นายกสมาคมเครื่องหนังไทย ชี้ พิษเศรษฐกิจพ่นอุตฯเครื่องหนังส่งออก 6 หมื่นล้านบาท ปีนี้ไม่โต 5 เดือนแรกติดลบ 22% ชงภาครัฐหนุนการลงทุนซอฟแวร์ออกแบบเอกชน รับมือสินค้าจีน เวียดนาม ชิงตลาดยุโรป ญี่ปุ่น ตะวันออกกลาง แนะเอกชนเร่งสร้างแบรนด์ ชูโมเดลต้นแบบ “ฟลายนาว-แดปเปอร์” โกอินเตอร์ สิ้นปีมั่นใจส่งออกฟื้น รับอานิสงส์จีนปรับค่าจ้างแรงงานต้นทุนพุ่ง ผู้ประกอบการแห่ออร์เดอร์สินค้าไทยแทน
นางเนาวรัตน์ ทรงสวัสดิ์ชัย นายกสมาคมเครื่องหนังไทย เปิดเผยว่า ภาพรวมตลาดเครื่องหนังส่งออกมูลค่า 6 หมื่นล้านบาท หรือราว 1,770 ล้านเหรียญสหรัฐ ในปีนี้คาดว่าไม่มีการเติบโต เมื่อเทียบกับปีที่ผ่านมาเติบโต 1.78% เนื่องจากได้รับผลกระทบจากวิกฤตเศรษฐกิจโลก โดยในช่วง 5 เดือนแรกที่ผ่านมา ตลาดติดลบ 22% จากการที่ผู้ประกอบการทั่วโลกลดปริมาณการสั่งซื้อสินค้าลง อย่างไรก็ตามคาดว่าในช่วงครึ่งปีหลังสถานการณ์ตลาดจะกลับมาฟื้นดีขึ้นในช่วงปลายปีนี้ โดยพบว่า ตลาดญี่ปุ่นและยุโรป เริ่มกลับมาสั่งสินค้าจากประเทศไทยมากขึ้น หลังจากก่อนหน้านี้หันไปซื้อจากประเทศจีน เนื่องจากมีราคาถูกกว่าไทย 30-40%
“วิกฤตเศรษฐกิจโลกให้ผู้ประกอบการสั่งซื้อสินค้าลดลง แต่มีความถี่เพิ่มขึ้น เนื่องจากไม่ต้องการสต็อกสินค้า และจากยอดการสั่งซื้อสินค้าลดลงในช่วงต้นปี ทำให้ผู้ประกอบการรายย่อยบางรายต้องปิดกิจการลง”
ปัจจัยที่ทำให้ตลาดญี่ปุ่นและยุโรปหันมาสั่งซื้อสินค้าจากไทย เพราะจีนได้ปรับค่าจ้างแรงงานเพิ่มขึ้นในช่วงปลายปีที่ผ่านมานี้ ส่งผลให้ราคาสินค้าไม่ได้มีความแตกต่างกับเครื่องหนังของไทย นอกจากนี้คุณภาพสินค้าที่ไม่ดี ประกอบกับการผลิตออกมาเป็นจำนวนมาก ทำให้คนซื้อสินค้าต้องการความแตกต่างและมองหาสินค้าที่ดีมีคุณภาพคุ้มค่าคุ้มราคากับเม็ดเงินมากกว่า และประการสำคัญ คือ อุตสาหกรรมเครื่องหนังไทย มีการปรับตัวอย่างต่อเนื่องในช่วง 3 ปีที่ผ่านมา โดยหันมาส่งเสริมการออกแบบเครื่องหนังเมื่อปี 2551 ภายใต้แนวคิด” By Quality and Design Buy” เพื่อหนีสินค้าจากจีนใช้กลยุทธ์ราคาตีตลาด
ทั้งนี้แนวทางดังกล่าวเป็นการจับมือร่วมกับทางสมาคมเครื่องหนังไทย กรมส่งเสริมการส่งออก และ สำนักงานส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (สสว) ร่วมพัฒนาเครื่องหนังภายใต้การใช้เทคโนโลยี เพื่อยกระดับอุตสาหกรรมเครื่องหนังไทยสู่ตลาดโลก ซึ่งปรากฎว่าการพัฒนาร่วมกันกว่า 3 ปีที่ผ่านมา เริ่มเห็นผลการตอบรับที่ชัดเจนในปีนี้ อย่างไรก็ตามการปรับตัวของผู้ประกอบการไทย เพื่อรองรับการแข่งขันคู่แข่งสำคัญทั้งจากจีนและเวียดนาม อีกทั้งผู้ประกอบการเครื่องหนังไทย ต้องปรับยุทธศาสตร์การทำตลาดต่างประเทศ โดยเน้นการสร้างแบรนด์ของตนเองมากกว่าการรับจ้างผลิต
