8 หมื่นไม่พอต้อง 8 แสนล้าน รายย่อยอยากให้แปลงเงินกู้ไทยเข้มแข็งเป็นพันธบัตร ช่วยดูดเงินในระบบดันดอกเบี้ยเงินฝาก ชี้ ประโยชน์ตกกับผู้ฝากเงิน พร้อมเรียกร้องรัฐบาลรับภาระภาษีดอกเบี้ย 15% ด้วยการหักออกตั้งแต่ต้นตัดปัญหายื่นแบบและป้องกันคนแก่ลืม หนุนแก้ปัญหาแบงก์กั๊กให้ขาใหญ่ เหตุพบบัญชีทรัพย์สินนักการเมืองถือครองพันธบัตรบาน
นายเรืองไกร ลีกิจวัฒนะ สมาชิกวุฒิสภา (ส.ว.) สรรหา กล่าวเห็นด้วยกับรัฐบาลที่ออกพันธบัตรออมทรัพย์ไทยเข้มแข็ง ที่เน้นขายให้กับประชาชนรายย่อยและผู้สูงอายุ เนื่องจากการขายพันธบัตรในครั้งนี้ ถือเป็นการกู้โดยตรงจากประชาชนโดยไม่ผ่านสถาบันการเงินเพื่อดูดซับสภาพคล่องในระบบที่มีอยู่สูง ซึ่งหากรัฐบาลกู้เงินโดยผ่านทางสถาบันการเงินก็จะไม่เกิดประโยชน์ต่อระบบเศรษฐกิจ และซ้ำเติมให้สถาบันการเงินไม่ปล่อยกู้ให้กับผู้ประกอบการอีกด้วย
โดยในช่วงที่ผ่านมา ก่อนที่รัฐบาลจะเปิดจำหน่ายพันธบัตรออมทรัพย์ไทยเข้มแข็งธนาคารพาณิชย์บางแห่งได้ทยอยปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยเงินฝากกันบ้างเพื่อป้องกันเงินไหลออกไปซื้อพันธบัตรออมทรัพย์ ซึ่งถือว่าเป็นเรื่องที่ดีต่อผู้ฝากเงินให้ได้รับผลตอบแทนจากการฝากเงินที่ดีขึ้น แต่ก็ยังไม่ดีเท่ากับการซื้อพันธบัตรรัฐบาลที่มีความมั่นคงมากกว่าและมีอัตราดอกเบี้ยที่น่าจูงใจสามารถดึงดูดใจประชาชนได้เป็นอย่างดี
“รัฐบาลจะกู้โดยการออกพันธบัตรทั้ง 4 แสนล้าน หรือ 8 แสนล้าน ก็เชื่อว่า จะขายได้หมดแน่นอน เพราะเงินฝากในระบบยังมีอีกมากมายสามารถรองรับการออกพันธบัตรได้ทั้งหมด เพียงแค่รัฐบาลจะยอมรับภาระดอกเบี้ยที่เพิ่มขึ้นมาบ้าง และต้องบริหารจัดการในการใช้เงินเพื่อให้เกิดประโยชน์อย่างคุ้มค่าให้ทางเศรษฐกิจกับโครงการต่างๆ ที่ใช้เงินจากส่วนนี้ไป โดยวัดจากผลตอบแทนในรูปของภาษีที่กลับคืนเข้ามาสู่รัฐ” นายเรืองไกร กล่าว
ทั้งนี้ หากรัฐบาลจะเปิดขายพันธบัตรออมทรัพย์ครั้งหน้าอยากแนะนำให้แก้ไขเรื่องภาษีดอกเบี้ยที่จัดเก็บในอัตรา 15% ให้เรียบร้อยไปเลย เนื่องจากผู้ซื้อพันธบัตรจะต้องมายื่นแบบเพื่อดำเนินการเรื่องภาษีที่ยุ่งยากขึ้น โดยเฉพาะส่วนใหญ่เป็นผู้สูงอายุอาจหลงลืมเรื่องนี้ได้ ดังนั้น เช่นในกรณีการเปิดซื้อขายครั้งนี้ก็ควรจะหักภาษีออกไปจากอัตราดอกเบี้ย 4.5% โดยคำนวณให้น้อยกว่า 4.5% แล้วแจ้งอย่างชัดเจนว่ามีการยกเว้นภาษีจากการซื้อพันธบัตรในครั้งนี้
