ก.ล.ต. เผยผลประชุมกับสมาคมโบรกเกอร์ ออกมาตรการป้องกันทำทุจริตใช้บัญชีลูกค้าไม่เคลื่อนไหว ยันเปิดเสรีใบอนุญาตธุรกิจหลักทรัพย์-ค่าคอมมิชชัน “ธีระชัย” แย้มอาจปรับปรุงเกณฑ์ที่เป็นอุปสรรคต่อการประกอบธุรกิจเอื้อโบรกเกอร์ ขณะที่ผลงานปี 51 เข้าตรวจสอบคดีทุจริตรวม 86 คดี พร้อมส่งเรื่องกล่าวโทษดีเอสไอแล้ว 3 คดี พร้อมเปรียบเทียบปรับรวม 38 ราย มูลค่ารวม 8.13 ล้านบาท แจ้ง มีรายได้จากเงินลงทุน 122 ล้านบาท ลดลงจากปีก่อน 188 ล้านบาท แต่ยังคงมีกำไร145.56 ล้านบาท
นายธีระชัย ภูวนาถนรานุบาล เลขาธิการ สำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ก.ล.ต.) เปิดเผยถึง ผลการประชุมรายไตรมาสระหว่างสำนักงานก.ล.ต. และสมาคมบริษัทหลักทรัพย์ (บล.) ว่า ที่ประชุมได้พิจารณามาตรการกำกับดูแลทรัพย์สินของลูกค้าที่ไม่มีการเคลื่อนไหว โดยสมาคมบล.ได้ปรับปรุงวิธีการทำงานเพื่อป้องกันการทุจริตในบัญชีลูกค้าที่ไม่มีการเคลื่อนไหว ด้วยการกำหนดแนวปฏิบัติที่รัดกุมแก่สมาชิก เช่น หากบัญชีที่ไม่เคลื่อนไหวจะกลับมาซื้อหรือขายจะต้องได้รับอนุมัติจากผู้บริหารของบริษัทหลักทรัพย์ก่อน เป็นต้น ซึ่งที่ผ่านมาได้รับความร่วมมือจากบริษัทหลักทรัพย์สมาชิกเป็นอย่างดี
สำหรับการนำเสนอผลิตภัณฑ์และการให้บริการทางการเงินรูปแบบใหม่ๆ นั้น ก.ล.ต. ได้นำเสนอให้สมาคมบล. ศึกษาความเป็นไปได้เกี่ยวกับอนุพันธ์ที่อ้างอิงกับอัตราแลกเปลี่ยนเงินตราต่างประเทศ (FX Futures) เพื่อลดความเสี่ยงของการชำระราคาและส่งมอบสัญญาระหว่างคู่สัญญา หากพบความน่าสนใจและมีความเป็นไปได้ ก.ล.ต. จะได้หารือกับธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) ต่อไป
ส่วนการเตรียมความพร้อมสำหรับ ASEAN Capital Market Implementation Plan ก.ล.ต. ได้แจ้งให้สมาคมบล. ทราบว่า รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังอาเซียนได้มีมติเห็นชอบ Implementation Plan ซึ่งแผนดังกล่าวจะช่วยเสริมสร้างศักยภาพให้ตลาดทุนในอาเซียนเทียบเคียงได้กับต่างประเทศ เพื่อให้เป็นทางเลือกที่น่าสนใจในสายตาผู้ลงทุนและผู้ที่ต้องการระดมทุน โดย ก.ล.ต. จะประสานงานกับสมาคมเพื่อการเตรียมตัวรองรับมาตรการดังกล่าว
นอกจากนี้ การกำหนดมาตรฐานการปฏิบัติงานของผู้จัดจำหน่ายหลักทรัพย์ (underwriter) ขณะนี้สมาคมบล. ได้มอบหมายให้ชมรมวาณิชธนกิจศึกษาและจัดทำแนวทางการปฏิบัติงานด้านนี้ให้เหมาะสมเพื่อป้องกันมิให้เกิดปัญหาเช่นที่ผ่านมา เนื่องจากงานจัดจำหน่ายหลักทรัพย์จะเป็นส่วนหนึ่งของข้อตกลงในการรับงานของที่ปรึกษาทางการเงิน ทั้งนี้ คาดว่าจะได้เห็นความคืบหน้าอย่างชัดเจนในการประชุมประจำไตรมาสในครั้งต่อไป
