ธปท.จี้คลังส่งรายชื่อบุคคลภายนอกนั่งเป็นบอร์ดให้ทันภายในสิ้นเดือนนี้ ระบุหากแต่งตั้งไม่ทันส่งให้อาจทำให้การสรรหาบอร์ดย่อยที่มีหน้าที่สำคัญในการดูแลเศรษฐกิจและระบบการเงินไทยต้องสะดุด เผยเพื่อป้องกันบุคคลภายนอกครอบงำนโยบายการเงินใช้วิธีเลือกใหม่ทุกๆ 1 ปี 6 เดือน
นายชาญชัย บุญฤทธิ์ไชยศรี ผู้อำนวยการอาวุโส ฝ่ายกฎหมายและคดี ธนาคารแห่งประเทศไทย(ธปท.) เปิดเผยว่า หลังจากที่พ.ร.บ.ธปท.ฉบับใหม่ประกาศใช้แล้วเมื่อวันที่ 3 มี.ค.ที่ผ่านมา ขณะนี้อยู่ระหว่างที่กระทรวงการคลังจะต้องคัดเลือกรายชื่อบุคคลภายนอกมาเป็นประธานกรรมการธปท.จำนวน 1 คน และผู้ทรงคุณวุฒิอีก 5 คน ซึ่งมาจากการเสนอรายชื่อของปลัดกระทรวงการคลัง 6 รายชื่อ และผู้ว่าการธปท.อีก 12 รายชื่อให้ได้ภายในสิ้นเดือนนี้ เพื่อให้คณะรัฐมนตรีพิจารณา และนำขึ้นทูลเกล้าฯ แต่งตั้งคณะกรรมการธปท.(กกธ.) ให้ครบภายใน 31 ก.ค.นี้
“หากบุคคลใดมองว่าการสรรหาบุคคลดังกล่าวมีคุณสมบัติไม่เหมาะสมสามารถฟ้องร้องผ่านศาลปกครองให้เพิกถอนคำสั่งได้”
ขณะเดียวกันกกธ.จะต้องทำหน้าที่แต่งตั้งคณะกรรมการย่อยอีก 3 ชุดที่มีความสำคัญต่อเศรษฐกิจและระบบการเงิน ได้แก่ 1.คณะกรรมการนโยบายการเงิน (กนง.) ซึ่งต้องกำหนดเป้าหมายของนโยบายการเงินของประเทศในปี 52 ให้เสร็จสิ้นช่วงเดือนธ.ค.นี้ 2.คณะกรรมการสถาบันการเงิน(กนส.) ต้องทำหน้าที่วางกฎระเบียบตามพ.ร.บ.ธุรกิจสถาบันการเงินฉบับใหม่ และ3.คณะกรรมการระบบชำระเงิน(กรช.) ซึ่งวางนโยบายระบบการหักบัญชีระหว่างสถาบันการเงิน จึงเป็นเรื่องจำเป็นที่คณะกรรมการทั้ง 3 ชุดนี้ต้องแต่งตั้งให้ทันภายในวันที่ 30 ส.ค.นี้
“ภายในวันที่ 30 ส.ค.นี้ หากยังไม่ได้บอร์ดชุดต่างๆ จะส่งผลให้ทุกอย่างค้างไปยาว รวมถึงการสรรหาบอร์ดชุดย่อยอีก 3 ชุดด้วย เพราะแม้ผู้บริหารบอร์ดชุดย่อยจะสามารถปฏิบัติงานได้ ซึ่งมีผู้ว่าการและรองผู้ว่าการมานั่งเป็นส่วนหนึ่งในบอร์ด แต่ในแง่ของคนกำหนดนโยบายที่เป็นบอร์ดกกธ.ไม่อยู่ทุกอย่างก็เดินไม่ได้”
สำหรับพ.ร.บ.ธปท.ฉบับใหม่ได้กำหนดให้กกธ.จะมีคณะกรรมการทั้งสิ้น 12 คน ประกอบด้วยผู้ทรงคุณวุฒิภายนอกในฐานะประธานกรรมการ 1 คน และกรรมการอีก 5 คน และมีการแต่งตั้งบุคคลภายในธปท.ได้แก่ ผู้ว่าการธปท.เป็นในฐานะรองประธานและรองผู้ว่าการอีก 3 คนในฐานะกรรมการ ส่วนอีก 2 คนจะแต่งตั้งโดยตำแหน่งจากภาครัฐ คือ ตำแหน่งเลขาธิการคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ และผู้อำนวยสำนักงานเศรษฐกิจการคลัง
ทั้งนี้ ประธานกรรมการธปท.และกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิจำนวน 6 คนนี้ จะมีวาระดำรงตำแหน่ง 3 ปี และติดต่อกันไม่เกิน 2 วาระ โดยในชุดแรกนี้เมื่อดำรงตำแหน่งครบ 1 ปี 6 เดือนจะต้องมีการแต่งตั้งใหม่ 3 คน เพื่อให้หมุนเวียนการทำงานและลดการครอบงำ ซึ่งใช้วิธีจับสลากและถือเป็นการออกตามวาระ
