“ธนากร” ฟุ้งธุรกิจในเครือซีพี ที่จีน ไม่ได้รับผลกระทบจากวิกฤตเศรษฐกิจโลกโดยปีที่แล้วมียอดขายโต 10% ขณะที่ปีนี้ยอดขายของธุรกิจอุตสาหกรรมในเครือยังขยายตัวต่อเนื่อง ตั้งเป้า 2 ปี ขยายกำลังการผลิตมอเตอร์ไซค์เพิ่ม เล็งเทกโอเวอร์โรงงานในจีนที่ปิดตัวไป ชมนโยบายการพัฒนาเศรษฐกิจของจีนเยี่ยม ทำแบบค่อยเป็นค่อยไปควบคู่กับพัฒนาคน ทำให้เศรษฐกิจจีนเติบโตอย่างรวดเร็ว และมั่นคง การันตีไม่มีปัญหาฟองสบู่แตกแน่ แนะไทยเร่งดึงนักธุรกิจจีนเข้ามาลงทุนในไทย ก่อนเบนเข็มไปลงทุนในมาเลย์ หรือ อินโด แทน
นายธนากร เสรีบุรี ประธานคณะกรรมการและประธานคณะผู้บริหารกลุ่มยานยนต์ อุตสาหกรรมทั่วไปและการเงินเครือเจริญโภคภัณฑ์ (ซีพี) เปิดเผยในงานมุมธุรกิจกับซีพีครั้งที่ 1/2552 ว่า ธุรกิจซีพี กรุ๊ป ในจีนไม่ได้รับผลกระทบจากวิกฤตเศรษฐกิจโลกที่ชะลอตัวลง โดยทุกกลุ่มธุรกิจไม่ว่าจะเป็นภาคอุตสาหกรรมมอเตอร์ไซค์ ห้างสรรพสินค้าซุปเปอร์แบรนด์มอลล์ และการเกษตรต่างมีผลประกอบการเติบโตขึ้น แม้ว่าช่วงไตรมาส 4/2551 จะมียอดขายที่เติบโตลดลง แต่เฉลี่ยทั้งปีแล้วขยายตัวไม่ต่ำกว่า 10% มีเพียงอุตสาหกรรมส่งออกเท่านั้นที่ได้รับผลกระทบ ซึ่งเครือซีพี ในจีนมีการส่งออกน้อยมาก
สำหรับปีนี้ธุรกิจด้านอุตสาหกรรมของซีพี ในจีน คาดว่า จะเติบโตประมาณ 10% จากปีก่อนที่มีรายได้ประมาณ 1.5 หมื่นล้านบาท โดยธุรกิจอุตสาหกรรมของซีพีในจีน ประกอบด้วย โรงงานผลิตรถมอเตอร์ไซค์ยี่ห้อต้าหยาง และ ต้าหวิ่น ซึ่งปัจจุบันมีอยู่ 3 โรงงาน ใน 2 มณฑล กำลังการผลิต 2 ล้านคัน/ปี โดยปีนี้คาดว่าจะผลิตเพิ่มขึ้นจาก 1.5 ล้านคัน เป็น 1.6 ล้านคัน/ปี จากยอดขายมอเตอร์ไซค์ที่เพิ่มสูงขึ้นอย่างต่อเนื่องภายใน 2 ปีนี้ ซีพี คงต้องมีการขยายโรงงานผลิตมอเตอร์ไซค์เพิ่มขึ้นอีก โดยบริษัทจะให้ความสำคัญในการซื้อกิจการ (เทกโอเวอร์)โรงงานเดิมที่มีอยู่
“ขณะนี้จีนมีมอเตอร์ไซค์ร่วม 100 ยี่ห้อ ซึ่งเชื่อว่าในอนาคตจะเหลือไม่เกิน 20 ยี่ห้อ ซึ่งปัจจุบันมอเตอร์ไซค์แบรนด์เดียวของซีพี มีส่วนแบ่งตลาดอยู่อันดับ 3 แต่หากดูกำลังการผลิตเป็นอันดับ 7 จากมอเตอร์ไซค์ที่จีนผลิตได้รวม 22 ล้านคัน/ปี หากจะมีการลงทุนในอนาคตก็มองช่องทางการเทกโอเวอร์ เพราะโรงงานมอเตอร์ไซค์ปิดตัวไปปีละ 3-4 ราย เนื่องจากธุรกิจนี้แข่งขันรุนแรง มีกำไรเพียงคันละ 50-100 หยวนเท่านั้น ทำให้รายเล็กอยู่ไม่ได้ การลงทุนขยายกำลังการผลิตใหม่ เราไม่ห่วงเรื่องเทคโนโลยี แต่ต้องมองตลาดและซัปพลายเออร์ชิ้นส่วนด้วย แต่ขณะนี้ยังไม่ได้ตัดสินใจ”