สำหรับความคืบหน้าการดำเนินการเปิดเสรีค่าธรรมเนียมการซื้อขายหลักทรัพย์ (ค่าคอมมิชชัน) และการเปิดเสรีใบอนุญาตประกอบธุรกิจหลักทรัพย์(ไลเซ่นส์) นั้น นายธีระชัย กล่าวว่า ก.ล.ต. ได้รับฟังความเห็นรวมถึงข้อกังวลของสมาคมบล.แล้ว แต่ด้วยภาวการณ์แข่งขันในตลาดทุนทั่วโลก ซึ่งมีผลกระทบมาถึงประเทศไทย จึงจำเป็นที่บล.ต้องปรับตัวเพื่อให้ตลาดทุนไทยสามารถแข่งขันในตลาดโลกในระยะยาวได้ ก.ล.ต. จึงยืนยันที่จะต้องดำเนินการตามแผนการเปิดเสรีฯ ตามกำหนดเวลาเดิม ทั้งนี้ ก.ล.ต. พร้อมที่จะปรับปรุงแก้ไขกฎเกณฑ์ที่ไม่เหมาะสม ซึ่งเป็นอุปสรรคต่อการประกอบธุรกิจหลักทรัพย์
นายกัมปนาท โลหเจริญวนิช นายกสมาคมบริษัทหลักทรัพย์ กล่าวว่า สมาคมบล. ได้นำเสนอ ก.ล.ต. ว่าการเปิดเสรีค่าธรรมเนียมการซื้อขายหลักทรัพย์ในช่วงที่ภาวะตลาดยังไม่ฟื้นตัว อาจมีผลกระทบต่อความอยู่รอดของบริษัทหลักทรัพย์ แต่สมาคมบล. ได้รับฟังเหตุผลความจำเป็นและยอมรับว่าสภาพแวดล้อมการแข่งขันในตลาดทุนโลกและการเชื่อมโยงระหว่างประเทศที่มีมากขึ้นเรื่อยๆ ส่งผลให้ต้องมีการเปิดเสรีและบริษัทหลักทรัพย์ต้องปรับตัว หาวิธีเพิ่มธุรกิจและแหล่งที่มาของรายได้นอกเหนือจากค่าธรรมเนียมการซื้อขายหลักทรัพย์ รวมทั้งแข่งขันกันในด้านพัฒนาสินค้าและบริการให้มากขึ้น ทั้งนี้ ภายใต้กรอบเวลาเปิดเสรีดังกล่าว สมาคมจะทำการศึกษาทางเลือกต่าง ๆ เพื่อจะเสนอให้ ก.ล.ต. เป็นข้อมูลเพิ่มเติมในการกำหนดนโยบายที่เหมาะสมต่อไป
***ก.ล.ต.เผยปี51สอบคดีปันหุ้น 42 ราย
รายงานข่าวจากสำนักงาน ก.ล.ต. แจ้งเพิ่มเติมว่า จากการตรวจสอการกระทำอันไม่เป็นธรรมในการซื้อขายหลักทรัพย์ จากเรื่องที่แจ้งโดยตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย หรือองค์กรภายนอกทั้งในและต่างประเทศ เรื่องร้องเรียนรวมถึงเรื่องที่ที่ตรวจพบจากระบบการเฝ้าระวังสภาพการซื้อขายหลักทรัพย์ในตลาดหลักทรัพย์ฯ ในระหว่างปี 2551 ก.ล.ต.ได้ดำเนินการตรวจสอบ 86 คดี ประกอบด้วย คดีการสร้างราคาหุ้น 42 คดี คดีใช้ข้อมูลภายใน 14 คดี คดีผู้บริหารบริษัทจดทะเบียนกระทำความผิด 13 บริษัท การประกอบธุรกิจซื้อขายล่วงหน้าไม่ได้รับอนุญาต 14 บริษัท และการรายงานการถือครองหลักทรัพย์ 3 คดี
จากการเข้าตรวจสอบดังกล่าว ก.ล.ต.สามารถได้ยุติการตรวจสอบแล้ว 34 กรณี โดยมีการส่งเรื่องกล่าวโทษต่อกรมสอบสวนคดีพิเศษ (ดีเอสไอ) 3 กรณี กล่าวโทษต่อกองบังคับการปราบปรามอาชญากรรมทางเศรษฐกิจและเทคโนโลยี 5 กรณี เสนอเรื่องให้คณะกรรมการเปรียบเทียบพิจารณาแล้ว 1 กรณี และเตรียมเสนอให้คณะกรรมการเปรียบเทียบพิจารณาอีก 6 กรณี