“ที่ผ่านมามีเครื่องหนังไทยไปทำตลาดต่างประเทศยังไม่มากนัก อาทิ แดปเปอร์ ฟลายนาว จาคอป ซึ่งเป็นแบรนด์โมเดลต้นแบบที่ดีในการบุกตลาดต่างประเทศ เนื่องจากเป็นแบรนด์ที่ประสบความสำเร็จในการทำตลาด อย่างไรก็ตามมองว่า จุดที่ผู้ประกอบการไทยต้องพัฒนา คือ สินค้าต้องมีความเป็นเอกลักษณ์ด้านการออกแบบและความมีโดดเด่น”
นางเนาวรัตน์ กล่าวว่า ในฐานะตัวแทนจากสมาคมเครื่องหนังไทย ซึ่งปัจจุบันมีผู้ประกอบการ 180 ราย ในกลุ่มกระเป๋าหนัง และรองเท้า ต้องการให้ภาครัฐหันมาส่งเสริมอุตสาหกรรมเครื่องหนัง โดยเฉพาะการลงทุนด้านซอฟแวร์การออกแบบ เพื่อให้ผู้ประกอบการมีต้นทุนที่ต่ำและเพิ่มกำลังการผลิตได้อย่างรวดเร็ว รองรับกับความต้องการของตลาดและเพิ่มขีดความสามารถทางการแข่งขันเพื่อรักษาตลาดหลัก อย่าง ยุโรป อเมริกา ตะวันออกกลาง ซึ่งเมื่อเทียบกับรัฐบาลประเทศจีนและเวียดนาม มีการสนับสนุนการลงทุนให้กับภาคเอกชน
สำหรับแนวโน้มตลาดเครื่องหนังภายในประเทศมูลค่า 7 หมื่นล้านบาท ปีนี้การเติบโตไม่ติดลบก็ถือว่าดีแล้ว เนื่องจากตลาดได้รับผลกระทบจากภาวะเศรษฐกิจ ส่งผลให้คนมีความระมัดระวังการจับจ่ายใช้สอย อย่างไรก็ตามพบว่าตลาดเครื่องหนังสำหรับผู้ชายช่องทางห้างสรรพสินค้ามูลค่า 2,000-2,200 ล้านบาท มีอัตราการเติบโต 5% มากกว่าตลาดเครื่องหนังสำหรับผู้หญิง เพราะผู้ชายปรับพฤติกรรมการแต่งกายสู่แฟชั่นมากขึ้น ความถี่การซื้อเพิ่มขึ้น 3 เดือนต่อครั้ง ใกล้เคียงกับการซื้อของกลุ่มผู้หญิง อีกทั้งการซื้อต่อครั้งในแง่ของปริมาณยังมากกว่า
นางเนาวรัตน์ ทรงสวัสดิ์ชัย นายกสมาคมเครื่องหนังไทย เปิดเผยว่า ภาพรวมตลาดเครื่องหนังส่งออกมูลค่า 6 หมื่นล้านบาท หรือราว 1,770 ล้านเหรียญสหรัฐ ในปีนี้คาดว่าไม่มีการเติบโต เมื่อเทียบกับปีที่ผ่านมาเติบโต 1.78% เนื่องจากได้รับผลกระทบจากวิกฤตเศรษฐกิจโลก โดยในช่วง 5 เดือนแรกที่ผ่านมา ตลาดติดลบ 22% จากการที่ผู้ประกอบการทั่วโลกลดปริมาณการสั่งซื้อสินค้าลง อย่างไรก็ตามคาดว่าในช่วงครึ่งปีหลังสถานการณ์ตลาดจะกลับมาฟื้นดีขึ้นในช่วงปลายปีนี้ โดยพบว่า ตลาดญี่ปุ่นและยุโรป เริ่มกลับมาสั่งสินค้าจากประเทศไทยมากขึ้น หลังจากก่อนหน้านี้หันไปซื้อจากประเทศจีน เนื่องจากมีราคาถูกกว่าไทย 30-40%
“วิกฤตเศรษฐกิจโลกให้ผู้ประกอบการสั่งซื้อสินค้าลดลง แต่มีความถี่เพิ่มขึ้น เนื่องจากไม่ต้องการสต็อกสินค้า และจากยอดการสั่งซื้อสินค้าลดลงในช่วงต้นปี ทำให้ผู้ประกอบการรายย่อยบางรายต้องปิดกิจการลง”
