คลังจี้ ธสน.เร่งปล่อยกู้เสริมสภาพคล่องผู้ส่งออกเพิ่มเป้าอีก 30% พร้อมหนุนเอกชนเข้าร่วมโครงการไทยเข้มแข็ง เน้นสนับสนุนผู้ส่งออกที่มีศักยภาพที่ขาดหลักประกันเพิ่มมากขึ้น ด้านผู้บริหารเอ็กซิมแบงก์ยอมรับสภาพเศรษฐกิจส่งผลประกันการส่งออกขาดทุนยับ เดินหน้าปล่อยกู้ให้ผู้ซื้อในต่างประเทศ
น.พ.พฤฒิชัย ดำรงรัตน์ รมช.คลัง กล่าวภายหลังติดตามความคืบหน้าในการดำเนินงานของธนาคารเพื่อการส่งออกและนำเข้าแห่งประเทศไทย(ธสน.)หรือเอ็กซิมแบงก์ ว่า ในช่วงเวลาที่เหลือของปีนี้ได้มอบนโยบายเพิ่มเติมให้ ธสน.สนับสนุนผู้ประกอบการในการนำเข้า-ส่งออกในโครงการไทยเข้มแข็งทุกรูปแบบ รวมทั้งให้เร่ปล่อยสินเชื่อรายย่อยมากขึ้นจากที่ผ่านปล่อยได้ประมาณ 300 ราย โดยครึ่งปีหลังควรขยายสินเชื่อเพิ่มขึ้นอีกอย่างน้อย 30% โดยให้ผ่อนปรนหลักเกณฑ์ช่วยผู้ส่งออกที่มีศักยภาพแต่ขาดหลักประกันมากขึ้น รวมทั้งต้องประสานความร่วมมือกับธนาคารพาณิชย์ในการประกันการส่งออกมากขึ้น
นายอภิชัย บุญธีรวร กกรมการผู้จัดการ เอ็กซิมแบงก์ กล่าวว่า ในช่วงครึ่งปีแรกได้อนุมัติวงเงินสินเชื่อใหม่และบริการประกันส่งออกแล้วจำนวน 13,372 ล้านบาท และมีสินเชื่ออยู่ระหว่างลงนามอีก 12,992 ล้านบาท คาดว่าทั้งปีจะปล่อยสินเชื่อใหม่ได้ 19,700 ล้านบาท ส่งผลให้ยอดคงค้างสินเชื่อรวมจากปัจจุบัน 4.8 หมื่นล้านบาทขึ้นไปอยู่ที่ 5.2-5.3 หมื่นล้านบาท
ส่วนกำไร 6 เดือนอยู่ที่ 104 ล้านบาท จากทั้งปีตั้งเป้าหมายไว้ 100 ล้านบาท เนื่องจากมองว่าระยะต่อไปอาจมีผลขาดทุนในส่วนของบริการประกันส่งออกเพิ่มขึ้นจากขณะนี้มีการจ่ายสินไหมทำแทนแล้ว 72 ล้านบาท และยังอยู่ระหว่างพิจารณาอีก 74 ล้านบาท เทียบกับปีก่อนทั้งปีอยู่ที่ 16 ล้านบาทเท่านั้น เนื่องมาจากปัญหาเศรษฐกิจของประเทศคู่ค้าทั้งสหรัฐ และยุโรป
“แม้การประกันการส่งออกจะประสบปัญหาขาดทุนแต่เป็นสิ่งจำเป็นต้องทำเพื่อสร้างความมั่นใจให้ผู้ส่งออกไทย อีกทั้งการประกันส่งออกขณะนี้เกินวงเงินกองทุนแล้วจึงมีความจำเป็นต้องเพิ่มทุน อีก 5 พันล้านบาท ซึ่งน่าจะได้เงินจากกระทรวงการคลังเดือนส.ค.หรือก.ย.นี้ ระหว่างนี้ก็ใช้เงินจากส่วนของสินเชื่อไปก่อน”นายอภิชัย กล่าวและว่าธสน.ยังมีรายได้จากส่วนของสินเชื่อและบริการอื่นๆ รวมถึงการบริหารนี้เสียให้ลดลงมาชดเชยส่วนที่ขาดทุนดังกล่าวทำให้ทั้งปียังพอมีกำไรแม้จะน้อยก็ถือว่าดีในภาวะปัจจุบันที่การส่งออกปีนี้อาจติดลบถึง 20%
