"มาริษ" เผยยังไม่ทราบความชัดเจน เรื่องควบรวม 'บลจ.ไอเอ็นจี' กับ 'บลจ.ทหารไทย' เหตุต้องรอให้แบงก์ดำเนินการระหว่างกลุ่มให้เสร็จก่อน เพราะขณะนี้อยู่ในช่วงที่กำลังเรียนรู้ ด้านแหล่งข่าววงการกองทุนรวมระบุความเป็นไปได้ น่าเป็นการรวมกันในลักษณะของการโอนย้ายกองทุนทั้งหมดของค่ายสิงโตมาหใอีกฝั่ง เนื่องจากยังขาดทุน ซึ่งเป็นเหตุผลหลักที่ต้องตั้ง TMBAM เป็นแกน
นายมาริษ ท่าราบ กรรมการผู้จัดการ บริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุน (บลจ.) ไอเอ็นจี (ประเทศไทย) จำกัด เปิดเผยว่า บริษัทยังไม่รู้ว่าจะต้องมีการควบรวมกิจการหรือปรับแผนกลยุทธ์ด้วยกับ บริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุน (บลจ.) ทหารไทย จำกัด หรือ TMBAM หรือไม่ เนื่องจากต้องรอให้ทางธนาคารทหารไทยและกลุ่มไอเอ็นจีดำเนินการระหว่างกลุ่มให้เสร็จก่อน ถึงจะรู้เป้าหมายการดำเนินงานของกลุ่มบริษัท และจะเห็นกลยุทธ์และนโยบายการดำเนินงานที่ชัดเจนมากขึ้น
โดยระหว่างนี้ เหมือนบลจ.ไอเอ็นจีและกลุ่มของธนาคารทหารไทย อยู่ในช่วงที่กำลังเรียนรู้กันอยู่ เมื่อวันที่ 12 มิถุนายนที่ผ่านมา ทางบริษัทก็เริ่มนำ 2 กองทุน คือกองทุนเปิด ไอเอ็นจีไทยทีเอ็มบีไพรม์ 3M1และกองทุนเปิดไอเอ็นจีไทยทีเอ็มบีพรีเมียม 3M1 มาเสนอขายในสาขาของธนาคารททารไทย ซึ่งเป็นหนทางให้เข้าถึงกลุ่มผู้ลงทุนรายย่อยมากขึ้น ก่อนจะส่งกองทุนเปิด ไอเอ็นจี ไทย ทีเอ็ม พรีเมี่ยม 3M1 และกองทุนเปิด ไอเอ็นจี ไทย ทีเอ็ม พรีเมี่ยม 6M1 ซึ่งเป็นกองทุนที่มีนโยบายลงทุนในตราสารหนี้ต่างประเทศเปิดขายต่อเนื่อง
“เสียงตอบรับจากผู้ลงทุนหลังจากที่บริษัทเริ่มขายกองทุนในสาขาของธนาคารทหารไทยนั่นเป็นไปด้วยดี เพราะจากที่นำไปขายเพียง 2 กอง ก็ทำให้มียอดปริมาณการซื้อของเพิ่มขึ้นอีกเท่าตัว”นายมาริษกล่าว
ในขณะที่แหล่งข่าวในธุรกิจกองทุนรวมมองว่าในกรณีที่มีการควบรวมกันระหว่างบลจ.ไอเอ็นจี(ประเทศไทย)และบลจ.ทหารไทยนั้น ไม่น่าจะเป็นไปในลักษณะของการควบรวมกิจการของทั้ง 2 บริษัทเข้าด้วยกัน เนื่องจากทางบลจ.ไอเอ็นจี(ประเทศไทย) มีผลขาดทุนจากการดำเนินธุรกิจอยู่ในขณะที่ทางบลจ.ทหารไทยไม่มี ซึ่งการควบรวมกิจการในลักษณะนี้ไม่เป็นประโยชน์ต่อบลจ.ทหารไทยแน่นอน แต่น่าจะเป็นการรวมกันในลักษณะของการโอนย้ายกองทุนจากบลจ.ไอเอ็นจี(ประเทศไทย)มาให้บลจ.ทหารไทยบริหารมากกว่า เพราะไม่จำเป็นต้องใช้ใบอนุญาตในการดำเนินธุรกิจกองทุนรวมถึง 2 ใบ ในส่วนที่บลจ.ไอเอ็นจี (ประเทศไทย)มีอาจจะขายใบอนุญาตให้ผู้ที่สนใจจะทำธุรกิจต่อไปก็ได้ ซึ่งน่าจะเป็นการควบรวมในลักษณะนี้มากกว่าหากจะมีการควบรวม 2 บลจ.เข้าด้วยกัน
