กลุ่มทุนโอมานโรดโชว์ในเอเชีย หวังดึงนักลงทุนร่วมลงทุน เผยเตรียมจีบรับเหมารายใหญ่ของไทยทั้งอิตัลไทย ช.การช่าง ซิโน-ไทยเข้ารับงานก่อสร้าง ยอมรับวิกฤตเศรษฐกิจกระทบตลาดอสังหาฯในโอมาน
นาย Ishak Jilani ประธานบริษัท ซิมราน กรุ๊ป (Simran Group) เจ้าของธุรกิจอสังหาริมทรัพย์และรับเหมาก่อสร้างในประเทศโอมาน กล่าวว่า การเดินทางเข้ามายังประเทศไทยครั้งนี้ ก็เพื่อจุดมุ่งหมายในการเชิญชวนนักธุรกิจของไทยไปลงทุน หรือร่วมเป็นพันธมิตรทางธุรกิจ(โรดโชว์) เนื่องจากประเทศโอมานกำลังเข้าสู่การขยายตัวทางเศรษฐกิจ เริ่มขยายการก่อสร้างในโครงการขนาดใหญ่ ซึ่งเรามองว่าบริษัทรับเหมาก่อสร้างของไทยขนาดใหญ่มีศักยภาพ เช่น บริษัท อิตาเลียนไทย ดีเวล๊อปเมนต์ จำกัด (มหาชน), บริษัท ช.การช่าง จำกัด (มหาชน) และบริษัท ซิโน-ไทย เอ็นจีเนียริ่ง แอนด์ คอนสตรัคชั่น จำกัด (มหาชน) ซึ่งบริษัทรับเหมาก่อสร้างเหล่านี้ ทางบริษัทฯคงจะหาโอกาสเข้าไปเจรจาเพื่อชักชวนเข้ามาร่วมลงทุนในโอมาน
นอกจากนี้ ทางบริษัทฯยังมีโครงการไฮเปอร์มาร์เก็ตภายใต้ชื่อ " RAMEZ " มี 2 อาคาร ซึ่งกำลังมองธุรกิจที่น่าจะสามารถมาร่วมมือกันในการนำสินค้าเสนอให้แก่ลูกค้า เช่น สินค้าที่เกี่ยวเนื่องกับวัสดุก่อสร้างอย่างเช่น ไม้ฝา กระเบื้อง และสินค้าภาคการเกษตร
"ประเด็นเรื่องเงินไม่ใช่เรื่องใหญ่ เพราะเรามีเงินเยอะแล้ว แต่เรายังขาดเรื่องเครือข่าย ซึ่งน่าจะเข้ามาร่วมมือกันได้ ซึ่งในเรื่องของภาษีนั้น ทางรัฐบาลมิได้มีการจัดเก็บ แต่จะมีการกำหนดประเภทของธุรกิจ ขนาดของธุรกิจ เพื่อกำหนดเป็นค่าฟีที่จะจ่ายให้แก่รัฐบาล ขณะที่ของไทยนั้น มีเรื่องภาษีที่สูง เช่น 30% ของกำไรสุทธิ มีภาษีมูลค่าเพิ่ม 7% "นาย Ishak กล่าว อนึ่ง บริษัท ซิมราน กรุ๊ป มีประสบการณ์ในธุรกิจรับเหมาก่อสร้าง ธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ เช่น โรงแรม ที่อยู่อาศัยในโอมานมานาน โดยรายได้ของกลุ่มจะมีตัวเลขประมาณ 200 ล้านเหรียญสหรัฐฯต่อปี
นาย Ishak กล่าวถึงผลกระทบจากวิกฤตเศรษฐกิจโลกที่เกิดขึ้นนั้นว่า มีผลต่อตลาดอสังหาริมทรัพย์ในโอมาน คาดว่าจะเติบโตลดลง5-10% แต่เป็นปัญหาในช่วงสั้น เนื่องจากเริ่มเห็นสัญญาณของนักลงทุนในประเทศดูไบเคลื่อนเข้ามาลงทุนในโอมานมากขึ้น เนื่องจากต้นทุนค่อนข้างต่ำเมื่อเทียบกับค่าใช้จ่ายในประเทศดูไบ เช่น ค่าเช่าอาคารสำนักงานในโอมานถูกกว่า 70% เป็นต้น
