เทมาเส็ก โฮลดิ้งส์ กองทุนเพื่อการลงทุนของรัฐบาลสิงคโปร์ กำลังเตรียมนำเอาหุ้น ชินคอร์ป ออกมาเสนอขาย เพื่อลดสัดส่วนที่ถืออยู่ในบริษัทยักษ์ใหญ่ด้านสื่อสารของไทย และก่อให้เกิดความอ่อนไหวทางการเมืองมาโดยตลอด
รัชฎาวรรณ สนิทวงศ์ ณ อยุธยา ผู้จัดการสำนักกิจกรรมสัมพันธ์ บมจ. ชินคอร์ปอเรชั่น SHIN บอกกับสำนักข่าวเอเอฟพีวานนี้(17)ว่า ในขณะนี้ชินคอร์ปกำลังทำงานร่วมกับที่ปรึกษากฎหมายภายนอกของบริษัท ในเรื่องเกี่ยวกับกระบวนการรายละเอียดของการเสนอขายหุ้นนี้ รวมทั้งเรื่องกำหนดเวลาและจำนวนหุ้นที่นำออกมาขายด้วย
ทั้งนี้ ชินคอร์ปได้แจ้งต่อตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยเมื่อวันจันทร์(16)ว่า เทมาเส็กวางแผนจะลดสัดส่วนหุ้นชินคอร์ป ซึ่งถือครองอยู่ 96% ในขณะนี้
การที่เทมาเส็กซื้อหุ้นชินคอร์ป เมื่อเดือนมกราคม 2549 จากครอบครัว พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร นายกรัฐมนตรีของไทยในขณะนั้น เป็นมูลค่าประมาณ 1,900 ล้านดอลลาร์ โดยที่ทางครอบครัว พ.ต.ท.ทักษิณ ไม่ต้องเสียภาษีอะไรเลย ได้กลายเป็นชนวนทำให้เกิดความปั่นป่วนทางการเมืองครั้งใหญ่ในประเทศไทย โดยที่มีการชุมนุมคัดค้านตามท้องถนนในกรุงเทพฯเป็นแรมเดือน เพื่อเรียกร้องให้ พ.ต.ท.ทักษิณออกจากตำแหน่ง ด้วยข้อหาว่าใช้อำนาจในทางมิชอบและทุจริตคอร์รัปชั่น ซึ่งในที่สุดแล้วก็นำไปสู่การรัฐประหารยึดอำนาจของฝ่ายทหารในเดือนกันยายนปีเดียวกัน
ในเดือนพฤศจิกายน 2549 อันเป็นยุครัฐบาลชุด พล.อ.สุรยุทธ์ จุลานนท์ ทางการไทยได้สั่งให้ นายพานทองแท้ และ น.ส.พิณทองทา ชินวัตร บุตรชายและบุตรสาวของ พ.ต.ท.ทักษิณ ต้องชำระเงินรวมทั้งสิ้น 11,700 ล้านบาท เพื่อเป็นค่าภาษีและค่าปรับจากการขายหุ้นชินคอร์ปให้เทมาเส็ก
การที่เทมาเส็กเข้าซื้อหุ้นชินคอร์ป ยังทำให้เกิดความกังวลขึ้นในประเทศไทยว่า บริษัทต่างชาติกำลังเข้ามาเป็นเจ้าของทรัพย์สินแห่งชาติที่มีความสำคัญอย่างยิ่ง อาทิเช่น เครือข่ายดาวเทียมเพื่อการสื่อสาร
รัชฎาวรรณ สนิทวงศ์ ณ อยุธยา ผู้จัดการสำนักกิจกรรมสัมพันธ์ บมจ. ชินคอร์ปอเรชั่น SHIN บอกกับสำนักข่าวเอเอฟพีวานนี้(17)ว่า ในขณะนี้ชินคอร์ปกำลังทำงานร่วมกับที่ปรึกษากฎหมายภายนอกของบริษัท ในเรื่องเกี่ยวกับกระบวนการรายละเอียดของการเสนอขายหุ้นนี้ รวมทั้งเรื่องกำหนดเวลาและจำนวนหุ้นที่นำออกมาขายด้วย
ทั้งนี้ ชินคอร์ปได้แจ้งต่อตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยเมื่อวันจันทร์(16)ว่า เทมาเส็กวางแผนจะลดสัดส่วนหุ้นชินคอร์ป ซึ่งถือครองอยู่ 96% ในขณะนี้
การที่เทมาเส็กซื้อหุ้นชินคอร์ป เมื่อเดือนมกราคม 2549 จากครอบครัว พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร นายกรัฐมนตรีของไทยในขณะนั้น เป็นมูลค่าประมาณ 1,900 ล้านดอลลาร์ โดยที่ทางครอบครัว พ.ต.ท.ทักษิณ ไม่ต้องเสียภาษีอะไรเลย ได้กลายเป็นชนวนทำให้เกิดความปั่นป่วนทางการเมืองครั้งใหญ่ในประเทศไทย โดยที่มีการชุมนุมคัดค้านตามท้องถนนในกรุงเทพฯเป็นแรมเดือน เพื่อเรียกร้องให้ พ.ต.ท.ทักษิณออกจากตำแหน่ง ด้วยข้อหาว่าใช้อำนาจในทางมิชอบและทุจริตคอร์รัปชั่น ซึ่งในที่สุดแล้วก็นำไปสู่การรัฐประหารยึดอำนาจของฝ่ายทหารในเดือนกันยายนปีเดียวกัน
ในเดือนพฤศจิกายน 2549 อันเป็นยุครัฐบาลชุด พล.อ.สุรยุทธ์ จุลานนท์ ทางการไทยได้สั่งให้ นายพานทองแท้ และ น.ส.พิณทองทา ชินวัตร บุตรชายและบุตรสาวของ พ.ต.ท.ทักษิณ ต้องชำระเงินรวมทั้งสิ้น 11,700 ล้านบาท เพื่อเป็นค่าภาษีและค่าปรับจากการขายหุ้นชินคอร์ปให้เทมาเส็ก
การที่เทมาเส็กเข้าซื้อหุ้นชินคอร์ป ยังทำให้เกิดความกังวลขึ้นในประเทศไทยว่า บริษัทต่างชาติกำลังเข้ามาเป็นเจ้าของทรัพย์สินแห่งชาติที่มีความสำคัญอย่างยิ่ง อาทิเช่น เครือข่ายดาวเทียมเพื่อการสื่อสาร