พันธุ์สุกรไทย-เดนมาร์ค แต่งตั้งผู้สอบบัญชี เผยหลังราคาสุกรผันผวนและต้นทุนอาหารเพิ่ม บริษัทลดปริมาณการเลี้ยงสุกร เนื่องจากประสบภาวะขาดทุน ส่งผลให้บริษัทไม่อาจชำระหนี้ได้ตามแผน จึงแก้ไขแผนและขณะนี้อยู่ระหว่างตกลงเงื่อนไขการชำระหนี้กับเจ้าหนี้ คาดยื่นเสนอแก้ไขแผนได้เมษายนนี้
นายอนันต์ จันทรานุกูล กรรมการผู้จัดการ บริษัท พันธุ์สุกรไทย-เดนมาร์ค จำกัด (มหาชน) ( D-MARK ) ได้ยื่นขอฟื้นฟูกิจการ โดยศาลล้มละลายกลางได้มีคำสั่งให้ฟื้นฟูกิจการ เมื่อวันที่ 26 กรกฎาคม 48 และไม่แต่งตั้งผู้สอบบัญชี ประจำปี 49 บริษัทฯ ซึ่งเป็นผู้บริหารแผนฯ แต่งตั้งผู้สอบบัญชีดังนี้ คือนางวิไลรัตน์ โรจน์นครินทร์ ผู้สอบบัญชี จากสำนักงาน ดีไอเอ เป็นผู้สอบบัญชีประจำปี 49 นายจำรัส ปิงคลาศัย ผู้สอบบัญชี จากบริษัท จำรัส ซีพีเอ จำกัด เป็นผู้สอบบัญชีประจำปี 50 และนายจำรัส ปิงคลาศัย ผู้สอบบัญชี จากบริษัท จำรัส ซีพีเอ จำกัด เป็นผู้สอบบัญชีประจำปี 51
โดยบอร์ดรายงานความคืบหน้าฟื้นฟูกิจการ เนื่องจากภาวะราคาสุกรผันผวนและต้นทุนวัตถุดิบอาหารสัตว์ ปรับตัวขึ้นสูง ช่วงปี 50-51 และบริษัทลดปริมาณเลี้ยงสุกรลงในช่วงเวลาดังกล่าว เนื่องจากบริษัทฯประสบกับภาวะขาดสภาพคล่องจากต้นทุนวัตถุดิบอาหารสัตว์ที่ปรับตัวสูงขึ้น ส่งผลให้ไม่สามารถจ่ายชำระหนี้ ได้ตามแผนฯ ผู้บริหารแผนจึงขอแก้ไขแผนฯ ต่อเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ ขณะนี้อยู่ระหว่างตกลงเงื่อนไขการชำระหนี้กับเจ้าหนี้ คาดสามารถยื่นเสนอขอแก้ไขแผนภายเดือนเมษายน 52 นี้
พร้อมกับแจ้งผลงานงวดสิ้นปี 51 พบว่ามีรายได้ขาย 241.76 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 7.89% จากงวดเดียวกันของปีก่อนที่มีกำไรสุทธิ 223.39 ล้านบาท แต่มีผลขาดทุนสุทธิ 183.99 ล้านบาท ลดจากปี 50 ที่มีผลขาดทุนสุทธิ 214.62 ล้านบาท เนื่องจากการผลิตสุกรลดลง แต่ปี 51 ราคาสุกรมีชีวิตปรับตัวสูงกว่าปีก่อน บริษัทฯ จึงมีรายได้จากการขายเพิ่มขึ้น แต่วิกฤติการณ์ราคาน้ำมัน บางส่วนส่งผลกระทบทำให้ วัตถุดิบอาหารสัตว์ จำพวก ข้าวโพด และมันสำปะหลังขาดแคลน เนื่องจากถูกนำไปใช้ผลิตเป็นพลังงานทดแทน
ส่งผลให้ ในปี 51 บริษัทฯจึงยังมีต้นทุนการผลิตสูง และในปี 51 บริษัทฯได้บันทึกผลขาดทุนจากการด้อยค่าอาคารเล้าสุกร และสิ่งปลูกสร้าง และในปี 51 บริษัทฯได้บันทึกผลขาดทุนจากการด้อยค่าอาคารเล้าสุกร และสิ่งปลูกสร้าง เป็นเงิน 129.85 ล้านบาท เป็นค่าใช้จ่ายในปีนี้
