“สภาสถาปนิก” หวั่นเปลี่ยนขั้วการเมือง ทำรัฐสภาใหม่มูลค่าหมื่นล้านล่าช้า ลุ้นผลผู้ชนะประกวดแบบ 2 ธ.ค. มูลค่างาน 210 ล้านบาท เล็งเก็บค่าตงรับรองวิชาชีพจากมหาวิทยาลัยเพิ่มเก็บครั้งเดียวตลอดชีพ มาเก็บวิชาละ 1 แสนทุกๆ 5 ปี พร้อมเตรียมออกกฎเข้มเรียนจบฝึกงาน 2 ปี ถึงสอบใบอนุญาตได้ หวังสกรีนสถาปนิกดีเข้าวงการ
พลเรือเอกฐนิธ กิตติพน นายกสภาสถาปนิก เปิดเผยว่า สภาสถาปนิกเป็นผู้รับหน้าที่จัดการประกวดแบบอาคารรัฐสภาใหม่ โดยผู้ชนะจะได้ค่าแบบจำนวน 210 ล้านบาท ซึ่งราคาดังกล่าวถือว่าน้อยมากเมื่อเทียบกับพื้นที่โครงการ 119 ไร่ 3 แสนตร.ม. มูลค่าโครงการ 12,000 ล้านบาท หรือคิดเป็น 1.75% และจะต้องเป็นแบบละเอียดระบบสาธารณูปโภคทุกอย่างครบ อาทิ ไฟฟ้า ปะปา เครื่องเสียง เป็นต้น อย่างไรก็ดีงานนี้จะเป็นการแสดงความสามารถของสถาปนิกไทย โดยกำหนดประกาศผลผู้ชนะเลิศในวันที่ 2 ธันวาคม 52 ส่วนงานก่อสร้างกำหนดระยะเวลาแล้วเสร็จภายใน 4 ปี
อย่างไรก็ตาม การก่อสร้างรัฐสภาอาจมีความล่าช้าออกไปได้หากมีการเปลี่ยนแปลงทางการเมือง หรือมีรัฐบาลใหม่เข้ามาบริหารแทนชุดเดิม เพราะมีความเป็นไปได้สูงว่ารัฐบาลชุดใหม่อาจต้องการเปลี่ยนแปลงโครงการ ซึ่งจะทำให้ล่าช้าออกไปจากที่กำหนดไว้เดิมก็เป็นได้ อย่างไรก็ดี โครงการสร้างรัฐสภาแห่งใหม่ถือเป็นผลงานชิ้นสำคัญของรัฐบาลที่เข้ามาทำหน้าที่ ดังนั้น จึงเชื่อว่าไม่ว่าจะเป็นรัฐบาลชุดใดก็จะเร่งดำเนินการก่อสร้างให้แล้วเสร็จในช่วงที่ตนบริหารประเทศอยู่
ทั้งนี้สภาสถาปนิกมีแนวคิดที่จะออกข้อบังคับสภาสถาปนิกว่าด้วยการพัฒนาชาชีพต่อเนื่อง (พวต.) เพื่อเพิ่มโอกาสให้สถาปนิกได้พัฒนาความรู้อย่างต่อเนื่อง จากเดิมที่สถาปนิกเมื่อสอบใบประกอบวิชาชีพแล้วก็จะสามารถใบประกอบวิชาชีพนั้นตลอดชีพ แต่หลังจากนี้สถาปนิกทุกคนจะต้องพัฒนาวิชาชีพต่อเนื่อง โดยกำหนดให้แต่ละคนจะต้องทำให้ได้ 12 หน่วยกิต/ปี ซึ่งหน่วยกิตจะได้มาด้วยการ เข้าร่วมประชุมกับสมาคมวิชาชีพทั้ง 4 สาขา, เข้าร่วมชมงานของแต่ละวิชาชีพ, ฟังบรรยายทั้งจากสมาคมวิชาชีพหรือตามมหาวิทยาลัยจะได้เรื่องละ 1 หน่วยกิต, เป็นคณะอนุกรรมการ คณะทำงาน, เป็นอาจารย์สอนพิเศษในมหาวิทยาลัย หรือเขียนหนังสือเผยแพร่
นอกจากนี้สภายังกำหนดให้นักศึกษาที่จบการศึกษาจะต้องฝึกงานสถาปนิกเป็นเวลา 2 ปี จึงจะสามารถสอบใบอนุญาตประกอบวิชาชีพได้ เพื่อเพิ่มทักษะจากที่ได้เรียนรู้มาและมีทักษะในการออกแบบได้อย่างมีประสิทธิภาพ ตามหลักสูตร 5 ปี รวมแล้วจะต้องใช้เวลา 7 ปี จึงจะสามารถสอบใบประกอบวิชาชีพได้ ข้อบังคับดังกล่าวขณะนี้อยู่ระหว่างกระทรวงมหาดไทยประกาศใช้
