“โชติกา” ประกาศยก บลจ.ไทยพาณิชย์ รักษาแชมป์เบอร์หนึ่งกองทุนรวม ตั้งเป้าดันสินทรัพย์เติบโต 20% แม้ธุรกิจกองทุนรวมแข่งเดือด แถมมีหุ้นกู้เอกชนให้ผลตอบแทนสูง ออกมาล่อใจ กางแผนออกกองทุนปีนี้ เตรียมส่ง "บอนด์อิตาลี" อายุสั้นๆ 6 เดือนอีก 2 กอง พร้อมมองหาการลงทุนในประเทศอื่นต่อ เน้นหาผลตอบแทนหลังสวอปค่าเงินแล้ว สูงกว่าเงินฝาก ลั่น พร้อมสานต่อนโยบายเดิม หวังเติบโตยั่งยืน ชูยุทธศาสตร์เชิงรุก 4 ด้าน เดินหน้าคู่แบงก์แม่ รองรับฐานลูกค้ารายย่อย สถาบัน และลูกค้าที่มีเงินลงทุนสูง
นางโชติกา สวนานนท์ กรรมการผู้อำนวยการ บริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุน (บลจ.) ไทยพาณิชย์ เปิดเผยว่า บริษัทตั้งเป้าหมายในการเพิ่มสินทรัพย์ภายใต้การบริหารจัดการ (AUM) ในปีนี้ปรับเพิ่มขึ้นเป็น 3.5 แสนล้านบาท หรือคิดเป็นอัตราการขยายตัวของสินทรัพย์รวมประมาณ 20% ซึ่งเทียบเท่ากับเป้าหมายอัตราการเติบโตของธุรกิจกองทุนโดยรวม แม้ว่าสถานการณ์ในด้านธุรกิจกองทุนรวมมีการแข่งขันรุนแรงมากขึ้น เนื่องจากผลิตภัณฑ์ที่ดี และความเสียงต่ำจะหายากขึ้น ขณะที่อีกปัจจัยหนึ่งที่อาจจะเป็นคู่แข่งในตลาดคือการออกหุ้นกู้ภาคเอกชนที่ให้ผลตอบแทนสูงเพื่อจูงใจนักลงทุนซึ่งอาจตัดสินใจลงทุนโดยตรง
อย่างไรก็ตาม ในช่วงที่ภาวะเศรษฐกิจชะลอตัว มักจะทำให้เม็ดเงินลงทุนไหลเข้ามายังธุรกิจกองทุนรวมมากขึ้น เนื่องจากอัตราดอกเบี้ยปรับตัวลดลง นักลงทุนจึงโยกย้ายเงินลงทุนเข้ามา เพื่อต้องการให้เม็ดเงินงอกเงยสำหรับในปีนี้มองว่าดัชนีตลาดหลักทรัพย์ฯจะเคลื่อนไหวอยู่ระดับ 380 - 440 จุด
ทั้งนี้ บริษัทต้องการรักษาความเป็นอันดับ 1 ในธุรกิจกองทุนรวมต่อไป แต่จะเน้นการวางรากฐานที่ดีในระยะยาวมากกว่า เพื่อให้สามารถเจริญเติบโตได้อย่างยั่งยืน โดยการสร้างฐานที่แข็งแกร่ง ได้แก่บุคลากรสำคัญที่สุดในองค์กร ขณะที่ลูกค้าเองบริษัทให้ความสำคัญเป็นอันดับ 1 อยู่แล้ว สำหรับนโยบายในปีนี้จะสานต่อนโยบายเดิม พร้อมเพิ่มศักยภาพและสร้างความแข็งแกร่งให้บริษัทในระยะยาว โดยจะให้ความสำคัญกับทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้องไม่ว่าจะเป็นลูกค้า ผู้ขายหน่วยลงทุนและพนักงาน เพื่อมอบผลประโยชน์สูงสุดแก่ผู้ลงทุน