ขณะที่บริษัทมีต้นทุนขาย 272.76 ล้านบาท ลดลงจากงวดเดียวกันของปี 50 ที่มี 354.22 ล้านบาท และขาดทุนขั้นต้น 31.74 ล้านบาท ลดลงจากปีก่อนที่ขาดทุนขั้นต้น 130.83 ล้านบาท
ล่าสุด ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย(ตลท.) แจ้งว่าคุณสมบัติของผู้ดำรงตำแหน่งกรรมการ และกรรมการผู้มีอำนาจ 2 รายคือนายอนันต์ จันทรานุกูล และนางจารุวรรณ จันทรานุกูล มีลักษณะต้องห้ามตามข้อ 3 (1) แห่งประกาศ กลต.ที่ กจ.5/2548 ปัจจุบัน ยังดำรงตำแหน่งเป็นกรรมการในบริษัทฯ นั้น จะมีผลต่อการดำรงสถานะเป็นบริษัทจดทะเบียนของบริษัทฯและอาจเป็นเหตุเพิ่มเติมให้หุ้นสามัญของบริษัทฯอาจถูกเพิกถอนจากการเป็นหลักทรัพย์จดทะเบียนได้ ซึ่งบริษัทได้ยืดเวลาการสรรหาเป็นภายในปี 52
เนื่องจาก ภาวะปัจจุบันนี้ทำได้ยาก เพราะธุรกิจปศุสัตว์ฟาร์ม (Agro Indrstry) เป็นธุรกิจเฉพาะที่จำเป็นต้องใช้ทักษะ และประสบการณ์สูงมากและผู้บริหารธุรกิจนี้หายากมาก ขณะวิกฤตโลกที่เกิดขึ้นผู้บริหารต่างไม่ต้องการเปลี่ยนงาน ส่วนกรรมการทั้งสองที่กล่าวถึงได้ถูกคำสั่งศาลให้พิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาดนั้น เหตุมิได้เกิดขึ้นเพราะหนี้สินส่วนตน แต่เกิดจากภาระการเป็นผู้ค้ำประกันหนี้สินและเงินกู้ของบริษัทอื่นที่ถูกฟ้องร้อง ซึ่งเป็นนิติกรรมที่ทำมาตั้งแต่อดีต ซึ่งบริษัทตระหนักถึงกฎระเบียบและเงื่อนไขของ ตลท. อย่างจริงจัง
นายอนันต์ จันทรานุกูล กรรมการผู้จัดการ บริษัท พันธุ์สุกรไทย-เดนมาร์ค จำกัด (มหาชน) ( D-MARK ) ได้ยื่นขอฟื้นฟูกิจการ โดยศาลล้มละลายกลางได้มีคำสั่งให้ฟื้นฟูกิจการ เมื่อวันที่ 26 กรกฎาคม 48 และไม่แต่งตั้งผู้สอบบัญชี ประจำปี 49 บริษัทฯ ซึ่งเป็นผู้บริหารแผนฯ แต่งตั้งผู้สอบบัญชีดังนี้ คือนางวิไลรัตน์ โรจน์นครินทร์ ผู้สอบบัญชี จากสำนักงาน ดีไอเอ เป็นผู้สอบบัญชีประจำปี 49 นายจำรัส ปิงคลาศัย ผู้สอบบัญชี จากบริษัท จำรัส ซีพีเอ จำกัด เป็นผู้สอบบัญชีประจำปี 50 และนายจำรัส ปิงคลาศัย ผู้สอบบัญชี จากบริษัท จำรัส ซีพีเอ จำกัด เป็นผู้สอบบัญชีประจำปี 51
โดยบอร์ดรายงานความคืบหน้าฟื้นฟูกิจการ เนื่องจากภาวะราคาสุกรผันผวนและต้นทุนวัตถุดิบอาหารสัตว์ ปรับตัวขึ้นสูง ช่วงปี 50-51 และบริษัทลดปริมาณเลี้ยงสุกรลงในช่วงเวลาดังกล่าว เนื่องจากบริษัทฯประสบกับภาวะขาดสภาพคล่องจากต้นทุนวัตถุดิบอาหารสัตว์ที่ปรับตัวสูงขึ้น ส่งผลให้ไม่สามารถจ่ายชำระหนี้ ได้ตามแผนฯ ผู้บริหารแผนจึงขอแก้ไขแผนฯ ต่อเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ ขณะนี้อยู่ระหว่างตกลงเงื่อนไขการชำระหนี้กับเจ้าหนี้ คาดสามารถยื่นเสนอขอแก้ไขแผนภายเดือนเมษายน 52 นี้
