ตลาดทุนเดินหน้าสร้างการเมืองโปร่งใส แก้ปัญหารัฐมนตรีถือหุ้นเกิน 5% ก.ล.ต.พร้อมเป็นตัวกลาง ประสานกลไก Blind Trust และร่วมรับผิดชอบปิดกั้นไม่ให้นักการเมือง ใช้อำนาจในการครอบงำ บลจ.ที่ทำหน้าที่บริหารสินทรัพย์ พร้อมเสนอทำสัญญามาตรฐาน เป็นแนวทางกำหนดกรอบการลงทุน เอื้อธุรกรรมให้เกิดมากขึ้น ด้าน บลจ.ยืนยันพร้อมบริหารเงิน แต่ขอความชัดเจนในเรื่องกฏเกณฑ์-บทบาทหน้าที่ และภาษีก่อน ชี้หากฝากถือรอจนลงเก้าอี้ไร้ปัญหาแน่ แต่ถ้าต้องบริหารให้ด้วยแล้วขาดทุน หวั่นเกิดคดีการเมืองจนส่งผลเสียต่อชื่อเสียงบริษัท
วานนี้ (15 ม.ค.) ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย ได้จัดงานสัมมนา “ลงทุนเปิดเผย การเมืองโปร่งใส ผ่านกลไก Blind Trust” เพื่อส่งเสริมการมีบรรษัทภิบาลที่ดีในระบบบริหารราชการแผ่นดินผ่านกลไกตลาดทุน นายประสงค์ วินัยแพทย์ รองเลขาธิการสำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ก.ล.ต.) กล่าวว่า ก.ล.ต.พร้อมที่จะเข้ามาเป็นผู้ประสานงาน ร่วมรับผิดชอบในการดูแลไม่ให้นักการเมืองใช้อำนาจในการครอบงำบลจ. ที่ทำหน้าที่ในการบริหารสินทรัพย์หรือดูแลการถือหุ้นของนักการเมือง แต่ทาง ป.ป.ช.ควรที่จะกำหนดรายละเอียดแนบท้ายสัญญาที่ทำร่วมกันระหว่างบลจ.กับนักการเมืองให้มีความชัดเจน เพื่อไม่ให้เกิดปัญหาในอนาคต กรณีหากมีการร้องเรียนการลงทุนของนักการเมือง เช่น ใช้ผลประโยชน์ทับซ้อน
ทั้งนี้ เสนอให้มีสัญญามาตรฐานเพื่อเป็นแนวทางในการใช้กำหนดกรอบ เพราะในกฎหมายไม่ได้ระบุไว้อย่างชัดเจน แต่ขึ้นอยู่กับการพิจารณาของสำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (ป.ป.ช.) เท่านั้น ซึ่ง ป.ป.ช.เองไม่ได้อยู่ในวงการตลาดทุน ไม่รู้ว่าเงื่อนไขควรจะเป็นเช่นไร ดังนั้น หากมีสัญญามาตรฐานแล้ว ก็จะเอื้อให้เกิดธุรกรรมมากขึ้น
“ก.ล.ต.เราพร้อมที่จะรับประสานงานให้เพราะ บลจ.อยู่ภายใต้การดูแลของเรา เพียงแต่ว่าจะต้องกำหนดกรอบให้เป็นมาตราฐานเดียวกันเพื่อจะได้ไม่มีปัญหา และสบายใจในการรับรู้ความต้องการของรัฐมนตรีแค่ไหน ระดับไหน ป.ป.ช.รับได้ซึ่งหากคุยกันก็จะง่ายต่อบลจ.ที่เข้าไปรับงานด้วย เช่นอย่างหุ้นที่มอบหมายให้บลจ.บริหารจะทำอย่างไร หรือกำหนดกรอบหรือมีเงื่อนไขอย่างไร” นายประสงค์กล่าว