กรรมการผู้อำนวยการ บลจ.ไทยพาณิชย์ กล่าวว่า สำหรับผลิตภัณฑ์ของบริษัทถือว่ายังไม่ครบถ้วน แต่หากนับเฉพาะการลงทุนที่เป็นพื้นฐานก็มีทั้งหมดแล้วไม่ว่าจะเป็นกองทุนที่เน้นลงทุนในหุ้น ตราสารหนี้ และอสังหาริมทรัพย์ ส่วนการลงทุนในทองคำ น้ำมัน ฟิวเจอร์ ยังไม่ออกมาเสนอขายในช่วงนี้ แต่มองว่าควรจะมีการลงทุนในสินทรัพย์ดังกล่าวในอนาคต เพื่อให้ลูกค้าได้จัดสรรเงินลงทุน (Asset Allocation) ได้อย่างครบถ้วน
ส่วนกองทุนเปิดไทยพาณิชย์พันธบัตรอิตาลี 2Y1 (SCBIBF2Y1) ที่เน้นลงทุนในพันธบัตรหรือตราสารภาครัฐของประเทศอิตาลีได้เริ่มมีคำสั่งซื้อหน่วยลงทุนเข้ามาแล้ว คาดว่ากองทุนนี้จะสามารถให้ผลตอบแทนประมาณ 2.1% แต่อาจจะออกได้เพียง 3 กองทุนเท่านั้น โดยกองทุนที่ออกมาหลังจากนี้จะมีอายุโครงการประมาณ 6 เดือน และมีอันดับความน่าเชื่อถือที่ระดับ AA- โดยจะเข้าไปลงทุนในสถาบันการเงินที่มีปัญหาน้อย และคาดว่าจะสามารถให้ผลตอบแทนประมาณ 1.4% ต่อปี เนื่องอุปทานมีค่อนข้างน้อย
สาเหตุที่เลือกเข้าไปลงทุนในประเทศอิตาลี เนื่องจากเป็นประเทศในกลุ่ม G7 ซึ่งมีผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ (GDP) มากกว่าประเทศไทยประมาณ 9 เท่า ซึ่งเมื่อสวอปค่าเงินกลับมาแล้วยังสามารถให้ผลตอบแทนที่สูงกว่าพันธบัตรรัฐบาลไทย ส่วนที่ไม่ไปลงทุนยุโรปตะวันออก เนื่องจากคาดการณ์ว่าจะเป็นภูมิภาคที่มีปัญหามาก ซึ่งอิตาลีมีการลงทุนกับยุโรปตะวันออกเพียง 9% เท่านั้น ขณะที่การลงทุนในตราสารหนี้ของประเทศเกาหลีใต้แม้ว่าจะให้ผลตอบแทนสูงกว่าอัตราดอกเบี้ยเงินฝากในประเทศไทย แต่ว่าความเสี่ยงก็เริ่มเพิ่มขึ้นตามลำดับเช่นกัน และเกาหลีใต้เองมี Credit Default Swap มีค่อนข้างสูง
ขณะเดียวกัน บริษัทเตรียมมองหาการลงทุนในตราสารหนี้ต่างประเทศทุกภูมิภาคทั่วโลก ที่มีความเสี่ยงต่ำ โดยเน้นลงทุนในตราสารหนี้ภาครัฐ และสถาบันการเงิน ส่วนบริษัทเอกชนจะไม่เข้าไปลงทุนเลย เนื่องจากภาวะเศรษฐกิจชะลอตัว ทำให้ไม่ทราบว่าอุตสาหกรรมใดจะได้รับกระทบบ้าง และลูกค้าไม่ชอบความเสี่ยง แต่ผลตอบแทนเมื่อหักการสวอปค่าเงินแล้วจะต้องมีส่วนต่างมากกว่าอัตราดอกเบี้ยเงินฝากของธนาคารพาณิชย์ 0.50% โดยประมาณ