“อย่างไรตามแนวคิดในการรวมยังไม่ชัดเจน แต่ถ้ารวมกันน่าจะเป็นประโยชน์มากกว่า ซึ่งถ้ามองจากกลุ่มผู้ถือหุ้นใหญ่ในธนาคารทหารไทยแล้ว การควบรวมน่าจะให้บลจ.ไอเอ็นจี(ประเทศไทย)เป็นแกนหลักในการรวม แต่ถ้าจะใช้บลจ.ทหารไทยเป็นแกนหลักในการรวม น่าจะมาจากเหตุผลเดียวคือ ผลการดำเนินธุรกิจที่ไม่ดีของบลจ.ไอเอ็นจี(ประเทศไทย)เองที่มีอยู่ ซึ่งตอนนี้ยังไม่ทราบว่าจะมีการควบรวมของ 2 บลจ.หรือไม่ แต่ก็น่าจะช่วยเพิ่มขนาดสินทรัพย์หลังควบรวมให้ขยับขึ้นมาอยู่ในแถวหน้าของอุตสาหกรรมกองทุนรวมอย่างแน่นอน”แหล่งข่าวกล่าว
ก่อนหน้านี้ มีกระแสข่าวว่า คณะกรรมการธนาคารทหารไทย จำกัด (มหาชน) หรือ TMB กำลังอยู่ระหว่างหารือร่วมกันในการควบรวมกิจการระหว่าง บลจ. ทหารไทย และ บลจ. ไอเอ็นจี (ประเทศไทย) เพื่อลดความซ้ำซ้อนในการทำงานภายใต้เครือธนาคารทหารไทย เนื่องจากปัจจุบันธนาคารมี บลจ.ในเครือถึง 2 ราย จากการเข้ามาของบลจ.ไอเอ็นจี หลังจากกลุ่มไอเอ็นจีได้เข้ามาเป็นผู้ถือหุ้นใหญ่ของธนาคาร
โดยเมื่อเร็วๆนี้ ธนาคารทหารไทยเองได้ลดการถือหุ้นในบริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุน (บลจ.) เอ็มเอฟซี จำกัด (มหาชน) หรือ MFC ไปแล้ว โดยเป็นการขายหุ้นทั้งหมดที่ถืออยู่ให้กับ บริษัทหลักทรัพย์ (บล.) แอ็คคินซัน จำกัด (มหาชน) หรือ ASL ซึ่งเป็นการทยอยลดความซ้ำซ้อนในการมี บลจ. ในเครือถึง 3 บริษัทด้วยกัน และให้เป็นไปตามนโยบายการกำกับแบบรวมกลุ่มของธนาคารแห่งประเทศไทยด้วย
รายงานข่าวระบุว่า การควบรวมกิจการดังกล่าว บลจ.ทหารไทยจะเป็นแกนในการจัดตั้ง เพราะเป็นบริษัทในเครือของธนาคารทหารไทย โดยตำแหน่งกรรมการผู้จัดการ จะยังเป็นนางโชติกา สวนานนท์ กรรมการผู้จัดการ บลจ.ทหารไทยคนปัจจุบัน ขณะเดียวกัน ยังอยู่ระหว่างการสรรหาประธานบริษัทด้วย โดยรายงานข่าวระบุว่ามีความเป็นไปได้ที่ นายสุภัค ศิวะรักษ์ รักษาการประธานเจ้าหน้าที่บริหารและกรรมการผู้จัดการใหญ่ ธนาคารทหารไทยคนปัจจุบัน จะเข้ามารับหน้าที่ดังกล่าว ส่วนนายมาริษ ท่าราบ กรรมการผู้จัดการ บลจ.ไอเอ็นจี นั้น ขณะนี้ยังไม่ชัดเจนว่าจะนั่งตำแหน่งใด
ส่วนนางโชติกา สวนานนท์ กรรมการผู้จัดการ บลจ.ทหารไทย กล่าวก่อนหน้านี้ว่า การควบรวมระหว่าง บลจ.ทหารไทย กับบลจ.ไอเอ็นจี ซึ่งธนาคารทหารไทยเป็นผู้ถือหุ้นใหญ่อยู่นั้นน่าจะมีโอกาสเป็นไปได้ และคงต้องมีการรวบรวมข้อมูล พร้อมศึกษาแนวทางความเป็นไปได้ และผลประโยชน์ ด้านดีและเสียของเรื่องนี้ อย่างไรก็ตาม ส่วนตัวแล้วยังไม่ทราบเรื่องแต่อย่างใด ซึ่งเป็นเรื่องของแบงก์แม่ในการดำเนินการดังกล่าว โดยอาจจะต้องใช้เวลาพอสมควรเนื่องจาก อาจติดในส่วนของผู้ถือหุ้นอื่นๆ ด้วย