สำหรับ Blind Trust คือ การโอนหุ้นให้บลจ.ดูแลในระหว่างที่นักการเมืองดำรงตำแหน่งทางการเมืองเพื่อหลีกเลี่ยงไม่ให้เกิดผลประโยชน์ทับซ้อน ไม่ใช้เรื่องใหม่และก็ไม่ได้ผิด โดยปัจจุบันกฎหมายไม่ได้ห้ามให้รัฐมนตรีเข้าถือหุ้น แต่เพียงกำหนดไม่เกิน 5% ของจำนวนหุ้นที่ถือ ซึ่งหากถือเกินต้องขายหรือลดสัดส่วนลง ซึ่งเป็นไปตามกฎหมายพระราชบัญญัติการจัดการหุ้นส่วนและหุ้นของรัฐมนตรี พ.ศ.2543 และรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ.2550 มาตรา 269 ที่มีผลบังคับใช้ เพียงแต่ในปัจจุบันหากทำเป็นสัญญามาตราฐานและมีทิศทางเดียวกันเท่านั้น
นายรพี สุจริตกุล ประธานกรรมการบริหาร บริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุน (บลจ.) กสิกรไทย จำกัด กล่าวว่า ปัจจุบันกฎหมายที่เกี่ยวกับ Blind Trust มีอยู่ 2 ฉบับด้วยกัน นั่นคือ พระราชบัญญัติการจัดการหุ้นส่วนและหุ้นของรัฐมนตรี พ.ศ.2543 และรัฐธรรมนูญ พ.ศ.2550 แต่ที่ผ่านมา กฎหมายทั้ง 2 ฉบับยังไม่มีความชัดเจนในเรื่องของคนกลางที่จะเข้ามาดูแล และทำหน้าที่ตรวจสอบว่ามีการกระทำความผิด หรือมีการครอบงำระหว่างตัวรัฐมนตรีและบริษัทจัดการ ที่รัฐมนตรีรายนั้นโอนหุ้นไปให้บริหารหรือไม่ ซึ่งรวมไปถึงอำนาจในการลงโทษด้วยว่าสุดท้ายแล้วตกไปอยู่กับใคร ดังนั้น จึงอยากให้หน่วยงานที่เดียวข้องเข้ามาสร้างความชัดเจนในเรื่องนี้
ในขณะเดียวกัน กฎหมาย Trust เพื่อตลาดทุน ซึ่งเป็นกฎหมายใหม่ที่กำลังจะออกมาใช้บังคับ ควรจะต้องมีความชัดเจน โดยเฉพาะประกาศสำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ก.ล.ต.) และบริษัทจัดการกองทุน ที่ต้องรองรับกฎหมายในส่วนนี้ด้วย
อย่างไรก็ตาม ในส่วนของ บลจ.กสิกรไทยเอง มีความพร้อมอยู่แล้ว หากรัฐมนตรีสนใจให้บริษัทเป็นผู้บริหารทรัพย์สินในส่วนที่เกินให้ ซึ่งเราเองมีใบอนุญาตประกอบธุรกิจจัดการกองทุนส่วนบุคคลอยู่แล้ว แต่ในเบื้องต้น หากเป็นการรับบริหารแบบถือครองเอาไว้อย่างเดียว โดยไม่ได้เปลี่ยนแปลงอะไร น่าจะเป็นแนวทางที่ทำได้เร็วที่สุด เพราะในเรื่องของกฎหมายหรือคนที่จะเข้ามาตรวจสอบยังไม่ชัดเจน
ด้าน นายมาริษ ท่าราบ กรรมการผู้จัดการ บลจ.ไอเอ็นจี (ประเทศไทย) กล่าวว่า สำหรับ บลจ.ไอเอ็นจีเอง มีความพร้อมและสนใจบริหารทรัพย์สินให้รัฐมนตรีเช่นกัน แต่ในขณะนี้ยังไม่มีความชัดเจนในเรื่องของภาษีว่าใครจะเป็นคนจ่าย เพราะมีทั้งเรื่องของภาษีรายได้บุคคลธรรมดา และภาษีเงินได้นิติบุคคล ที่ยังไม่ชัดเจนว่าจะต้องเสียภาษีอย่างไร
