"สวนอุตโรจนะฯ"มีลุ้นขายที่ดินในนิคมฯให้โรงยาสูบ อยู่ในสเปคและทำเลที่มีโดดเด่น แต่เป้ารวมของการขายที่ดินทั้งปี 51 คงเดิม 300-400 ไร่ เหตุสถานการณ์ต่างๆภาพการฟื้นตัวยังไม่ชัด
น.ส.อมรา เจริญกิจวัฒนกุล กรรมการ บริษัท สวนอุตสาหกรรมโรจนะ จำกัด (มหาชน) หรือ ROJANA กล่าวถึงความคืบหน้าเกี่ยวกับโรงงานยาสูบของกระทรวงการคลังว่า เท่าที่ทราบ ขณะนี้มีผู้ประกอบการนิคมอุตสาหกรรม 2 ราย ที่พร้อมเข้าเสนอขายซื้อที่ดินให้แก่โรงงานยาสูบ คือ นิคมของบริษัทฯที่อยู่จังหวัดอยุธยา และ บริษัท เหมราชพัฒนาที่ดิน จำกัด (มหาชน) ที่มีนิคมฯ อยู่ในจระยอง
สำหรับพื้นที่ที่โรงงานยาสูบมีความต้องการซื้อจำนวนกว่า 200 กว่า แยกเป็นส่วนโรงงานและที่อยู่อาศัย โดยคาดว่าจะได้ข้อสรุปไม่เกินครึ่งแรกปี52 หรืออย่างช้าภายในปี 52 อย่างไรก็ตาม ข้อสรุปขึ้นอยู่กับโรงงานยาสูบซึ่งเป็นหน่วยงานรัฐ โดยจะมีการกำหนดยื่นซองประมูลการซื้อที่ดินในวันที่ 6 ก.พ.นี้
อย่างไรก็ตาม หากบริษัทประมูลการซื้อที่ดินของโรงงานยาสูบ ก็ยังไม่มีการเปลี่ยนแปลงเป้าหมายการขายที่ดินปี 52 ที่คาดไว้ที่ 300-400 ไร่ เพราะเป้าหมายที่วางไว้ในช่วงที่ภาวะยังไม่ชัดเจน และคงต้องรอสักระยะหนึ่งเพื่อติดตามปัจจัยลบต่างๆเริ่มคลี่คลายไปถึงระดับไหน
"เชื่อได้ว่าปีนี้ ทุกคนก็ต้องพยายามไม่ตั้งเป้าหมายอะไรเยอะแยะ ต้องยอมรับว่าเป็นปีมหาโหด คือ ทุกคนก็ต้องพยายามอยู่รอดให้ได้ เพื่อเตรียมรุกเมื่อสถานการณ์พร้อม"น.ส.อมรา กล่าวและประเมินว่า มีความเป็นไปได้ที่การขายที่ดินกับนักลงทุนต่างประเทศจะลดน้อยลงกว่าปีที่แล้ว โดยในปี 51 บริษัทมีสัดส่วนการขายที่ดินให้นักลงทุนต่างชาติราว 50% ของยอดขายที่ดิน 600 ไร่ ซึ่งเป็นไปตามเป้าหมาย สำหรับรายได้จากบริการด้านสาธารณูปโภคได้รับผลกระทบยอดการใช้ลดลงบ้าง
น.ส.อมรา เจริญกิจวัฒนกุล กรรมการ บริษัท สวนอุตสาหกรรมโรจนะ จำกัด (มหาชน) หรือ ROJANA กล่าวถึงความคืบหน้าเกี่ยวกับโรงงานยาสูบของกระทรวงการคลังว่า เท่าที่ทราบ ขณะนี้มีผู้ประกอบการนิคมอุตสาหกรรม 2 ราย ที่พร้อมเข้าเสนอขายซื้อที่ดินให้แก่โรงงานยาสูบ คือ นิคมของบริษัทฯที่อยู่จังหวัดอยุธยา และ บริษัท เหมราชพัฒนาที่ดิน จำกัด (มหาชน) ที่มีนิคมฯ อยู่ในจระยอง
สำหรับพื้นที่ที่โรงงานยาสูบมีความต้องการซื้อจำนวนกว่า 200 กว่า แยกเป็นส่วนโรงงานและที่อยู่อาศัย โดยคาดว่าจะได้ข้อสรุปไม่เกินครึ่งแรกปี52 หรืออย่างช้าภายในปี 52 อย่างไรก็ตาม ข้อสรุปขึ้นอยู่กับโรงงานยาสูบซึ่งเป็นหน่วยงานรัฐ โดยจะมีการกำหนดยื่นซองประมูลการซื้อที่ดินในวันที่ 6 ก.พ.นี้
อย่างไรก็ตาม หากบริษัทประมูลการซื้อที่ดินของโรงงานยาสูบ ก็ยังไม่มีการเปลี่ยนแปลงเป้าหมายการขายที่ดินปี 52 ที่คาดไว้ที่ 300-400 ไร่ เพราะเป้าหมายที่วางไว้ในช่วงที่ภาวะยังไม่ชัดเจน และคงต้องรอสักระยะหนึ่งเพื่อติดตามปัจจัยลบต่างๆเริ่มคลี่คลายไปถึงระดับไหน
"เชื่อได้ว่าปีนี้ ทุกคนก็ต้องพยายามไม่ตั้งเป้าหมายอะไรเยอะแยะ ต้องยอมรับว่าเป็นปีมหาโหด คือ ทุกคนก็ต้องพยายามอยู่รอดให้ได้ เพื่อเตรียมรุกเมื่อสถานการณ์พร้อม"น.ส.อมรา กล่าวและประเมินว่า มีความเป็นไปได้ที่การขายที่ดินกับนักลงทุนต่างประเทศจะลดน้อยลงกว่าปีที่แล้ว โดยในปี 51 บริษัทมีสัดส่วนการขายที่ดินให้นักลงทุนต่างชาติราว 50% ของยอดขายที่ดิน 600 ไร่ ซึ่งเป็นไปตามเป้าหมาย สำหรับรายได้จากบริการด้านสาธารณูปโภคได้รับผลกระทบยอดการใช้ลดลงบ้าง