xs
xsm
sm
md
lg

สงครามลิ้น 3 : บทเรียนการคัดเลือกผู้นำผู้ "ชอบธรรม"

เผยแพร่:   โดย: MGR Online

นายมนตรี ศรไพศาล
คอลัมน์ : รอบรู้ตลาดทุน โดย...มนตรี ศรไพศาล (montree4life@yahoo.com)

ประเทศที่เขาพัฒนาแล้ว อย่างสหรัฐอเมริกา เขาให้ความสำคัญกับการได้ผู้นำผู้ "ชอบธรรม" เป็นอย่างมาก ด่านแรกที่ประชาชนของเขาได้เห็น คือการสัมภาษณ์ความคิด โดย ศิษยาภิบาล ริค วอเรน ผู้เขียนหนังสือ "the Purpose Driven Life" ที่ขายไปแล้วกว่า 30 ล้านเล่มทั่วโลก เป็นหนังสือที่เปลี่ยนแปลงชีวิตผู้คนมาแล้วมากมาย

ข้อสังเกตหนึ่งคือ เขาไม่ปล่อยให้นักการเมืองพูดคนเดียว แต่เอาคนที่มีศักดิ์ศรีสูงมองตากันได้ คุยอยู่ด้วย วิธีนี้ เป็นดังการ "สานเสวนา" ที่เปิดโอกาสให้พูดโต้แย้งกันได้ 2 ด้าน เป็น "สงครามลิ้น" ย่อมๆอีกแบบหนึ่ง เขาคงกลัวว่า เวลาพูดคนเดียว จะมีความเสี่ยงที่โอบามาหรือแมคเคนอาจใช้ความเท็จ สร้างความเข้าใจผิด และยุยงให้คนหมู่มากที่ฟังความเท็จสร้างความปั่นป่วนในสังคมได้

ในการสัมภาษณ์เรื่อง "คุณธรรม" โดยผู้ทรงธรรมระดับศิษยาภิบาล มีหลายช่วงหลายตอนที่ให้บทเรียนน่าสนใจ ดังนี้
1. ประชาชนเขาเชื่อว่า "ความเชื่อ และความศรัทธา" เป็นสิ่งที่แยกไม่ออกจาก "ความคิดทางการเมือง" เพราะความเชื่อเกี่ยวข้องกับมุมมองต่อโลก และแต่ละคนอาจมีมุมมองต่อโลกที่แตกต่างกัน
ทำให้ผมนึกถึงหลักธรรมที่ว่า "ไม่มีผู้ใดเป็นข้าสองเจ้าบ่าวสองนายได้ เพราะว่าจะชังนายข้างหนึ่ง และจะรักนายอีกข้างหนึ่ง หรือจะนับถือนายฝ่ายหนึ่ง และจะดูหมิ่นนายอีกฝ่ายหนึ่ง ท่านจะปฏิบัติพระเจ้าและจะปฏิบัติเงินทองพร้อมกันไม่ได้"

คนเราผู้ใช้ชีวิตโดยยึดความถูกต้องชอบธรรม กับ ผู้ใช้ชีวิตแสวงหาแต่เงินทองประโยชน์ส่วนตัว ย่อมมีวิธีคิด วิธีทำงานที่ต่างกัน และเชื่อได้ว่า พระเจ้าทรงยุติธรรม อยู่กับความชอบธรรม ชีวิตก็สงบสุขลึกถึงจิตวิญญาณ และที่คิดแค่ทรัพย์สินเงินทอง ก็เคว้งคว้าง ลมๆแล้งๆ ขาดสันติสุขแท้ในจิตวิญญาณ

2. วอเรนบอกว่า "ในฐานะศิษยาภิบาล ผมขอให้ข้อพระคัมภีร์ 'ทางของคนโง่นั้นถูกต้องในสายตาของเขาเอง แต่ปราชญ์ย่อมฟังคำแนะนำ' ใครในชีวิตของคุณที่คุณคิดว่าจะ "ฟัง" ในการบริหารงานของคุณ ?
และทั้งคู่แข่งทั้งสองต่างก็ได้ระบุบุคคลผู้เป็นที่นับถือ ซึ่งจะให้แง่คิดในหลายๆด้านได้ แต่โอบามาก็ได้เสริมสิ่งสำคัญอีกว่า เขายังนึกถึงคำสอนของย่า (พ่อไม่ได้อยู่กับเขาตั้งแต่เด็กๆ) ที่อบรมเขาจนโต และเขาก็ฟังภรรยาของเขา ผู้ที่คอยเตือนสติเขาในหลายๆเรื่อง

