินค้าใหม่จะติดตลาดได้ ก็น่าใช้เวลาสัก 6 เดือน ซึ่งถึงเวลานั้นก็เป็นช่วงที่กำลังซื้อมีความมั่นใจในการใช้จ่ายอย่างเต็มที่เช่นกัน
อย่างไรก็ตาม สำหรับผลวิจัยไทยวิวครั้งที่ 12 นี้ มีการสำรวจความคิดเห็นของคนกรุงเทพฯใน 4 เรื่องหลัก คือ 1.ความคิดเห็นของคนกรุงเทพฯ กับสถานการณ์โดยรวม พบว่า แม้ว่าคนกรุงเทพฯจะเชื่อมั่นต่อเศรษฐกิจลดลง เมื่อเทียบกับการสำรวจในไตรมาส 1 ที่ผ่านมา ซึ่งเป็นช่วงที่รัฐบาลใหม่เข้ามา และออกนโยบายภาครัฐอย่างเร่งด่วนแต่การสำรวจครั้งนี้คนกรุงเทพฯยังมีความรู้สึกมั่งคงทางอาชีพมากขึ้น และครอบครัวยังเป็นสถาบันหลักที่ทำให้คนไทยมีความสุขได้
สำหรับหัวข้อของการสำรวจเรื่องความคิดเห็นในสถานการณ์โดยรวม ยังพบด้วยว่า ความมั่นใจกับสถานการณ์ทางเศรษฐกิจในเดือนส.ค. 2552 อยู่ที่ 19% ใกล้เคียงกับ ส.ค. ปีที่ผ่านมา ที่อยู่ที่ 20% โดยสิ่งที่สร้างความกังวลใจให้คนกรุงเทพฯ มากสุด คือ สภาวะเศรษฐกิจตกต่ำ 47% รองลงมาคือ ภาวะเงินเฟ้อและข้าวของราคาแพง 30% ปัญหาด้านสุขภาพ/อาการเจ็บป่วย 29% โดยความไม่มั่นคงทางการเมืองอยู่ที่ 28% ลดลงจากครั้งก่อนที่ 30% หมายความว่า เรื่องการเมืองเริ่ม เริ่มมีความกังวลลดลง
ขณะเดียวกันความต้องการซื้อสินค้าถาวร พบว่า คนกรุงเทพฯมีความต้องการซื้อสินค้าต่างๆสูงขึ้น โดยเฉพาะในส่วนของทองคำ สูงขึ้นจาก 2% เป็น 12% รองลงมาคือกลุ่มเครื่องใช้ไฟฟ้าจาก 3% เพิ่มเป็น 6% และประกันชีวิตจาก 2% เป็น 4% โดยผลกระทบจากสภาวะเศรษฐกิจในปัจจุบัน พบด้วยว่า คนกรุงเทพฯ มีการระมัดระวังในการใช้จ่ายน้อยลง โดยเฉพาะการซื้อสินค้าที่จำเป็นสูงขึ้น เป็น 88% จาก 83% ที่มีการสำรวจในครั้งก่อน
2.ภาวะค่าใช้จ่ายของคนกรุงเทพฯ พบว่า คนกรุงเทพฯเริ่มกล้าใช้จ่ายมากขึ้นเล็กน้อย แม้ว่าจะมีภาวะหนี้สินมากขึ้น และมีเงินออมน้อยลงก็ตาม โดยผู้ที่คาดว่าช่วงเวลานี้ควรรอไปก่อนสำหรับการซื้อสินค้ามีจำนวนลดลงเป็น 64% จาก 67% และจำนวนผู้ที่ต้องการซื้อสินค้าถาวรมีเพิ่มเป็น 38% จาก 28% และเมื่อเปรียบเทียบการใช้จ่าย 6 เดือนที่ผ่านมา คนกรุงเทพฯที่ลดการใช้จ่ายลงอย่างชัดเจน คือกลุ่มเสื้อผ้า เครื่องประดับ กลุ่มบันเทิง ท่องเที่ยว