อย่างไรก็ตาม ธสน.มีมาตรการใหม่ที่จะช่วยผู้ส่งออกโดยการให้บริการสนับสนุนสินเชื่อแก่ผู้ซื้อในต่างประเทศ โดยขณะนี้ลงนามกับธนาคารในต่างประเทศแล้ว 5 แห่งมีรัสเซียกับอินโดนีเซียรวมวงเงิน เกือบ 3 พันล้านบาท น่าจะช่วยให้ผู้ส่งออกส่งสินค้าได้หลายรอบเป็นเงินหมื่นกว่าล้านบาท และอยู่ระหว่างเจรจาอีกหลายประเทศเช่น บังคลาเทศ ไนจีเรีย ฟิลิปปินส์ แอฟริกาใต้
นายณรงค์ชัย อัครเศรณี ประธานกรรมการ ธสน. กล่าวว่า จากภาวะเศรษฐกิจโลกชะลอตัว ทำให้ยอดการส่งออกเทียบปีต่อปีลดลงทุกเดือน จึงมองว่าตัวเลขการส่งออกปีนี้จะติดลบ 20% และเป็นห่วงผู้ส่งออกจากปัญหาเงินบาทแข็งค่า จนทำให้ทะลุ 34 บาทต่อดอลลาร์สหรัฐ ขณะที่ครึ่งปีหลังนี้การส่งออกยังแย่ ไม่มีทีท่าว่าจะฟื้นตัว ดังนั้นจึงต้องการให้รัฐบาลต้องเร่งรัดการลงทุนโครงการไทยเข้มแข็ง เพื่อใช้จ่ายเงินดอลลาร์สหรัฐที่มีในประเทศเพื่อซื้อวัสดุก่อสร้าง เครื่องมือเครื่องจักร เพราะจะเป็นส่วนหนึ่งบรรเทาปัญหาเงินบาทแข็งค่าได้
“สาเหตุสำคัญที่เงินบาทแข็งค่าขึ้น เนื่องจากการลงทุนโดยเฉพาะโครงการขนาดใหญ่ซึ่งเริ่มได้ค่อนข้างช้า ทำให้ไม่มีการใช้เงินดอลลาร์ เพื่อซื้อสินค้าจากต่างประเทศ ส่งผลให้มีเงินดอลลาร์อยู่ในประเทศค่อนข้างมาก ดังนั้น ปัจจัยสำคัญที่สุดสำหรับการส่งออกในครึ่งปีหลัง คือต้องทำให้เงินบาทอ่อนค่าลง เพราะระดับ 34 บาทนี้ ถือว่าเป็นระดับที่ผู้ส่งออกทำธุรกิจได้ค่อนข้างยาก ส่วนวิธีการที่จะทำได้ในขณะนี้ คือ ภาครัฐต้องเร่งลงทุนเพื่อให้เกิดการใช้เงินตราต่างประเทศ ซึ่งจะลดแรงกดดันจากเงินบาทแข็งให้น้อยลง”
ทั้งนี้ในการเร่งขยายธุรกิจและบริการเพื่อบรรเทาผลกระทบของวิกฤตการเงินโลกต่อผู้ส่งออกไทยเอ็กซิมแบงก์ ได้จัดทำโครงการประกันการส่งออก โดยลงนามในบันทึกความร่วมมือกับธนาคารพาณิชย์และธนาคารของรัฐรวม 10 แห่ง เพื่อขยายบริการประกันการส่งออก (EXIMSurance) คุ้มครองความเสี่ยงจากการไม่ได้รับชำระเงินค่าสินค้าจากผู้ซื้อในต่างประเทศให้แก่ผู้ส่งออกที่เป็นลูกค้าของธนาคารนั้นๆ รวมทั้งช่วยให้ผู้ส่งออกมีโอกาสได้รับการขยายสินเชื่อเพิ่มมากขึ้น เนื่องจากกรมธรรม์ EXIMSurance เป็นหลักประกันประเภทหนึ่งที่สามารถโอนสิทธิการรับค่าชดเชยสินไหมทดแทนให้แก่ธนาคารผู้ให้กู้ได้ ทั้งนี้ ในช่วงครึ่งแรกของปี 2552 EXIM BANK ได้อนุมัติวงเงินใหม่สำหรับบริการประกันการส่งออกระยะสั้นจำนวน 2,695 ล้านบาท เทียบกับ 1,547 ล้านบาทในปี 2551