สำหรับกรณีทุจริตในบริษัท เอส.อี.ซี .ออโต้เซลล์ แอนด์ เซอร์วิส จำกัด (มหาชน) หรือ SECC ผู้บริหารได้ยักยอกทรัพย์สินออกจากบริษัทมูลค่า 1,400 ล้านบาท ซึ่งสร้างความเสียหายอย่างมากแก่บริษัท ผู้ลงทุนและผู้เกี่ยวข้องในวงกว้าง ก.ล.ต.จึงได้เร่งดำเนินการตรวจสอบและได้กล่าวโทษอดีตผู้บริหารบจ.กับพวกอีก 4 ราย ขณะเดียวกัน ก.ล.ต.ได้ร่วมมือหน่วยงานต่างประเทศ ซึ่งในปี 2551 ก.ล.ต.ให้ความช่วยเหลือสนับสนุนด้านข้อมูลการตรวจสอบการกระทำความผิด ซึ่งรวมถึงการตรวจสอบเกี่ยวกับการประกอบธุรกิจหลักทรัพย์โดยไม่ได้รับอนุญาตต่อหน่วยงานกำกับดูแลต่างประเทศรวม 20 กรณี และให้ข้อมูลการตรวจสอบต่อผู้ร้องเรียนต่างประเทศในเรื่องการประกอบธุรกิจหลักทรัพย์ไม่ได้รับอนุญาตอีก 2 กรณี
ส่วนการดำเนินคดีอาญาในปี 2551 ก.ล.ต.ได้ส่งเรื่องการกระทำความผิดที่สามารถเปรียบเทียบได้เข้าสู่กระบวนการพิจารณาเปรียบเทียบของคณะกรรมการเปรียบเทียบปรับรวม 38 ราย คิดเป็นเงินค่าปรับ 8.13 ล้านบาท นอกจากนี้การดำเนินการกล่าวโทษของ ก.ล.ต.ต่อพนักงานสอบสวนในปีก่อน เมื่อถึงการพิจารณาในชั้นศาลแล้ว ศาลได้มีคำพิพาษาในปี 2551 จำนวน 6 คดี
นอกจากนี้ ในปี 2551 ก.ล.ต. มีรายได้รวม 744.3 ล้านบาท ลดลงจากปี 2550 รายได้รวม 793.76 ล้านบาท โดยรายได้หลักมาจากค่าธรรมเนียม 445.8 ล้านบาท รายได้จากการให้บริการข้อมูล 3.75 แสนบาท รายได้ดอกเบี้ยเงินฝากธนาคาร 3.69 แสนบาท และรายได้จากเงินลงทุนจำนวน 122 .78 ล้านบาท (ลดลงจากปีก่อนที่ 188.19 ล้านบาท) รายได้เงินอุดหนุนจากตลาดหลักทรัพย์ฯ 170.87 ล้านบาท และรายได้อื่นๆ 4.06 ล้านบาท ขณะที่รายจ่ายรวม 595.2 ล้านบาท ส่งผลทำให้ก.ล.ต.มีรายได้สูงกว่าค่าใช้จ่าย 145.56 ล้านบาท
นายธีระชัย ภูวนาถนรานุบาล เลขาธิการ สำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ก.ล.ต.) เปิดเผยถึง ผลการประชุมรายไตรมาสระหว่างสำนักงานก.ล.ต. และสมาคมบริษัทหลักทรัพย์ (บล.) ว่า ที่ประชุมได้พิจารณามาตรการกำกับดูแลทรัพย์สินของลูกค้าที่ไม่มีการเคลื่อนไหว โดยสมาคมบล.ได้ปรับปรุงวิธีการทำงานเพื่อป้องกันการทุจริตในบัญชีลูกค้าที่ไม่มีการเคลื่อนไหว ด้วยการกำหนดแนวปฏิบัติที่รัดกุมแก่สมาชิก เช่น หากบัญชีที่ไม่เคลื่อนไหวจะกลับมาซื้อหรือขายจะต้องได้รับอนุมัติจากผู้บริหารของบริษัทหลักทรัพย์ก่อน เป็นต้น ซึ่งที่ผ่านมาได้รับความร่วมมือจากบริษัทหลักทรัพย์สมาชิกเป็นอย่างดี
สำหรับการนำเสนอผลิตภัณฑ์และการให้บริการทางการเงินรูปแบบใหม่ๆ นั้น ก.ล.ต. ได้นำเสนอให้สมาคมบล. ศึกษาความเป็นไปได้เกี่ยวกับอนุพันธ์ที่อ้างอิงกับอัตราแลกเปลี่ยนเงินตราต่างประเทศ (FX Futures) เพื่อลดความเสี่ยงของการชำระราคาและส่งมอบสัญญาระหว่างคู่สัญญา หากพบความน่าสนใจและมีความเป็นไปได้ ก.ล.ต. จะได้หารือกับธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) ต่อไป