โดยในการบริหารทรัพย์สินนั้น หากเป็นการบริหารแบบ Passive Share Holder คือ ถือหุ้นเอาไว้อย่างเดียวโดยไม่ต้องทำอะไร แล้วคืนกลับไปหลังจากรัฐมนตรีพ้นจากตำแหน่งแล้ว ก็ไม่น่าเป็นห่วงอะไร เพราะไม่ต้องจัดการอะไรมาก แต่หากเป็นการบริหารแบบ Freehand คือ โอนหุ้นมาให้บลจ.อย่างเด็ดขาด โดย บลจ.นั้นสามารถนำหุ้นดังกล่าวไปทำอะไรก็ได้ โดยที่รัฐมนตรีคนนั้นไม่มีสิทธิเข้ามาครอบงำ แต่ในรูปแบบนี้อาจจะมีความเสี่ยงสูงกว่า ไม่ว่าจะเป็นการบริหารแล้วขาดทุน หรือหากเกิดเป็นคดีทางการเมืองขึ้นมา ก็อาจจะมีผลกระทบต่อชื่อเสียงของบริษัทได้
“เท่าที่ทราบ ในปัจจุบันมีบริษัทจัดการที่มีใบอนุญาตกองทุนส่วนบุคคลจำนวน 2 แห่งที่มีธุรกิจนี้อยู่ โดยรายหนึ่งเป็นบริษัทจัดการกองทุน ส่วนอีก 1 รายนั้นเป็นธนาคารพาณิชย์” นายมาริษ กล่าว
นายชัยรัตน์ ขนิษฐบุตร ผู้อำนวยการสำนักพัฒนาระบบตรวจสอบ สำนักงาน ป.ป.ช.กล่าวว่า สำหรับขั้นตอนของ Blind Trust นั้น หลังจากรัฐมนตรีได้รับการแต่งตั้งแล้ว หากประสงค์จะได้ประโยชน์จากหุ้นที่ถือเกิน 5% จะต้องทำหน้งสือแจ้งไปยัง ป.ป.ช.ภายใน 30 วัน โดยรัฐมนตรีมีเวลา 90 วันในการดำเนินขั้นตอนการโอนหุ้นให้บริษัทจัดการ และหลังจากโอนแล้ว ให้แจ้ง ป.ป.ช.อีกครั้งภายใน 10 วัน ซึ่งในส่วนของบริษัทจัดการที่รับบริหาร ก็จะต้องแจ้ง ป.ป.ช.ด้วยว่ามีการโอนหุ้นมาจริง
วานนี้ (15 ม.ค.) ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย ได้จัดงานสัมมนา “ลงทุนเปิดเผย การเมืองโปร่งใส ผ่านกลไก Blind Trust” เพื่อส่งเสริมการมีบรรษัทภิบาลที่ดีในระบบบริหารราชการแผ่นดินผ่านกลไกตลาดทุน นายประสงค์ วินัยแพทย์ รองเลขาธิการสำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ก.ล.ต.) กล่าวว่า ก.ล.ต.พร้อมที่จะเข้ามาเป็นผู้ประสานงาน ร่วมรับผิดชอบในการดูแลไม่ให้นักการเมืองใช้อำนาจในการครอบงำบลจ. ที่ทำหน้าที่ในการบริหารสินทรัพย์หรือดูแลการถือหุ้นของนักการเมือง แต่ทาง ป.ป.ช.ควรที่จะกำหนดรายละเอียดแนบท้ายสัญญาที่ทำร่วมกันระหว่างบลจ.กับนักการเมืองให้มีความชัดเจน เพื่อไม่ให้เกิดปัญหาในอนาคต กรณีหากมีการร้องเรียนการลงทุนของนักการเมือง เช่น ใช้ผลประโยชน์ทับซ้อน