“การพัฒนาวิชาชีพต่อเนื่องก็เพื่อให้สถาปนิกไทยได้พัฒนาความรู้ความสามารถให้ทันสมัยอยู่ต่อตลอดเวลาให้สถาปนิกไทยสามารถแข่งขันกับทั่วโลกได้ เพื่อรองรับการเปิดเสรีวิชาชีพสถาปนิกที่จะเริ่มทยอยเปิดในปีหน้า”
นายกสภาสถาปนิก กล่าวต่อว่า สำหรับรายได้ของสภาสถาปนิก เดิมจะได้รับการสนันสนุนเงินจากรัฐบาลปีละ 5 ล้านบาท แต่ปัจจุบันถูกลดลงเหลือเพียง 3 ล้านบาท ซึ่งไม่เพียงพอต่อการดำเนินการของสภาฯ ดังนั้นเพื่อเป็นการหารายได้ให้แก่สภาฯ จึงมีแนวคิดที่จะเรียกเก็บค่ารับรองวิชาชีพจากมหาวิทยาลัยที่เปิดสอนวิชาชีพสถาปนิก จากเดิมที่จัดเก็บเพียงครั้งเดียวใช้ได้ตลอด แต่หลังจากนี้จะจัดเก็บรายวิชาละ 1 แสนบาททุกๆ 5 ปี ตามรอบการศึกษา นอกจากนี้ยังเป็นการตรวจสอบด้วยว่าวิชาที่เปิดสอนเปลี่ยนไปหรือไม่
ทั้งนี้ สภาฯ จะเริ่มจัดเก็บทันที่จากมหาวิทยาลัยที่เข้ามาขอรับรองวิชาชีพใหม่ สำหรับมหาวิทยาลัยเดิมจะจัดทำบทเฉพาะการแจ้งไปยังมหาวิทยาลัยต่างๆ และทำการจัดเก็บใหม่ภายใน 2 ปี ส่วนมหาวิทยาลัยที่ขอการรับรองไปยังไม่ครบ 5 ปีก็จะให้ครบกำหนดจึงจะทำการจัดเก็บใหม่
ส่วนรายได้อื่นๆ ของสภาฯยังได้จากการจัดสอบใบประกอบวิชาชีพ โดยเป็นค่าสมัครสอบ สำหรับรายใหม่ 2,000 บาท ส่วนรายเก่าที่เคยสอบแล้วแต่ไม่ผ่าน 1,000 บาท หากสอบผ่านจัดเก็บ 4,000 บาท นอกจากนี้สภาสถาปนิก ยังมีแนวคิดที่จะเพิ่มรอบการสอบใบประกอบวิชาชีพ จากเดิมปีละ 1 ครั้ง เพิ่มเป็นปีละ 2-3 ครั้ง เพื่อไม่ให้รอนาน เพราะคนส่วนใหญ่ใช้เวลาสอบหลายครั้งจึงจะได้ใบอนุญาต
พลเรือเอกฐนิธ กิตติพน นายกสภาสถาปนิก เปิดเผยว่า สภาสถาปนิกเป็นผู้รับหน้าที่จัดการประกวดแบบอาคารรัฐสภาใหม่ โดยผู้ชนะจะได้ค่าแบบจำนวน 210 ล้านบาท ซึ่งราคาดังกล่าวถือว่าน้อยมากเมื่อเทียบกับพื้นที่โครงการ 119 ไร่ 3 แสนตร.ม. มูลค่าโครงการ 12,000 ล้านบาท หรือคิดเป็น 1.75% และจะต้องเป็นแบบละเอียดระบบสาธารณูปโภคทุกอย่างครบ อาทิ ไฟฟ้า ปะปา เครื่องเสียง เป็นต้น อย่างไรก็ดีงานนี้จะเป็นการแสดงความสามารถของสถาปนิกไทย โดยกำหนดประกาศผลผู้ชนะเลิศในวันที่ 2 ธันวาคม 52 ส่วนงานก่อสร้างกำหนดระยะเวลาแล้วเสร็จภายใน 4 ปี
อย่างไรก็ตาม การก่อสร้างรัฐสภาอาจมีความล่าช้าออกไปได้หากมีการเปลี่ยนแปลงทางการเมือง หรือมีรัฐบาลใหม่เข้ามาบริหารแทนชุดเดิม เพราะมีความเป็นไปได้สูงว่ารัฐบาลชุดใหม่อาจต้องการเปลี่ยนแปลงโครงการ ซึ่งจะทำให้ล่าช้าออกไปจากที่กำหนดไว้เดิมก็เป็นได้ อย่างไรก็ดี โครงการสร้างรัฐสภาแห่งใหม่ถือเป็นผลงานชิ้นสำคัญของรัฐบาลที่เข้ามาทำหน้าที่ ดังนั้น จึงเชื่อว่าไม่ว่าจะเป็นรัฐบาลชุดใดก็จะเร่งดำเนินการก่อสร้างให้แล้วเสร็จในช่วงที่ตนบริหารประเทศอยู่
