บอร์ดธปท.มีมติแต่งตั้งบุคคลภายนอกมานั่งเป็นกรรมการในบอร์ดกนง.ชุดใหม่จำนวน 4 คน ได้แก่ "อัมมาร สยามวาลา" "พรายพล คุ้มทรัพย์" อีกครึ่งหนึ่งเป็นกรรมการในบอร์ดชุดเก่า ประเดิมงานแรกประชุม กนง.วันนี้
นายอรรคบุษย์ ไกรฤกษ์ ผู้ช่วยผู้ว่าการ สายช่วยงานบริหาร ธนาคารแห่งประเทศไทย(ธปท.) และในฐานะเลขานุการคณะกรรมการธปท.(บอร์ดธปท.) เปิดเผยว่า หลังจากที่บอร์ดธปท.ชุดรักษาการได้เรียกประชุมวาระพิเศษ เมื่อวันที่ 6 ต.ค.ที่ผ่านมา โดยประเด็นหลักได้มีการแต่งตั้งคณะกรรมการนโยบายการเงิน(กนง.) ชุดใหม่เสร็จสิ้นแล้ว โดยที่ประชุมได้แต่งตั้งผู้ทรงคุณวุฒิจากภายนอกจำนวน 4 คน
ประกอบด้วย นายพรายพล คุ้มทรัพย์ อาจารย์คณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ นายอัมมาร สยามวาลา นักวิชาการเกียรติคุณ สถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย(ทีดีอาร์ไอ) รวมถึงมีการแต่งตั้งบอร์ดกนง.ชุดเก่ามานั่งในชุดนี้ คือ นายจักรมณฑ์ ผาสุกวนิช อดีตปลัดกระทรวงอุตสาหกรรม และนายอำพล กิตติอำพน เลขาธิการสำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ
“บอร์ดธปท.ยังได้แต่งตั้งบุคคลภายนอกมานั่งเป็นกรรมการอีก 4 คนด้วย ซึ่งพิจารณาคัดเลือกผู้ทรงคุณวุฒิจากภายนอกเป็นตามหลักเกณฑ์และคุณสมบัติที่กฎหมายกำหนด คือ มีความรู้ความเชี่ยวชาญด้านเศรษฐศาสตร์หรือด้านการเงิน การธนาคารเป็นอย่างดี นอกเหนือจากผู้บริหารระดับสูงจากธปท. 3 คน คือ ตำแหน่งผู้ว่าการฯ ในฐานะประธาน และรองผู้ว่าฯ อีก 2 คน ในฐานะกรรมการ”
นอกจากนี้ สืบเนื่องจากกระบวนการแต่งตั้งคณะกรรมการธนาคารแห่งประเทศ(ธปท.) ชุดใหม่ ยังไม่แล้วเสร็จ ส่งผลให้ยังไม่สามารถแต่งตั้งคณะกรรมการนโยบายการเงิน(กนง.)ชุดใหม่แทนที่ชุดเก่าที่หมดวาระลงเมื่อวันที่ 31 ส.ค.ที่ผ่านมา ประกอบกับในวันนี้( 8 ต.ค.)นี้จะมีการประชุมของกนง. ซึ่งจำเป็นในการปฏิบัติหน้าที่ เพื่อดูแลให้นโยบายการเงินมีความต่อเนื่องพร้อมรับมือวิกฤตทางการเงินโลกที่มีความผันผวนในปัจจุบัน
สำหรับกรอบการทำงานของ กนง.ชุดใหม่ นอกจากมีอำนาจ หน้าที่ที่สำคัญในการกำหนดเป้าหมายนโยบายการเงินและการบริหารจัดการอัตราแลกเปลี่ยนแล้ว ยังมีอำนาจหน้าที่ที่เพิ่มเติมตามพ.ร.บ.ธปท.ฉบับใหม่ โดยต้องรายงานผลการดำเนินงานนโยบายการเงินแก่คณะรัฐมนตรี(ครม.) ทุก 6 เดือน และภายในเดือนธันวาคมของทุกปี ทาง กนง.จะต้องจัดทำเป้าหมายเงินเฟ้อในปีถัดไปร่วมกับรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง ก่อนจะนำเสนอให้ครม.พิจารณาอนุมัติ และนำเรื่องดังกล่าวประกาศในราชกิจจานุเบกษาต่อไป