ส่วนการลงทุนในพันธบัตรรัฐบาลไทย หากสามารถให้ผลตอบแทนที่ดีก็จะเปิดเสนอขายกองทุนออกเป็นระยะ แต่หากไม่สามารถให้ผลตอบแทนที่ดีก็อาจจะหันมาออกหุ้นกู้ภาคเอกชนแทน ซึ่งจะคัดเลือกหุ้นกู้ที่มีคุณภาพดีเท่านั้น และมีอันดับความน่าเชื่อถือตั้งแต่ระดับ A- ขึ้นไป แต่จะไม่เข้าไปลงทุนในหุ้นกู้ของบริษัทที่อยู่ในอุตสาหกรรมอสังหาริมทรัพย์ และกลุ่มที่มีหนี้มาก อาทิ ธุรกิจเครดิตการ์ด ธุรกิจลีสซิ่ง เป็นต้น
ทั้งนี้ เพื่อรองรับกองทุนตราสารหนี้ที่มีอายุ (Term Fund) ที่จะครบกำหนดในปีนี้มีประมาณ 4 หมื่นล้านบาท โดยในช่วงไตรมาสแรกมีเม็ดเงินลงทุนไหลเข้ามากองทุนเปิดไทยพาณิชย์สะสมทรัพย์ตราสารหนี้ (SCBSFF) ประมาณ 2.5 หมื่นล้านบาท ขณะที่หุ้นกู้ภาคเอกชนที่ออกมาในช่วงนี้ส่วนใหญ่จะมีอายุยาว และสามารถให้ผลตอบแทนที่ประมาณ 5 – 7% หากไม่สามารถนำมาออกกองทุนได้ บริษัทก็จะนำเสนอแก่ลูกค้าโดยตรงแทน
นางโชติกา กล่าวว่า จากประสบการณ์การทำงานมากว่า 13 ปี ในธุรกิจกองทุน ทำให้เล็งเห็นว่าปัจจัยสำคัญในการผลักดันให้องค์กรก้าวสู่ความสำเร็จคือบุคคลากรที่นอกจากจะต้องมีความรู้ความสามารถแล้ว ยังต้องทำงานในลักษณะทีมเวิร์กภายใต้วัฒนธรรมองค์กรเดียวกัน และที่สำคัญคือจะต้องมีหัวใจของการบริการ นอกจากนี้ หัวใจที่สำคัญของธุรกิจกองทุนรวม คือความเชื่อมั่น และความไว้วางใจจากนักลงทุนนั่นเอง
ดังนั้น ในการเข้ามาบริหารงานที่ บลจ.ไทยพาณิชย์ ได้วางนโยบายการดำเนินงานในเชิงรุก โดยจะให้ความสำคัญกับการแบ่งกลุ่มลูกค้าอย่างชัดเจน โดยแบ่งเป็น กลุ่มลูกค้ารายย่อย ลูกค้าสถาบัน และลูกค้าที่มีเงินลงทุนสูง (High Networth) โดยมีแผนเพื่อรองรับกับการเติบโตอย่างมั่นคง 4 ด้าน ได้แก่ ด้านแรกคือการพัฒนาผลิตภัณฑ์เพื่อให้สอดคล้องกับความต้องการของผู้ถือหน่วยอย่างต่อเนื่อง โดยจะเน้นกองทุนประเภทความเสี่ยงต่ำ แต่ยังสามารถให้อัตราผลตอบแทนที่สูงกว่าอัตราดอกเบี้ยเงินฝากธนาคารพาณิชย์ โดยตั้งเป้าหมายเพิ่มสินทรัพย์จากกลุ่มลูกค้านิติบุคคล SMEs และลูกค้าที่มีเงินลงทุนสูง ประมาณ 1.5 หมื่นล้านบาท
ด้านที่สอง คือการเพิ่มศักยภาพทีมงานให้มีความแข็งแกร่งมากขึ้น เพื่อให้สอดคล้องกับความต้องการของลูกค้าในแต่ละกลุ่ม โดยเฉพาะความสามารถในการให้คำปรึกษาด้านการจัดการลงทุน (Investment Management) เพื่อให้คำแนะนำในด้านการจัดสรรเงินลงทุน ส่วนลูกค้ารายย่อยจะมีทีงานออกไปให้คำแนะนำด้านการลงทุนผ่านพนักงานสาขาของธนาคาร
