อิสลามแบงก์เร่งอัดฉีดสินเชื่อมุสลิมภาคใต้ 200 ล้านบาท สร้างอาชีพสร้างรายได้ในระดับฐานราก เชื่อสิ้นปีนี้ผลดำเนินงานโชว์กำไรไม่ต่ำกว่า 110 ล้านบาท เตรียมล้างขาดทุนสะสม 600 ล้านใน 4 ปีก่อนขายหุ้น IPO ในปี 53 กว่า 1 พันล้านบาท
นายสุชาติ ธาดาธำรงเวช รักษาการ รมช.คลัง เปิดเผยภายหลังตรวจเยี่ยมธนาคารอิสลามแห่งประเทศไทยว่า ได้มอบหมายให้ธนาคารอิสลามแห่งประเทศไทยสนับสนุนทางการเงินเพื่อสร้างความเข้มแข็งทางเศรษฐกิจและพัฒนาคุณภาพชีวิตของผู้ประกอบธุรกิจรายย่อย เช่น ธุรกิจอาหารฮาลาลเพื่อการส่งออกทั้งในส่วนกลางและในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ รวมถึงการกระตุ้นเศรษฐกิจระดับรากหญ้าแก่กลุ่มอาชีพอิสระ
นายธีรศักดิ์ สุวรรณยศ ผู้จัดการธนาคาร กล่าวว่า ธนาคารจะเร่งให้สินเชื่อพี่น้องชาวมุสลิมมากขึ้น โดยเตรียมวงเงินไว้จำนวน 200 ล้านบาทและให้วงเงินต่อราย 5,000-10,000 บาท หรือ 30,000 บาทต่อกลุ่ม รวมถึงจะเป็นการจัดซื้อสิ่งของที่ลูกค้าต้องการทั้งเครื่องจักร เครื่องใช้ไฟฟ้า เพื่อใช้ในการประกอบอาชีพส่วนตัวโดยธนาคารจะบวกเพิ่มกำไรในอัตรา 7.5%
"ธนาคารจะบวกเพิ่มในรูปของกำไร จะไม่ใช่การคิดดอกเบี้ยเพราะผิดหลักศาสนา ซึ่งในช่วงเวลาที่เหลือจะเข้าไปสนับสนุนพี่น้องชาวมุสลิมจังหวัดภาคใต้มากขึ้น เพราะเป็นกลุ่มที่ขาดเงินทุนหมุนเวียนและไม่สามารถเข้าถึงแหล่งเงินทุน อีกทั้งที่ผ่านมามีลูกค้าชาวมุสลิมเพียง 30%เท่านั้น"
สำหรับผลการดำเนินงานที่ผ่านมาสามารถปล่อยสินเชื่อไปได้ 3,200 ล้านบาท รวมมีสินเชื่อคงค้าง 11,000 ล้านบาท คาดสิ้นปีจะถึง 14,000 ล้านบาท หรือขยายตัว 8% โดยขณะนี้มีกำไรอยู่ที่ 96 ล้านบาทจากการขยายสินเชื่อและการเพิ่มทุน คาดสิ้นปีจะเพิ่มเป็น 110 ล้านบาท เทียบกับปีก่อนที่ขาดทุนในระดับ 200 ล้านบาท ส่วนของการขาดทุนสะสม 600 ล้านบาทนั้น คาดว่าจะล้างขาดทุนได้หมดภายใน 4 ปี และมีแผนจะนำเข้าจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ปี 2553 โดยจะกระจายหุ้นคิดเป็นเงินจำนวนประมาณ 1,000 ล้านบาท
ส่วนไตรมาส 3 ปีหน้าธนาคารมีแผนเป็นตัวกลางเข้าไประดมทุนหรือออกพันธบัตรในตลาดเปโตดอลลาร์มาร์เกตหรือขายอิสลามมิกบอนด์ในกลุ่มประเทศตะวันออกกลางในวงเงิน 600 ล้านดอลลาร์สหรัฐ อายุ 7 ปี ซึ่งเป็นการนำเงินมาใช้ในการลงทุนโครงสร้างพื้นฐานของรัฐบาลต่อไป เช่น โครงการรถไฟฟ้า