ส่วนการเตรียมความพร้อมสำหรับ ASEAN Capital Market Implementation Plan ก.ล.ต. ได้แจ้งให้สมาคมบล. ทราบว่า รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังอาเซียนได้มีมติเห็นชอบ Implementation Plan ซึ่งแผนดังกล่าวจะช่วยเสริมสร้างศักยภาพให้ตลาดทุนในอาเซียนเทียบเคียงได้กับต่างประเทศ เพื่อให้เป็นทางเลือกที่น่าสนใจในสายตาผู้ลงทุนและผู้ที่ต้องการระดมทุน โดย ก.ล.ต. จะประสานงานกับสมาคมเพื่อการเตรียมตัวรองรับมาตรการดังกล่าว
นอกจากนี้ การกำหนดมาตรฐานการปฏิบัติงานของผู้จัดจำหน่ายหลักทรัพย์ (underwriter) ขณะนี้สมาคมบล. ได้มอบหมายให้ชมรมวาณิชธนกิจศึกษาและจัดทำแนวทางการปฏิบัติงานด้านนี้ให้เหมาะสมเพื่อป้องกันมิให้เกิดปัญหาเช่นที่ผ่านมา เนื่องจากงานจัดจำหน่ายหลักทรัพย์จะเป็นส่วนหนึ่งของข้อตกลงในการรับงานของที่ปรึกษาทางการเงิน ทั้งนี้ คาดว่าจะได้เห็นความคืบหน้าอย่างชัดเจนในการประชุมประจำไตรมาสในครั้งต่อไป
สำหรับความคืบหน้าการดำเนินการเปิดเสรีค่าธรรมเนียมการซื้อขายหลักทรัพย์ (ค่าคอมมิชชัน) และการเปิดเสรีใบอนุญาตประกอบธุรกิจหลักทรัพย์(ไลเซ่นส์) นั้น นายธีระชัย กล่าวว่า ก.ล.ต. ได้รับฟังความเห็นรวมถึงข้อกังวลของสมาคมบล.แล้ว แต่ด้วยภาวการณ์แข่งขันในตลาดทุนทั่วโลก ซึ่งมีผลกระทบมาถึงประเทศไทย จึงจำเป็นที่บล.ต้องปรับตัวเพื่อให้ตลาดทุนไทยสามารถแข่งขันในตลาดโลกในระยะยาวได้ ก.ล.ต. จึงยืนยันที่จะต้องดำเนินการตามแผนการเปิดเสรีฯ ตามกำหนดเวลาเดิม ทั้งนี้ ก.ล.ต. พร้อมที่จะปรับปรุงแก้ไขกฎเกณฑ์ที่ไม่เหมาะสม ซึ่งเป็นอุปสรรคต่อการประกอบธุรกิจหลักทรัพย์
นายกัมปนาท โลหเจริญวนิช นายกสมาคมบริษัทหลักทรัพย์ กล่าวว่า สมาคมบล. ได้นำเสนอ ก.ล.ต. ว่าการเปิดเสรีค่าธรรมเนียมการซื้อขายหลักทรัพย์ในช่วงที่ภาวะตลาดยังไม่ฟื้นตัว อาจมีผลกระทบต่อความอยู่รอดของบริษัทหลักทรัพย์ แต่สมาคมบล. ได้รับฟังเหตุผลความจำเป็นและยอมรับว่าสภาพแวดล้อมการแข่งขันในตลาดทุนโลกและการเชื่อมโยงระหว่างประเทศที่มีมากขึ้นเรื่อยๆ ส่งผลให้ต้องมีการเปิดเสรีและบริษัทหลักทรัพย์ต้องปรับตัว หาวิธีเพิ่มธุรกิจและแหล่งที่มาของรายได้นอกเหนือจากค่าธรรมเนียมการซื้อขายหลักทรัพย์ รวมทั้งแข่งขันกันในด้านพัฒนาสินค้าและบริการให้มากขึ้น ทั้งนี้ ภายใต้กรอบเวลาเปิดเสรีดังกล่าว สมาคมจะทำการศึกษาทางเลือกต่าง ๆ เพื่อจะเสนอให้ ก.ล.ต. เป็นข้อมูลเพิ่มเติมในการกำหนดนโยบายที่เหมาะสมต่อไป