จากวิกฤตเศรษฐกิจโลกครั้งนี้ ทำให้บริษัทต้องปรับลดการส่งออกรถมอเตอร์ไซค์ลงจากปีละ 2.5 แสนคัน เหลือเพียง 1 แสนคัน ในปีนี้ โดยปริมาณมอเตอร์ไซค์ที่ไม่ได้ส่งออกจะหันมาจำหน่ายในประเทศแทน ซึ่งไม่มีปัญหาความต้องการรถมอเตอร์ไซค์ในประเทศยังมีอยู่มาก เพราะรัฐบาลให้การสนับสนุน นอกจากนี้ เครือซีพี ยังเป็นตัวแทนจำหน่ายรถขุดCATERPILLAR ในจีน โดยปีนี้มีแผนจะขยายศูนย์ซ่อมบำรุงเพิ่มเติมรวมแล้วมีศูนย์ทั้งสิ้น 9 แห่ง ซึ่งการลงทุนจะใช้เงินไม่มากเพียงสาขาละ 200 ล้านบาท
สำหรับการลงทุนในธุรกิจอุตสาหกรรมในเครือซีพี ที่จีน นั้น จะใช้เงินลงทุนปีละ 200-300 ล้านบาท ซึ่งส่วนใหญ่เป็นการลงทุนโดยนำผลกำไรจากการดำเนินงานมาลงทุนต่อเนื่อง ที่ผ่านมา มีเพียงธุรกิจผลิตเบียร์ที่หนานหนิง ในจีน ที่ขาดทุนมาต่อเนื่อง 5 ปี แต่ภายหลังมีการดึงQing DAO ผู้ผลิตเบียร์รายใหญ่ของจีนมาเป็นพาร์ทเนอร์ถือหุ้นใหญ่ ปรากฏว่า ปีที่แล้วธุรกิจเบียร์เริ่มมีกำไรขึ้น คาดว่า ภายใน 4 ปีข้างหน้าจะคืนทุน
นายธนากร กล่าวว่า ในฐานะที่มีประสบการณ์ทำธุรกิจของซีพี ในจีน มาเกือบ 30 ปี มีความเชื่อมั่นว่า เศรษฐกิจจีนยังเติบโตต่อไปอย่างเข้มแข็ง ไม่มีปัญหาฟองสบู่แตกเหมือนที่นักวิชาการต่างชาติเคยคาดการณ์ไว้ แม้ว่าอัตราการเติบโตทางเศรษฐกิจ (จีดีพี) ของจีนในปีแต่ละปีจะโตกว่า 10% และปีนี้คาดว่าจีดีพีจีนจะโตไม่น้อยกว่า 7%
เนื่องจากนโยบายของรัฐบาลจีน มีการพัฒนาเศรษฐกิจแบบค่อยเป็นค่อยไป พร้อมไปกับการพัฒนาคน โดยส่งคนระดับหัวกะทิไปศึกษาต่างประเทศ แล้วกลับมาทำงานในจีนมาตั้งแต่สมัยเติ้งเสี่ยวผิง ซึ่งมองว่า นโยบายดังกล่าวมีผลทำให้จีนสามารถพัฒนาประเทศได้รวดเร็ว มั่นคงและยังมีโอกาสที่จะเติบโตได้อีกมาก