“จะควบรวมกันหรือไม่ คงเป็นเรื่องของแบงก์แม่ แต่ถ้าบอกว่ามีโอกาสไหม ก็มีอยู่ ส่วนตัวแล้วไม่ทราบรายละเอียด แต่มีได้ยินมาว่า มีการวางแนวทาง และต้องดูด้วยว่าแผนดังกล่าวจะดีไหม ควรทำไหม น่าจะเป็นแบบนั้น”นางโชติกากล่าว
นายมาริษ ท่าราบ กรรมการผู้จัดการ บริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุน (บลจ.) ไอเอ็นจี (ประเทศไทย) จำกัด เปิดเผยว่า บริษัทยังไม่รู้ว่าจะต้องมีการควบรวมกิจการหรือปรับแผนกลยุทธ์ด้วยกับ บริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุน (บลจ.) ทหารไทย จำกัด หรือ TMBAM หรือไม่ เนื่องจากต้องรอให้ทางธนาคารทหารไทยและกลุ่มไอเอ็นจีดำเนินการระหว่างกลุ่มให้เสร็จก่อน ถึงจะรู้เป้าหมายการดำเนินงานของกลุ่มบริษัท และจะเห็นกลยุทธ์และนโยบายการดำเนินงานที่ชัดเจนมากขึ้น
โดยระหว่างนี้ เหมือนบลจ.ไอเอ็นจีและกลุ่มของธนาคารทหารไทย อยู่ในช่วงที่กำลังเรียนรู้กันอยู่ เมื่อวันที่ 12 มิถุนายนที่ผ่านมา ทางบริษัทก็เริ่มนำ 2 กองทุน คือกองทุนเปิด ไอเอ็นจีไทยทีเอ็มบีไพรม์ 3M1และกองทุนเปิดไอเอ็นจีไทยทีเอ็มบีพรีเมียม 3M1 มาเสนอขายในสาขาของธนาคารททารไทย ซึ่งเป็นหนทางให้เข้าถึงกลุ่มผู้ลงทุนรายย่อยมากขึ้น ก่อนจะส่งกองทุนเปิด ไอเอ็นจี ไทย ทีเอ็ม พรีเมี่ยม 3M1 และกองทุนเปิด ไอเอ็นจี ไทย ทีเอ็ม พรีเมี่ยม 6M1 ซึ่งเป็นกองทุนที่มีนโยบายลงทุนในตราสารหนี้ต่างประเทศเปิดขายต่อเนื่อง
“เสียงตอบรับจากผู้ลงทุนหลังจากที่บริษัทเริ่มขายกองทุนในสาขาของธนาคารทหารไทยนั่นเป็นไปด้วยดี เพราะจากที่นำไปขายเพียง 2 กอง ก็ทำให้มียอดปริมาณการซื้อของเพิ่มขึ้นอีกเท่าตัว”นายมาริษกล่าว
ในขณะที่แหล่งข่าวในธุรกิจกองทุนรวมมองว่าในกรณีที่มีการควบรวมกันระหว่างบลจ.ไอเอ็นจี(ประเทศไทย)และบลจ.ทหารไทยนั้น ไม่น่าจะเป็นไปในลักษณะของการควบรวมกิจการของทั้ง 2 บริษัทเข้าด้วยกัน เนื่องจากทางบลจ.ไอเอ็นจี(ประเทศไทย) มีผลขาดทุนจากการดำเนินธุรกิจอยู่ในขณะที่ทางบลจ.ทหารไทยไม่มี ซึ่งการควบรวมกิจการในลักษณะนี้ไม่เป็นประโยชน์ต่อบลจ.ทหารไทยแน่นอน แต่น่าจะเป็นการรวมกันในลักษณะของการโอนย้ายกองทุนจากบลจ.ไอเอ็นจี(ประเทศไทย)มาให้บลจ.ทหารไทยบริหารมากกว่า เพราะไม่จำเป็นต้องใช้ใบอนุญาตในการดำเนินธุรกิจกองทุนรวมถึง 2 ใบ ในส่วนที่บลจ.ไอเอ็นจี (ประเทศไทย)มีอาจจะขายใบอนุญาตให้ผู้ที่สนใจจะทำธุรกิจต่อไปก็ได้ ซึ่งน่าจะเป็นการควบรวมในลักษณะนี้มากกว่าหากจะมีการควบรวม 2 บลจ.เข้าด้วยกัน