ขณะเดียวกันได้พัฒนาบริการอย่างต่อเนื่อง เริ่มต้นจาก “เอ็กซิมฟอร์เอสเอ็มอี (EXIM 4 SMEs)” บริการประกันการส่งออกเพื่อผู้ส่งออก SMEs ซึ่งมีอัตราค่าเบี้ยประกันถูกกว่ากรมธรรม์แบบปกติถึง 35% และอนุมัติกรมธรรม์ภายใน 1 สัปดาห์ เปิดให้บริการตั้งแต่เดือนมีนาคม 2552 และภายในไตรมาส 3 ของปีนี้ ธนาคารจะเปิดตัว 2 บริการใหม่ได้แก่ “บริการสินเชื่อเพื่อซัพพลายเออร์ส (EXIM for Your Suppliers)” เพื่อเสริมสภาพคล่องทางการเงินให้แก่ผู้ผลิตเพื่อผู้ส่งออก (ซัพพลายเออร์) ของลูกค้าธนาคารและ “บริการสนับสนุนสินเชื่อแก่ผู้ซื้อในต่างประเทศ (Buyer’s Credit)” เพื่อเพิ่มกำลังซื้อให้แก่ผู้นำเข้าในต่างประเทศและส่งเสริมการส่งออกสินค้าและบริการของไทย ซึ่งปัจจุบันธนาคารมีความร่วมมือกับธนาคารในต่างประเทศเพื่อสนับสนุนการนำเข้าสินค้าและบริการจากไทยเป็นวงเงินรวม 97 ล้านดอลลาร์สหรัฐ โดยได้ลงนาม Revolving Trade Financing Facility (RTFF) กับ PT. Bank Ekspor Indonesia (Persero) เมื่อเดือนพฤษภาคม 2552 และกำลังจะลงนามกับธนาคารในรัสเซียอีก 4 แห่งในเร็วๆ นี้
นอกจากนี้ธนาคารได้ปรับโครงสร้างการทำงานของสาขาและเปิดสาขาย่อยภายใต้ความร่วมมือกับธนาคารออมสินตามแนวนโยบาย “1 สาขา 2 ธนาคาร” เพื่อใช้พื้นที่สาขาร่วมกันและความเชี่ยวชาญของกันและกันให้บริการทางการเงินและคำปรึกษาแนะนำแก่ผู้ประกอบการในย่านธุรกิจและแหล่งชุมชน โดยปัจจุบันธนาคารมีสาขาย่อยเปิดให้บริการ ณ ที่ทำการสาขาของธนาคารออมสินรวม 3 แห่ง ได้แก่ สาขาย่อยบางรัก วงเวียนใหญ่ และอ้อมใหญ่ และในครึ่งหลังปี 2552 จะเปิดสาขาย่อยเพิ่มอีก 4 แห่งได้แก่ สาขาย่อยติวานนท์ สาธุประดิษฐ์ จักรวรรดิ และสุราษฎร์ธานี
ทั้งนี้ธนาคารยังคงเดินหน้าบทบาท “ธนาคารเพื่อการพัฒนา” และเร่งสร้างความร่วมมือกับสถาบันการเงินในต่างประเทศและประเทศในอนุภูมิภาคลุ่มแม่น้ำโขง โดยล่าสุดเมื่อเดือนกุมภาพันธ์ 2552 ธนาคารร่วมกับซูมิโตโม มิตซุย แบงกิ้ง คอร์ปอเรชั่น และไดว่า ซิเคียวริตี้ เอสเอ็มบีซี ได้นำเสนอโครงการระดมทุนโดยการออกพันธบัตรเอเชีย (Asian Bond) ให้แก่ สปป.ลาว เพื่อใช้เป็นทางเลือกในการระดมทุนเพื่อการลงทุนในโครงการต่างๆ เช่น โครงการเขื่อนผลิตกระแสไฟฟ้าพลังน้ำ และได้ลงนามในข้อตกลงความร่วมมือกับธนาคารการค้าต่างประเทศ สปป.ลาว (Banque Pour Le Commerce Exterieur Lao : BCEL) เพื่อแลกเปลี่ยนความรู้ ข้อมูลข่าวสาร และโอกาสทางธุรกิจ เพื่อส่งเสริมการค้าและการลงทุนไทย-สปป.ลาว นอกจากนี้ธนาคารได้ร่วมมือกับ Japan Bank for International Cooperation (JBIC) ด้านการฝึกอบรมบุคลากรของธนาคารให้มีความรู้ความเชี่ยวชาญเรื่องการวิเคราะห์สินเชื่อโครงการลงทุน (Project Finance)