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ในบอร์ดกนง.ชุดเก่า ประกอบด้วย ผู้บริหารธปท. 3 คน ได้แก่ นางธาริษา วัฒนเกส ผู้ว่าการธปท. นางอัจนา ไวความดี รองผู้ว่าการ ด้านเสถียรภาพการเงิน และนายบัณฑิต นิจถาวร รองผู้ว่าการ ด้านเสถียรภาพสถาบันการเงิน และยังมีผู้ทรงคุณวุฒิจากภายนอก ได้แก่ นายจักรมณฑ์ ผาสุกวนิช นายอำพน กิตติอำพน และนายอรัญ ธรรมโน ซึ่งเป็นกรรมการชุดเก่าเพียงคนเดียวที่ไม่ได้รับการแต่งตั้งอยู่ในบอร์ดกนง.ชุดใหม่ในครั้งนี้
ด้านนายชาญชัย บุญฤทธิ์ไชยศรี ผู้อำนวยการอาวุโส ฝ่ายกฎหมายและคดี ธปท. กล่าวว่า ในอนาคตหากมีกรรมการคนใดคนหนึ่งจากทั้ง 12 คนในบอร์ดธปท.ชุดรักษาการนี้มีปัญหาไม่สามารถเข้ามาทำหน้าที่ หรือมีอายุครบ 70 ปีบริบูรณ์ ก็ไม่สามารถแต่งตั้งกรรมการคนใหม่มาแทนที่คนเดิมได้ ถือว่าหมดวาระลงทันที ส่วนกรณีที่นางพรรณี สถาวโรดม ที่เกษียณอายุราชการในตำแหน่งผู้อำนวยการสำนักงานเศรษฐกิจการคลัง(สศค.)ก็ไม่มีผลต่อการทำหน้าที่ในบอร์ดธปท. เนื่องจากกรรมการในบอร์ดชุดนี้ไม่ได้มาจากตำแหน่งในภาครัฐ แต่เลือกเป็นตัวบุคคลมานั่งมากกว่า อย่างไรก็ตาม แม้บอร์ดธปท.จะมีกรรมการคนใดคนหนึ่งมีปัญหาออกไป แต่ถ้าองค์ประชุมครบครึ่งหนึ่งก็สามารประชุมกันได้
นายอรรคบุษย์ ไกรฤกษ์ ผู้ช่วยผู้ว่าการ สายช่วยงานบริหาร ธนาคารแห่งประเทศไทย(ธปท.) และในฐานะเลขานุการคณะกรรมการธปท.(บอร์ดธปท.) เปิดเผยว่า หลังจากที่บอร์ดธปท.ชุดรักษาการได้เรียกประชุมวาระพิเศษ เมื่อวันที่ 6 ต.ค.ที่ผ่านมา โดยประเด็นหลักได้มีการแต่งตั้งคณะกรรมการนโยบายการเงิน(กนง.) ชุดใหม่เสร็จสิ้นแล้ว โดยที่ประชุมได้แต่งตั้งผู้ทรงคุณวุฒิจากภายนอกจำนวน 4 คน
ประกอบด้วย นายพรายพล คุ้มทรัพย์ อาจารย์คณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ นายอัมมาร สยามวาลา นักวิชาการเกียรติคุณ สถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย(ทีดีอาร์ไอ) รวมถึงมีการแต่งตั้งบอร์ดกนง.ชุดเก่ามานั่งในชุดนี้ คือ นายจักรมณฑ์ ผาสุกวนิช อดีตปลัดกระทรวงอุตสาหกรรม และนายอำพล กิตติอำพน เลขาธิการสำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ
“บอร์ดธปท.ยังได้แต่งตั้งบุคคลภายนอกมานั่งเป็นกรรมการอีก 4 คนด้วย ซึ่งพิจารณาคัดเลือกผู้ทรงคุณวุฒิจากภายนอกเป็นตามหลักเกณฑ์และคุณสมบัติที่กฎหมายกำหนด คือ มีความรู้ความเชี่ยวชาญด้านเศรษฐศาสตร์หรือด้านการเงิน การธนาคารเป็นอย่างดี นอกเหนือจากผู้บริหารระดับสูงจากธปท. 3 คน คือ ตำแหน่งผู้ว่าการฯ ในฐานะประธาน และรองผู้ว่าฯ อีก 2 คน ในฐานะกรรมการ”
