ธปท.ห่วงภาคครัวเรือนเอาเงินไปจมกับการซื้ออสังหาริมทรัพย์มากเกินไป หลังพบสัดส่วนการซื้ออสังหาริมทรัพย์ใกล้เคียงกับการบริโภค ขณะเดียวกันจับตาธุรกิจประมงในแถบภาคใต้ หลังเจอพิษน้ำมันแพงต้องปิดกิจการกันเพียบ หวั่นจะส่งผลระยะยาวให้ธุรกิจชะงัก ระบุเอ็นพีแอลโดยรวมในไตรมาสที่ 2 อาจเพิ่มขึ้นบ้างจากปัจจัยน้ำมัน มั่นใจแบงก์พาณิชย์กันสำรองดี
นายพงศ์อดุล กฤษณะราช ผู้อำนวยการอาวุโส ฝ่ายวิเคราะห์และติดตามฐานะ ฝ่ายกำกับสถาบันการเงิน ธนาคารแห่งประเทศไทย(ธปท.) เปิดเผยว่า จากข้อมูลของสำนักงานสถิติแห่งชาติครั้งล่าสุด พบว่า ในช่วง 6 เดือนแรกของปี 50 ภาคครัวเรือนมีรายได้ประมาณ 130,000 บาทต่อครัวเรือน ซึ่งครัวเรือนส่วนใหญ่ได้นำเงินไปใช้จ่ายเพื่อการบริโภคในสัดส่วน 32.7% ซื้ออสังหาริมทรัพย์ 32% ทำธุรกิจ 14% ภาคการเกษตร 15.9% ศึกษา 2.8% และอื่นๆ อีก 2% โดยสิ่งที่น่าห่วง คือ ประชาชนมีการนำเงินไปลงทุนซื้ออสังหาริมทรัพย์ในสัดส่วนที่ใกล้เคียงกับการบริโภคมากเกินไป
“แม้การซื้ออสังหาริมทรัพย์นั้นจะเป็นการซื้อเพื่อขายในอนาคตหรือต้องการลดค่าเช่าบ้าน ถือเป็นสิ่งที่ดี แต่สัดส่วนการซื้ออสังหาริมทรัพย์ของประชาชนมีมากเกินไปจนอยู่ในระดับเดียวกับการบริโภค จึงห่วงว่าประชาชนจะมีการใช้จ่ายไม่ถูกต้อง ซึ่งอาจนำเงินไปทุ่มจนไม่เกิดประโยชน์หรือดอกผลมากนัก และอาจมีปัญหาเรื่องค่าใช่จ่ายในการผ่อนเงินต้นกับดอกเบี้ยมากเกินไปจนอาจเดือดร้อนได้ในอนาคต”
ส่วนภาพรวมของหนี้ไม่ก่อให้เกิดรายได้(เอ็นพีแอล)โดยรวมของภาคครัวเรือนในขณะนี้ยังไม่น่าเป็นห่วง เนื่องจากประชาชน โดยเฉพาะผู้มีรายได้น้อยได้มีรายได้เพิ่มขึ้นทั้งการปรับขึ้นค่าจ้างขั้นต่ำ เช่นเดียวกับข้าราชการเองก็มีการปรับขึ้นเงินเดือนด้วย รวมถึงรายได้ภาคเกษตรเพิ่มขึ้นจากราคาพืชผลราคาดี ทำให้ผู้มีรายได้น้อยมีรายได้เพิ่มขึ้นตามค่าครองชีพที่สูง จึงสามารถดำรงชีวิตต่อไปได้ด้วยดี
ขณะเดียวกันหนี้สินเทียบกับรายได้จากตัวเลขรายปีก็ลดลงเรื่องๆ โดยล่าสุดในปี 50 อยู่ที่ 6.3 เท่า เทียบกับปี 49 อยู่ที่ 6.6 เท่า และปี 47 อยู่ที่ 7 เท่า