นายชาญชัย บุญฤทธิ์ไชยศรี ผู้อำนวยการอาวุโส ฝ่ายกฎหมายและคดี ธนาคารแห่งประเทศไทย(ธปท.) เปิดเผยว่า หลังจากที่พ.ร.บ.ธปท.ฉบับใหม่ประกาศใช้แล้วเมื่อวันที่ 3 มี.ค.ที่ผ่านมา ขณะนี้อยู่ระหว่างที่กระทรวงการคลังจะต้องคัดเลือกรายชื่อบุคคลภายนอกมาเป็นประธานกรรมการธปท.จำนวน 1 คน และผู้ทรงคุณวุฒิอีก 5 คน ซึ่งมาจากการเสนอรายชื่อของปลัดกระทรวงการคลัง 6 รายชื่อ และผู้ว่าการธปท.อีก 12 รายชื่อให้ได้ภายในสิ้นเดือนนี้ เพื่อให้คณะรัฐมนตรีพิจารณา และนำขึ้นทูลเกล้าฯ แต่งตั้งคณะกรรมการธปท.(กกธ.) ให้ครบภายใน 31 ก.ค.นี้
“หากบุคคลใดมองว่าการสรรหาบุคคลดังกล่าวมีคุณสมบัติไม่เหมาะสมสามารถฟ้องร้องผ่านศาลปกครองให้เพิกถอนคำสั่งได้”
ขณะเดียวกันกกธ.จะต้องทำหน้าที่แต่งตั้งคณะกรรมการย่อยอีก 3 ชุดที่มีความสำคัญต่อเศรษฐกิจและระบบการเงิน ได้แก่ 1.คณะกรรมการนโยบายการเงิน (กนง.) ซึ่งต้องกำหนดเป้าหมายของนโยบายการเงินของประเทศในปี 52 ให้เสร็จสิ้นช่วงเดือนธ.ค.นี้ 2.คณะกรรมการสถาบันการเงิน(กนส.) ต้องทำหน้าที่วางกฎระเบียบตามพ.ร.บ.ธุรกิจสถาบันการเงินฉบับใหม่ และ3.คณะกรรมการระบบชำระเงิน(กรช.) ซึ่งวางนโยบายระบบการหักบัญชีระหว่างสถาบันการเงิน จึงเป็นเรื่องจำเป็นที่คณะกรรมการทั้ง 3 ชุดนี้ต้องแต่งตั้งให้ทันภายในวันที่ 30 ส.ค.นี้
“ภายในวันที่ 30 ส.ค.นี้ หากยังไม่ได้บอร์ดชุดต่างๆ จะส่งผลให้ทุกอย่างค้างไปยาว รวมถึงการสรรหาบอร์ดชุดย่อยอีก 3 ชุดด้วย เพราะแม้ผู้บริหารบอร์ดชุดย่อยจะสามารถปฏิบัติงานได้ ซึ่งมีผู้ว่าการและรองผู้ว่าการมานั่งเป็นส่วนหนึ่งในบอร์ด แต่ในแง่ของคนกำหนดนโยบายที่เป็นบอร์ดกกธ.ไม่อยู่ทุกอย่างก็เดินไม่ได้”
สำหรับพ.ร.บ.ธปท.ฉบับใหม่ได้กำหนดให้กกธ.จะมีคณะกรรมการทั้งสิ้น 12 คน ประกอบด้วยผู้ทรงคุณวุฒิภายนอกในฐานะประธานกรรมการ 1 คน และกรรมการอีก 5 คน และมีการแต่งตั้งบุคคลภายในธปท.ได้แก่ ผู้ว่าการธปท.เป็นในฐานะรองประธานและรองผู้ว่าการอีก 3 คนในฐานะกรรมการ ส่วนอีก 2 คนจะแต่งตั้งโดยตำแหน่งจากภาครัฐ คือ ตำแหน่งเลขาธิการคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ และผู้อำนวยสำนักงานเศรษฐกิจการคลัง
ทั้งนี้ ประธานกรรมการธปท.และกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิจำนวน 6 คนนี้ จะมีวาระดำรงตำแหน่ง 3 ปี และติดต่อกันไม่เกิน 2 วาระ โดยในชุดแรกนี้เมื่อดำรงตำแหน่งครบ 1 ปี 6 เดือนจะต้องมีการแต่งตั้งใหม่ 3 คน เพื่อให้หมุนเวียนการทำงานและลดการครอบงำ ซึ่งใช้วิธีจับสลากและถือเป็นการออกตามวาระ