3.ความสมดุลของชีวิตงานและชีวิตส่วนตัว พบว่า คนกรุงเทพฯ ต้องการมีความยืดหยุ่นในการทำงาน (ทำงานที่บ้านได้ มีเวลาทำงานที่ยืดหยุ่น) และคิดว่าการเป็นเจ้าของธุรกิจจะทำให้สามารถบริหารชีวิตให้มีความสมดุลมากกว่าปัจจุบัน โดยมีคนกรุงเทพฯเพียง 14% เชื่อว่าตนเองมีชีวิตและการทำงานที่สมดุล แต่ส่วนใหญ่กว่า 63% กลับมองว่าเกือบจะสมดุล และมีเพียง 23% มองว่ายังไม่ค่อยสมดุลหรือไม่สมดุลเลย และยังพบด้วยว่า คนในวัย 25-29ปี เป็นกลุ่มคนที่มองว่า ชีวิตและความสมดุล ไม่ค่อยสมดุลมากกว่าช่วงวัยอื่นๆมากที่สุด ส่วนคนที่ทีมีอายุตั้งแต่ 50 ปีขึ้นไป กลับเป็นกลุ่มที่มองว่ามีความสมดุลในชีวิตมากสุด
ทั้งนี้ปัจจัยที่คงกรุงเทพฯมองว่า จะช่วยให้ชีวิตการทำงานและชีวิตส่วนส่วนตัวมีความสมดุลมากสุด คือ การได้เริ่มธุรกิจส่วนตัว การทำงานที่ยืดหยุ่น ใช้เวลาเดินทางน้อยลง และกว่า 95% คาดหวังให้รัฐบาลมีนโยบายส่งเสริมการแก้ปัญหาความไม่สมดุลของชีวิตส่วนตัวและชีวิตการทำงาน และ4. มาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจของภาครัฐ พบว่า คนกรุงเทพฯตอบรับการกระตุ้นเศรษฐกิจของภาครัฐ และคาดหวังให้รัฐช่วยเหลือด้านอาชีพและลดภาวะค่าใช้จ่าย
โดยนโยบายภาครัฐ ที่มองว่าจะช่วยกระตุ้นเศรษฐกิจได้ คือ มาตรการเรียนฟรี 15ปี กว่า 92% รู้จัก และ82% เห็นด้วย, มาตรการโครงการธงฟ้า จำหน่ายสินค้าราคาถูก 86% รู้จัก และ80% เห็นด้วย, มาตรการปรับลดราคาน้ำมันดีเซลลง 2บาท/ลิตร 72% รู้จักและ 73% เห็นด้วย ส่วนประเด็นที่ต้องการให้เร่งแก้ไขมากที่สุด คือ การลดราคาน้ำมัน การแก้ปัญหาว่างงาน การเพิ่มค่าแรงขั้นต่ำ และการลดการทุจริตคอรัปชั่น ตามลำดับ ส่วนทางด้านสังคม ที่ต้องการให้เร่งช่วยเหลือ คือ ส่งเสริมคนไทยให้มีความรักความสามัคคี, จัดสวัสดิการที่ดียามเจ็บป่วย, แก้ปัญหายาเสพติด และลดปัญหามั่วสุมของเยาวชน ตามลำดับ
นางสาววิริยา วรกิตติคุณ นายกสมาคมวิจัยการตลาดแห่งประเทศไทย เปิดเผยว่า ทางสมาคมฯได้จัดทำการวิจัย ThaiView (ไทยวิว) ครั้งที่ 12 ช่วงครึ่งปีหลังของปี 2552 กับการสำรวจความคิดเห็นของคนกรุงเทพฯ เมื่อปลายเดือนส.ค. ที่ผ่านมา โดยมีกลุ่มตัวอย่าง 500คน อายุตั้งแต่ 18ปีขึ้นไป รายได้ครอบครัวเฉลี่ย 10,000 บาทขึ้นไป พบว่า คนกรุงเทพฯมีความเครียดสูงขึ้น
โดยสิ่งที่สร้างความกังวลใจ คือ เรื่องของการเมืองและเศรษฐกิจ โดยคาดหวังให้มาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจของภาครัฐ เร่งช่วยเหลือด้านอาชีพและลดภาวะค่าใช้จ่ายมากขึ้น จะเห็นว่าสัญญาณตัวเลขเศรษฐกิจ แม้เริ่มดีขึ้นก็ตาม แต่ตัวเลขความกังวลของคนกรุงเทพฯ กลับเท่ากันกับช่วงเวลาเดียวกันในปีก่อน คือประมาณ 19-20% ทั้งที่สถานการณ์ในตอนนั้นแย่กว่าปีนี้ ส่วนสำคัญมาจากปัจจัยเรื่องของการเมืองเป็นหลัก ดังนั้นหากการเมืองไม่นิ่ง ความสามัคคีไม่เกิด ตัวเลขทางเศรษฐกิจในความเป็นจริง ก็ยังจะฟื้นตัวได้ช้าต่อไปอีก