นายสุชาติ ธาดาธำรงเวช รักษาการ รมช.คลัง เปิดเผยภายหลังตรวจเยี่ยมธนาคารอิสลามแห่งประเทศไทยว่า ได้มอบหมายให้ธนาคารอิสลามแห่งประเทศไทยสนับสนุนทางการเงินเพื่อสร้างความเข้มแข็งทางเศรษฐกิจและพัฒนาคุณภาพชีวิตของผู้ประกอบธุรกิจรายย่อย เช่น ธุรกิจอาหารฮาลาลเพื่อการส่งออกทั้งในส่วนกลางและในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ รวมถึงการกระตุ้นเศรษฐกิจระดับรากหญ้าแก่กลุ่มอาชีพอิสระ
นายธีรศักดิ์ สุวรรณยศ ผู้จัดการธนาคาร กล่าวว่า ธนาคารจะเร่งให้สินเชื่อพี่น้องชาวมุสลิมมากขึ้น โดยเตรียมวงเงินไว้จำนวน 200 ล้านบาทและให้วงเงินต่อราย 5,000-10,000 บาท หรือ 30,000 บาทต่อกลุ่ม รวมถึงจะเป็นการจัดซื้อสิ่งของที่ลูกค้าต้องการทั้งเครื่องจักร เครื่องใช้ไฟฟ้า เพื่อใช้ในการประกอบอาชีพส่วนตัวโดยธนาคารจะบวกเพิ่มกำไรในอัตรา 7.5%
"ธนาคารจะบวกเพิ่มในรูปของกำไร จะไม่ใช่การคิดดอกเบี้ยเพราะผิดหลักศาสนา ซึ่งในช่วงเวลาที่เหลือจะเข้าไปสนับสนุนพี่น้องชาวมุสลิมจังหวัดภาคใต้มากขึ้น เพราะเป็นกลุ่มที่ขาดเงินทุนหมุนเวียนและไม่สามารถเข้าถึงแหล่งเงินทุน อีกทั้งที่ผ่านมามีลูกค้าชาวมุสลิมเพียง 30%เท่านั้น"
สำหรับผลการดำเนินงานที่ผ่านมาสามารถปล่อยสินเชื่อไปได้ 3,200 ล้านบาท รวมมีสินเชื่อคงค้าง 11,000 ล้านบาท คาดสิ้นปีจะถึง 14,000 ล้านบาท หรือขยายตัว 8% โดยขณะนี้มีกำไรอยู่ที่ 96 ล้านบาทจากการขยายสินเชื่อและการเพิ่มทุน คาดสิ้นปีจะเพิ่มเป็น 110 ล้านบาท เทียบกับปีก่อนที่ขาดทุนในระดับ 200 ล้านบาท ส่วนของการขาดทุนสะสม 600 ล้านบาทนั้น คาดว่าจะล้างขาดทุนได้หมดภายใน 4 ปี และมีแผนจะนำเข้าจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ปี 2553 โดยจะกระจายหุ้นคิดเป็นเงินจำนวนประมาณ 1,000 ล้านบาท
ส่วนไตรมาส 3 ปีหน้าธนาคารมีแผนเป็นตัวกลางเข้าไประดมทุนหรือออกพันธบัตรในตลาดเปโตดอลลาร์มาร์เกตหรือขายอิสลามมิกบอนด์ในกลุ่มประเทศตะวันออกกลางในวงเงิน 600 ล้านดอลลาร์สหรัฐ อายุ 7 ปี ซึ่งเป็นการนำเงินมาใช้ในการลงทุนโครงสร้างพื้นฐานของรัฐบาลต่อไป เช่น โครงการรถไฟฟ้า