แบงก์กรุงไทยระบุราคาสินค้าที่สูงขึ้นจะทำให้ผู้ซื้อบ้านรายใหม่ตัดสินใจได้ยากขึ้น ส่วนรายเก่าเชื่อปรับตัวได้ ด้านภาพรวมสินเชื่อที่อยู่อาศัยปีนี้ยังไปได้ดี โดยขณะนี้สามารถปล่อยสินเชื่อสุทธิได้แล้วประมาณ 6,500 ล้านบาท เชื่อทั้งปีทำได้ตามเป้าหมาย พร้อมคุมเอ็นพีแอลไว้ไม่เกิน 2% ด้านแบงก์นครหลวงไทยและแบงก์กรุงเทพสินเชื่อที่อยู่อาศัยไตรมาสแรกโตต่อเนื่อง
นายธีรินทร์ เต่าทอง ผู้อำนวยการฝ่ายอาวุโส ผู้บริหารฝ่าย ฝ่ายผลิตภัณฑ์สินเชื่อที่อยู่อาศัย ธนาคารกรุงไทย จำกัด (มหาชน) หรือ KTB เปิดเผยว่า ปัจจัยที่น่าจะมีผลกระทบต่อการปล่อยสินเชื่อที่อยู่อาศัยปีนี้ น่าจะเป็นเรื่องของราคาสินค้าที่สูงขึ้น ทั้งจากสินค้าอุปโภคบริโภคและสินค้าเกษตรเพราะจะส่งผลต่อค่าครองชีพของประชาชนโดยตรง ซึ่งจะทำให้ผู้ที่ต้องการซื้อบ้านรายใหม่ทำการพิจารณาและตัดสินใจยากขึ้น รวมถึงต้องพิจารณาถึงความสามารถในการขอกู้ว่าจะอยู่ในระดับใด ส่วนของลูกค้าเก่าที่ได้ขอกู้ไปแล้วนั้น เชื่อว่าจะมีการปรับตัวได้ แต่คงจะต้องมีการวางแผนและจัดระบบทางการเงินใหม่
ทั้งนี้มองว่าการปล่อยสินเชื่อที่อยู่อาศัยโดยรวมในปีนี้มีทิศทางที่ดีขึ้นกว่าปีก่อน เพราะอัตราดอกเบี้ยในปัจจุบันจะยังคงอยู่ในระดับที่ต่ำ และมีมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจของกระทรวงการคลังเข้ามาช่วยสนับสนุน โดยขณะนี้ธนาคารสามารถปล่อยสินเชื่อใหม่ไปได้แล้วประมาณ 10,000 ล้านบาท เป็นสินเชื่อสุทธิประมาณ 6,500 ล้านบาท ทำให้ยอดสินเชื่อคงค้างเพิ่มขึ้นมาอยู่ที่เกือบ 140,000 ล้านบาท จากสิ้นปีก่อนอยู่ที่ 133,000 ล้านบาท ส่วนเป้าหมายในปีนี้คาดว่าจะปล่อยสินเชื่อสุทธิไว้ที่ 20,000 ล้านบาท และคาดว่าจะสามารถทำได้ตามเป้าหมายอย่างแน่นอน
" ภาพรวมสินเชื่อที่อยู่อาศัยปีนี้เชื่อว่ายังดีอยู่ โดยตัวเลข 3 เดือนของเราดีมาก และในช่วงปลายเดือนที่ผ่านก็มีการอนุมัติยอดสินเชื่อใหม่ค่อนข้างมาก ส่วนเดือนเม.ย.ที่ปกติยอดจะตก เพราะมีวันทำงานน้อย ก็น่าจะสามารถทำได้ตามเป้าหมายที่ตั้งไว้ ทำให้ทั้งปีก็น่าจะเป็นไปตามเป้าหมาย" นายธีรินทร์ กล่าว
นายธีรินทร์ กล่าวอีกว่า หนี้ที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้ (เอ็นพีแอล) ของสินเชื่อที่อยู่อาศัยนั้น ถือว่ายังอยู่ในระดับที่ต่ำกว่าตัวเลขของทั้งระบบ โดยสิ้นปีก่อนตัวเลขเอ็นพีแอลของระบบอยู่ที่ 4% แต่ของธนาคารอยู่ที่ 2% ส่วนในช่วง 3 เดือนที่ผ่านมาก็มีการปรับตัวเพิ่มขึ้นเล็กน้อย หรืออยู่ที่ประมาณ 2.1% แต่ยังเป็นระดับที่ไม่น่าเป็นห่วง เนื่องจากเป็นการขึ้นลงตามช่วงเวลาซึ่งเกิดขึ้นเป็นปกติอยู่แล้ว และธนาคารจะพยายามควบคุมให้อยู่ที่ระดับ 2 % เพราะเป็นระดับที่ทำให้สามารถแข่งขันได้ และหากอยู่ในระดับที่สูงกว่านี้ก็จะทำให้กำไรจากการดำเนินงาน (มาร์จิ้น) ลดลง จนอาจจะขาดทุนได้
