SGF แจ้งโอนทรัพย์ชำระหนี้ ให้ EWC และบริษัททำหนังสือเพื่อยืนยันในการปฎิบัติตามสัญญาประณีประนอมยอมความ และจะชำระตามกำหนดการที่ให้ไว้
นายธีรภัทร์ โกยสุขโข กรรมการผู้จัดการ บริษัท สยามเจเนอรัล แฟคตอริ่ง จำกัด (มหาชน) (SGF ) แจ้งว่าตามที่ศาลได้มีคำพิพากษาในคดีระหว่างบริษัท และบริษัท อีสเทิร์นไวร์ จำกัด (มหาชน) หรือ EWC ตามสัญญาประนีประนอมยอมความในคดีหมายเลขแดงที่ 3679/2550 เมื่อวันที่ 21 สิงหาคม 2550
ต่อมา บริษัท และ EWC ได้มีการบันทึกข้อตกลงนัดโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินที่เหลือเพื่อชำระหนี้ภายใน 180 วัน นับจากวันที่ 2 มกราคม 2551 (ตรงกับวันที่ 29 มิถุนายน 2551) โดยข้อตกลงอื่นให้เป็นไปตามสัญญาประนีประนอมยอมความเดิม ซึ่งศาลได้รับทราบแล้วนั้น บริษัทฯชี้แจงเพิ่มเติม ดังนี้
1. เมื่อวันที่ 31 มีนาคม 2551 บริษัท และ EWC ได้มีการโอนกรรมสิทธิ์ที่ดิน เพื่อชำระหนี้ 18.10 ล้านบาท เป็นที่ดินของลูกหนี้ของบริษัท 1 ราย ซึ่งไม่ใช่ 2 รายเดิมที่บริษัทเคยแจ้งไว้ โดยลูกหนี้เป็นผู้ให้ บจ. เคแทค แอพเพรซัล แอนด์ เซอร์วิส เป็นผู้ประเมินราคา และนำส่งให้แก่บริษัท ซึ่งบริษัทก็ได้นำส่งต่อให้ EWC ซึ่งเป็นที่ดิน 2 โฉนด มูลค่ารวม 18.10 ล้านบาท
ทั้งนี้ ที่ดินดังกล่าว เป็นการชำระหนี้ในส่วนของ 310 ล้านบาท ซึ่งบริษัทมีสิทธิชำระหนี้ให้แก่ EWC ด้วยเงินสด หรือทรัพย์สินอื่นใดได้ ภายใน 36 เดือน นับแต่วันทำสัญญาประนีประนอมยอมความ ซึ่งรวมที่ดินที่ได้มีการโอนทรัพย์ชำระหนี้แล้วทั้งสิ้นเป็นเงิน 91.22 ล้านบาท
2. บริษัทได้รับจดหมายจาก EWC ฉบับลงวันที่ 25 มีนาคม 2551 บริษัทได้หารือที่ปรึกษากฎหมายและชี้แจงให้ EWC ทราบแล้วตามจดหมายที่อ้างถึงว่า การตกลงทำสัญญาประนีประยอมยอมความดังกล่าว ได้ลงนามโดยผู้รับมอบอำนาจตามอำนาจที่ได้กำหนดไว้ในหนังสือมอบอำนาจของ EWC และได้กระทำในระหว่างกระบวนพิจารณาไกล่เกลี่ยของศาลแพ่ง โดยมีคำพิพากษาศาลแพ่งรับรองความถูกต้อง และความชอบด้วยกฎหมายของสัญญา จึงมีผลผูกพัน EWC และบริษัทให้ต้องปฏิบัติตาม ส่วนมติของกรรมการบริษัทตามจดหมายจาก EWC ฉบับลงวันที่ 25 มีนาคม 2551 ทั้งหมดนั้นเป็นเรื่องการบริหารกิจการภายในของ EWC บริษัทไม่สามารถล่วงรู้และไม่อาจทราบถึงมติกรรมการดังกล่าวได้
นอกจากนี้ ในจดหมายที่อ้างถึงดังกล่าว บริษัทยืนยันที่จะชำระหนี้ตามสัญญาประนีประนอม ยอมความด้วยที่ดินและทรัพย์สินอื่นให้ครบถ้วน ตามสัญญาประนีประนอมยอมความ โดยจะชำระให้เสร็จสิ้นภายในเวลาที่ตกลงไว้ที่ศาล และบริษัทได้เสนอแนวทางชำระหนี้ โดยไม่เรียงลำดับการปฏิบัติที่กำหนดไว้ในสัญญาประนีประนอมยอมความ เพื่อให้เป็นประโยชน์ร่วมกันทั้งสองฝ่าย อย่างไรก็ตาม บริษัทยังไม่ได้รับหนังสือตอบกลับจาก EWC แต่อย่างใด
