ธุรกิจประกันเชื่องบขาดดุลกลางปีอัดฉีดเศรษฐกิจ 1 แสนล้านส่งผลดีทางอ้อมให้รากหญ้าสนใจอมเงินผ่านประกันชีวิตมากขึ้น "สาระ ล่ำซำ"เชื่อผู้บริโภคมีความรู้มากขึ้นตัวแทนขายต้องแจงข้อมูลฐานะการเงินละเอียดยิบ ด้านบิ๊กเอเอซีพี "วิลฟ์ แบล็คเบิร์น" เผยเศรษฐกิจขาลงทำให้คนเร่งทำประกันเพื่อสร้างหลักที่มั่นคงให้กับชีวิต
นายสาระ ล่ำซำ กรรมการผู้จัดการ บริษัท เมืองไทยประกันชีวิต จำกัด เปิดเผยว่า การที่รัฐบาลเตรียมทำงบประมาณกลางปีขาดดุลเพิ่มอีก 1.1 แสนล้านบาทเพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจที่ประสบปัญหาจากวิกฤตการเงินสหรัฐนั้นเชื่อว่าจะส่งผลต่อต่อเศรษฐกิจโดยรวม ซึ่งเม็ดเงินจำนวน 1.1 แสนล้านบาทที่ลงไปนั้นจะเกิดการสร้างงานสร้างรายได้ให้กับประชาชนในระดับฐานรากและจะส่งผลทางอ้อมให้กับธุรกิจประกันชีวิตได้ในระดับหนึ่ง
"การทำงบประมาณขาดดุลของรัฐบาลน่าจะส่งผลดีต่อระบบเศรษฐกิจได้ในระดับหนึ่งและธุรกิจประกันชีวิตก็จะได้ประโยชน์ทางอ้อมจากมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจนี้ของรัฐบาลด้วย เพราะเมื่อเงินเข้าสู่มือประชาชนก็จะมีการจับจ่ายใช้สอยและส่วนหนึ่งก็จะมีการซื้อประกันชีวิตด้วย" นายสาระกล่าว
สำหรับวิกฤตสถาบันการเงินในสหรัฐที่ลุกลามไปทั่วโลกและกระทบต่อบริษัทประกันชีวิตบางแห่งนั้นได้ส่งผลให้พฤติกรรมการออมเงินผ่านประกันชีวิตเปลี่ยนแปลงไป ซึ่งจากเดิมลูกค้าที่ซื้อกรมธรรม์ไม่ค่อยใส่ใจรายละเอียดและโครงสร้างการบริหารจัดการของบริษัทคู่สัญญามากนัก แต่ในปัจจุบันการซื้อกรมธรรม์ต้องพิจารณาถึงเงินกองทุนของบริษัทและการบริหารความเสี่ยงด้านต่างๆ ของบริษัทเพิ่มมากขึ้นด้วยซึ่งถือว่าเป็นวิวัฒนาการที่เปลี่ยนแปลงไปของผู้บริโภคเพื่อป้องกันความเสี่ยงของตนเองด้วย
"ตอนนี้พฤติกรรมการซื้อของลูกค้าได้เปลี่ยนแปลงไปมากจากเดิมที่ซื้อแค่เพื่อต้องการออมเงินหรือใช้ลดหย่อนเงินภาษีประจำปีเท่านั้น แต่หลังจากเกิดวิกฤติการเงินในสหรัฐขึ้นมาแล้วคนเริ่มให้ความสนใจคุณภาพของสินค้า ช่องทางการซื้อและการบริการ และในระยะหลังได้สอบถามละเอียดถึงเงินกองทุนของบริษัทและการบริหารความเสี่ยงของบริษัทด้วย"นายสาระกล่าว
**จัดโครงการตอบแทนสังคม**
นายสาระ กล่าวว่า บริษัทได้ร่วมกับกองทัพอากาศ จังหวัดภูเก็ต องค์การบริหารส่วนตำบลเชิงทะเล มูลนิธิเพื่อทะเล การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย สมาคมดำน้ำประเทศไทย (TDA) ในการตอบแทนสังคมไทยอีกครั้งกับ "โครงการฝูงบินปะการังเพื่อทะเล" นำเครื่องบินที่ปลดประจำการจำนวน 10ลำลงสู่ใต้ท้องทะเล เพื่อใช้ทำแนวปะการังเทียม นับเป็นโครงการที่มีประโยชน์และตรงกับวัตถุประสงค์ด้านสิ่งแวดล้อมของบริษัท