ขณะเดียวกัน นโยบายของรัฐบาลจีนก็มีความยืดหยุ่นในการจัดเก็บภาษี โดยผู้ว่ามณฑลของจีนมีสิทธิ์ที่จะลดการจัดเก็บภาษีลงเพื่อดึงดูดการลงทุน ซึ่งโรงงานที่ตั้งนอกเขตเศรษฐกิจพิเศษจะเสียภาษี 24-35% สูงกว่าโรงงานที่ตั้งเขตเศรษฐกิจพิเศษที่จัดเก็บภาษีอยู่ 15% นับเป็นจุดสำคัญในการดึงดูดเงินลงทุนต่างชาติไปจีน อย่างไรก็ตาม จากวิกฤตเศรษฐกิจโลกที่ชะลอตัวลงนี้ ทำให้คนว่างงาน ซึ่งจะก่อให้เกิดปัญหาด้านความมั่นคงของประเทศ ดังนั้นรัฐบาลจีนวางนโยบายต่างๆ เพื่อให้ภาคธุรกิจอยู่ได้โดยไม่ต้องมีการเลิกจ้างแรงงาน รวมทั้งมีการทุ่มเม็ดเงิน 4 ล้านล้านหยวน ใน 10 มาตรการกระตุ้นการบริโภคในประเทศภายในช่วง 2 ปีนี้ จากมาตรการดังกล่าวนี้เองทำให้เศรษฐกิจของจีนเริ่มเข้าสู่ภาวะปกติ
ดังนั้น รัฐบาลไทยควรให้ความสนใจการดึงนักลงทุนจากจีนเข้ามาลงทุนในไทยเพิ่มมากขึ้น หลังจากรัฐบาลจีนส่งเสริมสนับสนุนให้นักธุรกิจจีนไปลงทุนในต่างประเทศ แต่ปัญหาการเมืองไทยที่เกิดขึ้น ทำให้ไทยสูญเสียโอกาสที่จะดึงนักลงทุนจากจีนไปจำนวนมาก ทำให้นักลงทุนเหล่านี้หันไปลงทุนที่มาเลเซีย และอินโดนีเซียแทน โดยอุตสาหกรรมที่จีนสนใจลงทุนในไทย คือ อุตสาหกรรมการเกษตรต่อยอด เครื่องใช้ภายในบ้าน และเคมีภัณฑ์ หากการเมืองไทยมีความพร้อม เชื่อว่า นักลงทุนจีนก็พร้อมที่จะลงทุนในไทยทันที
ธุรกิจในจีนมีการแข่งขันสูง การตัดสินใจลงทุนใหม่ๆ ของซีพี เหมือนในอดีตทำไม่ได้ มีความเสี่ยงสูง เพราะต้องมีความพร้อมทั้งเงิน คน และเทคโนโลยี ซึ่งปัญหาคนเป็นเรื่องที่สำคัญ เพราะคนเก่งในจีนส่วนใหญ่หันมาทำธุรกิจส่วนตัวกันมาก ทำให้การสร้างคนในจีนลำบาก ขณะเดียวกัน หากมีการขยายธุรกิจจากฐานเดิมของเครือซีพี ที่มีอยู่ก็เพียงพอแล้ว
นายธนากร เสรีบุรี ประธานคณะกรรมการและประธานคณะผู้บริหารกลุ่มยานยนต์ อุตสาหกรรมทั่วไปและการเงินเครือเจริญโภคภัณฑ์ (ซีพี) เปิดเผยในงานมุมธุรกิจกับซีพีครั้งที่ 1/2552 ว่า ธุรกิจซีพี กรุ๊ป ในจีนไม่ได้รับผลกระทบจากวิกฤตเศรษฐกิจโลกที่ชะลอตัวลง โดยทุกกลุ่มธุรกิจไม่ว่าจะเป็นภาคอุตสาหกรรมมอเตอร์ไซค์ ห้างสรรพสินค้าซุปเปอร์แบรนด์มอลล์ และการเกษตรต่างมีผลประกอบการเติบโตขึ้น แม้ว่าช่วงไตรมาส 4/2551 จะมียอดขายที่เติบโตลดลง แต่เฉลี่ยทั้งปีแล้วขยายตัวไม่ต่ำกว่า 10% มีเพียงอุตสาหกรรมส่งออกเท่านั้นที่ได้รับผลกระทบ ซึ่งเครือซีพี ในจีนมีการส่งออกน้อยมาก