สำหรับการดำเนินงานในด้านที่สามคือการพัฒนาช่องทางการจำหน่ายใหม่ๆ เพิ่มจากการขายผ่านสาขาของธนาคารไทยพาณิชย์ เพื่อเข้าถึงกลุ่มลูกค้าโดยตรง ไม่ว่าจะเป็นตัวแทนขายหรือ Selling Agent ลูกค้ากลุ่ม Private Wealth ลูกค้านิติบุคคล และลูกค้าสถาบัน รวมไปถึงการพัฒนาช่องทางอิเล็กทรอนิกส์ (E-Channel) พร้อมพัฒนาบริการต่างๆ ในช่องทางดังกล่าว เพื่ออำนวยความสะดวกให้กับลูกค้ามากขึ้น และยังเป็นการขยายฐานลูกค้าด้วย โดยตั้งเป้าหมายเพิ่มลูกค้าขึ้นไป 20% เป็น 4.2 แสนราย
ในส่วนของแผนงานด้านที่สี่คือการสร้างองค์กรให้มีความแข็งแกร่งมากยิ่งขึ้น โดยจะพัฒนากระบวนการทำงานให้สอดคล้องกับการดำเนินธุรกิจ และเป็นไปตามเป้าหมายที่วางไว้ นอกเหนือจากการบริหารจัดการที่ดีแล้ว ยังต้องมีวัฒนธรรมองค์กรที่เน้นการทำงานเป็นทีม มีความรับผิดชอบ ซื้อสัตย์ และมีคุณธรรม
นางโชติกา กล่าวทิ้งท้ายว่า ในช่วงที่ผ่านมา ธนาคารไทยพาณิชย์ได้ให้การสนับสนุนอย่างเต็มที่ทั้งด้านการขายผ่านสาขาเกือบ 1 พันสาขาทั่วประเทศ ซึ่งปัจจุบันมีการขายผ่านสาขาของธนาคารถึง 99% และกว่า 90% ก็เป็นลูกค้าแบงก์ด้วย รวมทั้งการสนับสนุนด้านการบริการผ่านระบบที่สมบูรณ์แบบ เช่น การทำธุรกิจออนไลน์ผ่านทาง SCB Easy Net อย่างไรก็ตาม บริษัทมีแผนที่จะออกบริการใหม่ๆ รวมทั้งสร้างยังสร้างความสัมพันธ์กับลูกค้ามากยิ่งขึ้น ดังนั้น ในช่องต่อไปก็จะเห็นกิจกรรม CRM ที่บริษัทจัดขึ้นเพื่อลูกค้าแต่ละกลุ่มมากยิ่งขึ้น
นางโชติกา สวนานนท์ กรรมการผู้อำนวยการ บริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุน (บลจ.) ไทยพาณิชย์ เปิดเผยว่า บริษัทตั้งเป้าหมายในการเพิ่มสินทรัพย์ภายใต้การบริหารจัดการ (AUM) ในปีนี้ปรับเพิ่มขึ้นเป็น 3.5 แสนล้านบาท หรือคิดเป็นอัตราการขยายตัวของสินทรัพย์รวมประมาณ 20% ซึ่งเทียบเท่ากับเป้าหมายอัตราการเติบโตของธุรกิจกองทุนโดยรวม แม้ว่าสถานการณ์ในด้านธุรกิจกองทุนรวมมีการแข่งขันรุนแรงมากขึ้น เนื่องจากผลิตภัณฑ์ที่ดี และความเสียงต่ำจะหายากขึ้น ขณะที่อีกปัจจัยหนึ่งที่อาจจะเป็นคู่แข่งในตลาดคือการออกหุ้นกู้ภาคเอกชนที่ให้ผลตอบแทนสูงเพื่อจูงใจนักลงทุนซึ่งอาจตัดสินใจลงทุนโดยตรง
