แบงก์ชาติออกแถลงข่าวด่วน หลังเอไอจีในสหรัฐประกาศยุติกิจการอื่นๆ เหลือเพียงธุรกิจประกัน ระบุฐานะธนาคารพาณิชย์เอไอจีเพื่อรายย่อย-บริษัทเอไอจีการ์ด (ประเทศไทย) ยังแข็งแกร่ง แม้บริษัทแม่จะขายหุ้นออกไม่กระทบธุรกิจในไทย ฟุ้งเงินกองทุนของธย.เอไอจีสูงสุดในระบบแบงก์พาณิชย์ไทย และสภาพคล่องมีเพียงพอหากเกิดการแห่ถอนเงิน
หลังจากที่บริษัทเอไอจี ในสหรัฐประกาศทำธุรกิจเฉพาะประกัน ส่วนกิจการอื่นๆ จะมีการขายออกไปนั้น ธปท.ได้มีการติดตามสถานการณ์ดังกล่าวอย่างใกล้ชิด ซึ่งพบว่า ธนาคารพาณิชย์เอไอจี เพื่อรายย่อย(ธย.) ซึ่งเป็นบริษัทลูกของเอไอจีและมีสาขา 11 แห่งทั่วโลก แม้จะมีการขายธุรกิจออกไปก็ไม่กระทบต่อการดำเนินธุรกิจในไทย และไม่กระทบต่อกระแสเงินสดของธนาคารดังกล่าว ขณะเดียวกันบริษัทเอไอจีการ์ด (ประเทศไทย) ก็ไม่น่าจะมีปัญหา เพราะไม่ได้ทำธุรกิจรับฝากเงิน แต่เป็นเพียงธุรกิจบัตรเครดิตเท่านั้น
ทั้งนี้ ในปัจจุบันธย.ไอเอจี มีฐานะที่มั่นคง โดยมีเงินกองทุนต่อสินทรัพย์เสี่ยง(บีไอเอส เรโช) สูงถึง 25% ถือว่าสูงสุดในระบบธนาคารพาณิชย์ไทย และสูงกว่าอัตราค่าเฉลี่ยโดยรวมของทั้งระบบที่ 15% ด้วย นอกจากนี้ธนาคารยังได้รับเงินทุนเข้ามาช่วยเสริมสภาพคล่องอีกจำนวน 14,000 ล้านบาท จากบริษัทแม่ ซึ่งเงินเหล่านี้ได้นำมาฝากไว้ที่ธปท.ซึ่งตามหลักเกณฑ์ธปท.กำหนดไว้ว่าต้องมีปริมาณเงินฝากกับธปท.ไม่ต่ำกว่า 2% หรือประมาณ 3,200 ล้านบาท หากเทียบกับปริมาณเงินฝากของลูกค้าที่มีอยู่ 16,000 ล้านบาท ก็ถือว่าสามารถรองรับได้ถึง 90% และสามารถเบิกถอนได้ตลอดเวลา
ขณะที่หนี้ที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้ (เอ็นพีแอล) ประมาณ 2% ถือว่าอยู่ในระดับต่ำ เมื่อเทียบกับทั้งระบบอยู่ที่ 4.5-6% ประกอบกอบในพ.ร.บ.สถาบันประกันเงินฝากก็ยังคุ้มครองเงินฝากเต็มจำนวน จึงสามารถสร้างความมั่นใจให้แก่ประชาชนที่ฝากเงินไว้ว่าจะไม่มีปัญหาเรื่องเงินฝากดังกล่าว
“ขณะนี้เรายังไม่พบการไถ่ถอนที่ผิดปกติ ขณะเดียวกันเริ่มมีเงินฝากไหลเข้ามาในธนาคารเอไอจีเพื่อรายย่อยในช่วงสัปดาห์ที่แล้ว”
ทั้งนี้ หากมีการเปลี่ยนแปลงในส่วนของผู้ถือหุ้นรายใหม่ โดยถ้าเป็นนักลงทุนต่างชาติ แต่ถือหุ้นไม่เกินสัดส่วน 49% ก็ไม่ต้องขออนุญาตจาก ธปท. แต่ต้องเข้ามารายงานรายละเอียดว่าผู้ถือหุ้นรายใหม่เป็นใคร ดำเนินธุรกิจอะไร มีฐานะและความมั่นคงหรือไม่ รวมถึงมีความสามารถในการดูแลสภาพคล่องได้หรือไม่ แต่ถ้าหากผู้ถือหุ้นเป็นต่างชาติที่ถือหุ้นเกิน 49% ก็ต้องเข้ามาขออนุญาตธปท.ตามขั้นตอนต่อไป