ซึ่งเมืองไทยประกันชีวิตมีแนวคิดในการจัดตั้งโครงการในลักษณะเดียวกัน แต่เมื่อได้เห็นโครงการนี้ทำให้เราได้เห็นว่าเป็นโครงการที่สามารถสานต่อความตั้งใจเดิมได้เร็วที่สุดโดยบริษัท มีส่วนร่วมสนับสนุนโครงการเพื่อมีส่วนร่วมในการสร้างแนวปะการังเทียมให้เป็นที่อยู่อาศัยของปลาและสิ่งมีชีวิตใต้น้ำ เกิดประโยชน์ต่อทั้งเศรษฐกิจและสิ่งแวดล้อม ส่งเสริมการท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์ โดยการประชาสัมพันธ์ให้เป็นแหล่งดำน้ำที่มีชื่อเสียงระดับโลกสามารถดึงดูดนักท่องเที่ยวจากทั่วโลกได้
ด้านนายวิลฟ์ แบล็คเบิร์น กรรมการผู้จัดการใหญ่ บมจ.อยุธยา อลิอันซ์ ซี.พี.ประกันชีวิต AACP กล่าวว่า เงินงบประมาณที่รัฐบาลจะอัดฉีดเข้าสู่ระบบเพิ่มอีก 1.1 แสนล้านบาทนั้นเชื่อว่าจะส่งผลกระตุ้นให้ประชาชนมีกำลังในการจับจ่ายใช้สอยในระดับหนึ่ง ซึ่งทางเอเอซีพีก็คาดหวังเช่นกันว่าเม็ดเงินที่หมุนเวียนในระบบที่รัฐบาลอัดฉีดเข้ามานั้นส่วนหนึ่งจะเข้ามาถึงธุรกิจประกันชีวิตด้วย
ทั้งนี้ จากภาวะเศรษฐกิจที่ส่งสัญญาณชะลอตัวเนื่องจากได้รับผลกระทบจากวิกฤตสถาบันการเงินของสหรัฐนั้นเชื่อว่าประชาชนบางส่วนจะให้ความสำคัญกับการออมผ่านทางประกันชีวิตมากขึ้น เนื่องจากเล็งเห็นว่าในอนาคตหากเศรษฐกิจเลวร้ายลงไปมากกว่านี้จะต้องหาที่ยึดเหนี่ยวที่สามารถสร้างความมั่นคงให้กับชีวิตได้ ซึ่งการออมโดยผ่านประกันชีวิตก็จะเป็นวิธีการหนึ่งที่จะสามารถตอบโจทย์นี้ของประชาชนได้
นายสาระ ล่ำซำ กรรมการผู้จัดการ บริษัท เมืองไทยประกันชีวิต จำกัด เปิดเผยว่า การที่รัฐบาลเตรียมทำงบประมาณกลางปีขาดดุลเพิ่มอีก 1.1 แสนล้านบาทเพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจที่ประสบปัญหาจากวิกฤตการเงินสหรัฐนั้นเชื่อว่าจะส่งผลต่อต่อเศรษฐกิจโดยรวม ซึ่งเม็ดเงินจำนวน 1.1 แสนล้านบาทที่ลงไปนั้นจะเกิดการสร้างงานสร้างรายได้ให้กับประชาชนในระดับฐานรากและจะส่งผลทางอ้อมให้กับธุรกิจประกันชีวิตได้ในระดับหนึ่ง
"การทำงบประมาณขาดดุลของรัฐบาลน่าจะส่งผลดีต่อระบบเศรษฐกิจได้ในระดับหนึ่งและธุรกิจประกันชีวิตก็จะได้ประโยชน์ทางอ้อมจากมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจนี้ของรัฐบาลด้วย เพราะเมื่อเงินเข้าสู่มือประชาชนก็จะมีการจับจ่ายใช้สอยและส่วนหนึ่งก็จะมีการซื้อประกันชีวิตด้วย" นายสาระกล่าว
สำหรับวิกฤตสถาบันการเงินในสหรัฐที่ลุกลามไปทั่วโลกและกระทบต่อบริษัทประกันชีวิตบางแห่งนั้นได้ส่งผลให้พฤติกรรมการออมเงินผ่านประกันชีวิตเปลี่ยนแปลงไป ซึ่งจากเดิมลูกค้าที่ซื้อกรมธรรม์ไม่ค่อยใส่ใจรายละเอียดและโครงสร้างการบริหารจัดการของบริษัทคู่สัญญามากนัก แต่ในปัจจุบันการซื้อกรมธรรม์ต้องพิจารณาถึงเงินกองทุนของบริษัทและการบริหารความเสี่ยงด้านต่างๆ ของบริษัทเพิ่มมากขึ้นด้วยซึ่งถือว่าเป็นวิวัฒนาการที่เปลี่ยนแปลงไปของผู้บริโภคเพื่อป้องกันความเสี่ยงของตนเองด้วย