นายพงศ์อดุล กล่าวว่า สำหรับสถานการณ์การให้สินเชื่อของธนาคารพาณิชย์ไทย พบว่า ในไตรมาสแรกของปีนี้ลูกค้าของธนาคารพาณิชย์ไทยที่เริ่มมีหนี้ค้างชำระเกิน 1 เดือนคิดเป็นสัดส่วนประมาณ 10.29% เทียบกับไตรมาสก่อนอยู่ที่ 10.59% ซึ่งแม้สัดส่วนจะลดลงอย่างต่อเนื่องในช่วงที่ผ่านมา แต่อยู่ในระดับค่อนข้างสูง เนื่องจากภาวะเศรษฐกิจที่ชะลอตัว ประกอบกับราคาสินค้าและน้ำมันสูงขึ้นส่งผลให้อาจกระทบต่อความสามารถในการชำระหนี้ของลูกค้าธนาคารพาณิชย์บ้าง แต่ก็ไม่มากนัก
“หนี้เอ็นพีแอลในช่วงไตรมาสที่2 อาจเพิ่มขึ้นบ้างจากราคาน้ำมันที่เร่งตัวสูงในช่วงที่ผ่านมา แต่ก็เชื่อว่าไม่กระทบระบบนัก เพราะแบงก์พาณิชย์มีการจัดชั้นและกันสำรองครบตามเกณฑ์ที่เรากำหนด”
อย่างไรก็ตาม แม้ขณะนี้ภาคธุรกิจต้องเผชิญกับปัจจัยต่างๆ มารุ่มเร้าการดำเนินธุรกิจและอาจมีผลต่อการดำเนินธุรกิจและการขอสินเชื่อจากธนาคารพาณิชย์ลดลงด้วย โดยเมื่อช่วงปีก่อนภาคธุรกิจสิ่งทอและเครื่องหนังมีการปิดโรงงานกันมาก แต่ขณะนี้สถานการณ์เริ่มปรับตัวดีขึ้นเห็นได้จากยอดการส่งออก จึงเริ่มเห็นสัญญาณที่กระเตื้องขึ้น แต่ในขณะนี้ภาคธุรกิจที่ต้องจับตาดูอย่างใกล้ชิด คือ ภาคธุรกิจประมงแถบภาคใต้ หลังได้รับผลกระทบโดยตรงจากราคาน้ำมันแพง ทำให้ต้องหยุดดำเนินธุรกิจไปหลายราย แต่อย่างไรก็ตามสัดส่วนธุรกิจประมงเมื่อเทียบกับสัดส่วนโดยรวมแล้ว ถือว่าน้อยมาก จึงไม่น่าเป็นห่วงมากนัก
นายพงศ์อดุล กฤษณะราช ผู้อำนวยการอาวุโส ฝ่ายวิเคราะห์และติดตามฐานะ ฝ่ายกำกับสถาบันการเงิน ธนาคารแห่งประเทศไทย(ธปท.) เปิดเผยว่า จากข้อมูลของสำนักงานสถิติแห่งชาติครั้งล่าสุด พบว่า ในช่วง 6 เดือนแรกของปี 50 ภาคครัวเรือนมีรายได้ประมาณ 130,000 บาทต่อครัวเรือน ซึ่งครัวเรือนส่วนใหญ่ได้นำเงินไปใช้จ่ายเพื่อการบริโภคในสัดส่วน 32.7% ซื้ออสังหาริมทรัพย์ 32% ทำธุรกิจ 14% ภาคการเกษตร 15.9% ศึกษา 2.8% และอื่นๆ อีก 2% โดยสิ่งที่น่าห่วง คือ ประชาชนมีการนำเงินไปลงทุนซื้ออสังหาริมทรัพย์ในสัดส่วนที่ใกล้เคียงกับการบริโภคมากเกินไป
“แม้การซื้ออสังหาริมทรัพย์นั้นจะเป็นการซื้อเพื่อขายในอนาคตหรือต้องการลดค่าเช่าบ้าน ถือเป็นสิ่งที่ดี แต่สัดส่วนการซื้ออสังหาริมทรัพย์ของประชาชนมีมากเกินไปจนอยู่ในระดับเดียวกับการบริโภค จึงห่วงว่าประชาชนจะมีการใช้จ่ายไม่ถูกต้อง ซึ่งอาจนำเงินไปทุ่มจนไม่เกิดประโยชน์หรือดอกผลมากนัก และอาจมีปัญหาเรื่องค่าใช่จ่ายในการผ่อนเงินต้นกับดอกเบี้ยมากเกินไปจนอาจเดือดร้อนได้ในอนาคต”