หลังจากที่บริษัทเอไอจี ในสหรัฐประกาศทำธุรกิจเฉพาะประกัน ส่วนกิจการอื่นๆ จะมีการขายออกไปนั้น ธปท.ได้มีการติดตามสถานการณ์ดังกล่าวอย่างใกล้ชิด ซึ่งพบว่า ธนาคารพาณิชย์เอไอจี เพื่อรายย่อย(ธย.) ซึ่งเป็นบริษัทลูกของเอไอจีและมีสาขา 11 แห่งทั่วโลก แม้จะมีการขายธุรกิจออกไปก็ไม่กระทบต่อการดำเนินธุรกิจในไทย และไม่กระทบต่อกระแสเงินสดของธนาคารดังกล่าว ขณะเดียวกันบริษัทเอไอจีการ์ด (ประเทศไทย) ก็ไม่น่าจะมีปัญหา เพราะไม่ได้ทำธุรกิจรับฝากเงิน แต่เป็นเพียงธุรกิจบัตรเครดิตเท่านั้น
ทั้งนี้ ในปัจจุบันธย.ไอเอจี มีฐานะที่มั่นคง โดยมีเงินกองทุนต่อสินทรัพย์เสี่ยง(บีไอเอส เรโช) สูงถึง 25% ถือว่าสูงสุดในระบบธนาคารพาณิชย์ไทย และสูงกว่าอัตราค่าเฉลี่ยโดยรวมของทั้งระบบที่ 15% ด้วย นอกจากนี้ธนาคารยังได้รับเงินทุนเข้ามาช่วยเสริมสภาพคล่องอีกจำนวน 14,000 ล้านบาท จากบริษัทแม่ ซึ่งเงินเหล่านี้ได้นำมาฝากไว้ที่ธปท.ซึ่งตามหลักเกณฑ์ธปท.กำหนดไว้ว่าต้องมีปริมาณเงินฝากกับธปท.ไม่ต่ำกว่า 2% หรือประมาณ 3,200 ล้านบาท หากเทียบกับปริมาณเงินฝากของลูกค้าที่มีอยู่ 16,000 ล้านบาท ก็ถือว่าสามารถรองรับได้ถึง 90% และสามารถเบิกถอนได้ตลอดเวลา
ขณะที่หนี้ที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้ (เอ็นพีแอล) ประมาณ 2% ถือว่าอยู่ในระดับต่ำ เมื่อเทียบกับทั้งระบบอยู่ที่ 4.5-6% ประกอบกอบในพ.ร.บ.สถาบันประกันเงินฝากก็ยังคุ้มครองเงินฝากเต็มจำนวน จึงสามารถสร้างความมั่นใจให้แก่ประชาชนที่ฝากเงินไว้ว่าจะไม่มีปัญหาเรื่องเงินฝากดังกล่าว
“ขณะนี้เรายังไม่พบการไถ่ถอนที่ผิดปกติ ขณะเดียวกันเริ่มมีเงินฝากไหลเข้ามาในธนาคารเอไอจีเพื่อรายย่อยในช่วงสัปดาห์ที่แล้ว”
ทั้งนี้ หากมีการเปลี่ยนแปลงในส่วนของผู้ถือหุ้นรายใหม่ โดยถ้าเป็นนักลงทุนต่างชาติ แต่ถือหุ้นไม่เกินสัดส่วน 49% ก็ไม่ต้องขออนุญาตจาก ธปท. แต่ต้องเข้ามารายงานรายละเอียดว่าผู้ถือหุ้นรายใหม่เป็นใคร ดำเนินธุรกิจอะไร มีฐานะและความมั่นคงหรือไม่ รวมถึงมีความสามารถในการดูแลสภาพคล่องได้หรือไม่ แต่ถ้าหากผู้ถือหุ้นเป็นต่างชาติที่ถือหุ้นเกิน 49% ก็ต้องเข้ามาขออนุญาตธปท.ตามขั้นตอนต่อไป