สำหรับประเทศโอมานมีขนาดใหญ่เป็นอันดับ 2 รองจากประเทศซาอุดิอารเบียของกลุ่มประเทศอาหรับ โดยโครงสร้างทางเศรษฐกิจของโอมาน ซึ่งเป็นตัวเลข ณ ปี 2549 พบว่ารายได้หลักมาจากธุรกิจน้ำมันและแก๊ส คิดเป็น48.8% ของจีดีพี รองลงมาเป็นธุรกิจบริการ 39% ของจีดีพี อุตสาหกรรม 12.2% ของจีดีพี และอื่นๆ 1%โดยการลงทุนในโครงการต่างๆ รัฐบาลจะเป็นผู้ดำเนินการ ทั้งนี้ โครงการขนาดใหญ่ที่อยู่ในแผนของการลงทุน ได้แก่ การก่อสร้างสนามบินระดับภูมิภาคเพิ่มขึ้น 6 แห่งในปี 2551 ขณะเดียวกัน ทางรัฐบาลโอมานมีนโยบายเร่งขยายตลาดการท่องเที่ยว โดยเน้นการพัฒนาแหล่งท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์ธรรมชาติ วัฒนธรรม และแบบผจญภัย
โดยในส่วนของตลาดการก่อสร้างที่สำคัญ มีทั้ง การก่อสร้างที่อยู่อาศัย การก่อสร้างที่เกี่ยวข้องกับการท่องเที่ยว การก่อส้างในความรับผิดชอบของสำนักพระราชวัง เช่น โครงการ Royal Opera House มูลค่า 1,800 ล้านบาท และการก่อสร้างพระราชวัง Bij Palace มูลค่าประมาณ 8,000 ล้านบาท เป็นต้น
นาย Ishak Jilani ประธานบริษัท ซิมราน กรุ๊ป (Simran Group) เจ้าของธุรกิจอสังหาริมทรัพย์และรับเหมาก่อสร้างในประเทศโอมาน กล่าวว่า การเดินทางเข้ามายังประเทศไทยครั้งนี้ ก็เพื่อจุดมุ่งหมายในการเชิญชวนนักธุรกิจของไทยไปลงทุน หรือร่วมเป็นพันธมิตรทางธุรกิจ(โรดโชว์) เนื่องจากประเทศโอมานกำลังเข้าสู่การขยายตัวทางเศรษฐกิจ เริ่มขยายการก่อสร้างในโครงการขนาดใหญ่ ซึ่งเรามองว่าบริษัทรับเหมาก่อสร้างของไทยขนาดใหญ่มีศักยภาพ เช่น บริษัท อิตาเลียนไทย ดีเวล๊อปเมนต์ จำกัด (มหาชน), บริษัท ช.การช่าง จำกัด (มหาชน) และบริษัท ซิโน-ไทย เอ็นจีเนียริ่ง แอนด์ คอนสตรัคชั่น จำกัด (มหาชน) ซึ่งบริษัทรับเหมาก่อสร้างเหล่านี้ ทางบริษัทฯคงจะหาโอกาสเข้าไปเจรจาเพื่อชักชวนเข้ามาร่วมลงทุนในโอมาน
นอกจากนี้ ทางบริษัทฯยังมีโครงการไฮเปอร์มาร์เก็ตภายใต้ชื่อ " RAMEZ " มี 2 อาคาร ซึ่งกำลังมองธุรกิจที่น่าจะสามารถมาร่วมมือกันในการนำสินค้าเสนอให้แก่ลูกค้า เช่น สินค้าที่เกี่ยวเนื่องกับวัสดุก่อสร้างอย่างเช่น ไม้ฝา กระเบื้อง และสินค้าภาคการเกษตร
