ธปท.เพิ่มช่องทางให้ประชาชนจ่ายแลกธนบัตรใหม่และรับแลกธนบัตรชำรุดผ่านสาขาธนาคารออมสินเกือบ 600 แห่งทั่วประเทศตั้งแต่วันที่ 1 ส.ค.นี้เป็นต้นไป หลังจากขอความร่วมมือแบงก์พาณิชย์ให้บริการนี้ผ่านสาขา แต่ได้รับข้อร้องเรียนจากประชาชนมาก ระบุปีแรกจ่ายค่าธรรมเนียมให้ออมสิน 4 ล้านบาท
เมื่อวานนี้(14 ก.ค.) ธนาคารแห่งประเทศไทย(ธปท.)นำโดยนางจิตติมา ดุริยะประพันธ์ ผู้อำนวยการอาวุโส ฝ่ายจัดการธนบัตร ได้ลงนามร่วมกับธนาคารออมสิน เพื่อแต่งตั้งธนาคารออมสินเป็นตัวแทนธปท.ในการให้บริการจ่ายแลกธนบัตรใหม่และรับแลกธนบัตรชำรุด ซึ่งจะเปิดให้บริการนับตั้งแต่วันที่ 1 ส.ค.นี้เป็นต้นไปในเวลาทำการทุกวัน ที่สาขาธนาคารออมสินทั่วประเทศ
ผู้อำนวยการอาวุโส ฝ่ายจัดการธนบัตร ธปท.กล่าวว่า หลังจากที่ธปท.ได้ขอความร่วมมือกับสาขาธนาคารพาณิชย์ให้บริการนี้มาตั้งแต่เดือนมี.ค50 เป็นต้นมา แต่ได้รับการร้องเรียนจากประชาชนว่าไม่ได้รับความสะดวกจากการให้บริการที่ยังไม่ทั่วถึง เนื่องจากมีการให้บริการเฉพาะบางสาขาและเปิดให้บริการเฉพาะวันพุธเท่านั้น ดังนั้น การเพิ่มช่องจ่ายแลกธนบัตรใหม่และรับแลกธนบัตรชำรุดผ่านสาขาธนาคารออมสินที่มีอยู่ในปัจจุบัน 599 แห่งทั่วประเทศ และเป็นสถาบันการเงินเฉพาะกิจที่มีการให้บริการคล้ายกับธนาคารพาณิชย์มากที่สุด ถือเป็นการเพิ่มความสะดวกให้แก่ประชาชนมากขึ้น
สำหรับการแต่งตั้งให้ธนาคารออมสินเป็นตัวแทนในการให้บริการจ่ายแลกธนบัตรใหม่และรับแลกธนบัตรชำรุดนี้ ธปท.จะจ่ายค่าธรรมเนียมให้แก่ธนาคารออมสินในปีแรกประมาณ 4 ล้านบาท หลังจากนั้นจะทบทวนว่าต่อสัญญาหรือไม่ โดยพิจารณาตามปริมาณธุรกรรมและสำรวจความพอใจของประชาชน
ทั้งนี้จากข้อมูลของธปท.ล่าสุด พบว่า ประชาชนมีการแลกธนบัตรชำรุดและแลกธนบัตรใหม่เพิ่มขึ้นทุกปี ยกเว้นในปี 2550 ธปท.ได้มีการปิดเคาน์เตอร์การให้บริการนี้ โดยในปี 2548 มีการแลกธนบัตรชำรุดทั้งสิ้น 1.18 ล้านฉบับ มูลค่า 31.5 ล้านบาท ปี 2549 อยู่ที่ 1.40 ล้านฉบับ คิดเป็น 35.5 ล้านบาท แต่ในปี 2550 ประชาชนแลกธนบัตรชำรุดเหลือเพียง 5.9 แสนฉบับ มูลค่า 15.4 ล้านบาท ซึ่งส่วนใหญ่เป็นธนบัตรชนิด 20 บาท คิดเป็น 45% ธนบัตรชนิด 100 บาทประมาณ 20% และที่เหลือเป็นธนบัตรชนิดอื่นๆ และล่าสุด 6 เดือนแรกของปีนี้มีธนบัตรชำรุดทั้งสิ้น 2.2 แสนล้านฉบับ มูลค่ารวม 5.5 ล้านบาท