***ก.ล.ต.เผยปี51สอบคดีปันหุ้น 42 ราย
รายงานข่าวจากสำนักงาน ก.ล.ต. แจ้งเพิ่มเติมว่า จากการตรวจสอการกระทำอันไม่เป็นธรรมในการซื้อขายหลักทรัพย์ จากเรื่องที่แจ้งโดยตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย หรือองค์กรภายนอกทั้งในและต่างประเทศ เรื่องร้องเรียนรวมถึงเรื่องที่ที่ตรวจพบจากระบบการเฝ้าระวังสภาพการซื้อขายหลักทรัพย์ในตลาดหลักทรัพย์ฯ ในระหว่างปี 2551 ก.ล.ต.ได้ดำเนินการตรวจสอบ 86 คดี ประกอบด้วย คดีการสร้างราคาหุ้น 42 คดี คดีใช้ข้อมูลภายใน 14 คดี คดีผู้บริหารบริษัทจดทะเบียนกระทำความผิด 13 บริษัท การประกอบธุรกิจซื้อขายล่วงหน้าไม่ได้รับอนุญาต 14 บริษัท และการรายงานการถือครองหลักทรัพย์ 3 คดี
จากการเข้าตรวจสอบดังกล่าว ก.ล.ต.สามารถได้ยุติการตรวจสอบแล้ว 34 กรณี โดยมีการส่งเรื่องกล่าวโทษต่อกรมสอบสวนคดีพิเศษ (ดีเอสไอ) 3 กรณี กล่าวโทษต่อกองบังคับการปราบปรามอาชญากรรมทางเศรษฐกิจและเทคโนโลยี 5 กรณี เสนอเรื่องให้คณะกรรมการเปรียบเทียบพิจารณาแล้ว 1 กรณี และเตรียมเสนอให้คณะกรรมการเปรียบเทียบพิจารณาอีก 6 กรณี
สำหรับกรณีทุจริตในบริษัท เอส.อี.ซี .ออโต้เซลล์ แอนด์ เซอร์วิส จำกัด (มหาชน) หรือ SECC ผู้บริหารได้ยักยอกทรัพย์สินออกจากบริษัทมูลค่า 1,400 ล้านบาท ซึ่งสร้างความเสียหายอย่างมากแก่บริษัท ผู้ลงทุนและผู้เกี่ยวข้องในวงกว้าง ก.ล.ต.จึงได้เร่งดำเนินการตรวจสอบและได้กล่าวโทษอดีตผู้บริหารบจ.กับพวกอีก 4 ราย ขณะเดียวกัน ก.ล.ต.ได้ร่วมมือหน่วยงานต่างประเทศ ซึ่งในปี 2551 ก.ล.ต.ให้ความช่วยเหลือสนับสนุนด้านข้อมูลการตรวจสอบการกระทำความผิด ซึ่งรวมถึงการตรวจสอบเกี่ยวกับการประกอบธุรกิจหลักทรัพย์โดยไม่ได้รับอนุญาตต่อหน่วยงานกำกับดูแลต่างประเทศรวม 20 กรณี และให้ข้อมูลการตรวจสอบต่อผู้ร้องเรียนต่างประเทศในเรื่องการประกอบธุรกิจหลักทรัพย์ไม่ได้รับอนุญาตอีก 2 กรณี
ส่วนการดำเนินคดีอาญาในปี 2551 ก.ล.ต.ได้ส่งเรื่องการกระทำความผิดที่สามารถเปรียบเทียบได้เข้าสู่กระบวนการพิจารณาเปรียบเทียบของคณะกรรมการเปรียบเทียบปรับรวม 38 ราย คิดเป็นเงินค่าปรับ 8.13 ล้านบาท นอกจากนี้การดำเนินการกล่าวโทษของ ก.ล.ต.ต่อพนักงานสอบสวนในปีก่อน เมื่อถึงการพิจารณาในชั้นศาลแล้ว ศาลได้มีคำพิพาษาในปี 2551 จำนวน 6 คดี
นอกจากนี้ ในปี 2551 ก.ล.ต. มีรายได้รวม 744.3 ล้านบาท ลดลงจากปี 2550 รายได้รวม 793.76 ล้านบาท โดยรายได้หลักมาจากค่าธรรมเนียม 445.8 ล้านบาท รายได้จากการให้บริการข้อมูล 3.75 แสนบาท รายได้ดอกเบี้ยเงินฝากธนาคาร 3.69 แสนบาท และรายได้จากเงินลงทุนจำนวน 122 .78 ล้านบาท (ลดลงจากปีก่อนที่ 188.19 ล้านบาท) รายได้เงินอุดหนุนจากตลาดหลักทรัพย์ฯ 170.87 ล้านบาท และรายได้อื่นๆ 4.06 ล้านบาท ขณะที่รายจ่ายรวม 595.2 ล้านบาท ส่งผลทำให้ก.ล.ต.มีรายได้สูงกว่าค่าใช้จ่าย 145.56 ล้านบาท