เจ เอ็ม ที ตั้งเป้าปี 52 ซื้อหนี้เข้ามาบริหารไม่ต่ำกว่า 4.5 พันล้านบาท หรือเติบโตขึ้นกว่า 100% จากปี 51 ที่ทำได้ 2.5 พันล้านบาท จากอัตราดอกเบี้ยที่ปรับตัวลดลงภายใต้วิกฤตเศรษฐกิจ ส่งผลดีต่อธุรกิจติดตามหนี้ที่โตสวนกระแสจากธุรกิจอื่น รวมถึงจำนวนมูลค่าหนี้ทีบริษัทเตรียมงบลงทุนกว่า 280 ล้านบาท เพื่อซื้อหนี้เข้ามาบริหารจากสถาบันการเงินทั้งในและนอกประเทศ
นายปิยะ พงษ์อัชฌา ผู้อำนวยการบริหารสายการตลาด บริษัท เจ เอ็ม ที เน็ทเวอร์ค เซอร์วิสเซส จำกัด หรือ JMT เปิดเผยว่า บริษัทตั้งเป้าการเพิ่มมูลค่าหนี้ที่ติดตามคงเหลือในปี 2552 เติบโตขึ้น 100% หรืออยู่ที่ 4,500 ล้านบาท จากปัจจุบันที่มีมูลค่าอยู่ที่ 2,500 ล้านบาท จากการที่อัตราดอกเบี้ยมีจำนวนถูกลงกว่าที่ผ่านมา จึงถือเป็นโอกาสที่ดีในการเติบโตของธุรกิจในช่วงระยะเวลาเช่นนี้ โดยบริษัทได้คาดการณ์การเพิ่มมูลค่าหนี้ที่ติดตามคงเหลือไว้ล่วงหน้าเพิ่มขึ้นเป็น 6,000 ล้านบาทในปี 2553 ซึ่งหนี้เสียที่บริษัทซื้อมานี้จะเป็นในส่วนของ Non-Bank
ทั้งนี้ ด้วยมูลค่าหนี้ดังกล่าวส่งผลให้บริษัทถือครองพอร์ตสินเชื่อจาการขายหนี้ของสถาบันต่างๆในประเภท Retail และ Consumer Loan โดยบริษัทได้ลงทุนในการซื้อหนี้พอร์ตสินเชื่อเช่าซื้อ และสินเชื่อส่วนบุคคลจากสถาบันการเงินด้วยมูลค่าหนี้ติดตามคงเหลือที่ 1,000 ล้านบาท และได้ทำการซื้อเพิ่มจากสถาบันการเงินอื่นทั้งในประเทศและสถาบันการเงินสาขาจากต่างประเทศ ทำให้ปัจจุบันบริษัทมีมูลค่าหนี้ที่ติดตามคงเหลือกว่า 2,000 ล้านบาท จากพอร์ตสินเชื่อเช่าซื้อ สินเชื่อส่วนบุคคล สินเชื่อเงินกู้และบัตรเครดิต
สำหรับการลงทุนบริษัทมีเงินที่จะนำใช้ในการซื้อหนี้จำนวน 280 ล้านบาท โดยแบ่งเป็นซื้อภายในสิ้นปีนี้ประมาณ 200 ล้านบาท สำหรับกาเข้าซื้อหนี้จำนวนกว่า 4พันล้าน และอีกจำนวน 80 ล้านบาท ที่จะนำไปลงทุนในการซื้อหนี้เพิ่มให้ได้ตามเป้าที่ตั้งไว้ที่ 6,000 ล้านบาท ซึ่งเงินที่บริษัทนำมาใช้ลงทุนในการซื้อหนี้นั้นมาจากเงินกู้จำนวน 70% และจากกำไรของธุรกิจจำนวน 30%
อย่างไรก็ตาม ในธุรกิจการติดตามหนี้กับสภาวะที่เศรษฐกิจชะลอตัวเช่นนี้ มีผลอย่างมากที่จำนวนลูกหนี้เพิ่มตัวสูงขึ้น จากหลายๆปัจจัยไม่ว่าจะเป็นการว่างงานหรือการถูกปรับลดอัตราการจ้างงาน ส่งผลให้ประชาชนไม่มีรายได้เข้ามาเพื่อผ่อนจ่ายภาระที่ตนเองมี ซึ่งบริษัทเริ่มเห็นสัญญาณของการติดตามหนี้ที่ยากช่วงปลายปี 2551 หรือช่วงที่เกิดวิกฤตเศรษฐกิจการเงินโลก