ส่วนภาพรวมของหนี้ไม่ก่อให้เกิดรายได้(เอ็นพีแอล)โดยรวมของภาคครัวเรือนในขณะนี้ยังไม่น่าเป็นห่วง เนื่องจากประชาชน โดยเฉพาะผู้มีรายได้น้อยได้มีรายได้เพิ่มขึ้นทั้งการปรับขึ้นค่าจ้างขั้นต่ำ เช่นเดียวกับข้าราชการเองก็มีการปรับขึ้นเงินเดือนด้วย รวมถึงรายได้ภาคเกษตรเพิ่มขึ้นจากราคาพืชผลราคาดี ทำให้ผู้มีรายได้น้อยมีรายได้เพิ่มขึ้นตามค่าครองชีพที่สูง จึงสามารถดำรงชีวิตต่อไปได้ด้วยดี
ขณะเดียวกันหนี้สินเทียบกับรายได้จากตัวเลขรายปีก็ลดลงเรื่องๆ โดยล่าสุดในปี 50 อยู่ที่ 6.3 เท่า เทียบกับปี 49 อยู่ที่ 6.6 เท่า และปี 47 อยู่ที่ 7 เท่า
นายพงศ์อดุล กล่าวว่า สำหรับสถานการณ์การให้สินเชื่อของธนาคารพาณิชย์ไทย พบว่า ในไตรมาสแรกของปีนี้ลูกค้าของธนาคารพาณิชย์ไทยที่เริ่มมีหนี้ค้างชำระเกิน 1 เดือนคิดเป็นสัดส่วนประมาณ 10.29% เทียบกับไตรมาสก่อนอยู่ที่ 10.59% ซึ่งแม้สัดส่วนจะลดลงอย่างต่อเนื่องในช่วงที่ผ่านมา แต่อยู่ในระดับค่อนข้างสูง เนื่องจากภาวะเศรษฐกิจที่ชะลอตัว ประกอบกับราคาสินค้าและน้ำมันสูงขึ้นส่งผลให้อาจกระทบต่อความสามารถในการชำระหนี้ของลูกค้าธนาคารพาณิชย์บ้าง แต่ก็ไม่มากนัก
“หนี้เอ็นพีแอลในช่วงไตรมาสที่2 อาจเพิ่มขึ้นบ้างจากราคาน้ำมันที่เร่งตัวสูงในช่วงที่ผ่านมา แต่ก็เชื่อว่าไม่กระทบระบบนัก เพราะแบงก์พาณิชย์มีการจัดชั้นและกันสำรองครบตามเกณฑ์ที่เรากำหนด”
อย่างไรก็ตาม แม้ขณะนี้ภาคธุรกิจต้องเผชิญกับปัจจัยต่างๆ มารุ่มเร้าการดำเนินธุรกิจและอาจมีผลต่อการดำเนินธุรกิจและการขอสินเชื่อจากธนาคารพาณิชย์ลดลงด้วย โดยเมื่อช่วงปีก่อนภาคธุรกิจสิ่งทอและเครื่องหนังมีการปิดโรงงานกันมาก แต่ขณะนี้สถานการณ์เริ่มปรับตัวดีขึ้นเห็นได้จากยอดการส่งออก จึงเริ่มเห็นสัญญาณที่กระเตื้องขึ้น แต่ในขณะนี้ภาคธุรกิจที่ต้องจับตาดูอย่างใกล้ชิด คือ ภาคธุรกิจประมงแถบภาคใต้ หลังได้รับผลกระทบโดยตรงจากราคาน้ำมันแพง ทำให้ต้องหยุดดำเนินธุรกิจไปหลายราย แต่อย่างไรก็ตามสัดส่วนธุรกิจประมงเมื่อเทียบกับสัดส่วนโดยรวมแล้ว ถือว่าน้อยมาก จึงไม่น่าเป็นห่วงมากนัก