นอกจากนี้ สืบเนื่องจากกระบวนการแต่งตั้งคณะกรรมการธนาคารแห่งประเทศ(ธปท.) ชุดใหม่ ยังไม่แล้วเสร็จ ส่งผลให้ยังไม่สามารถแต่งตั้งคณะกรรมการนโยบายการเงิน(กนง.)ชุดใหม่แทนที่ชุดเก่าที่หมดวาระลงเมื่อวันที่ 31 ส.ค.ที่ผ่านมา ประกอบกับในวันนี้( 8 ต.ค.)นี้จะมีการประชุมของกนง. ซึ่งจำเป็นในการปฏิบัติหน้าที่ เพื่อดูแลให้นโยบายการเงินมีความต่อเนื่องพร้อมรับมือวิกฤตทางการเงินโลกที่มีความผันผวนในปัจจุบัน
สำหรับกรอบการทำงานของ กนง.ชุดใหม่ นอกจากมีอำนาจ หน้าที่ที่สำคัญในการกำหนดเป้าหมายนโยบายการเงินและการบริหารจัดการอัตราแลกเปลี่ยนแล้ว ยังมีอำนาจหน้าที่ที่เพิ่มเติมตามพ.ร.บ.ธปท.ฉบับใหม่ โดยต้องรายงานผลการดำเนินงานนโยบายการเงินแก่คณะรัฐมนตรี(ครม.) ทุก 6 เดือน และภายในเดือนธันวาคมของทุกปี ทาง กนง.จะต้องจัดทำเป้าหมายเงินเฟ้อในปีถัดไปร่วมกับรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง ก่อนจะนำเสนอให้ครม.พิจารณาอนุมัติ และนำเรื่องดังกล่าวประกาศในราชกิจจานุเบกษาต่อไป
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ในบอร์ดกนง.ชุดเก่า ประกอบด้วย ผู้บริหารธปท. 3 คน ได้แก่ นางธาริษา วัฒนเกส ผู้ว่าการธปท. นางอัจนา ไวความดี รองผู้ว่าการ ด้านเสถียรภาพการเงิน และนายบัณฑิต นิจถาวร รองผู้ว่าการ ด้านเสถียรภาพสถาบันการเงิน และยังมีผู้ทรงคุณวุฒิจากภายนอก ได้แก่ นายจักรมณฑ์ ผาสุกวนิช นายอำพน กิตติอำพน และนายอรัญ ธรรมโน ซึ่งเป็นกรรมการชุดเก่าเพียงคนเดียวที่ไม่ได้รับการแต่งตั้งอยู่ในบอร์ดกนง.ชุดใหม่ในครั้งนี้
ด้านนายชาญชัย บุญฤทธิ์ไชยศรี ผู้อำนวยการอาวุโส ฝ่ายกฎหมายและคดี ธปท. กล่าวว่า ในอนาคตหากมีกรรมการคนใดคนหนึ่งจากทั้ง 12 คนในบอร์ดธปท.ชุดรักษาการนี้มีปัญหาไม่สามารถเข้ามาทำหน้าที่ หรือมีอายุครบ 70 ปีบริบูรณ์ ก็ไม่สามารถแต่งตั้งกรรมการคนใหม่มาแทนที่คนเดิมได้ ถือว่าหมดวาระลงทันที ส่วนกรณีที่นางพรรณี สถาวโรดม ที่เกษียณอายุราชการในตำแหน่งผู้อำนวยการสำนักงานเศรษฐกิจการคลัง(สศค.)ก็ไม่มีผลต่อการทำหน้าที่ในบอร์ดธปท. เนื่องจากกรรมการในบอร์ดชุดนี้ไม่ได้มาจากตำแหน่งในภาครัฐ แต่เลือกเป็นตัวบุคคลมานั่งมากกว่า อย่างไรก็ตาม แม้บอร์ดธปท.จะมีกรรมการคนใดคนหนึ่งมีปัญหาออกไป แต่ถ้าองค์ประชุมครบครึ่งหนึ่งก็สามารประชุมกันได้