“บริษัทเราไม่มีการปรับลดพนักงาน แต่จะเพิ่มด้วยซ้ำ เพราะเรามีแผนขยายงานรับซื้อหนี้ไปสู่ธุรกิจเช่าซื้อรถยนต์ และสินเชื่อที่อยู่อาศัยจากสถาบันการเงินต่างๆเพิ่ม ทำให้เราต้องเพิ่มจำนวนพนักงานเร่งรัดหนี้สิน และพนักงงานในส่วนอื่นๆ อีกรวมกว่า 200 อัตรา จากปัจจุบันที่มีพนักงานอยู่ 400 อัตรา” นายปิยะ กล่าว
นายปิยะ พงษ์อัชฌา ผู้อำนวยการบริหารสายการตลาด บริษัท เจ เอ็ม ที เน็ทเวอร์ค เซอร์วิสเซส จำกัด หรือ JMT เปิดเผยว่า บริษัทตั้งเป้าการเพิ่มมูลค่าหนี้ที่ติดตามคงเหลือในปี 2552 เติบโตขึ้น 100% หรืออยู่ที่ 4,500 ล้านบาท จากปัจจุบันที่มีมูลค่าอยู่ที่ 2,500 ล้านบาท จากการที่อัตราดอกเบี้ยมีจำนวนถูกลงกว่าที่ผ่านมา จึงถือเป็นโอกาสที่ดีในการเติบโตของธุรกิจในช่วงระยะเวลาเช่นนี้ โดยบริษัทได้คาดการณ์การเพิ่มมูลค่าหนี้ที่ติดตามคงเหลือไว้ล่วงหน้าเพิ่มขึ้นเป็น 6,000 ล้านบาทในปี 2553 ซึ่งหนี้เสียที่บริษัทซื้อมานี้จะเป็นในส่วนของ Non-Bank
ทั้งนี้ ด้วยมูลค่าหนี้ดังกล่าวส่งผลให้บริษัทถือครองพอร์ตสินเชื่อจาการขายหนี้ของสถาบันต่างๆในประเภท Retail และ Consumer Loan โดยบริษัทได้ลงทุนในการซื้อหนี้พอร์ตสินเชื่อเช่าซื้อ และสินเชื่อส่วนบุคคลจากสถาบันการเงินด้วยมูลค่าหนี้ติดตามคงเหลือที่ 1,000 ล้านบาท และได้ทำการซื้อเพิ่มจากสถาบันการเงินอื่นทั้งในประเทศและสถาบันการเงินสาขาจากต่างประเทศ ทำให้ปัจจุบันบริษัทมีมูลค่าหนี้ที่ติดตามคงเหลือกว่า 2,000 ล้านบาท จากพอร์ตสินเชื่อเช่าซื้อ สินเชื่อส่วนบุคคล สินเชื่อเงินกู้และบัตรเครดิต
สำหรับการลงทุนบริษัทมีเงินที่จะนำใช้ในการซื้อหนี้จำนวน 280 ล้านบาท โดยแบ่งเป็นซื้อภายในสิ้นปีนี้ประมาณ 200 ล้านบาท สำหรับกาเข้าซื้อหนี้จำนวนกว่า 4พันล้าน และอีกจำนวน 80 ล้านบาท ที่จะนำไปลงทุนในการซื้อหนี้เพิ่มให้ได้ตามเป้าที่ตั้งไว้ที่ 6,000 ล้านบาท ซึ่งเงินที่บริษัทนำมาใช้ลงทุนในการซื้อหนี้นั้นมาจากเงินกู้จำนวน 70% และจากกำไรของธุรกิจจำนวน 30%
อย่างไรก็ตาม ในธุรกิจการติดตามหนี้กับสภาวะที่เศรษฐกิจชะลอตัวเช่นนี้ มีผลอย่างมากที่จำนวนลูกหนี้เพิ่มตัวสูงขึ้น จากหลายๆปัจจัยไม่ว่าจะเป็นการว่างงานหรือการถูกปรับลดอัตราการจ้างงาน ส่งผลให้ประชาชนไม่มีรายได้เข้ามาเพื่อผ่อนจ่ายภาระที่ตนเองมี ซึ่งบริษัทเริ่มเห็นสัญญาณของการติดตามหนี้ที่ยากช่วงปลายปี 2551 หรือช่วงที่เกิดวิกฤตเศรษฐกิจการเงินโลก
“บริษัทเราไม่มีการปรับลดพนักงาน แต่จะเพิ่มด้วยซ้ำ เพราะเรามีแผนขยายงานรับซื้อหนี้ไปสู่ธุรกิจเช่าซื้อรถยนต์ และสินเชื่อที่อยู่อาศัยจากสถาบันการเงินต่างๆเพิ่ม ทำให้เราต้องเพิ่มจำนวนพนักงานเร่งรัดหนี้สิน และพนักงงานในส่วนอื่นๆ อีกรวมกว่า 200 อัตรา จากปัจจุบันที่มีพนักงานอยู่ 400 อัตรา” นายปิยะ กล่าว