ขณะเดียวกันประชาชนมีการแลกธนบัตรใหม่ในปี 48 อยู่ที่ 113.06 ล้านฉบับ มูลค่า 6.25 พันล้านบาท ปี 49 อยู่ที่ 119.76 ล้านฉบับ มูลค่า 7.21 พันล้านบาท และในช่วง 2 เดือนแรกของปี 50 อยู่ที่ 28.5 ล้านฉบับ คิดเป็นมูลค่า 1.77 ล้านบาท
เมื่อวานนี้(14 ก.ค.) ธนาคารแห่งประเทศไทย(ธปท.)นำโดยนางจิตติมา ดุริยะประพันธ์ ผู้อำนวยการอาวุโส ฝ่ายจัดการธนบัตร ได้ลงนามร่วมกับธนาคารออมสิน เพื่อแต่งตั้งธนาคารออมสินเป็นตัวแทนธปท.ในการให้บริการจ่ายแลกธนบัตรใหม่และรับแลกธนบัตรชำรุด ซึ่งจะเปิดให้บริการนับตั้งแต่วันที่ 1 ส.ค.นี้เป็นต้นไปในเวลาทำการทุกวัน ที่สาขาธนาคารออมสินทั่วประเทศ
ผู้อำนวยการอาวุโส ฝ่ายจัดการธนบัตร ธปท.กล่าวว่า หลังจากที่ธปท.ได้ขอความร่วมมือกับสาขาธนาคารพาณิชย์ให้บริการนี้มาตั้งแต่เดือนมี.ค50 เป็นต้นมา แต่ได้รับการร้องเรียนจากประชาชนว่าไม่ได้รับความสะดวกจากการให้บริการที่ยังไม่ทั่วถึง เนื่องจากมีการให้บริการเฉพาะบางสาขาและเปิดให้บริการเฉพาะวันพุธเท่านั้น ดังนั้น การเพิ่มช่องจ่ายแลกธนบัตรใหม่และรับแลกธนบัตรชำรุดผ่านสาขาธนาคารออมสินที่มีอยู่ในปัจจุบัน 599 แห่งทั่วประเทศ และเป็นสถาบันการเงินเฉพาะกิจที่มีการให้บริการคล้ายกับธนาคารพาณิชย์มากที่สุด ถือเป็นการเพิ่มความสะดวกให้แก่ประชาชนมากขึ้น
สำหรับการแต่งตั้งให้ธนาคารออมสินเป็นตัวแทนในการให้บริการจ่ายแลกธนบัตรใหม่และรับแลกธนบัตรชำรุดนี้ ธปท.จะจ่ายค่าธรรมเนียมให้แก่ธนาคารออมสินในปีแรกประมาณ 4 ล้านบาท หลังจากนั้นจะทบทวนว่าต่อสัญญาหรือไม่ โดยพิจารณาตามปริมาณธุรกรรมและสำรวจความพอใจของประชาชน
ทั้งนี้จากข้อมูลของธปท.ล่าสุด พบว่า ประชาชนมีการแลกธนบัตรชำรุดและแลกธนบัตรใหม่เพิ่มขึ้นทุกปี ยกเว้นในปี 2550 ธปท.ได้มีการปิดเคาน์เตอร์การให้บริการนี้ โดยในปี 2548 มีการแลกธนบัตรชำรุดทั้งสิ้น 1.18 ล้านฉบับ มูลค่า 31.5 ล้านบาท ปี 2549 อยู่ที่ 1.40 ล้านฉบับ คิดเป็น 35.5 ล้านบาท แต่ในปี 2550 ประชาชนแลกธนบัตรชำรุดเหลือเพียง 5.9 แสนฉบับ มูลค่า 15.4 ล้านบาท ซึ่งส่วนใหญ่เป็นธนบัตรชนิด 20 บาท คิดเป็น 45% ธนบัตรชนิด 100 บาทประมาณ 20% และที่เหลือเป็นธนบัตรชนิดอื่นๆ และล่าสุด 6 เดือนแรกของปีนี้มีธนบัตรชำรุดทั้งสิ้น 2.2 แสนล้านฉบับ มูลค่ารวม 5.5 ล้านบาท
ขณะเดียวกันประชาชนมีการแลกธนบัตรใหม่ในปี 48 อยู่ที่ 113.06 ล้านฉบับ มูลค่า 6.25 พันล้านบาท ปี 49 อยู่ที่ 119.76 ล้านฉบับ มูลค่า 7.21 พันล้านบาท และในช่วง 2 เดือนแรกของปี 50 อยู่ที่ 28.5 ล้านฉบับ คิดเป็นมูลค่า 1.77 ล้านบาท