อย่างไรก็ตาม ในช่วงที่ภาวะเศรษฐกิจชะลอตัว มักจะทำให้เม็ดเงินลงทุนไหลเข้ามายังธุรกิจกองทุนรวมมากขึ้น เนื่องจากอัตราดอกเบี้ยปรับตัวลดลง นักลงทุนจึงโยกย้ายเงินลงทุนเข้ามา เพื่อต้องการให้เม็ดเงินงอกเงยสำหรับในปีนี้มองว่าดัชนีตลาดหลักทรัพย์ฯจะเคลื่อนไหวอยู่ระดับ 380 - 440 จุด
ทั้งนี้ บริษัทต้องการรักษาความเป็นอันดับ 1 ในธุรกิจกองทุนรวมต่อไป แต่จะเน้นการวางรากฐานที่ดีในระยะยาวมากกว่า เพื่อให้สามารถเจริญเติบโตได้อย่างยั่งยืน โดยการสร้างฐานที่แข็งแกร่ง ได้แก่บุคลากรสำคัญที่สุดในองค์กร ขณะที่ลูกค้าเองบริษัทให้ความสำคัญเป็นอันดับ 1 อยู่แล้ว สำหรับนโยบายในปีนี้จะสานต่อนโยบายเดิม พร้อมเพิ่มศักยภาพและสร้างความแข็งแกร่งให้บริษัทในระยะยาว โดยจะให้ความสำคัญกับทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้องไม่ว่าจะเป็นลูกค้า ผู้ขายหน่วยลงทุนและพนักงาน เพื่อมอบผลประโยชน์สูงสุดแก่ผู้ลงทุน
กรรมการผู้อำนวยการ บลจ.ไทยพาณิชย์ กล่าวว่า สำหรับผลิตภัณฑ์ของบริษัทถือว่ายังไม่ครบถ้วน แต่หากนับเฉพาะการลงทุนที่เป็นพื้นฐานก็มีทั้งหมดแล้วไม่ว่าจะเป็นกองทุนที่เน้นลงทุนในหุ้น ตราสารหนี้ และอสังหาริมทรัพย์ ส่วนการลงทุนในทองคำ น้ำมัน ฟิวเจอร์ ยังไม่ออกมาเสนอขายในช่วงนี้ แต่มองว่าควรจะมีการลงทุนในสินทรัพย์ดังกล่าวในอนาคต เพื่อให้ลูกค้าได้จัดสรรเงินลงทุน (Asset Allocation) ได้อย่างครบถ้วน
ส่วนกองทุนเปิดไทยพาณิชย์พันธบัตรอิตาลี 2Y1 (SCBIBF2Y1) ที่เน้นลงทุนในพันธบัตรหรือตราสารภาครัฐของประเทศอิตาลีได้เริ่มมีคำสั่งซื้อหน่วยลงทุนเข้ามาแล้ว คาดว่ากองทุนนี้จะสามารถให้ผลตอบแทนประมาณ 2.1% แต่อาจจะออกได้เพียง 3 กองทุนเท่านั้น โดยกองทุนที่ออกมาหลังจากนี้จะมีอายุโครงการประมาณ 6 เดือน และมีอันดับความน่าเชื่อถือที่ระดับ AA- โดยจะเข้าไปลงทุนในสถาบันการเงินที่มีปัญหาน้อย และคาดว่าจะสามารถให้ผลตอบแทนประมาณ 1.4% ต่อปี เนื่องอุปทานมีค่อนข้างน้อย
สาเหตุที่เลือกเข้าไปลงทุนในประเทศอิตาลี เนื่องจากเป็นประเทศในกลุ่ม G7 ซึ่งมีผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ (GDP) มากกว่าประเทศไทยประมาณ 9 เท่า ซึ่งเมื่อสวอปค่าเงินกลับมาแล้วยังสามารถให้ผลตอบแทนที่สูงกว่าพันธบัตรรัฐบาลไทย ส่วนที่ไม่ไปลงทุนยุโรปตะวันออก เนื่องจากคาดการณ์ว่าจะเป็นภูมิภาคที่มีปัญหามาก ซึ่งอิตาลีมีการลงทุนกับยุโรปตะวันออกเพียง 9% เท่านั้น ขณะที่การลงทุนในตราสารหนี้ของประเทศเกาหลีใต้แม้ว่าจะให้ผลตอบแทนสูงกว่าอัตราดอกเบี้ยเงินฝากในประเทศไทย แต่ว่าความเสี่ยงก็เริ่มเพิ่มขึ้นตามลำดับเช่นกัน และเกาหลีใต้เองมี Credit Default Swap มีค่อนข้างสูง