ทั้งนี้สภาสถาปนิกมีแนวคิดที่จะออกข้อบังคับสภาสถาปนิกว่าด้วยการพัฒนาชาชีพต่อเนื่อง (พวต.) เพื่อเพิ่มโอกาสให้สถาปนิกได้พัฒนาความรู้อย่างต่อเนื่อง จากเดิมที่สถาปนิกเมื่อสอบใบประกอบวิชาชีพแล้วก็จะสามารถใบประกอบวิชาชีพนั้นตลอดชีพ แต่หลังจากนี้สถาปนิกทุกคนจะต้องพัฒนาวิชาชีพต่อเนื่อง โดยกำหนดให้แต่ละคนจะต้องทำให้ได้ 12 หน่วยกิต/ปี ซึ่งหน่วยกิตจะได้มาด้วยการ เข้าร่วมประชุมกับสมาคมวิชาชีพทั้ง 4 สาขา, เข้าร่วมชมงานของแต่ละวิชาชีพ, ฟังบรรยายทั้งจากสมาคมวิชาชีพหรือตามมหาวิทยาลัยจะได้เรื่องละ 1 หน่วยกิต, เป็นคณะอนุกรรมการ คณะทำงาน, เป็นอาจารย์สอนพิเศษในมหาวิทยาลัย หรือเขียนหนังสือเผยแพร่
นอกจากนี้สภายังกำหนดให้นักศึกษาที่จบการศึกษาจะต้องฝึกงานสถาปนิกเป็นเวลา 2 ปี จึงจะสามารถสอบใบอนุญาตประกอบวิชาชีพได้ เพื่อเพิ่มทักษะจากที่ได้เรียนรู้มาและมีทักษะในการออกแบบได้อย่างมีประสิทธิภาพ ตามหลักสูตร 5 ปี รวมแล้วจะต้องใช้เวลา 7 ปี จึงจะสามารถสอบใบประกอบวิชาชีพได้ ข้อบังคับดังกล่าวขณะนี้อยู่ระหว่างกระทรวงมหาดไทยประกาศใช้
“การพัฒนาวิชาชีพต่อเนื่องก็เพื่อให้สถาปนิกไทยได้พัฒนาความรู้ความสามารถให้ทันสมัยอยู่ต่อตลอดเวลาให้สถาปนิกไทยสามารถแข่งขันกับทั่วโลกได้ เพื่อรองรับการเปิดเสรีวิชาชีพสถาปนิกที่จะเริ่มทยอยเปิดในปีหน้า”
นายกสภาสถาปนิก กล่าวต่อว่า สำหรับรายได้ของสภาสถาปนิก เดิมจะได้รับการสนันสนุนเงินจากรัฐบาลปีละ 5 ล้านบาท แต่ปัจจุบันถูกลดลงเหลือเพียง 3 ล้านบาท ซึ่งไม่เพียงพอต่อการดำเนินการของสภาฯ ดังนั้นเพื่อเป็นการหารายได้ให้แก่สภาฯ จึงมีแนวคิดที่จะเรียกเก็บค่ารับรองวิชาชีพจากมหาวิทยาลัยที่เปิดสอนวิชาชีพสถาปนิก จากเดิมที่จัดเก็บเพียงครั้งเดียวใช้ได้ตลอด แต่หลังจากนี้จะจัดเก็บรายวิชาละ 1 แสนบาททุกๆ 5 ปี ตามรอบการศึกษา นอกจากนี้ยังเป็นการตรวจสอบด้วยว่าวิชาที่เปิดสอนเปลี่ยนไปหรือไม่
ทั้งนี้ สภาฯ จะเริ่มจัดเก็บทันที่จากมหาวิทยาลัยที่เข้ามาขอรับรองวิชาชีพใหม่ สำหรับมหาวิทยาลัยเดิมจะจัดทำบทเฉพาะการแจ้งไปยังมหาวิทยาลัยต่างๆ และทำการจัดเก็บใหม่ภายใน 2 ปี ส่วนมหาวิทยาลัยที่ขอการรับรองไปยังไม่ครบ 5 ปีก็จะให้ครบกำหนดจึงจะทำการจัดเก็บใหม่
ส่วนรายได้อื่นๆ ของสภาฯยังได้จากการจัดสอบใบประกอบวิชาชีพ โดยเป็นค่าสมัครสอบ สำหรับรายใหม่ 2,000 บาท ส่วนรายเก่าที่เคยสอบแล้วแต่ไม่ผ่าน 1,000 บาท หากสอบผ่านจัดเก็บ 4,000 บาท นอกจากนี้สภาสถาปนิก ยังมีแนวคิดที่จะเพิ่มรอบการสอบใบประกอบวิชาชีพ จากเดิมปีละ 1 ครั้ง เพิ่มเป็นปีละ 2-3 ครั้ง เพื่อไม่ให้รอนาน เพราะคนส่วนใหญ่ใช้เวลาสอบหลายครั้งจึงจะได้ใบอนุญาต