แบงก์ชาติเตือนนักลงทุนพิจารณารายละเอียดก่อนลุยซื้อกองทุนลงทุนในพันธบัตรต่างประเทศ ชี้ควรเลือกที่มีขอบข่ายการลงทุนในตราสารหนี้ที่ความเสี่ยงต่ำ และมีการทำประกันความเสี่ยงด้านอัตราแลกเปลี่ยน
นางสาวดวงมณี วงศ์ประทีป ผู้ช่วยผู้ว่าการธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) สายนโยบายการเงิน กล่าวถึงกรณีที่ธนาคารพาณิชย์ รวมถึงสถาบันการเงินไทยนิยมออกกองทุนลงทุนในต่างประเทศ(FIF) ซึ่งจะลงทุนในพันธบัตรของรัฐบาลต่างประเทศ โดยเฉพาะอย่างยิ่งพันธบัตรรัฐบาลของประเทศเกาหลีใต้ ซึ่งได้รับความนิยมจากนักลงทุนจำนวนมากในขณะนี้ว่า คงต้องพิจารณาว่ากองทุนดังกล่าวมีการทำการความเสี่ยงด้านอัตราแลกเปลี่ยนค่าเงินบาทไว้หรือไม่ โดยหากได้ดำเนินการทำประกันความเสี่ยงไว้แล้ว ความเสี่ยงที่จะขาดทุนจากอัตราแลกเปลี่ยนก็แทบจะไม่มี อย่างไรก็ตาม เท่าที่ธปท.ติดตามพบว่า ส่วนใหญ่กองทุนประเภทนี้ มีการทำป้องกันความเสี่ยงอยู่ในระดับที่ดี
ส่วนความเสี่ยงในด้านการลงทุนในตราสารหนี้นั้น เป็นส่วนที่สำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์ และตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย (ก.ล.ต.) เป็นผู้ดูแลอยู่ และเท่าที่ทราบ กองทุนประเภทนี้จะลงทุนในตราสารหนี้ประเภทใดในต่างประเทศ ซึ่งไม่ได้จำกัดไว้ที่พันธบัตรรัฐบาลที่มีความเสี่ยงต่ำแต่อย่างเดียว แต่รวมตราสารหนี้ประเภทอื่นด้วย แต่การลงทุนในตราสารหนี้ใดๆ กองทุนจะต้องชี้แจงให้นักลงทุนทราบ ดังนั้น ก็เป็นเรื่องของนักลงทุนควรที่จะอ่านให้เข้าใจว่า กองทุนดังกล่าวที่จะลงทุนนั้น ลงทุนในตราสารหนี้ประเภทใดบ้าง มีตราสารหนี้ที่มีความเสี่ยงสูงหรือไม่ ซึ่งหากมีก็ควรหลีกเลี่ยง เพราะอาจจะมีความเสี่ยงในการลงทุนสูงกว่ากองทุนที่ลงทุนในตราสารหนี้ที่มีความเสี่ยงต่ำ
"ในส่วนนี้ก็มีความเสี่ยงอยู่ใน 2 ด้านก็คือความเสี่ยงในด้านอัตราแลกเปลี่ยนจากการลงทุนในพันธบัตรรัฐบาลต่างประเทศ หรือตราสารหนี้ประเภทอื่นๆ ในต่างประเทศนั้น ซึ่งก็ต้องดูว่าได้มีการทำประกันความเสี่ยงด้านนี้ไว้ ส่วนอีกด้านเป็นเรื่องรายละเอียดของการลงทุนในตราสารประเภทต่างๆ อันนี้นักลงทุนเองจะต้องดูให้เข้าใจและรอบคอบในการตัดสินใจ จึงควรดูทั้ง 2 อย่างนี้ประกอบกัน"นางสาวดวงมณีกล่าว
นางสาวดวงมณี วงศ์ประทีป ผู้ช่วยผู้ว่าการธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) สายนโยบายการเงิน กล่าวถึงกรณีที่ธนาคารพาณิชย์ รวมถึงสถาบันการเงินไทยนิยมออกกองทุนลงทุนในต่างประเทศ(FIF) ซึ่งจะลงทุนในพันธบัตรของรัฐบาลต่างประเทศ โดยเฉพาะอย่างยิ่งพันธบัตรรัฐบาลของประเทศเกาหลีใต้ ซึ่งได้รับความนิยมจากนักลงทุนจำนวนมากในขณะนี้ว่า คงต้องพิจารณาว่ากองทุนดังกล่าวมีการทำการความเสี่ยงด้านอัตราแลกเปลี่ยนค่าเงินบาทไว้หรือไม่ โดยหากได้ดำเนินการทำประกันความเสี่ยงไว้แล้ว ความเสี่ยงที่จะขาดทุนจากอัตราแลกเปลี่ยนก็แทบจะไม่มี อย่างไรก็ตาม เท่าที่ธปท.ติดตามพบว่า ส่วนใหญ่กองทุนประเภทนี้ มีการทำป้องกันความเสี่ยงอยู่ในระดับที่ดี
ส่วนความเสี่ยงในด้านการลงทุนในตราสารหนี้นั้น เป็นส่วนที่สำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์ และตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย (ก.ล.ต.) เป็นผู้ดูแลอยู่ และเท่าที่ทราบ กองทุนประเภทนี้จะลงทุนในตราสารหนี้ประเภทใดในต่างประเทศ ซึ่งไม่ได้จำกัดไว้ที่พันธบัตรรัฐบาลที่มีความเสี่ยงต่ำแต่อย่างเดียว แต่รวมตราสารหนี้ประเภทอื่นด้วย แต่การลงทุนในตราสารหนี้ใดๆ กองทุนจะต้องชี้แจงให้นักลงทุนทราบ ดังนั้น ก็เป็นเรื่องของนักลงทุนควรที่จะอ่านให้เข้าใจว่า กองทุนดังกล่าวที่จะลงทุนนั้น ลงทุนในตราสารหนี้ประเภทใดบ้าง มีตราสารหนี้ที่มีความเสี่ยงสูงหรือไม่ ซึ่งหากมีก็ควรหลีกเลี่ยง เพราะอาจจะมีความเสี่ยงในการลงทุนสูงกว่ากองทุนที่ลงทุนในตราสารหนี้ที่มีความเสี่ยงต่ำ
"ในส่วนนี้ก็มีความเสี่ยงอยู่ใน 2 ด้านก็คือความเสี่ยงในด้านอัตราแลกเปลี่ยนจากการลงทุนในพันธบัตรรัฐบาลต่างประเทศ หรือตราสารหนี้ประเภทอื่นๆ ในต่างประเทศนั้น ซึ่งก็ต้องดูว่าได้มีการทำประกันความเสี่ยงด้านนี้ไว้ ส่วนอีกด้านเป็นเรื่องรายละเอียดของการลงทุนในตราสารประเภทต่างๆ อันนี้นักลงทุนเองจะต้องดูให้เข้าใจและรอบคอบในการตัดสินใจ จึงควรดูทั้ง 2 อย่างนี้ประกอบกัน"นางสาวดวงมณีกล่าว