ส่วนการแข่งขันนั้นเชื่อว่าจะยังคงมีการแข่งขันเรื่องของอัตราดอกเบี้ยต่อไป ส่วนธนาคารนั้นจะใช้กลยุทธ์ในการตั้งราคาตามราคาตลาดเพื่อให้สามารถแข่งขันได้ รวมถึงการมีนำเสนอผลิตภัณฑ์อื่นของธนาคารให้กับลูกค้าที่ใช้สินเชื่อที่อยู่อาศัยเพิ่มเติม เช่น การหักค่าน้ำประปาค่าไฟฟ้า การทำประกัน หรือการให้วงเงินเพื่อใช้บริการของเคทีบีลิสซิ่ง การทำบัตรวีซ่า เดบิตโดยฟรีค่าธรรมเนียม เป็นต้น ซึ่งธนาคารมีเป้าหมายว่าจะให้ลูกค้าสินเชื่อที่อยู่อาศัยใช้ผลิตภัณฑ์ตัวอื่นของธนาคารประมาณ 4-5 ผลิตภัณฑ์
"มาร์จิ้นของลูกค้าปีแรกนั้นธนาคารจะยังขาดทุน แต่ในปีที่ 2 และ 3 นั้นก็จะเริ่มดีขึ้น และหากเป็นลูกค้าระยะยาวธนาคารก็จะมีการดูแลโดยมีการเสนอโปรแกรมและเสนอบริการอื่น ๆ ให้กับลูกค้า เช่นการหักค่าน้ำค่าไฟ เพราะธนาคารเน้นที่จะเป็นรีเทลแบงก์กิ้ง และมีการเสนอบริการที่ครบวงจรหรือ One Stop Service และธนาคารจะต้องควบคุมเอ็นพีแอลให้อยู่ที่ไม่เกิน 2% เพราะไม่งั้นจะขาดทุนและจะบุกตลาดไม่ได้" นายธีรินทร์ กล่าว
มาตรการภาษีหนุนสินเชื่อบ้านฟื้น
นายชัยนันท์ ลภิธนานุวัฒน์ ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการใหญ่ ธนาคารนครหลวงไทย จำกัด (มหาชน) หรือ SCIB เปิดเผยว่า สินเชื่อที่อยู่อาศัยของธนาคารในไตรมาสแรกของปี 2551 นี้มีอัตราการเติบโต 4,000 ล้านบาท ซึ่งมากกว่าเป้าหมายที่ตั้งไว้ และคาดว่าทั้งปีนี้จะสามารถปล่อยสินเชื่อดังกล่าวได้ไม่น้อยกว่า 12,000 ล้านบาท โดยส่วนหนึ่งได้รับปัจจัยบวกจากมาตรการภาษีของภาครัฐที่ประกาศใช้เมื่อต้นเดือนที่ผ่านมา ซึ่งกระตุ้นให้ผู้บริโภคที่ชะลอการซื้อบ้านตั้งแต่ต้นปีเริ่มซื้อและโอนหลังจากที่นโยบายดังกล่าวมีผลบังคับใช้
“สินเชื่อเคหะที่ปล่อยไปในไตรมาสแรก 60% เป็นบ้านในเขตกรุงเทพและปริมณฑล ส่วนอีก 40% นั้นอยู่ในเขตต่างจังหวัด ซึ่งสินเชื่อเคหะในปีนี้คาดว่ายังมีอัตราการเติบโตเพิ่มต่อเนื่อง และยิ่งได้แรงกระตุ้นจากมาตรการต่างๆ ของภาครัฐ คาดว่าอาจะเกินเป้าหมายที่ตั้งไว้ทั้งปี เพราะในภาคธุรกิจอสังหาริมทรัพย์เอง ต่างก็คาดการว่าจะมีอัตราการขยายตัวเพิ่มขึ้นไม่น้อยกว่า 10% เช่นกัน แม้ว่าช่วงเดือนมี.ค.ที่ผ่านมาธุรกิจโดยรวมจะชะลอตัวลงบ้าง แต่เชื่อว่าเดือนพ.ค.นี้จะเริ่มเห็นการเติบโตเป็นรูปธรรมมากขึ้น”