ทั้งนี้ เสนอให้มีสัญญามาตรฐานเพื่อเป็นแนวทางในการใช้กำหนดกรอบ เพราะในกฎหมายไม่ได้ระบุไว้อย่างชัดเจน แต่ขึ้นอยู่กับการพิจารณาของสำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (ป.ป.ช.) เท่านั้น ซึ่ง ป.ป.ช.เองไม่ได้อยู่ในวงการตลาดทุน ไม่รู้ว่าเงื่อนไขควรจะเป็นเช่นไร ดังนั้น หากมีสัญญามาตรฐานแล้ว ก็จะเอื้อให้เกิดธุรกรรมมากขึ้น
“ก.ล.ต.เราพร้อมที่จะรับประสานงานให้เพราะ บลจ.อยู่ภายใต้การดูแลของเรา เพียงแต่ว่าจะต้องกำหนดกรอบให้เป็นมาตราฐานเดียวกันเพื่อจะได้ไม่มีปัญหา และสบายใจในการรับรู้ความต้องการของรัฐมนตรีแค่ไหน ระดับไหน ป.ป.ช.รับได้ซึ่งหากคุยกันก็จะง่ายต่อบลจ.ที่เข้าไปรับงานด้วย เช่นอย่างหุ้นที่มอบหมายให้บลจ.บริหารจะทำอย่างไร หรือกำหนดกรอบหรือมีเงื่อนไขอย่างไร” นายประสงค์กล่าว
สำหรับ Blind Trust คือ การโอนหุ้นให้บลจ.ดูแลในระหว่างที่นักการเมืองดำรงตำแหน่งทางการเมืองเพื่อหลีกเลี่ยงไม่ให้เกิดผลประโยชน์ทับซ้อน ไม่ใช้เรื่องใหม่และก็ไม่ได้ผิด โดยปัจจุบันกฎหมายไม่ได้ห้ามให้รัฐมนตรีเข้าถือหุ้น แต่เพียงกำหนดไม่เกิน 5% ของจำนวนหุ้นที่ถือ ซึ่งหากถือเกินต้องขายหรือลดสัดส่วนลง ซึ่งเป็นไปตามกฎหมายพระราชบัญญัติการจัดการหุ้นส่วนและหุ้นของรัฐมนตรี พ.ศ.2543 และรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ.2550 มาตรา 269 ที่มีผลบังคับใช้ เพียงแต่ในปัจจุบันหากทำเป็นสัญญามาตราฐานและมีทิศทางเดียวกันเท่านั้น
นายรพี สุจริตกุล ประธานกรรมการบริหาร บริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุน (บลจ.) กสิกรไทย จำกัด กล่าวว่า ปัจจุบันกฎหมายที่เกี่ยวกับ Blind Trust มีอยู่ 2 ฉบับด้วยกัน นั่นคือ พระราชบัญญัติการจัดการหุ้นส่วนและหุ้นของรัฐมนตรี พ.ศ.2543 และรัฐธรรมนูญ พ.ศ.2550 แต่ที่ผ่านมา กฎหมายทั้ง 2 ฉบับยังไม่มีความชัดเจนในเรื่องของคนกลางที่จะเข้ามาดูแล และทำหน้าที่ตรวจสอบว่ามีการกระทำความผิด หรือมีการครอบงำระหว่างตัวรัฐมนตรีและบริษัทจัดการ ที่รัฐมนตรีรายนั้นโอนหุ้นไปให้บริหารหรือไม่ ซึ่งรวมไปถึงอำนาจในการลงโทษด้วยว่าสุดท้ายแล้วตกไปอยู่กับใคร ดังนั้น จึงอยากให้หน่วยงานที่เดียวข้องเข้ามาสร้างความชัดเจนในเรื่องนี้
