ส.อ.ท.แนะรัฐเร่งรับมือเลิกจ้างพุ่ง หลังสัญญาณอุตฯ เครื่องใช้ไฟฟ้า-ไอที มีแนวโน้มลดกำลังการผลิต และคาดว่า จะลดการจ้างงาน
นายพยุงศักดิ์ ชาติสุทธิผล รองประธานสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (ส.อ.ท.) เปิดเผยว่า ขณะนี้บริษัทในกลุ่มอุตสาหกรรมเครื่องใช้ไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ของต่างชาติที่อยู่ในประเทศไทย เริ่มมีสัญญาณการปรับลดพนักงานแล้ว หลังจากบริษัทแม่ที่ประเทศญี่ปุ่นได้เริ่มมีการปรับลดพนักงานลง เนื่องจากมีการลดกำลังการผลิตตามยอดคำสั่งซื้อที่ลดลง
ทั้งนี้ ทาง ส.อ.ท.ได้มีการหารือทั้งระหว่างภาคเอกชนด้วยกัน และหารือร่วมกับภาครัฐเพื่อวางมาตรการรองรับต่อสถานการณ์ที่เกิดขึ้น หากมีการปลดลดพนักงานลงอีก
อย่างไรก็ตาม ผลกระทางเศรษฐกิจที่เกิดขึ้น มาตรการแรกที่ผู้ประกอบการดำเนินการ เพื่อลดต้นทุน คือ การปรับลดชั่วโมงการทำงาน และเตรียมแผนการอบรมพนักงานเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพให้สูงขึ้น ขณะที่การปลดลดพนักงานจะเป็นมาตรการสุดท้ายที่ดำเนินการ
“หากคำสั่งซื้อลดลงก็จะส่งผลกระทบต่อพนักงานด้วย โดยกลุ่มอุตสาหกรรมที่จะได้รับผลกระทบแรกๆ คือ ประเภทสินค้าคงทน ได้แก่ เครื่องใช้ไฟฟ้าและสินค้าอิเล็กทรอนิกส์ต่างๆ ที่จำนวนคนงานขึ้นอยู่กับยอดคำสั่งซื้อ” นายพยุงศักดิ์ กล่าว
นายพยุงศักดิ์ กล่าวอีกว่า ความต้องการสินค้าคงทุนใน Q1/52 ยังชะลอตัวตามภาวะเศรษฐกิจ เพื่อรอดูสถานการณ์ต่างๆ ขณะนี้ คาดว่า Q2/52 การฟื้นตัวของความต้องการของสินค้าคงทน น่าจะมีสัญญาณที่ดีขึ้นและมีความชัดเจนขึ้น
ทั้งนี้ มองว่า การฟื้นตัวของเศรษฐกิจไทยขึ้นอยู่กับปัจจัยการฟื้นตัวของเศรษฐกิจโลกเป็นหลัก ดังนั้น การพึ่งพาการใช้จ่ายในประเทศ ถือเป็นปัจจัยหลัก เพื่อทดแทนการส่งออกที่ลดลง และต้องเร่งเจาะตลาดส่งออกใหม่ๆ เพื่อทดแทนตลาดคู่ค้าเดิมที่มีปัญหา ขณะที่ภาคเอกชน โดยคณะกรรมการร่วมภาคเอกชน 3 สถาบัน หรือ กกร.ได้มีหารือกับรัฐบาลอย่างต่อเนื่อง เพื่อวางมาตรการแก้ปัญหาต่างๆ และเชื่อว่า จากมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจที่รัฐบาลทยอยประกาศใช้ โดยเฉพาะการจัดทำงบกลางปี ที่คาดว่า จะมีเม็ดเงินเข้าสู่ระบบเศรษฐกิจ ในเดือน เม.ย.-พ.ค.นี้ และจะเริ่มเห็นผลทางเศรษฐกิจ ช่วง Q2/52
ส่วนการเดินทางโรดโชว์ที่ประเทศญี่ปุ่นของนายกรัฐมนตรี เชื่อว่า จะช่วยเรียกความเชื่อมั่นจากนักลงทุน รวมถึงสร้างความเข้าใจถึงนโยบายต่างๆ ของรัฐบาล และจะเป็นโอกาสที่กระตุ้นการลงทุนในประเทศได้