น.พ.พฤฒิชัย ดำรงรัตน์ รมช.คลัง กล่าวภายหลังติดตามความคืบหน้าในการดำเนินงานของธนาคารเพื่อการส่งออกและนำเข้าแห่งประเทศไทย(ธสน.)หรือเอ็กซิมแบงก์ ว่า ในช่วงเวลาที่เหลือของปีนี้ได้มอบนโยบายเพิ่มเติมให้ ธสน.สนับสนุนผู้ประกอบการในการนำเข้า-ส่งออกในโครงการไทยเข้มแข็งทุกรูปแบบ รวมทั้งให้เร่ปล่อยสินเชื่อรายย่อยมากขึ้นจากที่ผ่านปล่อยได้ประมาณ 300 ราย โดยครึ่งปีหลังควรขยายสินเชื่อเพิ่มขึ้นอีกอย่างน้อย 30% โดยให้ผ่อนปรนหลักเกณฑ์ช่วยผู้ส่งออกที่มีศักยภาพแต่ขาดหลักประกันมากขึ้น รวมทั้งต้องประสานความร่วมมือกับธนาคารพาณิชย์ในการประกันการส่งออกมากขึ้น
นายอภิชัย บุญธีรวร กกรมการผู้จัดการ เอ็กซิมแบงก์ กล่าวว่า ในช่วงครึ่งปีแรกได้อนุมัติวงเงินสินเชื่อใหม่และบริการประกันส่งออกแล้วจำนวน 13,372 ล้านบาท และมีสินเชื่ออยู่ระหว่างลงนามอีก 12,992 ล้านบาท คาดว่าทั้งปีจะปล่อยสินเชื่อใหม่ได้ 19,700 ล้านบาท ส่งผลให้ยอดคงค้างสินเชื่อรวมจากปัจจุบัน 4.8 หมื่นล้านบาทขึ้นไปอยู่ที่ 5.2-5.3 หมื่นล้านบาท
ส่วนกำไร 6 เดือนอยู่ที่ 104 ล้านบาท จากทั้งปีตั้งเป้าหมายไว้ 100 ล้านบาท เนื่องจากมองว่าระยะต่อไปอาจมีผลขาดทุนในส่วนของบริการประกันส่งออกเพิ่มขึ้นจากขณะนี้มีการจ่ายสินไหมทำแทนแล้ว 72 ล้านบาท และยังอยู่ระหว่างพิจารณาอีก 74 ล้านบาท เทียบกับปีก่อนทั้งปีอยู่ที่ 16 ล้านบาทเท่านั้น เนื่องมาจากปัญหาเศรษฐกิจของประเทศคู่ค้าทั้งสหรัฐ และยุโรป
“แม้การประกันการส่งออกจะประสบปัญหาขาดทุนแต่เป็นสิ่งจำเป็นต้องทำเพื่อสร้างความมั่นใจให้ผู้ส่งออกไทย อีกทั้งการประกันส่งออกขณะนี้เกินวงเงินกองทุนแล้วจึงมีความจำเป็นต้องเพิ่มทุน อีก 5 พันล้านบาท ซึ่งน่าจะได้เงินจากกระทรวงการคลังเดือนส.ค.หรือก.ย.นี้ ระหว่างนี้ก็ใช้เงินจากส่วนของสินเชื่อไปก่อน”นายอภิชัย กล่าวและว่าธสน.ยังมีรายได้จากส่วนของสินเชื่อและบริการอื่นๆ รวมถึงการบริหารนี้เสียให้ลดลงมาชดเชยส่วนที่ขาดทุนดังกล่าวทำให้ทั้งปียังพอมีกำไรแม้จะน้อยก็ถือว่าดีในภาวะปัจจุบันที่การส่งออกปีนี้อาจติดลบถึง 20%
อย่างไรก็ตาม ธสน.มีมาตรการใหม่ที่จะช่วยผู้ส่งออกโดยการให้บริการสนับสนุนสินเชื่อแก่ผู้ซื้อในต่างประเทศ โดยขณะนี้ลงนามกับธนาคารในต่างประเทศแล้ว 5 แห่งมีรัสเซียกับอินโดนีเซียรวมวงเงิน เกือบ 3 พันล้านบาท น่าจะช่วยให้ผู้ส่งออกส่งสินค้าได้หลายรอบเป็นเงินหมื่นกว่าล้านบาท และอยู่ระหว่างเจรจาอีกหลายประเทศเช่น บังคลาเทศ ไนจีเรีย ฟิลิปปินส์ แอฟริกาใต้
