ไทยออยล์ จับมือ จุฬาลงกรณ์ ร่วมวิจัยและพัฒนาพลังงาน ระยะเวลา 3 ปี ระดมความคิดร่วมทำวิจัยลดการใช้พลังงาน และหวังลดการใช้พลังงานของบริษัทลดลงอย่างน้อย 20%
นายวิโรจน์ มาวิจักขณ์ กรรมการอำนวยการ บริษัท ไทยออยล์ จำกัด (มหาชน) หรือ TOP เปิดเผยว่า บริษัทได้ร่วมลงนามในสัญญาความร่วมมือด้านงานวิจัยและพัฒนาพลังงานกับวิทยาลัยปิโตรเลียมและปิโตรเคมี จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เป็นระยะเวลา 3 ปี ตั้งแต่ปี 2551 - 54 โดยมุ่งเน้นให้นำไปใช้ประโยชน์ได้ในภาคธุรกิจ โดยทีมงานของทั้งสองฝ่ายจะระดมความคิดและกำหนดหัวข้อวิจัยร่วมกัน ซึ่งจะทำให้หัวข้อการวิจัยมาจากการระดมความคิดร่วมกันจากภาคธุรกิจและภาคการศึกษาวิจัย ซึ่งจะมีผลดีต่อการพัฒนาอุตสาหกรรมแบบบูรณาการ
โดยมีโครงการเบื้องต้น 3 โครงการ ได้แก่ 1.โครงการระยะสั้นเป็นการศึกษาการลดใช้พลังงานในโรงงานมีระยะเวลา 6 เดือน 2.โครงการระยะกลางเป็นการศึกษาความเป็นไปได้ในการหาวัตถุดิบเพื่อการกลั่นน้ำมัน มีระยะเวลา 1 ปี และ 3.โครงการระยะยาวเป็นการศึกษาเพื่อหาแนวทางในการนำวัตถุเหลือใช้กลับมากลั่นน้ำมัน เพื่อใช้เป็นพลังงานทดแทนน้ำมัน มีระยะเวลา 2-3 ปี ส่วนงบประมาณการวิจัยยังไม่สาารถระบุได้
นอกจากนี้ บริษัทพร้อมให้การสนับสนุนหากเห็นว่าโครงการดังกล่าวมีประโยชน์ โดยจะมีการประชุมร่วมกันของทีมงานทั้ง 2 ฝ่ายประจำทุก 2 เดือน โดยตั้งเป้าว่าในอนาคตความร่วมมือดังกล่าวจะสามารถช่วยลดการใช้พลังงานของบริษัทลงได้อย่างน้อย 20%
สำหรับเหตุที่บริษัทเลือกที่จะดำเนินโครงการร่วมกับวิทยาลัยปิโตรเลียมและปิโตรเคมี จุฬาฯ เนื่องจากเป็นวิทยาลัยที่มีความสามารถและศักยภาพในการทำการศึกษาวิจัยในระดับนานาชาติ มุ่งเน้นการศึกษาวิจัยทางด้านเทคโนโลยีปิโตรเลียม ปิโตรเคมี ซึ่งจะสนับสนุนธุรกิจของบริษัทที่มีทั้งการกลั่นน้ำมันปิโตรเลียม และการผลิตผลิตภัณฑ์ปิโตรเคมี โดยจะเน้นการวิจัยภายใต้แนวทางของการพัฒนาผลิตภัณฑ์ พลังงานทดแทน การใช้พลังงานอย่างมีประสิทธิภาพ และพลังงานทางเลือกสำหรับอนาคต
อย่างไรก็ตามภาพรวมบริษัทในปีนี้ คาดว่าค่าการกลั่นไม่รวม stock gain จะอยู่ที่ 7-8 เหรียฃดอลลาร์ต่อบาร์เรล ใกล้เคียงกับปีก่อน โดยเชื่อมั่นว่ารายได้ปีนี้น่าจะมีแนวโน้มที่ดี เนื่องจากราคาน้ำมันที่ยังทรงตัวในระดับสูง รวมถึงราคาของผลิตภัณฑ์ปิโตรเคมีที่ยังทรงตัวในระดับสูงเช่นกัน