นอกจากนี้ได้กล่าวถึงสินเชื่อบุคคลในส่วนของธนาคารไตรมาสแรกที่ผ่านมามีอัตราการเติบโตไม่เป็นไปตามเป้าหมายส่วนหนึ่งมาจากธนาคารอยู่ระหว่างการปรับโครงสร้างทีมงาน เพื่อให้สอดคล้องกับกลุ่มลูกค้าที่จะมุ่งให้ความสำคัญ โดยเฉพาะกลุ่มลูกค้ารายย่อย คาดว่าจะเริ่มเห็นความเคลื่อนไหวในไตรมาสที่ 2 นี้แน่นอน
ด้านนายปิยะ ซอโสตถิกุล ผู้ช่วยผู้จัดการใหญ่ ธนาคารกรุงเทพ จำกัด (มหาชน) หรือ BBL กล่าวว่า สินเชื่ออสังหาริมทรัพย์ในไตรมาสแรกที่ผ่านมามีอัตราการเติบโตต่อเนื่องยอดปล่อยสินเชื่ออยู่ที่ประมาณ 5,000 ล้านบาท ส่วนใหญ่จะเป็นโครงการที่ธนาคารให้การสนับสนุน และมีที่เกี่ยวข้องกับธุรกิจท่องเที่ยวบ้าง เช่นโรงแรม เป็นต้น คาดว่าธุรกิจอสังหาฯจะมีอัตราการเติบโตได้ต่อเนื่องอีก 12-18 เดือน ด้วยมาตรการภาษีที่ออกมากระตุ้นของภาครัฐ
“ธุรกิจอสังหาฯทรงๆ ตัวมาประมาณ 2 ปีแล้ว แต่ที่ยังมีโอกาสเติบโตได้ ก็มีบางพื้นที่ โดยเฉพาะพื้นที่ๆ เป็นแหล่งท่องเที่ยว พื้นที่ตั้งใกล้เขตนิมคมอุตสาหกรรม เช่น จ.ระยอง ชลบุรี พัทยา ภูเก็ต เป็นต้น ในส่วนของธนาคารกรุงเทพ ที่ผ่านมาเราไม่ค่อยโปรโมทสินเชื่อนี้เท่าไหร่นั้น แต่จริงๆ แล้วเราทำอยู่ เพราะมีกลุ่มลูกค้าของเรา โดยโครงการใดที่เป็นโครงการต่อเนื่อง และได้รับการตอบรับจากลูกค้าเป็นอย่างดี เราก็จะเสนอเงื่อนไขพิเศษให้”
นายธีรินทร์ เต่าทอง ผู้อำนวยการฝ่ายอาวุโส ผู้บริหารฝ่าย ฝ่ายผลิตภัณฑ์สินเชื่อที่อยู่อาศัย ธนาคารกรุงไทย จำกัด (มหาชน) หรือ KTB เปิดเผยว่า ปัจจัยที่น่าจะมีผลกระทบต่อการปล่อยสินเชื่อที่อยู่อาศัยปีนี้ น่าจะเป็นเรื่องของราคาสินค้าที่สูงขึ้น ทั้งจากสินค้าอุปโภคบริโภคและสินค้าเกษตรเพราะจะส่งผลต่อค่าครองชีพของประชาชนโดยตรง ซึ่งจะทำให้ผู้ที่ต้องการซื้อบ้านรายใหม่ทำการพิจารณาและตัดสินใจยากขึ้น รวมถึงต้องพิจารณาถึงความสามารถในการขอกู้ว่าจะอยู่ในระดับใด ส่วนของลูกค้าเก่าที่ได้ขอกู้ไปแล้วนั้น เชื่อว่าจะมีการปรับตัวได้ แต่คงจะต้องมีการวางแผนและจัดระบบทางการเงินใหม่
ทั้งนี้มองว่าการปล่อยสินเชื่อที่อยู่อาศัยโดยรวมในปีนี้มีทิศทางที่ดีขึ้นกว่าปีก่อน เพราะอัตราดอกเบี้ยในปัจจุบันจะยังคงอยู่ในระดับที่ต่ำ และมีมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจของกระทรวงการคลังเข้ามาช่วยสนับสนุน โดยขณะนี้ธนาคารสามารถปล่อยสินเชื่อใหม่ไปได้แล้วประมาณ 10,000 ล้านบาท เป็นสินเชื่อสุทธิประมาณ 6,500 ล้านบาท ทำให้ยอดสินเชื่อคงค้างเพิ่มขึ้นมาอยู่ที่เกือบ 140,000 ล้านบาท จากสิ้นปีก่อนอยู่ที่ 133,000 ล้านบาท ส่วนเป้าหมายในปีนี้คาดว่าจะปล่อยสินเชื่อสุทธิไว้ที่ 20,000 ล้านบาท และคาดว่าจะสามารถทำได้ตามเป้าหมายอย่างแน่นอน
