อาปิโกฯ เป้ารายได้และกำไรหดเหลือเพียง 20-25% จากเดิมที่คาดลดลง 25-30% ชี้ภาพรวมอุตสาหกรรมยานยนต์ดีขึ้น-ออเดอร์ชิ้นส่วนแนวโน้มสดใส พร้อมปรับลดพนักงานและลดเงินเดือนระดับบริหาร ลดต้นทุนการดำเนินงานฝ่าวิกฤตซบ เชื่อครึ่้งปีหลังแจ่มเพราะวิกฤตเศรษฐกิจผ่านช่วงเลวร้ายที่สุดแล้ว
นายเย็บ ซู ชวน ประธานกรรมการและประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท อาปิโก ไฮเทค หรือ AH เปิดเผยว่า ขณะนี้บริษัทปรับเป้ารายได้และกำไรจากเดิมที่จะลดลง 25-30% เหลือเป็นลดลง 20-25 % จากปี 51 ที่มีรายได้ 9.53 พันล้านบาท และกำไรสุทธิที่ 241.35 ล้านบาท ซึ่งดีขึ้นจากก่อนหน้าที่ตั้งไว้ เนื่องจากภาพรวมอุตสาหกรรมรถยนต์เริ่มมีสัญญาณที่ดีขึ้นจากช่วงต้นปี ประกอบกับสต๊อกสินค้าชิ้นส่วนรถยนต์ปรับลดลง หลังเริ่มเห็นคำสั่งซื้อ (ออร์เดอร์) ของประเทศมาเลเซียและจีนที่มีแนวโน้มดีขึ้น
สำหรับปีนี้แนวทางการบริหารงานของAH ท่ามกลางปัญหาเศรษฐกิจที่เกิดขึ้นคงจะเน้นปรับลดค่าใช้จ่ายเช่น การปลดพนักงาน (layoff) จากเดิมที่เคยมีพนักงาน 4,000 คน เหลือ 3,500 คน โดยการลดพนักงานครั้งนี้จะเป็นเฉพาะพนักงานจ้างช่วง (Sub-Contract) เท่านั้น รวมทั้งปรับลดเงินเดือนพนักงานลงทั้งในระดับผู้บริหารและผู้ที่มีเงินได้ตั้งแต่ 5 หมื่นบาทลง เพื่อเป็นการลดต้นทุนการบริหารงานอีกทางหนึ่ง
"เศรษฐกิจแบบนี้สิ่งสำคัญคือการลดค่าใช้จ่ายในการบริหารงานซึ่งการลดเงินเดือนที่เราเป็นการลดของพนักงานทั้งหมดไม่เว้นกระทั่งตัวผมเองในฐานะประธานเจ้าหน้าที่บริหารก็ถูกลดเงินเดือนมไปประมาณ 30 % เช่นเดียวกัน" นายเย็บกล่าว
ทั้งนี้ ประเมินว่ายอดขายในช่วงไตรมาส 3-4 ปี 52 น่าจะออกมาดีกว่ายอดขายในไตรมาส 1-2 ของปีเดียวกัน เพราะมองว่าวิกฤตเศรษฐกิจโลกได้ผ่านจุดต่ำสุดไปแล้ว หลังตัวเลขการเติบโตทางเศรษฐกิจหลายประเทศมีทิศทางติดลบน้อยลง ส่วนผลงานดำเนินงานไตรมาส 2/52 คาดว่าจะมีรายได้ดีกว่าไตรมาส 1/52 ที่ 1.46 พันล้านบาท
อย่างไรก็ตาม ในช่วงที่ผ่านมาบริษัทได้มีการออกผลิตภัณฑ์ใหม่เป็นถังน้ำมันพลาสติกให้กับบริษัทฟอร์ดและอีซูซุ กรอบประตูรถยนต์ (Door Set) และซอฟแวร์แผนที่ระบบนำทางแบบสามมิติ (Power Map) ให้มาร์จิ้นถึง 60-70% ซึ่งสิ่งเหล่านี้น่าจะช่วยรักษาอัตรากำไรขั้นต้น (Gross Profit Margin) ของปี 52 ให้ใกล้เคียงกับปีก่อนที่ 15%
ส่วนกรณีที่บริษัท เจเนอรัลมอเตอร์ หรือ GM ที่กำลังประสบกับภาวะล้มละลายนั้นไม่สงผลกระทบต่อบริษัท เพราะบริษัทมีออเดอร์จาก เจเนอรัลมอเตอร์ ประเทศไทย ไม่ถึง 1% ทั้งนี้ลูกค้าส่วนใหญ่ของบริษัทจะอยู่ในกลุ่มผู้ประกอบการรถยนต์ของประเทศญี่ปุ่นเป็นหลักที่ทำการผลิตในเมืองไทย เช่น โตโยต้า ฮอนด้า มาสด้า อีซูซุ และอื่นๆ
