บางจากปิโตรเลียม ทุ่มทุนกว่า 1.5 หมื่นล้าน เดินหน้าโครงการปรับปรุงคุณภาพน้ำมัน หวังเพิ่ม EBITDA อีกเท่าตัว คาดแล้วเสร็จภายในไตรมาส 4 นี้ ขณะที่ผลงานไตรมาสแรกกำไรสุทธิกว่า 852 ล้านบาท เพิ่มขึ้นกว่า 2,135% เหตุรายได้จากการขายเพิ่มขึ้นเฉียดหมื่นล้านบาท หรือ 50%
นายอนุสรณ์ แสงนิ่มนวล กรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท บางจากปิโตรเลียม จำกัด (มหาชน) หรือ BCP กล่าวถึง ผลการดำเนินงานประจำไตรมาส 1 สิ้นสุด 31 มีนาคม 2551 ว่า บริษัทมีกำไรสุทธิ 852.81 ล้านบาท กำไรสุทธิต่อหุ้น 0.76 บาท เทียบกับงวดเดียวกันของปีก่อนขาดทุนสุทธิ 41.90 ล้านบาท ขาดทุนสุทธิต่อหุ้น 0.04 บาท กำไรสุทธิเพิ่มขึ้น 894.71 ล้านบาท หรือคิดเป็น 2,135.35%
โดยงบการรวมบริษัทมีรายได้จากการขายและการให้บริการจำนวน 29,819 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 9,774 ล้านบาท คิดเป็น 49.4% ประกอบด้วย รายได้จากการขายของบางจากฯ จำนวน 29,564 ล้านบาท และรายได้จากการขายของบริษัท บางจากกรีนเนท 4,610 ล้านบาท ซึ่งเป็นรายการระหว่างกันจำนวน 4,355 ล้านบาท ขณะที่รายได้อื่น คือ รายได้จากดอกเบี้ยรับ 24 ล้านบาท ลดลงจากปีก่อน 62.1% กำไรจากอัตราแลกเปลี่ยน 285 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากปีก่อนที่ขาดทุนจากอัตราแลกเปลี่ยน 23 ล้านบาท
ด้านค่าใช้จ่ายนั้น บริษัทมีต้นทุนขายและให้บริการ 28,239 ล้านบาท ประกอบด้วย ต้นทุนของบริษัท บางจากฯ จำนวน 28,102 ล้านบาท และต้นทุนของบริษัท บางจากกรีนเนท จำนวน 4,468 ล้านบาท ซึ่งเป็นรายการระหว่างกันจำนวน 4,331 ล้านบาท
ทั้งนี้ บางจากมีอัตรากำไรขั้นต้นปรับตัวตามความผันผวนของราคาน้ำมันในตลาดโลก และผันแปรตามค่าการกลั่นและค่าการตลาด โดยไตรมาส 1 ปี 2551 งบการเงินรวมและงบเฉพาะบริษัทมีอัตรากำไรขั้นต้น 5.3% และ 4.9% ตามลำดับ เพิ่มขึ้นจากช่วงเดียวกันของปีก่อนที่อยู่ที่ 2.2% และ 1.7% สาเหตุหลักมาจากค่าการกลั่นรวมที่ ปรับตัวเพิ่มขึ้น
นายอนุสรณ์ กล่าวถึงปัจจัยและอิทธิพลหลักที่อาจมีผลกระทบต่อการดำเนินงานหรือฐานะการเงินในอนาคต คือ ค่าการตลาดและค่าการกลั่น ในส่วนของค่าการตลาดจะได้รับผลกระทบจากความผันผวนของราคาน้ำมัน ซึ่งส่งผลต่อการปรับราคาขายปลีกเนื่องจากการขึ้นลงของราคาขายปลีกดังกล่าวทำได้ล่าช้ากว่าต้นทุนจริงที่เกิดขึ้น