นายณรงค์ชัย อัครเศรณี ประธานกรรมการ ธสน. กล่าวว่า จากภาวะเศรษฐกิจโลกชะลอตัว ทำให้ยอดการส่งออกเทียบปีต่อปีลดลงทุกเดือน จึงมองว่าตัวเลขการส่งออกปีนี้จะติดลบ 20% และเป็นห่วงผู้ส่งออกจากปัญหาเงินบาทแข็งค่า จนทำให้ทะลุ 34 บาทต่อดอลลาร์สหรัฐ ขณะที่ครึ่งปีหลังนี้การส่งออกยังแย่ ไม่มีทีท่าว่าจะฟื้นตัว ดังนั้นจึงต้องการให้รัฐบาลต้องเร่งรัดการลงทุนโครงการไทยเข้มแข็ง เพื่อใช้จ่ายเงินดอลลาร์สหรัฐที่มีในประเทศเพื่อซื้อวัสดุก่อสร้าง เครื่องมือเครื่องจักร เพราะจะเป็นส่วนหนึ่งบรรเทาปัญหาเงินบาทแข็งค่าได้
“สาเหตุสำคัญที่เงินบาทแข็งค่าขึ้น เนื่องจากการลงทุนโดยเฉพาะโครงการขนาดใหญ่ซึ่งเริ่มได้ค่อนข้างช้า ทำให้ไม่มีการใช้เงินดอลลาร์ เพื่อซื้อสินค้าจากต่างประเทศ ส่งผลให้มีเงินดอลลาร์อยู่ในประเทศค่อนข้างมาก ดังนั้น ปัจจัยสำคัญที่สุดสำหรับการส่งออกในครึ่งปีหลัง คือต้องทำให้เงินบาทอ่อนค่าลง เพราะระดับ 34 บาทนี้ ถือว่าเป็นระดับที่ผู้ส่งออกทำธุรกิจได้ค่อนข้างยาก ส่วนวิธีการที่จะทำได้ในขณะนี้ คือ ภาครัฐต้องเร่งลงทุนเพื่อให้เกิดการใช้เงินตราต่างประเทศ ซึ่งจะลดแรงกดดันจากเงินบาทแข็งให้น้อยลง”
ทั้งนี้ในการเร่งขยายธุรกิจและบริการเพื่อบรรเทาผลกระทบของวิกฤตการเงินโลกต่อผู้ส่งออกไทยเอ็กซิมแบงก์ ได้จัดทำโครงการประกันการส่งออก โดยลงนามในบันทึกความร่วมมือกับธนาคารพาณิชย์และธนาคารของรัฐรวม 10 แห่ง เพื่อขยายบริการประกันการส่งออก (EXIMSurance) คุ้มครองความเสี่ยงจากการไม่ได้รับชำระเงินค่าสินค้าจากผู้ซื้อในต่างประเทศให้แก่ผู้ส่งออกที่เป็นลูกค้าของธนาคารนั้นๆ รวมทั้งช่วยให้ผู้ส่งออกมีโอกาสได้รับการขยายสินเชื่อเพิ่มมากขึ้น เนื่องจากกรมธรรม์ EXIMSurance เป็นหลักประกันประเภทหนึ่งที่สามารถโอนสิทธิการรับค่าชดเชยสินไหมทดแทนให้แก่ธนาคารผู้ให้กู้ได้ ทั้งนี้ ในช่วงครึ่งแรกของปี 2552 EXIM BANK ได้อนุมัติวงเงินใหม่สำหรับบริการประกันการส่งออกระยะสั้นจำนวน 2,695 ล้านบาท เทียบกับ 1,547 ล้านบาทในปี 2551