พร้อมกับแจ้งผลงานงวดสิ้นปี 51 พบว่ามีรายได้ขาย 241.76 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 7.89% จากงวดเดียวกันของปีก่อนที่มีกำไรสุทธิ 223.39 ล้านบาท แต่มีผลขาดทุนสุทธิ 183.99 ล้านบาท ลดจากปี 50 ที่มีผลขาดทุนสุทธิ 214.62 ล้านบาท เนื่องจากการผลิตสุกรลดลง แต่ปี 51 ราคาสุกรมีชีวิตปรับตัวสูงกว่าปีก่อน บริษัทฯ จึงมีรายได้จากการขายเพิ่มขึ้น แต่วิกฤติการณ์ราคาน้ำมัน บางส่วนส่งผลกระทบทำให้ วัตถุดิบอาหารสัตว์ จำพวก ข้าวโพด และมันสำปะหลังขาดแคลน เนื่องจากถูกนำไปใช้ผลิตเป็นพลังงานทดแทน
ส่งผลให้ ในปี 51 บริษัทฯจึงยังมีต้นทุนการผลิตสูง และในปี 51 บริษัทฯได้บันทึกผลขาดทุนจากการด้อยค่าอาคารเล้าสุกร และสิ่งปลูกสร้าง และในปี 51 บริษัทฯได้บันทึกผลขาดทุนจากการด้อยค่าอาคารเล้าสุกร และสิ่งปลูกสร้าง เป็นเงิน 129.85 ล้านบาท เป็นค่าใช้จ่ายในปีนี้
ขณะที่บริษัทมีต้นทุนขาย 272.76 ล้านบาท ลดลงจากงวดเดียวกันของปี 50 ที่มี 354.22 ล้านบาท และขาดทุนขั้นต้น 31.74 ล้านบาท ลดลงจากปีก่อนที่ขาดทุนขั้นต้น 130.83 ล้านบาท
ล่าสุด ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย(ตลท.) แจ้งว่าคุณสมบัติของผู้ดำรงตำแหน่งกรรมการ และกรรมการผู้มีอำนาจ 2 รายคือนายอนันต์ จันทรานุกูล และนางจารุวรรณ จันทรานุกูล มีลักษณะต้องห้ามตามข้อ 3 (1) แห่งประกาศ กลต.ที่ กจ.5/2548 ปัจจุบัน ยังดำรงตำแหน่งเป็นกรรมการในบริษัทฯ นั้น จะมีผลต่อการดำรงสถานะเป็นบริษัทจดทะเบียนของบริษัทฯและอาจเป็นเหตุเพิ่มเติมให้หุ้นสามัญของบริษัทฯอาจถูกเพิกถอนจากการเป็นหลักทรัพย์จดทะเบียนได้ ซึ่งบริษัทได้ยืดเวลาการสรรหาเป็นภายในปี 52
เนื่องจาก ภาวะปัจจุบันนี้ทำได้ยาก เพราะธุรกิจปศุสัตว์ฟาร์ม (Agro Indrstry) เป็นธุรกิจเฉพาะที่จำเป็นต้องใช้ทักษะ และประสบการณ์สูงมากและผู้บริหารธุรกิจนี้หายากมาก ขณะวิกฤตโลกที่เกิดขึ้นผู้บริหารต่างไม่ต้องการเปลี่ยนงาน ส่วนกรรมการทั้งสองที่กล่าวถึงได้ถูกคำสั่งศาลให้พิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาดนั้น เหตุมิได้เกิดขึ้นเพราะหนี้สินส่วนตน แต่เกิดจากภาระการเป็นผู้ค้ำประกันหนี้สินและเงินกู้ของบริษัทอื่นที่ถูกฟ้องร้อง ซึ่งเป็นนิติกรรมที่ทำมาตั้งแต่อดีต ซึ่งบริษัทตระหนักถึงกฎระเบียบและเงื่อนไขของ ตลท. อย่างจริงจัง