ส่วนเรื่องค่าการกลั่น บางจากเป็นโรงกลั่นประเภท Simple Refinery ที่มีสัดส่วนผลิตภัณฑ์น้ำมันเตามากเมื่อเปรียบเทียบกับโรงกลั่นประเภท Complex Refinery โดยน้ำมันเตามีราคาต่ำกว่าราคาน้ำมันดิบ ทำให้บริษัทมีความจำเป็นต้องจัดหาแนวทางการลดสัดส่วนการผลิตน้ำมันเตาในระยะยาว เพื่อเพิ่มค่าการกลั่นให้อยู่ในระดับที่ทัดเทียมกับอุตสาหกรรม
โดยบริษัทได้ดำเนินโครงการปรับปรุงคุณภาพน้ำมัน (PQI) โดยการก่อสร้างหน่วยแตกตัวโมเลกุลน้ำมัน (Cracking Unit) และหน่วยอื่นๆ เพื่อทำให้โรงกลั่นของบริษัทเปลี่ยนเป็นโรงกลั่นประเภท Complex Refinery ซึ่งคาดว่าจะสามารถเริ่มการผลิตเชิงพาณิชย์ ได้ในช่วงไตรมาส 4 ปี 2551 ทำให้บริษัทสามารถเพิ่ม EBITDA จากระดับเฉลี่ย 2,000-4,000 ล้านบาท เป็นประมาณ 6,000-8,000 ล้านบาท จากมูลค่าการลงทุนรวมเงินลงทุนสำรองกรณีมีการเปลี่ยนแปลงรายละเอียดโครงการ (Contingency Reserve) ทั้งสิ้น 15,369 ล้านบาท หรือคิดเป็นประมาณ 378 ล้านเหรียญสหรัฐ
"นอกจากระดับราคาน้ำมันที่ผันผวนที่มีผลต่อผลการดำเนินงานบากจากแล้ว ความผันผวนของอัตราแลกเปลี่ยนยังมีผลกระทบเช่นกัน เนื่องจากในการซื้อและขายน้ำมันจะบันทึกรายการเจ้าหนี้การค้าและรายการลูกหนี้การค้าโดยอ้างอิงราคาอยู่กับสกุลเงินเหรียญสหรัฐ แต่บริษัทเองมีนโยบายปรับสัดส่วนสินทรัพย์และหนี้สินที่อยู่ในรูปสกุลเงินเหรียญสหรัฐ ให้อยู่ในระดับที่ใกล้เคียงกัน รวมทั้งทำประกันความเสี่ยงไว้บางส่วน"
นายอนุสรณ์ แสงนิ่มนวล กรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท บางจากปิโตรเลียม จำกัด (มหาชน) หรือ BCP กล่าวถึง ผลการดำเนินงานประจำไตรมาส 1 สิ้นสุด 31 มีนาคม 2551 ว่า บริษัทมีกำไรสุทธิ 852.81 ล้านบาท กำไรสุทธิต่อหุ้น 0.76 บาท เทียบกับงวดเดียวกันของปีก่อนขาดทุนสุทธิ 41.90 ล้านบาท ขาดทุนสุทธิต่อหุ้น 0.04 บาท กำไรสุทธิเพิ่มขึ้น 894.71 ล้านบาท หรือคิดเป็น 2,135.35%
โดยงบการรวมบริษัทมีรายได้จากการขายและการให้บริการจำนวน 29,819 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 9,774 ล้านบาท คิดเป็น 49.4% ประกอบด้วย รายได้จากการขายของบางจากฯ จำนวน 29,564 ล้านบาท และรายได้จากการขายของบริษัท บางจากกรีนเนท 4,610 ล้านบาท ซึ่งเป็นรายการระหว่างกันจำนวน 4,355 ล้านบาท ขณะที่รายได้อื่น คือ รายได้จากดอกเบี้ยรับ 24 ล้านบาท ลดลงจากปีก่อน 62.1% กำไรจากอัตราแลกเปลี่ยน 285 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากปีก่อนที่ขาดทุนจากอัตราแลกเปลี่ยน 23 ล้านบาท