นายเย็บ ซู ชวน ประธานกรรมการและประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท อาปิโก ไฮเทค หรือ AH เปิดเผยว่า ขณะนี้บริษัทปรับเป้ารายได้และกำไรจากเดิมที่จะลดลง 25-30% เหลือเป็นลดลง 20-25 % จากปี 51 ที่มีรายได้ 9.53 พันล้านบาท และกำไรสุทธิที่ 241.35 ล้านบาท ซึ่งดีขึ้นจากก่อนหน้าที่ตั้งไว้ เนื่องจากภาพรวมอุตสาหกรรมรถยนต์เริ่มมีสัญญาณที่ดีขึ้นจากช่วงต้นปี ประกอบกับสต๊อกสินค้าชิ้นส่วนรถยนต์ปรับลดลง หลังเริ่มเห็นคำสั่งซื้อ (ออร์เดอร์) ของประเทศมาเลเซียและจีนที่มีแนวโน้มดีขึ้น
สำหรับปีนี้แนวทางการบริหารงานของAH ท่ามกลางปัญหาเศรษฐกิจที่เกิดขึ้นคงจะเน้นปรับลดค่าใช้จ่ายเช่น การปลดพนักงาน (layoff) จากเดิมที่เคยมีพนักงาน 4,000 คน เหลือ 3,500 คน โดยการลดพนักงานครั้งนี้จะเป็นเฉพาะพนักงานจ้างช่วง (Sub-Contract) เท่านั้น รวมทั้งปรับลดเงินเดือนพนักงานลงทั้งในระดับผู้บริหารและผู้ที่มีเงินได้ตั้งแต่ 5 หมื่นบาทลง เพื่อเป็นการลดต้นทุนการบริหารงานอีกทางหนึ่ง
"เศรษฐกิจแบบนี้สิ่งสำคัญคือการลดค่าใช้จ่ายในการบริหารงานซึ่งการลดเงินเดือนที่เราเป็นการลดของพนักงานทั้งหมดไม่เว้นกระทั่งตัวผมเองในฐานะประธานเจ้าหน้าที่บริหารก็ถูกลดเงินเดือนมไปประมาณ 30 % เช่นเดียวกัน" นายเย็บกล่าว
ทั้งนี้ ประเมินว่ายอดขายในช่วงไตรมาส 3-4 ปี 52 น่าจะออกมาดีกว่ายอดขายในไตรมาส 1-2 ของปีเดียวกัน เพราะมองว่าวิกฤตเศรษฐกิจโลกได้ผ่านจุดต่ำสุดไปแล้ว หลังตัวเลขการเติบโตทางเศรษฐกิจหลายประเทศมีทิศทางติดลบน้อยลง ส่วนผลงานดำเนินงานไตรมาส 2/52 คาดว่าจะมีรายได้ดีกว่าไตรมาส 1/52 ที่ 1.46 พันล้านบาท
อย่างไรก็ตาม ในช่วงที่ผ่านมาบริษัทได้มีการออกผลิตภัณฑ์ใหม่เป็นถังน้ำมันพลาสติกให้กับบริษัทฟอร์ดและอีซูซุ กรอบประตูรถยนต์ (Door Set) และซอฟแวร์แผนที่ระบบนำทางแบบสามมิติ (Power Map) ให้มาร์จิ้นถึง 60-70% ซึ่งสิ่งเหล่านี้น่าจะช่วยรักษาอัตรากำไรขั้นต้น (Gross Profit Margin) ของปี 52 ให้ใกล้เคียงกับปีก่อนที่ 15%
ส่วนกรณีที่บริษัท เจเนอรัลมอเตอร์ หรือ GM ที่กำลังประสบกับภาวะล้มละลายนั้นไม่สงผลกระทบต่อบริษัท เพราะบริษัทมีออเดอร์จาก เจเนอรัลมอเตอร์ ประเทศไทย ไม่ถึง 1% ทั้งนี้ลูกค้าส่วนใหญ่ของบริษัทจะอยู่ในกลุ่มผู้ประกอบการรถยนต์ของประเทศญี่ปุ่นเป็นหลักที่ทำการผลิตในเมืองไทย เช่น โตโยต้า ฮอนด้า มาสด้า อีซูซุ และอื่นๆ