***แฉนักการเมืองขาใหญ่พันธบัตร
“สิ่งที่สำคัญที่สุดที่ต้องการให้รัฐบาลและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเข้มงวดเรื่องที่แบงก์ล็อกพันธบัตรไว้ให้ลูกค้ารายใหญ่ของตัวเอง เพราะจากการตรวจสอบจากบัญชีแสดงทรัพย์สินและหนี้สินของนักการเมือง จะพบว่ามีอยู่หลายรายมีการถือครองพันธบัตรรัฐบาลในวงเงินที่สูง รัฐบาลจึงควรเน้นตรงจุดนี้ให้มากกระจายพันธบัตรที่จำหน่ายให้กับประชาชนอย่างเท่าเทียมกันให้มากที่สุด” นายเรืองไกร กล่าวและว่า มีความห่วงใยรัฐบาลในเรื่องของการใช้จ่ายเงินจากการขายพันธบัตรออมทรัพย์ว่าจะขาดการควบคุมที่ดี เนื่องจากสำนักงานบริหารหนี้สาธารณะ (สบน.) ที่เป็นหน่วยงานจัดการการกู้เงินของรัฐบาลยังไม่เคยทำหน้าที่ควบคุมการใช้จ่ายเงินของทางภาครัฐมาก่อนต้องรอให้ระเบียบการเบิกจ่ายผ่านการพิจารณาจากคณะรัฐมนตรีเพื่อเป็นแนวทางการใช้จ่ายอย่างถูกต้องประชาชนพอใจผลตอบแทน
นางดวงสมร แอทกินสัน นักลงทุนรายย่อยที่เข้าคิวซื้อพันธบัตรไทยเข้มแข็ง กล่าวว่า อยากให้รัฐบาลเพิ่มวงเงินในการจำหน่ายพันธบัตรออมทรัพย์ไทยเข้มแข็ง เพื่อกระจายให้คนที่ต้องการได้ทั้งหมด เพราะถือเป็นการลงทุนที่ประชาชนให้ความสนใจเนื่องจากให้ผลตอบแทนในระดับสูงเมื่อเทียบกับการลงทุนในประเภทอื่น
ทั้งนี้ รัฐบาลตั้งเป้ากู้เงินแก้วิกฤตรวม 3 ปี 8 แสนล้านบาท ปี 2552 พันธบัตรไทยเข้มแข็งกำหนดวงเงินกู้จากรายย่อยมีเพียง 8 หมื่นล้านบาท รอบแรกนี้อยู่ที่ 5 หมื่นล้านบาท รอบ 2 อีก 3 หมื่นล้านบาท ไม่เกินปลายปี ขณะนี้สำนักงานบริหารหนี้สาธารณะ กำลังพิจารณารายละเอียด ซึ่ง รมว.คลัง เคยระบุว่า หากมีความต้องการเพิ่มกระทรวงการคลังพร้อมที่จะเพิ่มให้อีกเท่าตัว
นางจุฑามาศ อนุเผ่า อายุ 79 ปี ซึ่งเป็นผู้ที่ได้รับบัตรคิวเป็นคนแรกของธนาคารกสิกรไทย สำนักพหลโยธิน กล่าวว่า ต้องการซื้อพันธบัตรออมทรัพย์ไทยเข้มแข็ง เพราะให้ผลตอบแทนที่อยู่ในระดับที่น่าพอใจ อีกทั้งยังอยากเป็นส่วนหนึ่งในการช่วยชาติ โดยการนำเงินไปลงทุนพัฒนาประเทศ และจากขั้นตอนต่างๆ ที่ธนาคารเตรียมไว้ทำให้เชื่อมั่นว่าไม่มีการล็อกพันธบัตรสำหรับลูกค้าบางรายของธนาคารอย่างแน่นอน