“อย่างไรตามแนวคิดในการรวมยังไม่ชัดเจน แต่ถ้ารวมกันน่าจะเป็นประโยชน์มากกว่า ซึ่งถ้ามองจากกลุ่มผู้ถือหุ้นใหญ่ในธนาคารทหารไทยแล้ว การควบรวมน่าจะให้บลจ.ไอเอ็นจี(ประเทศไทย)เป็นแกนหลักในการรวม แต่ถ้าจะใช้บลจ.ทหารไทยเป็นแกนหลักในการรวม น่าจะมาจากเหตุผลเดียวคือ ผลการดำเนินธุรกิจที่ไม่ดีของบลจ.ไอเอ็นจี(ประเทศไทย)เองที่มีอยู่ ซึ่งตอนนี้ยังไม่ทราบว่าจะมีการควบรวมของ 2 บลจ.หรือไม่ แต่ก็น่าจะช่วยเพิ่มขนาดสินทรัพย์หลังควบรวมให้ขยับขึ้นมาอยู่ในแถวหน้าของอุตสาหกรรมกองทุนรวมอย่างแน่นอน”แหล่งข่าวกล่าว
ก่อนหน้านี้ มีกระแสข่าวว่า คณะกรรมการธนาคารทหารไทย จำกัด (มหาชน) หรือ TMB กำลังอยู่ระหว่างหารือร่วมกันในการควบรวมกิจการระหว่าง บลจ. ทหารไทย และ บลจ. ไอเอ็นจี (ประเทศไทย) เพื่อลดความซ้ำซ้อนในการทำงานภายใต้เครือธนาคารทหารไทย เนื่องจากปัจจุบันธนาคารมี บลจ.ในเครือถึง 2 ราย จากการเข้ามาของบลจ.ไอเอ็นจี หลังจากกลุ่มไอเอ็นจีได้เข้ามาเป็นผู้ถือหุ้นใหญ่ของธนาคาร
โดยเมื่อเร็วๆนี้ ธนาคารทหารไทยเองได้ลดการถือหุ้นในบริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุน (บลจ.) เอ็มเอฟซี จำกัด (มหาชน) หรือ MFC ไปแล้ว โดยเป็นการขายหุ้นทั้งหมดที่ถืออยู่ให้กับ บริษัทหลักทรัพย์ (บล.) แอ็คคินซัน จำกัด (มหาชน) หรือ ASL ซึ่งเป็นการทยอยลดความซ้ำซ้อนในการมี บลจ. ในเครือถึง 3 บริษัทด้วยกัน และให้เป็นไปตามนโยบายการกำกับแบบรวมกลุ่มของธนาคารแห่งประเทศไทยด้วย
รายงานข่าวระบุว่า การควบรวมกิจการดังกล่าว บลจ.ทหารไทยจะเป็นแกนในการจัดตั้ง เพราะเป็นบริษัทในเครือของธนาคารทหารไทย โดยตำแหน่งกรรมการผู้จัดการ จะยังเป็นนางโชติกา สวนานนท์ กรรมการผู้จัดการ บลจ.ทหารไทยคนปัจจุบัน ขณะเดียวกัน ยังอยู่ระหว่างการสรรหาประธานบริษัทด้วย โดยรายงานข่าวระบุว่ามีความเป็นไปได้ที่ นายสุภัค ศิวะรักษ์ รักษาการประธานเจ้าหน้าที่บริหารและกรรมการผู้จัดการใหญ่ ธนาคารทหารไทยคนปัจจุบัน จะเข้ามารับหน้าที่ดังกล่าว ส่วนนายมาริษ ท่าราบ กรรมการผู้จัดการ บลจ.ไอเอ็นจี นั้น ขณะนี้ยังไม่ชัดเจนว่าจะนั่งตำแหน่งใด
ส่วนนางโชติกา สวนานนท์ กรรมการผู้จัดการ บลจ.ทหารไทย กล่าวก่อนหน้านี้ว่า การควบรวมระหว่าง บลจ.ทหารไทย กับบลจ.ไอเอ็นจี ซึ่งธนาคารทหารไทยเป็นผู้ถือหุ้นใหญ่อยู่นั้นน่าจะมีโอกาสเป็นไปได้ และคงต้องมีการรวบรวมข้อมูล พร้อมศึกษาแนวทางความเป็นไปได้ และผลประโยชน์ ด้านดีและเสียของเรื่องนี้ อย่างไรก็ตาม ส่วนตัวแล้วยังไม่ทราบเรื่องแต่อย่างใด ซึ่งเป็นเรื่องของแบงก์แม่ในการดำเนินการดังกล่าว โดยอาจจะต้องใช้เวลาพอสมควรเนื่องจาก อาจติดในส่วนของผู้ถือหุ้นอื่นๆ ด้วย
“จะควบรวมกันหรือไม่ คงเป็นเรื่องของแบงก์แม่ แต่ถ้าบอกว่ามีโอกาสไหม ก็มีอยู่ ส่วนตัวแล้วไม่ทราบรายละเอียด แต่มีได้ยินมาว่า มีการวางแนวทาง และต้องดูด้วยว่าแผนดังกล่าวจะดีไหม ควรทำไหม น่าจะเป็นแบบนั้น”นางโชติกากล่าว