แบงก์กสิกรไทย ได้ฤกษ์เคาะเป้าหมายปล่อยสินเชื่อปีหน้าโต 7% โดยเอสเอ็มอีวางเป้าหมายขยายตัว 13% เน้นรายย่อมเพราะไม่ได้รับผลกระทบจากวิกฤตการเงินโลก ส่วนปีนี้รับพลาดเป้าเพราะเศรษฐกิจชะลอตัว ทำให้การขยายตัวของสินเชื่อชะลอตัวไปด้วย ระบุแบงก์ปรับสกอริ่งตลอดตามภาวะการณ์ที่เปลี่ยนแปลง
นายปกรณ์ พรรธนะแพทย์ รองกรรมการผู้จัดการ ธนาคารกสิกรไทย จำกัด (มหาชน) หรือ KBANK เปิดเผยว่า ขณะนี้ธนาคารได้ทำการทบทวนการปล่อยสินเชื่อในปีหน้าเสร็จแล้ว โดยการเติบโตของสินเชื่อรวมของธนาคารตั้งเป้าหมายไว้ที่ 7% ส่วนของการเติบโตของสินเชื่อผู้ประกอบการธุรกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (เอสเอ็มอี) ตั้งเป้าหมายไว้ที่ 13% หรือเป็นเม็ดเงินประมาณ 45,000 ล้านบาท ซึ่งจะทำให้ยอดสินเชื่อคงค้างของเอสเอ็มอีสิ้นปีหน้าเพิ่มขึ้นไปอยู่ที่ 390,000 ล้านบาท และธนาคารได้มีการปรับลดเป้าหมายการปล่อยสินเชื่อของในส่วนของรายใหญ่ลงและมีลดเป้าหมายของผลิตภัณฑ์บางตัวที่กำไรน้อยลงไปด้วย
ทั้งนี้ การปล่อยสินเชื่อเอสเอ็มอีของธนาคารในปีนี้ตั้งเป้าหมายเติบโตที่ 18-20% แต่คาดว่าจะสามารถมีการขยายตัวอยู่ที่ 15% ซึ่งต่ำกว่าเป้าหมายที่ตั้งไว้ เนื่องจากภาวะเศรษฐกิจที่ชะลอ ทำให้การเติบโตของสินเชื่อจึงมีการชะลอลงตามไปด้วย
“ปีหน้าเราจะเน้นตัวรายย่อม คือ กลุ่มที่มียอดขายไม่เกิน 50 ล้านบาท เพราะฐานตอนนี้ยังเล็กอยู่ อีกทั้งกลุ่มนี้ไม่ได้เกี่ยวข้องกับเรื่องของการส่งออก โดยส่วนใหญ่จะเป็นธุรกิจที่เกี่ยวกับภาคการอุปโภคบริโภคในประเทศ จึงไม่ได้รับผลกระทบจากวิกฤตการเงินโลกที่เกิดขึ้นตอนนี้ ส่วนลูกค้าที่มีอยู่ตอนนี้ก็จะเป็นลูกค้าเก่าครึ่งลูกค้าใหม่ครึ่ง”
ส่วน หนี้ที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้ (เอ็นพีแอล) ก่อนหักสำรองของสินเชื่อเอสเอ็มอีอยู่ที่กว่า 2% และเอ็นพีแอลสุทธิอยู่ที่ 0.5% โดยปีหน้าสัญญาณเพิ่มขึ้นคงมี แต่ธนาคารได้มีระบบติดตามดูแลเรื่องเอ็นพีแอลอย่างใกล้ชิดอยู่แล้ว ส่วนลูกค้าเอสเอ็มอีที่ทำธุรกิจเกี่ยวข้องกับการส่งออก ซึ่งมีอยู่ประมาณ 12% ก็ได้มีการติดตามดูแลอย่างใกล้ชิดเช่นกัน โดยตอนนี้ธนาคารก็ได้มีการแนะนำให้ทำประกันความเสี่ยงไว้แล้ว
อย่างไรก็ตาม ที่ผ่านมา ธนาคารได้มีการปรับเครดิตสกอริ่งในการอนุมัติสินเชื่อมาโดยตลอด โดยได้นำเอาปัจจัยด้านเศรษฐกิจเข้ามาประกอบและข้อมูลที่เป็นปัจจุบันเข้ามาเป็นโมเดลในการพิจารณาสินเชื่อ สำหรับสัดส่วนการอนุมัติสินเชื่อเอสเอ็มอีปัจจุบันอยู่ที่ 70%
นายปกรณ์ กล่าวอีกว่า ในขณะนี้ไม่ว่ารัฐบาลจะมาจากกลุ่มไหน แต่สิ่งที่ต้องมุ่งเน้นคือเรื่องของการแก้ไขปัญหาเศรษฐกิจเป็นหลัก และรัฐบาลใหม่ที่จะเข้ามาบริหารประเทศนั้น จะต้องดูแลคือเรื่องของความเชื่อมั่น เพราะจะเป็นส่วนที่ช่วยกระตุ้นเศรษฐกิจได้ และหากกระตุ้นเศรษฐกิจได้ก็จะทำให้ส่วนของเอสเอ็มอีเดินหน้าต่อไปได้ด้วย