“ต้องตื่นนอนตั้งแต่ตี 3 เพื่อเดินทางมาจากที่พักซึ่งอยู่บริเวณมหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์ มาจองพันธบัตรที่สาขาพหลโยธิน โดยเดินทางมาถึงตั้งแต่เวลาประมาณ 3 นาฬิกา 30 นาที” เธอกล่าวถึงความยากลำบากในการซื้อพันธบัตร
นายเรืองไกร ลีกิจวัฒนะ สมาชิกวุฒิสภา (ส.ว.) สรรหา กล่าวเห็นด้วยกับรัฐบาลที่ออกพันธบัตรออมทรัพย์ไทยเข้มแข็ง ที่เน้นขายให้กับประชาชนรายย่อยและผู้สูงอายุ เนื่องจากการขายพันธบัตรในครั้งนี้ ถือเป็นการกู้โดยตรงจากประชาชนโดยไม่ผ่านสถาบันการเงินเพื่อดูดซับสภาพคล่องในระบบที่มีอยู่สูง ซึ่งหากรัฐบาลกู้เงินโดยผ่านทางสถาบันการเงินก็จะไม่เกิดประโยชน์ต่อระบบเศรษฐกิจ และซ้ำเติมให้สถาบันการเงินไม่ปล่อยกู้ให้กับผู้ประกอบการอีกด้วย
โดยในช่วงที่ผ่านมา ก่อนที่รัฐบาลจะเปิดจำหน่ายพันธบัตรออมทรัพย์ไทยเข้มแข็งธนาคารพาณิชย์บางแห่งได้ทยอยปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยเงินฝากกันบ้างเพื่อป้องกันเงินไหลออกไปซื้อพันธบัตรออมทรัพย์ ซึ่งถือว่าเป็นเรื่องที่ดีต่อผู้ฝากเงินให้ได้รับผลตอบแทนจากการฝากเงินที่ดีขึ้น แต่ก็ยังไม่ดีเท่ากับการซื้อพันธบัตรรัฐบาลที่มีความมั่นคงมากกว่าและมีอัตราดอกเบี้ยที่น่าจูงใจสามารถดึงดูดใจประชาชนได้เป็นอย่างดี
“รัฐบาลจะกู้โดยการออกพันธบัตรทั้ง 4 แสนล้าน หรือ 8 แสนล้าน ก็เชื่อว่า จะขายได้หมดแน่นอน เพราะเงินฝากในระบบยังมีอีกมากมายสามารถรองรับการออกพันธบัตรได้ทั้งหมด เพียงแค่รัฐบาลจะยอมรับภาระดอกเบี้ยที่เพิ่มขึ้นมาบ้าง และต้องบริหารจัดการในการใช้เงินเพื่อให้เกิดประโยชน์อย่างคุ้มค่าให้ทางเศรษฐกิจกับโครงการต่างๆ ที่ใช้เงินจากส่วนนี้ไป โดยวัดจากผลตอบแทนในรูปของภาษีที่กลับคืนเข้ามาสู่รัฐ” นายเรืองไกร กล่าว
ทั้งนี้ หากรัฐบาลจะเปิดขายพันธบัตรออมทรัพย์ครั้งหน้าอยากแนะนำให้แก้ไขเรื่องภาษีดอกเบี้ยที่จัดเก็บในอัตรา 15% ให้เรียบร้อยไปเลย เนื่องจากผู้ซื้อพันธบัตรจะต้องมายื่นแบบเพื่อดำเนินการเรื่องภาษีที่ยุ่งยากขึ้น โดยเฉพาะส่วนใหญ่เป็นผู้สูงอายุอาจหลงลืมเรื่องนี้ได้ ดังนั้น เช่นในกรณีการเปิดซื้อขายครั้งนี้ก็ควรจะหักภาษีออกไปจากอัตราดอกเบี้ย 4.5% โดยคำนวณให้น้อยกว่า 4.5% แล้วแจ้งอย่างชัดเจนว่ามีการยกเว้นภาษีจากการซื้อพันธบัตรในครั้งนี้