สำหรับปีนี้ธุรกิจด้านอุตสาหกรรมของซีพี ในจีน คาดว่า จะเติบโตประมาณ 10% จากปีก่อนที่มีรายได้ประมาณ 1.5 หมื่นล้านบาท โดยธุรกิจอุตสาหกรรมของซีพีในจีน ประกอบด้วย โรงงานผลิตรถมอเตอร์ไซค์ยี่ห้อต้าหยาง และ ต้าหวิ่น ซึ่งปัจจุบันมีอยู่ 3 โรงงาน ใน 2 มณฑล กำลังการผลิต 2 ล้านคัน/ปี โดยปีนี้คาดว่าจะผลิตเพิ่มขึ้นจาก 1.5 ล้านคัน เป็น 1.6 ล้านคัน/ปี จากยอดขายมอเตอร์ไซค์ที่เพิ่มสูงขึ้นอย่างต่อเนื่องภายใน 2 ปีนี้ ซีพี คงต้องมีการขยายโรงงานผลิตมอเตอร์ไซค์เพิ่มขึ้นอีก โดยบริษัทจะให้ความสำคัญในการซื้อกิจการ (เทกโอเวอร์)โรงงานเดิมที่มีอยู่
“ขณะนี้จีนมีมอเตอร์ไซค์ร่วม 100 ยี่ห้อ ซึ่งเชื่อว่าในอนาคตจะเหลือไม่เกิน 20 ยี่ห้อ ซึ่งปัจจุบันมอเตอร์ไซค์แบรนด์เดียวของซีพี มีส่วนแบ่งตลาดอยู่อันดับ 3 แต่หากดูกำลังการผลิตเป็นอันดับ 7 จากมอเตอร์ไซค์ที่จีนผลิตได้รวม 22 ล้านคัน/ปี หากจะมีการลงทุนในอนาคตก็มองช่องทางการเทกโอเวอร์ เพราะโรงงานมอเตอร์ไซค์ปิดตัวไปปีละ 3-4 ราย เนื่องจากธุรกิจนี้แข่งขันรุนแรง มีกำไรเพียงคันละ 50-100 หยวนเท่านั้น ทำให้รายเล็กอยู่ไม่ได้ การลงทุนขยายกำลังการผลิตใหม่ เราไม่ห่วงเรื่องเทคโนโลยี แต่ต้องมองตลาดและซัปพลายเออร์ชิ้นส่วนด้วย แต่ขณะนี้ยังไม่ได้ตัดสินใจ”
จากวิกฤตเศรษฐกิจโลกครั้งนี้ ทำให้บริษัทต้องปรับลดการส่งออกรถมอเตอร์ไซค์ลงจากปีละ 2.5 แสนคัน เหลือเพียง 1 แสนคัน ในปีนี้ โดยปริมาณมอเตอร์ไซค์ที่ไม่ได้ส่งออกจะหันมาจำหน่ายในประเทศแทน ซึ่งไม่มีปัญหาความต้องการรถมอเตอร์ไซค์ในประเทศยังมีอยู่มาก เพราะรัฐบาลให้การสนับสนุน นอกจากนี้ เครือซีพี ยังเป็นตัวแทนจำหน่ายรถขุดCATERPILLAR ในจีน โดยปีนี้มีแผนจะขยายศูนย์ซ่อมบำรุงเพิ่มเติมรวมแล้วมีศูนย์ทั้งสิ้น 9 แห่ง ซึ่งการลงทุนจะใช้เงินไม่มากเพียงสาขาละ 200 ล้านบาท
สำหรับการลงทุนในธุรกิจอุตสาหกรรมในเครือซีพี ที่จีน นั้น จะใช้เงินลงทุนปีละ 200-300 ล้านบาท ซึ่งส่วนใหญ่เป็นการลงทุนโดยนำผลกำไรจากการดำเนินงานมาลงทุนต่อเนื่อง ที่ผ่านมา มีเพียงธุรกิจผลิตเบียร์ที่หนานหนิง ในจีน ที่ขาดทุนมาต่อเนื่อง 5 ปี แต่ภายหลังมีการดึงQing DAO ผู้ผลิตเบียร์รายใหญ่ของจีนมาเป็นพาร์ทเนอร์ถือหุ้นใหญ่ ปรากฏว่า ปีที่แล้วธุรกิจเบียร์เริ่มมีกำไรขึ้น คาดว่า ภายใน 4 ปีข้างหน้าจะคืนทุน