" ภาพรวมสินเชื่อที่อยู่อาศัยปีนี้เชื่อว่ายังดีอยู่ โดยตัวเลข 3 เดือนของเราดีมาก และในช่วงปลายเดือนที่ผ่านก็มีการอนุมัติยอดสินเชื่อใหม่ค่อนข้างมาก ส่วนเดือนเม.ย.ที่ปกติยอดจะตก เพราะมีวันทำงานน้อย ก็น่าจะสามารถทำได้ตามเป้าหมายที่ตั้งไว้ ทำให้ทั้งปีก็น่าจะเป็นไปตามเป้าหมาย" นายธีรินทร์ กล่าว
นายธีรินทร์ กล่าวอีกว่า หนี้ที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้ (เอ็นพีแอล) ของสินเชื่อที่อยู่อาศัยนั้น ถือว่ายังอยู่ในระดับที่ต่ำกว่าตัวเลขของทั้งระบบ โดยสิ้นปีก่อนตัวเลขเอ็นพีแอลของระบบอยู่ที่ 4% แต่ของธนาคารอยู่ที่ 2% ส่วนในช่วง 3 เดือนที่ผ่านมาก็มีการปรับตัวเพิ่มขึ้นเล็กน้อย หรืออยู่ที่ประมาณ 2.1% แต่ยังเป็นระดับที่ไม่น่าเป็นห่วง เนื่องจากเป็นการขึ้นลงตามช่วงเวลาซึ่งเกิดขึ้นเป็นปกติอยู่แล้ว และธนาคารจะพยายามควบคุมให้อยู่ที่ระดับ 2 % เพราะเป็นระดับที่ทำให้สามารถแข่งขันได้ และหากอยู่ในระดับที่สูงกว่านี้ก็จะทำให้กำไรจากการดำเนินงาน (มาร์จิ้น) ลดลง จนอาจจะขาดทุนได้
ส่วนการแข่งขันนั้นเชื่อว่าจะยังคงมีการแข่งขันเรื่องของอัตราดอกเบี้ยต่อไป ส่วนธนาคารนั้นจะใช้กลยุทธ์ในการตั้งราคาตามราคาตลาดเพื่อให้สามารถแข่งขันได้ รวมถึงการมีนำเสนอผลิตภัณฑ์อื่นของธนาคารให้กับลูกค้าที่ใช้สินเชื่อที่อยู่อาศัยเพิ่มเติม เช่น การหักค่าน้ำประปาค่าไฟฟ้า การทำประกัน หรือการให้วงเงินเพื่อใช้บริการของเคทีบีลิสซิ่ง การทำบัตรวีซ่า เดบิตโดยฟรีค่าธรรมเนียม เป็นต้น ซึ่งธนาคารมีเป้าหมายว่าจะให้ลูกค้าสินเชื่อที่อยู่อาศัยใช้ผลิตภัณฑ์ตัวอื่นของธนาคารประมาณ 4-5 ผลิตภัณฑ์
"มาร์จิ้นของลูกค้าปีแรกนั้นธนาคารจะยังขาดทุน แต่ในปีที่ 2 และ 3 นั้นก็จะเริ่มดีขึ้น และหากเป็นลูกค้าระยะยาวธนาคารก็จะมีการดูแลโดยมีการเสนอโปรแกรมและเสนอบริการอื่น ๆ ให้กับลูกค้า เช่นการหักค่าน้ำค่าไฟ เพราะธนาคารเน้นที่จะเป็นรีเทลแบงก์กิ้ง และมีการเสนอบริการที่ครบวงจรหรือ One Stop Service และธนาคารจะต้องควบคุมเอ็นพีแอลให้อยู่ที่ไม่เกิน 2% เพราะไม่งั้นจะขาดทุนและจะบุกตลาดไม่ได้" นายธีรินทร์ กล่าว
มาตรการภาษีหนุนสินเชื่อบ้านฟื้น