ขณะเดียวกันได้พัฒนาบริการอย่างต่อเนื่อง เริ่มต้นจาก “เอ็กซิมฟอร์เอสเอ็มอี (EXIM 4 SMEs)” บริการประกันการส่งออกเพื่อผู้ส่งออก SMEs ซึ่งมีอัตราค่าเบี้ยประกันถูกกว่ากรมธรรม์แบบปกติถึง 35% และอนุมัติกรมธรรม์ภายใน 1 สัปดาห์ เปิดให้บริการตั้งแต่เดือนมีนาคม 2552 และภายในไตรมาส 3 ของปีนี้ ธนาคารจะเปิดตัว 2 บริการใหม่ได้แก่ “บริการสินเชื่อเพื่อซัพพลายเออร์ส (EXIM for Your Suppliers)” เพื่อเสริมสภาพคล่องทางการเงินให้แก่ผู้ผลิตเพื่อผู้ส่งออก (ซัพพลายเออร์) ของลูกค้าธนาคารและ “บริการสนับสนุนสินเชื่อแก่ผู้ซื้อในต่างประเทศ (Buyer’s Credit)” เพื่อเพิ่มกำลังซื้อให้แก่ผู้นำเข้าในต่างประเทศและส่งเสริมการส่งออกสินค้าและบริการของไทย ซึ่งปัจจุบันธนาคารมีความร่วมมือกับธนาคารในต่างประเทศเพื่อสนับสนุนการนำเข้าสินค้าและบริการจากไทยเป็นวงเงินรวม 97 ล้านดอลลาร์สหรัฐ โดยได้ลงนาม Revolving Trade Financing Facility (RTFF) กับ PT. Bank Ekspor Indonesia (Persero) เมื่อเดือนพฤษภาคม 2552 และกำลังจะลงนามกับธนาคารในรัสเซียอีก 4 แห่งในเร็วๆ นี้
นอกจากนี้ธนาคารได้ปรับโครงสร้างการทำงานของสาขาและเปิดสาขาย่อยภายใต้ความร่วมมือกับธนาคารออมสินตามแนวนโยบาย “1 สาขา 2 ธนาคาร” เพื่อใช้พื้นที่สาขาร่วมกันและความเชี่ยวชาญของกันและกันให้บริการทางการเงินและคำปรึกษาแนะนำแก่ผู้ประกอบการในย่านธุรกิจและแหล่งชุมชน โดยปัจจุบันธนาคารมีสาขาย่อยเปิดให้บริการ ณ ที่ทำการสาขาของธนาคารออมสินรวม 3 แห่ง ได้แก่ สาขาย่อยบางรัก วงเวียนใหญ่ และอ้อมใหญ่ และในครึ่งหลังปี 2552 จะเปิดสาขาย่อยเพิ่มอีก 4 แห่งได้แก่ สาขาย่อยติวานนท์ สาธุประดิษฐ์ จักรวรรดิ และสุราษฎร์ธานี
ทั้งนี้ธนาคารยังคงเดินหน้าบทบาท “ธนาคารเพื่อการพัฒนา” และเร่งสร้างความร่วมมือกับสถาบันการเงินในต่างประเทศและประเทศในอนุภูมิภาคลุ่มแม่น้ำโขง โดยล่าสุดเมื่อเดือนกุมภาพันธ์ 2552 ธนาคารร่วมกับซูมิโตโม มิตซุย แบงกิ้ง คอร์ปอเรชั่น และไดว่า ซิเคียวริตี้ เอสเอ็มบีซี ได้นำเสนอโครงการระดมทุนโดยการออกพันธบัตรเอเชีย (Asian Bond) ให้แก่ สปป.ลาว เพื่อใช้เป็นทางเลือกในการระดมทุนเพื่อการลงทุนในโครงการต่างๆ เช่น โครงการเขื่อนผลิตกระแสไฟฟ้าพลังน้ำ และได้ลงนามในข้อตกลงความร่วมมือกับธนาคารการค้าต่างประเทศ สปป.ลาว (Banque Pour Le Commerce Exterieur Lao : BCEL) เพื่อแลกเปลี่ยนความรู้ ข้อมูลข่าวสาร และโอกาสทางธุรกิจ เพื่อส่งเสริมการค้าและการลงทุนไทย-สปป.ลาว นอกจากนี้ธนาคารได้ร่วมมือกับ Japan Bank for International Cooperation (JBIC) ด้านการฝึกอบรมบุคลากรของธนาคารให้มีความรู้ความเชี่ยวชาญเรื่องการวิเคราะห์สินเชื่อโครงการลงทุน (Project Finance)