ส่วนการปรับลดอัตราดอกเบี้ยของธนาคารนั้น ก็เพื่อให้สอดคล้องกับธนาคารแห่งอื่น และจะเป็นผลดีกับผู้ประกอบการเอสเอ็มอี เพราะจะมีต้นทุนที่ลดลงและจะมีกำไรที่มากขึ้น อีกทั้งยังเป็นส่วนที่ช่วยกระตุ้นเศรษฐกิจได้
นายปกรณ์ พรรธนะแพทย์ รองกรรมการผู้จัดการ ธนาคารกสิกรไทย จำกัด (มหาชน) หรือ KBANK เปิดเผยว่า ขณะนี้ธนาคารได้ทำการทบทวนการปล่อยสินเชื่อในปีหน้าเสร็จแล้ว โดยการเติบโตของสินเชื่อรวมของธนาคารตั้งเป้าหมายไว้ที่ 7% ส่วนของการเติบโตของสินเชื่อผู้ประกอบการธุรกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (เอสเอ็มอี) ตั้งเป้าหมายไว้ที่ 13% หรือเป็นเม็ดเงินประมาณ 45,000 ล้านบาท ซึ่งจะทำให้ยอดสินเชื่อคงค้างของเอสเอ็มอีสิ้นปีหน้าเพิ่มขึ้นไปอยู่ที่ 390,000 ล้านบาท และธนาคารได้มีการปรับลดเป้าหมายการปล่อยสินเชื่อของในส่วนของรายใหญ่ลงและมีลดเป้าหมายของผลิตภัณฑ์บางตัวที่กำไรน้อยลงไปด้วย
ทั้งนี้ การปล่อยสินเชื่อเอสเอ็มอีของธนาคารในปีนี้ตั้งเป้าหมายเติบโตที่ 18-20% แต่คาดว่าจะสามารถมีการขยายตัวอยู่ที่ 15% ซึ่งต่ำกว่าเป้าหมายที่ตั้งไว้ เนื่องจากภาวะเศรษฐกิจที่ชะลอ ทำให้การเติบโตของสินเชื่อจึงมีการชะลอลงตามไปด้วย
“ปีหน้าเราจะเน้นตัวรายย่อม คือ กลุ่มที่มียอดขายไม่เกิน 50 ล้านบาท เพราะฐานตอนนี้ยังเล็กอยู่ อีกทั้งกลุ่มนี้ไม่ได้เกี่ยวข้องกับเรื่องของการส่งออก โดยส่วนใหญ่จะเป็นธุรกิจที่เกี่ยวกับภาคการอุปโภคบริโภคในประเทศ จึงไม่ได้รับผลกระทบจากวิกฤตการเงินโลกที่เกิดขึ้นตอนนี้ ส่วนลูกค้าที่มีอยู่ตอนนี้ก็จะเป็นลูกค้าเก่าครึ่งลูกค้าใหม่ครึ่ง”
ส่วน หนี้ที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้ (เอ็นพีแอล) ก่อนหักสำรองของสินเชื่อเอสเอ็มอีอยู่ที่กว่า 2% และเอ็นพีแอลสุทธิอยู่ที่ 0.5% โดยปีหน้าสัญญาณเพิ่มขึ้นคงมี แต่ธนาคารได้มีระบบติดตามดูแลเรื่องเอ็นพีแอลอย่างใกล้ชิดอยู่แล้ว ส่วนลูกค้าเอสเอ็มอีที่ทำธุรกิจเกี่ยวข้องกับการส่งออก ซึ่งมีอยู่ประมาณ 12% ก็ได้มีการติดตามดูแลอย่างใกล้ชิดเช่นกัน โดยตอนนี้ธนาคารก็ได้มีการแนะนำให้ทำประกันความเสี่ยงไว้แล้ว
อย่างไรก็ตาม ที่ผ่านมา ธนาคารได้มีการปรับเครดิตสกอริ่งในการอนุมัติสินเชื่อมาโดยตลอด โดยได้นำเอาปัจจัยด้านเศรษฐกิจเข้ามาประกอบและข้อมูลที่เป็นปัจจุบันเข้ามาเป็นโมเดลในการพิจารณาสินเชื่อ สำหรับสัดส่วนการอนุมัติสินเชื่อเอสเอ็มอีปัจจุบันอยู่ที่ 70%
นายปกรณ์ กล่าวอีกว่า ในขณะนี้ไม่ว่ารัฐบาลจะมาจากกลุ่มไหน แต่สิ่งที่ต้องมุ่งเน้นคือเรื่องของการแก้ไขปัญหาเศรษฐกิจเป็นหลัก และรัฐบาลใหม่ที่จะเข้ามาบริหารประเทศนั้น จะต้องดูแลคือเรื่องของความเชื่อมั่น เพราะจะเป็นส่วนที่ช่วยกระตุ้นเศรษฐกิจได้ และหากกระตุ้นเศรษฐกิจได้ก็จะทำให้ส่วนของเอสเอ็มอีเดินหน้าต่อไปได้ด้วย
ส่วนการปรับลดอัตราดอกเบี้ยของธนาคารนั้น ก็เพื่อให้สอดคล้องกับธนาคารแห่งอื่น และจะเป็นผลดีกับผู้ประกอบการเอสเอ็มอี เพราะจะมีต้นทุนที่ลดลงและจะมีกำไรที่มากขึ้น อีกทั้งยังเป็นส่วนที่ช่วยกระตุ้นเศรษฐกิจได้