ผมดูแล้วนึกถึงชีวิตของดาวิด ผู้ที่เดินตามทางของพระเจ้ามาโดยตลอด แต่เมื่อบรรลุอำนาจสูงสุด กลับโลภภรรยาของนายทหารนายหนึ่ง จึงสั่งให้นายทหารนั้นไปออกรบ แม้ไม่ได้ฆ่า แต่กลับให้เขาไปตายในหน้าที่ ก็เพียงเพื่อจะได้รับอุปถัมภ์ดูแลภรรยาของนายทหารนั้น ก็เป็นความบาปที่ยอมรับไม่ได้ และในที่สุด ดาวิดก็ถูกพระเจ้าลงโทษจากความผิดนั้น
เป็นบทเรียนว่า "ผู้มีอำนาจที่หลงผิด ก็ทำความผิดยิ่งใหญ่ได้มากกว่าคนทั่วไป จึงต้องมีการเตือนสติ ให้รักษาทางที่ชอบธรรมได้ตลอดไป"

3. วอเรนบอกว่า "มาถึงเรื่องชีวิตส่วนตัว พระคัมภีร์บอกว่า Integrity (ความซื่อสัตย์ ความมั่นคง ความเป็นหนึ่งเดียวกัน) และ Love (ความรัก) เป็นรากฐานสำคัญ คุณคิดว่า อะไรที่นับเป็นความล้มเหลวเชิงจิตวิญญาณของส่วนตัว และอะไรที่นับเป็นความล้มเหลวเชิงจิตวิญญาณของสหรัฐอเมริกาและทั้งคู่แข่งทั้งสองต่างก็ได้ระบุบุคคลผู้เป็นที่นับถือ ซึ่งจะให้แง่คิดในหลายๆด้านได้ แต่โอบามาก็ได้เสริมสิ่งสำคัญอีกว่า เขายังนึกถึงคำสอนของย่า (พ่อไม่ได้อยู่กับเขาตั้งแต่เด็กๆ) ที่อบรมเขาจนโต และเขาก็ฟังภรรยาของเขา ผู้ที่คอยเตือนสติเขาในหลายๆเรื่อง

โอบามาถึงกับสารภาพความเคยหลงผิดในอดีต วัยเด็กที่ครอบครัวเขามีข้อจำกัด พ่อไม่อยู่ที่บ้าน เขาเคยหลงผิดไปทดลองยาเสพติด เขาเคยดื่มตามประสาวัยรุ่น และที่สำคัญที่สุดที่เขายังมีปัญหาด้านจริยธรรมอยู่บ้างก็คือ ความเห็นแก่ตัวในบางครั้งบางคราว หลายครั้ง เขายังขาดการมองถึงบุคคลอื่น และ ในกระบวนการที่เขาเติบโตของเขา เขาเรียนรู้ว่า "ชีวิตของผมไม่ใช่แค่เรื่องของ ตัวผมเอง !!...มันเป็นเรื่องที่เหนือกว่านั้น"

แมคเคนก็สื่อความผิดพลาดจากการแต่งงานครั้งแรกของเขาในอดีต และยืนยันหลักการเดียวกันว่า "ชีวิตเราไม่ใช่เพียงตัวเราเอง...มันเป็นเรื่องที่เหนือกว่านั้น"

บทเรียนจากทั้ง 2 ท่านนี้ตรงกัน และสำคัญมาก "ชีวิตของเราไม่ใช่แค่เห็นแต่ตัวเราเอง เป็นเรื่องที่ยิ่งใหญ่กว่านั้น เหนือกว่านั้น" ก็เพราะผู้นำประเทศ สามารถตัดสินใจแล้วมีผลดีผลเสียต่อคนส่วนมากได้ หากอยู่บนความเห็นแก่ตัว มองประโยชน์ตัวเองเป็นหลัก เหนือประโยชน์ของประเทศชาติ ก็อาจทุจริตเอาประโยชน์ส่วนตัวเหนือประโยชน์ของรัฐได้ หรืออาจทิ้งปัญหาให้เกิดขึ้นกับประเทศ เพียงเพื่อประโยชน์ของตัวเอง หรือเพื่อปกป้องตัวเองได้

บทเรียนสงครามลิ้น ทำให้เห็นถึงความก้าวหน้าทางปัญญา และด้านการกลั่นกรองจริยธรรม ผู้นำที่มีปัญหา ก็ยังถูกสงสัยได้ว่า นำประเทศไปสู่ปัญหาหรือไม่ ? เช่น การเข้าสู่สงครามสมควรหรือไม่ ? การผ่อนคลายกฎกติกาทางการเงิน ปล่อยกู้กลุ่มสินเชื่อจนเกิดปัญหาซับไพรม์ เพื่อสร้างคะแนนนิยม สะสมปัญหาลูกโป่งพองตัวจนต่อมาเกิดวิกฤตเมื่อลูกโป่งแตก ก็เพราะมองประโยชน์เรื่องเสียงตัวเอง เหนือความถูกต้องและเหนือประโยชน์และความสงบของบ้านเมืองได้

หากมีการพูดคุยกันอย่างโปร่งใส ไม่พูดคนเดียว ซักให้เห็นความจริง ทุกฝ่ายยึดความจริง ยึดคุณธรรม ความชอบธรรม และความยุติธรรม ก็จะเกิดขึ้น และทำให้สังคมสงบ สันติ และก้าวหน้าได้ดีอย่างยั่งยืนตลอดไปครับ
กำลังโหลดความคิดเห็น