แต่เท่าที่ศึกษากราฟการสำรวจ ThaiView ตั้งแต่ ส.ค. 2549 มาจนถึงปัจจุบัน ในเรื่องของความมั่นใจต่อสภาวะเศรษฐกิจในช่วง 12 เดือนจากนี้ของคนกรุงเทพฯแล้ว พบว่า จะเป็นเส้นกราฟในลักษณะเป็นรูปตัวยู ซึ่งแนวโน้มที่มีความเป็นไปได้มากสุด หากการเมืองเริ่มดีขึ้นจริงๆ คาดว่ากลางปี 2553 เศรษฐกิจจะกลับมาฟื้นตัวอย่างเต็มที่ ดังนั้นในช่วงนี้ ถือเป็นช่วงที่เหมาะสมกับการเปิดตัวสินค้าใหม่ ซึ่งการที่สินค้าใหม่จะติดตลาดได้ ก็น่าใช้เวลาสัก 6 เดือน ซึ่งถึงเวลานั้นก็เป็นช่วงที่กำลังซื้อมีความมั่นใจในการใช้จ่ายอย่างเต็มที่เช่นกัน
อย่างไรก็ตาม สำหรับผลวิจัยไทยวิวครั้งที่ 12 นี้ มีการสำรวจความคิดเห็นของคนกรุงเทพฯใน 4 เรื่องหลัก คือ 1.ความคิดเห็นของคนกรุงเทพฯ กับสถานการณ์โดยรวม พบว่า แม้ว่าคนกรุงเทพฯจะเชื่อมั่นต่อเศรษฐกิจลดลง เมื่อเทียบกับการสำรวจในไตรมาส 1 ที่ผ่านมา ซึ่งเป็นช่วงที่รัฐบาลใหม่เข้ามา และออกนโยบายภาครัฐอย่างเร่งด่วนแต่การสำรวจครั้งนี้คนกรุงเทพฯยังมีความรู้สึกมั่งคงทางอาชีพมากขึ้น และครอบครัวยังเป็นสถาบันหลักที่ทำให้คนไทยมีความสุขได้
สำหรับหัวข้อของการสำรวจเรื่องความคิดเห็นในสถานการณ์โดยรวม ยังพบด้วยว่า ความมั่นใจกับสถานการณ์ทางเศรษฐกิจในเดือนส.ค. 2552 อยู่ที่ 19% ใกล้เคียงกับ ส.ค. ปีที่ผ่านมา ที่อยู่ที่ 20% โดยสิ่งที่สร้างความกังวลใจให้คนกรุงเทพฯ มากสุด คือ สภาวะเศรษฐกิจตกต่ำ 47% รองลงมาคือ ภาวะเงินเฟ้อและข้าวของราคาแพง 30% ปัญหาด้านสุขภาพ/อาการเจ็บป่วย 29% โดยความไม่มั่นคงทางการเมืองอยู่ที่ 28% ลดลงจากครั้งก่อนที่ 30% หมายความว่า เรื่องการเมืองเริ่ม เริ่มมีความกังวลลดลง
ขณะเดียวกันความต้องการซื้อสินค้าถาวร พบว่า คนกรุงเทพฯมีความต้องการซื้อสินค้าต่างๆสูงขึ้น โดยเฉพาะในส่วนของทองคำ สูงขึ้นจาก 2% เป็น 12% รองลงมาคือกลุ่มเครื่องใช้ไฟฟ้าจาก 3% เพิ่มเป็น 6% และประกันชีวิตจาก 2% เป็น 4% โดยผลกระทบจากสภาวะเศรษฐกิจในปัจจุบัน พบด้วยว่า คนกรุงเทพฯ มีการระมัดระวังในการใช้จ่ายน้อยลง โดยเฉพาะการซื้อสินค้าที่จำเป็นสูงขึ้น เป็น 88% จาก 83% ที่มีการสำรวจในครั้งก่อน