ขณะเดียวกัน บริษัทเตรียมมองหาการลงทุนในตราสารหนี้ต่างประเทศทุกภูมิภาคทั่วโลก ที่มีความเสี่ยงต่ำ โดยเน้นลงทุนในตราสารหนี้ภาครัฐ และสถาบันการเงิน ส่วนบริษัทเอกชนจะไม่เข้าไปลงทุนเลย เนื่องจากภาวะเศรษฐกิจชะลอตัว ทำให้ไม่ทราบว่าอุตสาหกรรมใดจะได้รับกระทบบ้าง และลูกค้าไม่ชอบความเสี่ยง แต่ผลตอบแทนเมื่อหักการสวอปค่าเงินแล้วจะต้องมีส่วนต่างมากกว่าอัตราดอกเบี้ยเงินฝากของธนาคารพาณิชย์ 0.50% โดยประมาณ
ส่วนการลงทุนในพันธบัตรรัฐบาลไทย หากสามารถให้ผลตอบแทนที่ดีก็จะเปิดเสนอขายกองทุนออกเป็นระยะ แต่หากไม่สามารถให้ผลตอบแทนที่ดีก็อาจจะหันมาออกหุ้นกู้ภาคเอกชนแทน ซึ่งจะคัดเลือกหุ้นกู้ที่มีคุณภาพดีเท่านั้น และมีอันดับความน่าเชื่อถือตั้งแต่ระดับ A- ขึ้นไป แต่จะไม่เข้าไปลงทุนในหุ้นกู้ของบริษัทที่อยู่ในอุตสาหกรรมอสังหาริมทรัพย์ และกลุ่มที่มีหนี้มาก อาทิ ธุรกิจเครดิตการ์ด ธุรกิจลีสซิ่ง เป็นต้น
ทั้งนี้ เพื่อรองรับกองทุนตราสารหนี้ที่มีอายุ (Term Fund) ที่จะครบกำหนดในปีนี้มีประมาณ 4 หมื่นล้านบาท โดยในช่วงไตรมาสแรกมีเม็ดเงินลงทุนไหลเข้ามากองทุนเปิดไทยพาณิชย์สะสมทรัพย์ตราสารหนี้ (SCBSFF) ประมาณ 2.5 หมื่นล้านบาท ขณะที่หุ้นกู้ภาคเอกชนที่ออกมาในช่วงนี้ส่วนใหญ่จะมีอายุยาว และสามารถให้ผลตอบแทนที่ประมาณ 5 – 7% หากไม่สามารถนำมาออกกองทุนได้ บริษัทก็จะนำเสนอแก่ลูกค้าโดยตรงแทน
นางโชติกา กล่าวว่า จากประสบการณ์การทำงานมากว่า 13 ปี ในธุรกิจกองทุน ทำให้เล็งเห็นว่าปัจจัยสำคัญในการผลักดันให้องค์กรก้าวสู่ความสำเร็จคือบุคคลากรที่นอกจากจะต้องมีความรู้ความสามารถแล้ว ยังต้องทำงานในลักษณะทีมเวิร์กภายใต้วัฒนธรรมองค์กรเดียวกัน และที่สำคัญคือจะต้องมีหัวใจของการบริการ นอกจากนี้ หัวใจที่สำคัญของธุรกิจกองทุนรวม คือความเชื่อมั่น และความไว้วางใจจากนักลงทุนนั่นเอง