ด้านค่าใช้จ่ายนั้น บริษัทมีต้นทุนขายและให้บริการ 28,239 ล้านบาท ประกอบด้วย ต้นทุนของบริษัท บางจากฯ จำนวน 28,102 ล้านบาท และต้นทุนของบริษัท บางจากกรีนเนท จำนวน 4,468 ล้านบาท ซึ่งเป็นรายการระหว่างกันจำนวน 4,331 ล้านบาท
ทั้งนี้ บางจากมีอัตรากำไรขั้นต้นปรับตัวตามความผันผวนของราคาน้ำมันในตลาดโลก และผันแปรตามค่าการกลั่นและค่าการตลาด โดยไตรมาส 1 ปี 2551 งบการเงินรวมและงบเฉพาะบริษัทมีอัตรากำไรขั้นต้น 5.3% และ 4.9% ตามลำดับ เพิ่มขึ้นจากช่วงเดียวกันของปีก่อนที่อยู่ที่ 2.2% และ 1.7% สาเหตุหลักมาจากค่าการกลั่นรวมที่ ปรับตัวเพิ่มขึ้น
นายอนุสรณ์ กล่าวถึงปัจจัยและอิทธิพลหลักที่อาจมีผลกระทบต่อการดำเนินงานหรือฐานะการเงินในอนาคต คือ ค่าการตลาดและค่าการกลั่น ในส่วนของค่าการตลาดจะได้รับผลกระทบจากความผันผวนของราคาน้ำมัน ซึ่งส่งผลต่อการปรับราคาขายปลีกเนื่องจากการขึ้นลงของราคาขายปลีกดังกล่าวทำได้ล่าช้ากว่าต้นทุนจริงที่เกิดขึ้น
ส่วนเรื่องค่าการกลั่น บางจากเป็นโรงกลั่นประเภท Simple Refinery ที่มีสัดส่วนผลิตภัณฑ์น้ำมันเตามากเมื่อเปรียบเทียบกับโรงกลั่นประเภท Complex Refinery โดยน้ำมันเตามีราคาต่ำกว่าราคาน้ำมันดิบ ทำให้บริษัทมีความจำเป็นต้องจัดหาแนวทางการลดสัดส่วนการผลิตน้ำมันเตาในระยะยาว เพื่อเพิ่มค่าการกลั่นให้อยู่ในระดับที่ทัดเทียมกับอุตสาหกรรม
โดยบริษัทได้ดำเนินโครงการปรับปรุงคุณภาพน้ำมัน (PQI) โดยการก่อสร้างหน่วยแตกตัวโมเลกุลน้ำมัน (Cracking Unit) และหน่วยอื่นๆ เพื่อทำให้โรงกลั่นของบริษัทเปลี่ยนเป็นโรงกลั่นประเภท Complex Refinery ซึ่งคาดว่าจะสามารถเริ่มการผลิตเชิงพาณิชย์ ได้ในช่วงไตรมาส 4 ปี 2551 ทำให้บริษัทสามารถเพิ่ม EBITDA จากระดับเฉลี่ย 2,000-4,000 ล้านบาท เป็นประมาณ 6,000-8,000 ล้านบาท จากมูลค่าการลงทุนรวมเงินลงทุนสำรองกรณีมีการเปลี่ยนแปลงรายละเอียดโครงการ (Contingency Reserve) ทั้งสิ้น 15,369 ล้านบาท หรือคิดเป็นประมาณ 378 ล้านเหรียญสหรัฐ
"นอกจากระดับราคาน้ำมันที่ผันผวนที่มีผลต่อผลการดำเนินงานบากจากแล้ว ความผันผวนของอัตราแลกเปลี่ยนยังมีผลกระทบเช่นกัน เนื่องจากในการซื้อและขายน้ำมันจะบันทึกรายการเจ้าหนี้การค้าและรายการลูกหนี้การค้าโดยอ้างอิงราคาอยู่กับสกุลเงินเหรียญสหรัฐ แต่บริษัทเองมีนโยบายปรับสัดส่วนสินทรัพย์และหนี้สินที่อยู่ในรูปสกุลเงินเหรียญสหรัฐ ให้อยู่ในระดับที่ใกล้เคียงกัน รวมทั้งทำประกันความเสี่ยงไว้บางส่วน"