นายธนากร กล่าวว่า ในฐานะที่มีประสบการณ์ทำธุรกิจของซีพี ในจีน มาเกือบ 30 ปี มีความเชื่อมั่นว่า เศรษฐกิจจีนยังเติบโตต่อไปอย่างเข้มแข็ง ไม่มีปัญหาฟองสบู่แตกเหมือนที่นักวิชาการต่างชาติเคยคาดการณ์ไว้ แม้ว่าอัตราการเติบโตทางเศรษฐกิจ (จีดีพี) ของจีนในปีแต่ละปีจะโตกว่า 10% และปีนี้คาดว่าจีดีพีจีนจะโตไม่น้อยกว่า 7%
เนื่องจากนโยบายของรัฐบาลจีน มีการพัฒนาเศรษฐกิจแบบค่อยเป็นค่อยไป พร้อมไปกับการพัฒนาคน โดยส่งคนระดับหัวกะทิไปศึกษาต่างประเทศ แล้วกลับมาทำงานในจีนมาตั้งแต่สมัยเติ้งเสี่ยวผิง ซึ่งมองว่า นโยบายดังกล่าวมีผลทำให้จีนสามารถพัฒนาประเทศได้รวดเร็ว มั่นคงและยังมีโอกาสที่จะเติบโตได้อีกมาก
ขณะเดียวกัน นโยบายของรัฐบาลจีนก็มีความยืดหยุ่นในการจัดเก็บภาษี โดยผู้ว่ามณฑลของจีนมีสิทธิ์ที่จะลดการจัดเก็บภาษีลงเพื่อดึงดูดการลงทุน ซึ่งโรงงานที่ตั้งนอกเขตเศรษฐกิจพิเศษจะเสียภาษี 24-35% สูงกว่าโรงงานที่ตั้งเขตเศรษฐกิจพิเศษที่จัดเก็บภาษีอยู่ 15% นับเป็นจุดสำคัญในการดึงดูดเงินลงทุนต่างชาติไปจีน อย่างไรก็ตาม จากวิกฤตเศรษฐกิจโลกที่ชะลอตัวลงนี้ ทำให้คนว่างงาน ซึ่งจะก่อให้เกิดปัญหาด้านความมั่นคงของประเทศ ดังนั้นรัฐบาลจีนวางนโยบายต่างๆ เพื่อให้ภาคธุรกิจอยู่ได้โดยไม่ต้องมีการเลิกจ้างแรงงาน รวมทั้งมีการทุ่มเม็ดเงิน 4 ล้านล้านหยวน ใน 10 มาตรการกระตุ้นการบริโภคในประเทศภายในช่วง 2 ปีนี้ จากมาตรการดังกล่าวนี้เองทำให้เศรษฐกิจของจีนเริ่มเข้าสู่ภาวะปกติ
ดังนั้น รัฐบาลไทยควรให้ความสนใจการดึงนักลงทุนจากจีนเข้ามาลงทุนในไทยเพิ่มมากขึ้น หลังจากรัฐบาลจีนส่งเสริมสนับสนุนให้นักธุรกิจจีนไปลงทุนในต่างประเทศ แต่ปัญหาการเมืองไทยที่เกิดขึ้น ทำให้ไทยสูญเสียโอกาสที่จะดึงนักลงทุนจากจีนไปจำนวนมาก ทำให้นักลงทุนเหล่านี้หันไปลงทุนที่มาเลเซีย และอินโดนีเซียแทน โดยอุตสาหกรรมที่จีนสนใจลงทุนในไทย คือ อุตสาหกรรมการเกษตรต่อยอด เครื่องใช้ภายในบ้าน และเคมีภัณฑ์ หากการเมืองไทยมีความพร้อม เชื่อว่า นักลงทุนจีนก็พร้อมที่จะลงทุนในไทยทันที
ธุรกิจในจีนมีการแข่งขันสูง การตัดสินใจลงทุนใหม่ๆ ของซีพี เหมือนในอดีตทำไม่ได้ มีความเสี่ยงสูง เพราะต้องมีความพร้อมทั้งเงิน คน และเทคโนโลยี ซึ่งปัญหาคนเป็นเรื่องที่สำคัญ เพราะคนเก่งในจีนส่วนใหญ่หันมาทำธุรกิจส่วนตัวกันมาก ทำให้การสร้างคนในจีนลำบาก ขณะเดียวกัน หากมีการขยายธุรกิจจากฐานเดิมของเครือซีพี ที่มีอยู่ก็เพียงพอแล้ว