ดังนั้น ในการเข้ามาบริหารงานที่ บลจ.ไทยพาณิชย์ ได้วางนโยบายการดำเนินงานในเชิงรุก โดยจะให้ความสำคัญกับการแบ่งกลุ่มลูกค้าอย่างชัดเจน โดยแบ่งเป็น กลุ่มลูกค้ารายย่อย ลูกค้าสถาบัน และลูกค้าที่มีเงินลงทุนสูง (High Networth) โดยมีแผนเพื่อรองรับกับการเติบโตอย่างมั่นคง 4 ด้าน ได้แก่ ด้านแรกคือการพัฒนาผลิตภัณฑ์เพื่อให้สอดคล้องกับความต้องการของผู้ถือหน่วยอย่างต่อเนื่อง โดยจะเน้นกองทุนประเภทความเสี่ยงต่ำ แต่ยังสามารถให้อัตราผลตอบแทนที่สูงกว่าอัตราดอกเบี้ยเงินฝากธนาคารพาณิชย์ โดยตั้งเป้าหมายเพิ่มสินทรัพย์จากกลุ่มลูกค้านิติบุคคล SMEs และลูกค้าที่มีเงินลงทุนสูง ประมาณ 1.5 หมื่นล้านบาท
ด้านที่สอง คือการเพิ่มศักยภาพทีมงานให้มีความแข็งแกร่งมากขึ้น เพื่อให้สอดคล้องกับความต้องการของลูกค้าในแต่ละกลุ่ม โดยเฉพาะความสามารถในการให้คำปรึกษาด้านการจัดการลงทุน (Investment Management) เพื่อให้คำแนะนำในด้านการจัดสรรเงินลงทุน ส่วนลูกค้ารายย่อยจะมีทีงานออกไปให้คำแนะนำด้านการลงทุนผ่านพนักงานสาขาของธนาคาร
สำหรับการดำเนินงานในด้านที่สามคือการพัฒนาช่องทางการจำหน่ายใหม่ๆ เพิ่มจากการขายผ่านสาขาของธนาคารไทยพาณิชย์ เพื่อเข้าถึงกลุ่มลูกค้าโดยตรง ไม่ว่าจะเป็นตัวแทนขายหรือ Selling Agent ลูกค้ากลุ่ม Private Wealth ลูกค้านิติบุคคล และลูกค้าสถาบัน รวมไปถึงการพัฒนาช่องทางอิเล็กทรอนิกส์ (E-Channel) พร้อมพัฒนาบริการต่างๆ ในช่องทางดังกล่าว เพื่ออำนวยความสะดวกให้กับลูกค้ามากขึ้น และยังเป็นการขยายฐานลูกค้าด้วย โดยตั้งเป้าหมายเพิ่มลูกค้าขึ้นไป 20% เป็น 4.2 แสนราย
ในส่วนของแผนงานด้านที่สี่คือการสร้างองค์กรให้มีความแข็งแกร่งมากยิ่งขึ้น โดยจะพัฒนากระบวนการทำงานให้สอดคล้องกับการดำเนินธุรกิจ และเป็นไปตามเป้าหมายที่วางไว้ นอกเหนือจากการบริหารจัดการที่ดีแล้ว ยังต้องมีวัฒนธรรมองค์กรที่เน้นการทำงานเป็นทีม มีความรับผิดชอบ ซื้อสัตย์ และมีคุณธรรม
นางโชติกา กล่าวทิ้งท้ายว่า ในช่วงที่ผ่านมา ธนาคารไทยพาณิชย์ได้ให้การสนับสนุนอย่างเต็มที่ทั้งด้านการขายผ่านสาขาเกือบ 1 พันสาขาทั่วประเทศ ซึ่งปัจจุบันมีการขายผ่านสาขาของธนาคารถึง 99% และกว่า 90% ก็เป็นลูกค้าแบงก์ด้วย รวมทั้งการสนับสนุนด้านการบริการผ่านระบบที่สมบูรณ์แบบ เช่น การทำธุรกิจออนไลน์ผ่านทาง SCB Easy Net อย่างไรก็ตาม บริษัทมีแผนที่จะออกบริการใหม่ๆ รวมทั้งสร้างยังสร้างความสัมพันธ์กับลูกค้ามากยิ่งขึ้น ดังนั้น ในช่องต่อไปก็จะเห็นกิจกรรม CRM ที่บริษัทจัดขึ้นเพื่อลูกค้าแต่ละกลุ่มมากยิ่งขึ้น