ในขณะเดียวกัน กฎหมาย Trust เพื่อตลาดทุน ซึ่งเป็นกฎหมายใหม่ที่กำลังจะออกมาใช้บังคับ ควรจะต้องมีความชัดเจน โดยเฉพาะประกาศสำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ก.ล.ต.) และบริษัทจัดการกองทุน ที่ต้องรองรับกฎหมายในส่วนนี้ด้วย
อย่างไรก็ตาม ในส่วนของ บลจ.กสิกรไทยเอง มีความพร้อมอยู่แล้ว หากรัฐมนตรีสนใจให้บริษัทเป็นผู้บริหารทรัพย์สินในส่วนที่เกินให้ ซึ่งเราเองมีใบอนุญาตประกอบธุรกิจจัดการกองทุนส่วนบุคคลอยู่แล้ว แต่ในเบื้องต้น หากเป็นการรับบริหารแบบถือครองเอาไว้อย่างเดียว โดยไม่ได้เปลี่ยนแปลงอะไร น่าจะเป็นแนวทางที่ทำได้เร็วที่สุด เพราะในเรื่องของกฎหมายหรือคนที่จะเข้ามาตรวจสอบยังไม่ชัดเจน
ด้าน นายมาริษ ท่าราบ กรรมการผู้จัดการ บลจ.ไอเอ็นจี (ประเทศไทย) กล่าวว่า สำหรับ บลจ.ไอเอ็นจีเอง มีความพร้อมและสนใจบริหารทรัพย์สินให้รัฐมนตรีเช่นกัน แต่ในขณะนี้ยังไม่มีความชัดเจนในเรื่องของภาษีว่าใครจะเป็นคนจ่าย เพราะมีทั้งเรื่องของภาษีรายได้บุคคลธรรมดา และภาษีเงินได้นิติบุคคล ที่ยังไม่ชัดเจนว่าจะต้องเสียภาษีอย่างไร
โดยในการบริหารทรัพย์สินนั้น หากเป็นการบริหารแบบ Passive Share Holder คือ ถือหุ้นเอาไว้อย่างเดียวโดยไม่ต้องทำอะไร แล้วคืนกลับไปหลังจากรัฐมนตรีพ้นจากตำแหน่งแล้ว ก็ไม่น่าเป็นห่วงอะไร เพราะไม่ต้องจัดการอะไรมาก แต่หากเป็นการบริหารแบบ Freehand คือ โอนหุ้นมาให้บลจ.อย่างเด็ดขาด โดย บลจ.นั้นสามารถนำหุ้นดังกล่าวไปทำอะไรก็ได้ โดยที่รัฐมนตรีคนนั้นไม่มีสิทธิเข้ามาครอบงำ แต่ในรูปแบบนี้อาจจะมีความเสี่ยงสูงกว่า ไม่ว่าจะเป็นการบริหารแล้วขาดทุน หรือหากเกิดเป็นคดีทางการเมืองขึ้นมา ก็อาจจะมีผลกระทบต่อชื่อเสียงของบริษัทได้
“เท่าที่ทราบ ในปัจจุบันมีบริษัทจัดการที่มีใบอนุญาตกองทุนส่วนบุคคลจำนวน 2 แห่งที่มีธุรกิจนี้อยู่ โดยรายหนึ่งเป็นบริษัทจัดการกองทุน ส่วนอีก 1 รายนั้นเป็นธนาคารพาณิชย์” นายมาริษ กล่าว
นายชัยรัตน์ ขนิษฐบุตร ผู้อำนวยการสำนักพัฒนาระบบตรวจสอบ สำนักงาน ป.ป.ช.กล่าวว่า สำหรับขั้นตอนของ Blind Trust นั้น หลังจากรัฐมนตรีได้รับการแต่งตั้งแล้ว หากประสงค์จะได้ประโยชน์จากหุ้นที่ถือเกิน 5% จะต้องทำหน้งสือแจ้งไปยัง ป.ป.ช.ภายใน 30 วัน โดยรัฐมนตรีมีเวลา 90 วันในการดำเนินขั้นตอนการโอนหุ้นให้บริษัทจัดการ และหลังจากโอนแล้ว ให้แจ้ง ป.ป.ช.อีกครั้งภายใน 10 วัน ซึ่งในส่วนของบริษัทจัดการที่รับบริหาร ก็จะต้องแจ้ง ป.ป.ช.ด้วยว่ามีการโอนหุ้นมาจริง