นายชัยนันท์ ลภิธนานุวัฒน์ ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการใหญ่ ธนาคารนครหลวงไทย จำกัด (มหาชน) หรือ SCIB เปิดเผยว่า สินเชื่อที่อยู่อาศัยของธนาคารในไตรมาสแรกของปี 2551 นี้มีอัตราการเติบโต 4,000 ล้านบาท ซึ่งมากกว่าเป้าหมายที่ตั้งไว้ และคาดว่าทั้งปีนี้จะสามารถปล่อยสินเชื่อดังกล่าวได้ไม่น้อยกว่า 12,000 ล้านบาท โดยส่วนหนึ่งได้รับปัจจัยบวกจากมาตรการภาษีของภาครัฐที่ประกาศใช้เมื่อต้นเดือนที่ผ่านมา ซึ่งกระตุ้นให้ผู้บริโภคที่ชะลอการซื้อบ้านตั้งแต่ต้นปีเริ่มซื้อและโอนหลังจากที่นโยบายดังกล่าวมีผลบังคับใช้
“สินเชื่อเคหะที่ปล่อยไปในไตรมาสแรก 60% เป็นบ้านในเขตกรุงเทพและปริมณฑล ส่วนอีก 40% นั้นอยู่ในเขตต่างจังหวัด ซึ่งสินเชื่อเคหะในปีนี้คาดว่ายังมีอัตราการเติบโตเพิ่มต่อเนื่อง และยิ่งได้แรงกระตุ้นจากมาตรการต่างๆ ของภาครัฐ คาดว่าอาจะเกินเป้าหมายที่ตั้งไว้ทั้งปี เพราะในภาคธุรกิจอสังหาริมทรัพย์เอง ต่างก็คาดการว่าจะมีอัตราการขยายตัวเพิ่มขึ้นไม่น้อยกว่า 10% เช่นกัน แม้ว่าช่วงเดือนมี.ค.ที่ผ่านมาธุรกิจโดยรวมจะชะลอตัวลงบ้าง แต่เชื่อว่าเดือนพ.ค.นี้จะเริ่มเห็นการเติบโตเป็นรูปธรรมมากขึ้น”
นอกจากนี้ได้กล่าวถึงสินเชื่อบุคคลในส่วนของธนาคารไตรมาสแรกที่ผ่านมามีอัตราการเติบโตไม่เป็นไปตามเป้าหมายส่วนหนึ่งมาจากธนาคารอยู่ระหว่างการปรับโครงสร้างทีมงาน เพื่อให้สอดคล้องกับกลุ่มลูกค้าที่จะมุ่งให้ความสำคัญ โดยเฉพาะกลุ่มลูกค้ารายย่อย คาดว่าจะเริ่มเห็นความเคลื่อนไหวในไตรมาสที่ 2 นี้แน่นอน
ด้านนายปิยะ ซอโสตถิกุล ผู้ช่วยผู้จัดการใหญ่ ธนาคารกรุงเทพ จำกัด (มหาชน) หรือ BBL กล่าวว่า สินเชื่ออสังหาริมทรัพย์ในไตรมาสแรกที่ผ่านมามีอัตราการเติบโตต่อเนื่องยอดปล่อยสินเชื่ออยู่ที่ประมาณ 5,000 ล้านบาท ส่วนใหญ่จะเป็นโครงการที่ธนาคารให้การสนับสนุน และมีที่เกี่ยวข้องกับธุรกิจท่องเที่ยวบ้าง เช่นโรงแรม เป็นต้น คาดว่าธุรกิจอสังหาฯจะมีอัตราการเติบโตได้ต่อเนื่องอีก 12-18 เดือน ด้วยมาตรการภาษีที่ออกมากระตุ้นของภาครัฐ
“ธุรกิจอสังหาฯทรงๆ ตัวมาประมาณ 2 ปีแล้ว แต่ที่ยังมีโอกาสเติบโตได้ ก็มีบางพื้นที่ โดยเฉพาะพื้นที่ๆ เป็นแหล่งท่องเที่ยว พื้นที่ตั้งใกล้เขตนิมคมอุตสาหกรรม เช่น จ.ระยอง ชลบุรี พัทยา ภูเก็ต เป็นต้น ในส่วนของธนาคารกรุงเทพ ที่ผ่านมาเราไม่ค่อยโปรโมทสินเชื่อนี้เท่าไหร่นั้น แต่จริงๆ แล้วเราทำอยู่ เพราะมีกลุ่มลูกค้าของเรา โดยโครงการใดที่เป็นโครงการต่อเนื่อง และได้รับการตอบรับจากลูกค้าเป็นอย่างดี เราก็จะเสนอเงื่อนไขพิเศษให้”