2.ภาวะค่าใช้จ่ายของคนกรุงเทพฯ พบว่า คนกรุงเทพฯเริ่มกล้าใช้จ่ายมากขึ้นเล็กน้อย แม้ว่าจะมีภาวะหนี้สินมากขึ้น และมีเงินออมน้อยลงก็ตาม โดยผู้ที่คาดว่าช่วงเวลานี้ควรรอไปก่อนสำหรับการซื้อสินค้ามีจำนวนลดลงเป็น 64% จาก 67% และจำนวนผู้ที่ต้องการซื้อสินค้าถาวรมีเพิ่มเป็น 38% จาก 28% และเมื่อเปรียบเทียบการใช้จ่าย 6 เดือนที่ผ่านมา คนกรุงเทพฯที่ลดการใช้จ่ายลงอย่างชัดเจน คือกลุ่มเสื้อผ้า เครื่องประดับ กลุ่มบันเทิง ท่องเที่ยว
3.ความสมดุลของชีวิตงานและชีวิตส่วนตัว พบว่า คนกรุงเทพฯ ต้องการมีความยืดหยุ่นในการทำงาน (ทำงานที่บ้านได้ มีเวลาทำงานที่ยืดหยุ่น) และคิดว่าการเป็นเจ้าของธุรกิจจะทำให้สามารถบริหารชีวิตให้มีความสมดุลมากกว่าปัจจุบัน โดยมีคนกรุงเทพฯเพียง 14% เชื่อว่าตนเองมีชีวิตและการทำงานที่สมดุล แต่ส่วนใหญ่กว่า 63% กลับมองว่าเกือบจะสมดุล และมีเพียง 23% มองว่ายังไม่ค่อยสมดุลหรือไม่สมดุลเลย และยังพบด้วยว่า คนในวัย 25-29ปี เป็นกลุ่มคนที่มองว่า ชีวิตและความสมดุล ไม่ค่อยสมดุลมากกว่าช่วงวัยอื่นๆมากที่สุด ส่วนคนที่ทีมีอายุตั้งแต่ 50 ปีขึ้นไป กลับเป็นกลุ่มที่มองว่ามีความสมดุลในชีวิตมากสุด
ทั้งนี้ปัจจัยที่คงกรุงเทพฯมองว่า จะช่วยให้ชีวิตการทำงานและชีวิตส่วนส่วนตัวมีความสมดุลมากสุด คือ การได้เริ่มธุรกิจส่วนตัว การทำงานที่ยืดหยุ่น ใช้เวลาเดินทางน้อยลง และกว่า 95% คาดหวังให้รัฐบาลมีนโยบายส่งเสริมการแก้ปัญหาความไม่สมดุลของชีวิตส่วนตัวและชีวิตการทำงาน และ4. มาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจของภาครัฐ พบว่า คนกรุงเทพฯตอบรับการกระตุ้นเศรษฐกิจของภาครัฐ และคาดหวังให้รัฐช่วยเหลือด้านอาชีพและลดภาวะค่าใช้จ่าย
โดยนโยบายภาครัฐ ที่มองว่าจะช่วยกระตุ้นเศรษฐกิจได้ คือ มาตรการเรียนฟรี 15ปี กว่า 92% รู้จัก และ82% เห็นด้วย, มาตรการโครงการธงฟ้า จำหน่ายสินค้าราคาถูก 86% รู้จัก และ80% เห็นด้วย, มาตรการปรับลดราคาน้ำมันดีเซลลง 2บาท/ลิตร 72% รู้จักและ 73% เห็นด้วย ส่วนประเด็นที่ต้องการให้เร่งแก้ไขมากที่สุด คือ การลดราคาน้ำมัน การแก้ปัญหาว่างงาน การเพิ่มค่าแรงขั้นต่ำ และการลดการทุจริตคอรัปชั่น ตามลำดับ ส่วนทางด้านสังคม ที่ต้องการให้เร่งช่วยเหลือ คือ ส่งเสริมคนไทยให้มีความรักความสามัคคี, จัดสวัสดิการที่ดียามเจ็บป่วย, แก้ปัญหายาเสพติด และลดปัญหามั่วสุมของเยาวชน ตามลำดับ