น้ำมันดิบโลกพุ่งแตะ 140.55 ดอลลาร์/บาเรล เช้าวันนี้ จากเหตุตึงเครียดทางการเมืองทั่วโลก และเงินดอลลาร์ที่กลับมาอ่อนค่าอีกครั้ง
วันนี้ ( 1 ก.ค.) สำนักข่าวต่างประเทศรายงานว่า สัญญาน้ำมันดิบตลาดนิวยอร์กในสหรัฐ หรือ NYMEX (New York Mercantile Exchange) ซึ่งมีการซื้อขายทางระบบอิเล็กทรอนิกที่ตลาดสิงคโปร์พุ่งขึ้นเหนือระดับ 140 ในช่วงเช้าวันนี้ หลังจากที่เงินดอลลาร์สหรัฐอ่อนค่าลงและความตึงเครียดทางการเมืองทั่วโลก กระตุ้นให้ราคาน้ำมันพุ่งทำสถิติสูงสุดเป็นประวัติการณ์
โดยสัญญาน้ำมันดิบ NYMEX ส่งมอบเดือน ส.ค.และได้มีการซื้อขายทางระบบอิเล็กทรอนิกที่ตลาดสิงคโปร์พุ่งขึ้น 55 เซนต์ แตะที่ระดับ 140.55 ดอลลาร์/บาร์เรลในช่วงเช้านี้ จากระดับที่อ่อนตัวลงมา 21 เซนต์ปิดที่ตลาดนิวยอร์กเมื่อวานนี้ที่ 140.00 ดอลลาร์/บาร์เรล โดยในระหว่างวันราคาน้ำมันพุ่งทำสถิติสูงสุดที่ 143.67 ดอลลาร์/บาร์เรล
ขณะที่ราคาน้ำมันดิบเบรนท์ที่ทะเลเหนืองวดส่งมอบเดือนส.ค.พุ่งทำสถิติสูงสุดเป็นประวัติการณ์ที่ 143.91 ดอลลาร์ต่อบาร์เรลก่อนที่จะปิดอ่อนตัวลงมา 48 เซนต์ที่ระดับ 139.83 ดอลลาร์ต่อบาร์เรล
ทั้งนี้ ราคาน้ำมันทั่วโลกพุ่งทะยานขึ้นเป็น 2 เท่าจากปีที่ผ่านมาและยังคงพุ่งทะยานขึ้นอย่างต่อเนื่องจากระดับ 100 ดอลลาร์ต่อบาร์เรลเป็นครั้งแรกในต้นปีนี้ ซึ่งได้จุดกระแสความวิตกกังวลต่อภาวะเงินเฟ้อและภาวะเศรษฐกิจชะลอตัว
วันนี้ ( 1 ก.ค.) สำนักข่าวต่างประเทศรายงานว่า สัญญาน้ำมันดิบตลาดนิวยอร์กในสหรัฐ หรือ NYMEX (New York Mercantile Exchange) ซึ่งมีการซื้อขายทางระบบอิเล็กทรอนิกที่ตลาดสิงคโปร์พุ่งขึ้นเหนือระดับ 140 ในช่วงเช้าวันนี้ หลังจากที่เงินดอลลาร์สหรัฐอ่อนค่าลงและความตึงเครียดทางการเมืองทั่วโลก กระตุ้นให้ราคาน้ำมันพุ่งทำสถิติสูงสุดเป็นประวัติการณ์
โดยสัญญาน้ำมันดิบ NYMEX ส่งมอบเดือน ส.ค.และได้มีการซื้อขายทางระบบอิเล็กทรอนิกที่ตลาดสิงคโปร์พุ่งขึ้น 55 เซนต์ แตะที่ระดับ 140.55 ดอลลาร์/บาร์เรลในช่วงเช้านี้ จากระดับที่อ่อนตัวลงมา 21 เซนต์ปิดที่ตลาดนิวยอร์กเมื่อวานนี้ที่ 140.00 ดอลลาร์/บาร์เรล โดยในระหว่างวันราคาน้ำมันพุ่งทำสถิติสูงสุดที่ 143.67 ดอลลาร์/บาร์เรล
ขณะที่ราคาน้ำมันดิบเบรนท์ที่ทะเลเหนืองวดส่งมอบเดือนส.ค.พุ่งทำสถิติสูงสุดเป็นประวัติการณ์ที่ 143.91 ดอลลาร์ต่อบาร์เรลก่อนที่จะปิดอ่อนตัวลงมา 48 เซนต์ที่ระดับ 139.83 ดอลลาร์ต่อบาร์เรล
ทั้งนี้ ราคาน้ำมันทั่วโลกพุ่งทะยานขึ้นเป็น 2 เท่าจากปีที่ผ่านมาและยังคงพุ่งทะยานขึ้นอย่างต่อเนื่องจากระดับ 100 ดอลลาร์ต่อบาร์เรลเป็นครั้งแรกในต้นปีนี้ ซึ่งได้จุดกระแสความวิตกกังวลต่อภาวะเงินเฟ้อและภาวะเศรษฐกิจชะลอตัว