"ประเด็นเรื่องเงินไม่ใช่เรื่องใหญ่ เพราะเรามีเงินเยอะแล้ว แต่เรายังขาดเรื่องเครือข่าย ซึ่งน่าจะเข้ามาร่วมมือกันได้ ซึ่งในเรื่องของภาษีนั้น ทางรัฐบาลมิได้มีการจัดเก็บ แต่จะมีการกำหนดประเภทของธุรกิจ ขนาดของธุรกิจ เพื่อกำหนดเป็นค่าฟีที่จะจ่ายให้แก่รัฐบาล ขณะที่ของไทยนั้น มีเรื่องภาษีที่สูง เช่น 30% ของกำไรสุทธิ มีภาษีมูลค่าเพิ่ม 7% "นาย Ishak กล่าว อนึ่ง บริษัท ซิมราน กรุ๊ป มีประสบการณ์ในธุรกิจรับเหมาก่อสร้าง ธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ เช่น โรงแรม ที่อยู่อาศัยในโอมานมานาน โดยรายได้ของกลุ่มจะมีตัวเลขประมาณ 200 ล้านเหรียญสหรัฐฯต่อปี
นาย Ishak กล่าวถึงผลกระทบจากวิกฤตเศรษฐกิจโลกที่เกิดขึ้นนั้นว่า มีผลต่อตลาดอสังหาริมทรัพย์ในโอมาน คาดว่าจะเติบโตลดลง5-10% แต่เป็นปัญหาในช่วงสั้น เนื่องจากเริ่มเห็นสัญญาณของนักลงทุนในประเทศดูไบเคลื่อนเข้ามาลงทุนในโอมานมากขึ้น เนื่องจากต้นทุนค่อนข้างต่ำเมื่อเทียบกับค่าใช้จ่ายในประเทศดูไบ เช่น ค่าเช่าอาคารสำนักงานในโอมานถูกกว่า 70% เป็นต้น
สำหรับประเทศโอมานมีขนาดใหญ่เป็นอันดับ 2 รองจากประเทศซาอุดิอารเบียของกลุ่มประเทศอาหรับ โดยโครงสร้างทางเศรษฐกิจของโอมาน ซึ่งเป็นตัวเลข ณ ปี 2549 พบว่ารายได้หลักมาจากธุรกิจน้ำมันและแก๊ส คิดเป็น48.8% ของจีดีพี รองลงมาเป็นธุรกิจบริการ 39% ของจีดีพี อุตสาหกรรม 12.2% ของจีดีพี และอื่นๆ 1%โดยการลงทุนในโครงการต่างๆ รัฐบาลจะเป็นผู้ดำเนินการ ทั้งนี้ โครงการขนาดใหญ่ที่อยู่ในแผนของการลงทุน ได้แก่ การก่อสร้างสนามบินระดับภูมิภาคเพิ่มขึ้น 6 แห่งในปี 2551 ขณะเดียวกัน ทางรัฐบาลโอมานมีนโยบายเร่งขยายตลาดการท่องเที่ยว โดยเน้นการพัฒนาแหล่งท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์ธรรมชาติ วัฒนธรรม และแบบผจญภัย
โดยในส่วนของตลาดการก่อสร้างที่สำคัญ มีทั้ง การก่อสร้างที่อยู่อาศัย การก่อสร้างที่เกี่ยวข้องกับการท่องเที่ยว การก่อส้างในความรับผิดชอบของสำนักพระราชวัง เช่น โครงการ Royal Opera House มูลค่า 1,800 ล้านบาท และการก่อสร้างพระราชวัง Bij Palace มูลค่าประมาณ 8,000 ล้านบาท เป็นต้น