"ตอนนี้พฤติกรรมการซื้อของลูกค้าได้เปลี่ยนแปลงไปมากจากเดิมที่ซื้อแค่เพื่อต้องการออมเงินหรือใช้ลดหย่อนเงินภาษีประจำปีเท่านั้น แต่หลังจากเกิดวิกฤติการเงินในสหรัฐขึ้นมาแล้วคนเริ่มให้ความสนใจคุณภาพของสินค้า ช่องทางการซื้อและการบริการ และในระยะหลังได้สอบถามละเอียดถึงเงินกองทุนของบริษัทและการบริหารความเสี่ยงของบริษัทด้วย"นายสาระกล่าว
**จัดโครงการตอบแทนสังคม**
นายสาระ กล่าวว่า บริษัทได้ร่วมกับกองทัพอากาศ จังหวัดภูเก็ต องค์การบริหารส่วนตำบลเชิงทะเล มูลนิธิเพื่อทะเล การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย สมาคมดำน้ำประเทศไทย (TDA) ในการตอบแทนสังคมไทยอีกครั้งกับ "โครงการฝูงบินปะการังเพื่อทะเล" นำเครื่องบินที่ปลดประจำการจำนวน 10ลำลงสู่ใต้ท้องทะเล เพื่อใช้ทำแนวปะการังเทียม นับเป็นโครงการที่มีประโยชน์และตรงกับวัตถุประสงค์ด้านสิ่งแวดล้อมของบริษัท
ซึ่งเมืองไทยประกันชีวิตมีแนวคิดในการจัดตั้งโครงการในลักษณะเดียวกัน แต่เมื่อได้เห็นโครงการนี้ทำให้เราได้เห็นว่าเป็นโครงการที่สามารถสานต่อความตั้งใจเดิมได้เร็วที่สุดโดยบริษัท มีส่วนร่วมสนับสนุนโครงการเพื่อมีส่วนร่วมในการสร้างแนวปะการังเทียมให้เป็นที่อยู่อาศัยของปลาและสิ่งมีชีวิตใต้น้ำ เกิดประโยชน์ต่อทั้งเศรษฐกิจและสิ่งแวดล้อม ส่งเสริมการท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์ โดยการประชาสัมพันธ์ให้เป็นแหล่งดำน้ำที่มีชื่อเสียงระดับโลกสามารถดึงดูดนักท่องเที่ยวจากทั่วโลกได้
ด้านนายวิลฟ์ แบล็คเบิร์น กรรมการผู้จัดการใหญ่ บมจ.อยุธยา อลิอันซ์ ซี.พี.ประกันชีวิต AACP กล่าวว่า เงินงบประมาณที่รัฐบาลจะอัดฉีดเข้าสู่ระบบเพิ่มอีก 1.1 แสนล้านบาทนั้นเชื่อว่าจะส่งผลกระตุ้นให้ประชาชนมีกำลังในการจับจ่ายใช้สอยในระดับหนึ่ง ซึ่งทางเอเอซีพีก็คาดหวังเช่นกันว่าเม็ดเงินที่หมุนเวียนในระบบที่รัฐบาลอัดฉีดเข้ามานั้นส่วนหนึ่งจะเข้ามาถึงธุรกิจประกันชีวิตด้วย
ทั้งนี้ จากภาวะเศรษฐกิจที่ส่งสัญญาณชะลอตัวเนื่องจากได้รับผลกระทบจากวิกฤตสถาบันการเงินของสหรัฐนั้นเชื่อว่าประชาชนบางส่วนจะให้ความสำคัญกับการออมผ่านทางประกันชีวิตมากขึ้น เนื่องจากเล็งเห็นว่าในอนาคตหากเศรษฐกิจเลวร้ายลงไปมากกว่านี้จะต้องหาที่ยึดเหนี่ยวที่สามารถสร้างความมั่นคงให้กับชีวิตได้ ซึ่งการออมโดยผ่านประกันชีวิตก็จะเป็นวิธีการหนึ่งที่จะสามารถตอบโจทย์นี้ของประชาชนได้