***แฉนักการเมืองขาใหญ่พันธบัตร
“สิ่งที่สำคัญที่สุดที่ต้องการให้รัฐบาลและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเข้มงวดเรื่องที่แบงก์ล็อกพันธบัตรไว้ให้ลูกค้ารายใหญ่ของตัวเอง เพราะจากการตรวจสอบจากบัญชีแสดงทรัพย์สินและหนี้สินของนักการเมือง จะพบว่ามีอยู่หลายรายมีการถือครองพันธบัตรรัฐบาลในวงเงินที่สูง รัฐบาลจึงควรเน้นตรงจุดนี้ให้มากกระจายพันธบัตรที่จำหน่ายให้กับประชาชนอย่างเท่าเทียมกันให้มากที่สุด” นายเรืองไกร กล่าวและว่า มีความห่วงใยรัฐบาลในเรื่องของการใช้จ่ายเงินจากการขายพันธบัตรออมทรัพย์ว่าจะขาดการควบคุมที่ดี เนื่องจากสำนักงานบริหารหนี้สาธารณะ (สบน.) ที่เป็นหน่วยงานจัดการการกู้เงินของรัฐบาลยังไม่เคยทำหน้าที่ควบคุมการใช้จ่ายเงินของทางภาครัฐมาก่อนต้องรอให้ระเบียบการเบิกจ่ายผ่านการพิจารณาจากคณะรัฐมนตรีเพื่อเป็นแนวทางการใช้จ่ายอย่างถูกต้องประชาชนพอใจผลตอบแทน
นางดวงสมร แอทกินสัน นักลงทุนรายย่อยที่เข้าคิวซื้อพันธบัตรไทยเข้มแข็ง กล่าวว่า อยากให้รัฐบาลเพิ่มวงเงินในการจำหน่ายพันธบัตรออมทรัพย์ไทยเข้มแข็ง เพื่อกระจายให้คนที่ต้องการได้ทั้งหมด เพราะถือเป็นการลงทุนที่ประชาชนให้ความสนใจเนื่องจากให้ผลตอบแทนในระดับสูงเมื่อเทียบกับการลงทุนในประเภทอื่น
ทั้งนี้ รัฐบาลตั้งเป้ากู้เงินแก้วิกฤตรวม 3 ปี 8 แสนล้านบาท ปี 2552 พันธบัตรไทยเข้มแข็งกำหนดวงเงินกู้จากรายย่อยมีเพียง 8 หมื่นล้านบาท รอบแรกนี้อยู่ที่ 5 หมื่นล้านบาท รอบ 2 อีก 3 หมื่นล้านบาท ไม่เกินปลายปี ขณะนี้สำนักงานบริหารหนี้สาธารณะ กำลังพิจารณารายละเอียด ซึ่ง รมว.คลัง เคยระบุว่า หากมีความต้องการเพิ่มกระทรวงการคลังพร้อมที่จะเพิ่มให้อีกเท่าตัว
นางจุฑามาศ อนุเผ่า อายุ 79 ปี ซึ่งเป็นผู้ที่ได้รับบัตรคิวเป็นคนแรกของธนาคารกสิกรไทย สำนักพหลโยธิน กล่าวว่า ต้องการซื้อพันธบัตรออมทรัพย์ไทยเข้มแข็ง เพราะให้ผลตอบแทนที่อยู่ในระดับที่น่าพอใจ อีกทั้งยังอยากเป็นส่วนหนึ่งในการช่วยชาติ โดยการนำเงินไปลงทุนพัฒนาประเทศ และจากขั้นตอนต่างๆ ที่ธนาคารเตรียมไว้ทำให้เชื่อมั่นว่าไม่มีการล็อกพันธบัตรสำหรับลูกค้าบางรายของธนาคารอย่างแน่นอน
“ต้องตื่นนอนตั้งแต่ตี 3 เพื่อเดินทางมาจากที่พักซึ่งอยู่บริเวณมหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์ มาจองพันธบัตรที่สาขาพหลโยธิน โดยเดินทางมาถึงตั้งแต่เวลาประมาณ 3 นาฬิกา 30 นาที” เธอกล่าวถึงความยากลำบากในการซื้อพันธบัตร