ปัจจัยที่ทำให้ตลาดญี่ปุ่นและยุโรปหันมาสั่งซื้อสินค้าจากไทย เพราะจีนได้ปรับค่าจ้างแรงงานเพิ่มขึ้นในช่วงปลายปีที่ผ่านมานี้ ส่งผลให้ราคาสินค้าไม่ได้มีความแตกต่างกับเครื่องหนังของไทย นอกจากนี้คุณภาพสินค้าที่ไม่ดี ประกอบกับการผลิตออกมาเป็นจำนวนมาก ทำให้คนซื้อสินค้าต้องการความแตกต่างและมองหาสินค้าที่ดีมีคุณภาพคุ้มค่าคุ้มราคากับเม็ดเงินมากกว่า และประการสำคัญ คือ อุตสาหกรรมเครื่องหนังไทย มีการปรับตัวอย่างต่อเนื่องในช่วง 3 ปีที่ผ่านมา โดยหันมาส่งเสริมการออกแบบเครื่องหนังเมื่อปี 2551 ภายใต้แนวคิด” By Quality and Design Buy” เพื่อหนีสินค้าจากจีนใช้กลยุทธ์ราคาตีตลาด
ทั้งนี้แนวทางดังกล่าวเป็นการจับมือร่วมกับทางสมาคมเครื่องหนังไทย กรมส่งเสริมการส่งออก และ สำนักงานส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (สสว) ร่วมพัฒนาเครื่องหนังภายใต้การใช้เทคโนโลยี เพื่อยกระดับอุตสาหกรรมเครื่องหนังไทยสู่ตลาดโลก ซึ่งปรากฎว่าการพัฒนาร่วมกันกว่า 3 ปีที่ผ่านมา เริ่มเห็นผลการตอบรับที่ชัดเจนในปีนี้ อย่างไรก็ตามการปรับตัวของผู้ประกอบการไทย เพื่อรองรับการแข่งขันคู่แข่งสำคัญทั้งจากจีนและเวียดนาม อีกทั้งผู้ประกอบการเครื่องหนังไทย ต้องปรับยุทธศาสตร์การทำตลาดต่างประเทศ โดยเน้นการสร้างแบรนด์ของตนเองมากกว่าการรับจ้างผลิต
“ที่ผ่านมามีเครื่องหนังไทยไปทำตลาดต่างประเทศยังไม่มากนัก อาทิ แดปเปอร์ ฟลายนาว จาคอป ซึ่งเป็นแบรนด์โมเดลต้นแบบที่ดีในการบุกตลาดต่างประเทศ เนื่องจากเป็นแบรนด์ที่ประสบความสำเร็จในการทำตลาด อย่างไรก็ตามมองว่า จุดที่ผู้ประกอบการไทยต้องพัฒนา คือ สินค้าต้องมีความเป็นเอกลักษณ์ด้านการออกแบบและความมีโดดเด่น”
นางเนาวรัตน์ กล่าวว่า ในฐานะตัวแทนจากสมาคมเครื่องหนังไทย ซึ่งปัจจุบันมีผู้ประกอบการ 180 ราย ในกลุ่มกระเป๋าหนัง และรองเท้า ต้องการให้ภาครัฐหันมาส่งเสริมอุตสาหกรรมเครื่องหนัง โดยเฉพาะการลงทุนด้านซอฟแวร์การออกแบบ เพื่อให้ผู้ประกอบการมีต้นทุนที่ต่ำและเพิ่มกำลังการผลิตได้อย่างรวดเร็ว รองรับกับความต้องการของตลาดและเพิ่มขีดความสามารถทางการแข่งขันเพื่อรักษาตลาดหลัก อย่าง ยุโรป อเมริกา ตะวันออกกลาง ซึ่งเมื่อเทียบกับรัฐบาลประเทศจีนและเวียดนาม มีการสนับสนุนการลงทุนให้กับภาคเอกชน
สำหรับแนวโน้มตลาดเครื่องหนังภายในประเทศมูลค่า 7 หมื่นล้านบาท ปีนี้การเติบโตไม่ติดลบก็ถือว่าดีแล้ว เนื่องจากตลาดได้รับผลกระทบจากภาวะเศรษฐกิจ ส่งผลให้คนมีความระมัดระวังการจับจ่ายใช้สอย อย่างไรก็ตามพบว่าตลาดเครื่องหนังสำหรับผู้ชายช่องทางห้างสรรพสินค้ามูลค่า 2,000-2,200 ล้านบาท มีอัตราการเติบโต 5% มากกว่าตลาดเครื่องหนังสำหรับผู้หญิง เพราะผู้ชายปรับพฤติกรรมการแต่งกายสู่แฟชั่นมากขึ้น ความถี่การซื้อเพิ่มขึ้น 3 เดือนต่อครั้ง ใกล้เคียงกับการซื้อของกลุ่มผู้หญิง อีกทั้งการซื้อต่อครั้งในแง่ของปริมาณยังมากกว่า