นายวิโรจน์ มาวิจักขณ์ กรรมการอำนวยการ บริษัท ไทยออยล์ จำกัด (มหาชน) หรือ TOP เปิดเผยว่า บริษัทได้ร่วมลงนามในสัญญาความร่วมมือด้านงานวิจัยและพัฒนาพลังงานกับวิทยาลัยปิโตรเลียมและปิโตรเคมี จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เป็นระยะเวลา 3 ปี ตั้งแต่ปี 2551 - 54 โดยมุ่งเน้นให้นำไปใช้ประโยชน์ได้ในภาคธุรกิจ โดยทีมงานของทั้งสองฝ่ายจะระดมความคิดและกำหนดหัวข้อวิจัยร่วมกัน ซึ่งจะทำให้หัวข้อการวิจัยมาจากการระดมความคิดร่วมกันจากภาคธุรกิจและภาคการศึกษาวิจัย ซึ่งจะมีผลดีต่อการพัฒนาอุตสาหกรรมแบบบูรณาการ
โดยมีโครงการเบื้องต้น 3 โครงการ ได้แก่ 1.โครงการระยะสั้นเป็นการศึกษาการลดใช้พลังงานในโรงงานมีระยะเวลา 6 เดือน 2.โครงการระยะกลางเป็นการศึกษาความเป็นไปได้ในการหาวัตถุดิบเพื่อการกลั่นน้ำมัน มีระยะเวลา 1 ปี และ 3.โครงการระยะยาวเป็นการศึกษาเพื่อหาแนวทางในการนำวัตถุเหลือใช้กลับมากลั่นน้ำมัน เพื่อใช้เป็นพลังงานทดแทนน้ำมัน มีระยะเวลา 2-3 ปี ส่วนงบประมาณการวิจัยยังไม่สาารถระบุได้
นอกจากนี้ บริษัทพร้อมให้การสนับสนุนหากเห็นว่าโครงการดังกล่าวมีประโยชน์ โดยจะมีการประชุมร่วมกันของทีมงานทั้ง 2 ฝ่ายประจำทุก 2 เดือน โดยตั้งเป้าว่าในอนาคตความร่วมมือดังกล่าวจะสามารถช่วยลดการใช้พลังงานของบริษัทลงได้อย่างน้อย 20%
สำหรับเหตุที่บริษัทเลือกที่จะดำเนินโครงการร่วมกับวิทยาลัยปิโตรเลียมและปิโตรเคมี จุฬาฯ เนื่องจากเป็นวิทยาลัยที่มีความสามารถและศักยภาพในการทำการศึกษาวิจัยในระดับนานาชาติ มุ่งเน้นการศึกษาวิจัยทางด้านเทคโนโลยีปิโตรเลียม ปิโตรเคมี ซึ่งจะสนับสนุนธุรกิจของบริษัทที่มีทั้งการกลั่นน้ำมันปิโตรเลียม และการผลิตผลิตภัณฑ์ปิโตรเคมี โดยจะเน้นการวิจัยภายใต้แนวทางของการพัฒนาผลิตภัณฑ์ พลังงานทดแทน การใช้พลังงานอย่างมีประสิทธิภาพ และพลังงานทางเลือกสำหรับอนาคต
อย่างไรก็ตามภาพรวมบริษัทในปีนี้ คาดว่าค่าการกลั่นไม่รวม stock gain จะอยู่ที่ 7-8 เหรียฃดอลลาร์ต่อบาร์เรล ใกล้เคียงกับปีก่อน โดยเชื่อมั่นว่ารายได้ปีนี้น่าจะมีแนวโน้มที่ดี เนื่องจากราคาน้ำมันที่ยังทรงตัวในระดับสูง รวมถึงราคาของผลิตภัณฑ์ปิโตรเคมีที่ยังทรงตัวในระดับสูงเช่นกัน