นายธีรภัทร์ โกยสุขโข กรรมการผู้จัดการ บริษัท สยามเจเนอรัล แฟคตอริ่ง จำกัด (มหาชน) (SGF ) แจ้งว่าตามที่ศาลได้มีคำพิพากษาในคดีระหว่างบริษัท และบริษัท อีสเทิร์นไวร์ จำกัด (มหาชน) หรือ EWC ตามสัญญาประนีประนอมยอมความในคดีหมายเลขแดงที่ 3679/2550 เมื่อวันที่ 21 สิงหาคม 2550
ต่อมา บริษัท และ EWC ได้มีการบันทึกข้อตกลงนัดโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินที่เหลือเพื่อชำระหนี้ภายใน 180 วัน นับจากวันที่ 2 มกราคม 2551 (ตรงกับวันที่ 29 มิถุนายน 2551) โดยข้อตกลงอื่นให้เป็นไปตามสัญญาประนีประนอมยอมความเดิม ซึ่งศาลได้รับทราบแล้วนั้น บริษัทฯชี้แจงเพิ่มเติม ดังนี้
1. เมื่อวันที่ 31 มีนาคม 2551 บริษัท และ EWC ได้มีการโอนกรรมสิทธิ์ที่ดิน เพื่อชำระหนี้ 18.10 ล้านบาท เป็นที่ดินของลูกหนี้ของบริษัท 1 ราย ซึ่งไม่ใช่ 2 รายเดิมที่บริษัทเคยแจ้งไว้ โดยลูกหนี้เป็นผู้ให้ บจ. เคแทค แอพเพรซัล แอนด์ เซอร์วิส เป็นผู้ประเมินราคา และนำส่งให้แก่บริษัท ซึ่งบริษัทก็ได้นำส่งต่อให้ EWC ซึ่งเป็นที่ดิน 2 โฉนด มูลค่ารวม 18.10 ล้านบาท
ทั้งนี้ ที่ดินดังกล่าว เป็นการชำระหนี้ในส่วนของ 310 ล้านบาท ซึ่งบริษัทมีสิทธิชำระหนี้ให้แก่ EWC ด้วยเงินสด หรือทรัพย์สินอื่นใดได้ ภายใน 36 เดือน นับแต่วันทำสัญญาประนีประนอมยอมความ ซึ่งรวมที่ดินที่ได้มีการโอนทรัพย์ชำระหนี้แล้วทั้งสิ้นเป็นเงิน 91.22 ล้านบาท
2. บริษัทได้รับจดหมายจาก EWC ฉบับลงวันที่ 25 มีนาคม 2551 บริษัทได้หารือที่ปรึกษากฎหมายและชี้แจงให้ EWC ทราบแล้วตามจดหมายที่อ้างถึงว่า การตกลงทำสัญญาประนีประยอมยอมความดังกล่าว ได้ลงนามโดยผู้รับมอบอำนาจตามอำนาจที่ได้กำหนดไว้ในหนังสือมอบอำนาจของ EWC และได้กระทำในระหว่างกระบวนพิจารณาไกล่เกลี่ยของศาลแพ่ง โดยมีคำพิพากษาศาลแพ่งรับรองความถูกต้อง และความชอบด้วยกฎหมายของสัญญา จึงมีผลผูกพัน EWC และบริษัทให้ต้องปฏิบัติตาม ส่วนมติของกรรมการบริษัทตามจดหมายจาก EWC ฉบับลงวันที่ 25 มีนาคม 2551 ทั้งหมดนั้นเป็นเรื่องการบริหารกิจการภายในของ EWC บริษัทไม่สามารถล่วงรู้และไม่อาจทราบถึงมติกรรมการดังกล่าวได้
นอกจากนี้ ในจดหมายที่อ้างถึงดังกล่าว บริษัทยืนยันที่จะชำระหนี้ตามสัญญาประนีประนอม ยอมความด้วยที่ดินและทรัพย์สินอื่นให้ครบถ้วน ตามสัญญาประนีประนอมยอมความ โดยจะชำระให้เสร็จสิ้นภายในเวลาที่ตกลงไว้ที่ศาล และบริษัทได้เสนอแนวทางชำระหนี้ โดยไม่เรียงลำดับการปฏิบัติที่กำหนดไว้ในสัญญาประนีประนอมยอมความ เพื่อให้เป็นประโยชน์ร่วมกันทั้งสองฝ่าย อย่างไรก็ตาม บริษัทยังไม่ได้รับหนังสือตอบกลับจาก EWC แต่อย่างใด