นายพยุงศักดิ์ ชาติสุทธิผล รองประธานสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (ส.อ.ท.) เปิดเผยว่า ขณะนี้บริษัทในกลุ่มอุตสาหกรรมเครื่องใช้ไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ของต่างชาติที่อยู่ในประเทศไทย เริ่มมีสัญญาณการปรับลดพนักงานแล้ว หลังจากบริษัทแม่ที่ประเทศญี่ปุ่นได้เริ่มมีการปรับลดพนักงานลง เนื่องจากมีการลดกำลังการผลิตตามยอดคำสั่งซื้อที่ลดลง
ทั้งนี้ ทาง ส.อ.ท.ได้มีการหารือทั้งระหว่างภาคเอกชนด้วยกัน และหารือร่วมกับภาครัฐเพื่อวางมาตรการรองรับต่อสถานการณ์ที่เกิดขึ้น หากมีการปลดลดพนักงานลงอีก
อย่างไรก็ตาม ผลกระทางเศรษฐกิจที่เกิดขึ้น มาตรการแรกที่ผู้ประกอบการดำเนินการ เพื่อลดต้นทุน คือ การปรับลดชั่วโมงการทำงาน และเตรียมแผนการอบรมพนักงานเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพให้สูงขึ้น ขณะที่การปลดลดพนักงานจะเป็นมาตรการสุดท้ายที่ดำเนินการ
“หากคำสั่งซื้อลดลงก็จะส่งผลกระทบต่อพนักงานด้วย โดยกลุ่มอุตสาหกรรมที่จะได้รับผลกระทบแรกๆ คือ ประเภทสินค้าคงทน ได้แก่ เครื่องใช้ไฟฟ้าและสินค้าอิเล็กทรอนิกส์ต่างๆ ที่จำนวนคนงานขึ้นอยู่กับยอดคำสั่งซื้อ” นายพยุงศักดิ์ กล่าว
นายพยุงศักดิ์ กล่าวอีกว่า ความต้องการสินค้าคงทุนใน Q1/52 ยังชะลอตัวตามภาวะเศรษฐกิจ เพื่อรอดูสถานการณ์ต่างๆ ขณะนี้ คาดว่า Q2/52 การฟื้นตัวของความต้องการของสินค้าคงทน น่าจะมีสัญญาณที่ดีขึ้นและมีความชัดเจนขึ้น
ทั้งนี้ มองว่า การฟื้นตัวของเศรษฐกิจไทยขึ้นอยู่กับปัจจัยการฟื้นตัวของเศรษฐกิจโลกเป็นหลัก ดังนั้น การพึ่งพาการใช้จ่ายในประเทศ ถือเป็นปัจจัยหลัก เพื่อทดแทนการส่งออกที่ลดลง และต้องเร่งเจาะตลาดส่งออกใหม่ๆ เพื่อทดแทนตลาดคู่ค้าเดิมที่มีปัญหา ขณะที่ภาคเอกชน โดยคณะกรรมการร่วมภาคเอกชน 3 สถาบัน หรือ กกร.ได้มีหารือกับรัฐบาลอย่างต่อเนื่อง เพื่อวางมาตรการแก้ปัญหาต่างๆ และเชื่อว่า จากมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจที่รัฐบาลทยอยประกาศใช้ โดยเฉพาะการจัดทำงบกลางปี ที่คาดว่า จะมีเม็ดเงินเข้าสู่ระบบเศรษฐกิจ ในเดือน เม.ย.-พ.ค.นี้ และจะเริ่มเห็นผลทางเศรษฐกิจ ช่วง Q2/52
ส่วนการเดินทางโรดโชว์ที่ประเทศญี่ปุ่นของนายกรัฐมนตรี เชื่อว่า จะช่วยเรียกความเชื่อมั่นจากนักลงทุน รวมถึงสร้างความเข้าใจถึงนโยบายต่างๆ ของรัฐบาล และจะเป็นโอกาสที่กระตุ้นการลงทุนในประเทศได้