แบงก์กรุงเทพปลื้มผู้สูงอายุแห่ซื้อพันธบัตรออมทรัพย์พิเศษของรัฐบาล ในวงเงินที่ได้รับจัดสรร 6,000 ล้านบาท หมดเกลี้ยงภายในครึ่งวัน ระบุลูกค้าที่พลาดโอกาสแต่ยังสนใจลงทุนในพันธบัตรออมทรัพย์ปกติของรัฐบาล ธนาคารได้เตรียมจัดจำหน่ายพันธบัตรรุ่นที่ 7 วงเงิน 500 ล้านบาทอีก ในวันที่ 16 เมษายน นี้
นางรัชนี นพเมือง ผู้ช่วยผู้จัดการใหญ่ ผู้อำนวยการลูกค้าบุคคลนครหลวง ธนาคารกรุงเทพ จำกัด (มหาชน) หรือ BBL เปิดเผยว่า จากที่ธนาคารได้รับจัดจำหน่ายพันธบัตรออมทรัพย์พิเศษของรัฐบาล ในปีงบประมาณ พ.ศ. 2551 อายุ 2 ปี วงเงินรวม 12,000 ล้านบาท อัตราดอกเบี้ยร้อยละ 3.60 ต่อปี ซึ่งธนาคารได้รับการจัดสรรมาจำนวน 6,000 ล้านบาท โดยกระทรวงการคลังกำหนดให้จำหน่ายได้เฉพาะผู้สูงอายุตั้งแต่ 55 ปีขึ้นไปนั้น วานนี้ (2 เม.ย.) ได้เปิดจำหน่ายเป็นวันแรก ปรากฎว่าพันธบัตรดังกล่าวได้รับความสนใจจากกลุ่มลูกค้าผู้สูงอายุ โดยได้ทะยอยเข้ามาซื้อในช่วงเช้าตั้งแต่ธนาคารเปิดให้บริการ ทำให้ธนาคารสามารถกระจายพันธบัตรสู่ลูกค้าทั่วประเทศได้ครบตามวงเงินที่ได้รับการจัดสรรมาแล้ว
‘ก่อนเริ่มวันเปิดจำหน่ายได้มีลูกค้า และประชาชนทั่วไปจำนวนมากสนใจสอบถามรายละเอียดเกี่ยวกับพันธบัตรออมทรัพย์พิเศษดังกล่าว โดยเฉพาะอย่างยิ่งที่ในครั้งนี้ได้เปิดโอกาสให้กับผู้ที่มีอายุ 55 ปีขึ้นไปได้รับสิทธิ์ในการจองซื้อก่อน อีกทั้งอัตราดอกเบี้ยสูงถึงร้อยละ 3.60 ต่อปี ได้รับปีละ 2 ครั้ง ซึ่งสามารถจูงใจให้กับกลุ่มลูกค้าและประชาชนที่ต้องการความมั่นคงในการออมด้วยพันธบัตรพิเศษดังกล่าวเป็นของกระทรวงการคลังประกอบกับระยะเวลาในการลงทุนเพียง 2 ปี ซึ่งไม่ยาวมากนักจึงเป็นปัจจัยที่ทำให้พันธบัตรพิเศษดังกล่าวสามารถจัดจำหน่ายได้หมดตั้งแต่ครึ่งวันแรกของการเปิดขาย’
นางรัชนี กล่าวเพิ่มเติมว่า สำหรับลูกค้าและประชาชนทั่วไปที่สนใจ และพลาดโอกาสในครั้งนี้ ธนาคารยังคงมีพันธบัตรออมทรัพย์ของรัฐบาล ในปีงบประมาณ พ.ศ.2551 ที่ออกโดยกระทรวงการคลัง และมอบหมายให้ธนาคารกรุงเทพ จำกัด (มหาชน) ได้รับสิทธิเป็นผู้แทนในการจัดจำหน่ายแต่เพียงผู้เดียว อายุพันธบัตร 3 ปี ซึ่งกำหนดจำหน่ายทุกเดือนๆ ละ 500 ล้านบาท วงเงินรวมทั้งปี 6,000 ล้านบาท โดยรุ่นต่อไปจะเป็นรุ่นที่ 7 เริ่มจำหน่ายตั้งแต่วันที่ 16-25 เมษายน 2551ที่สาขาธนาคารกรุงเทพทั่วประเทศ ยกเว้นสาขาไมโคร
โดยอัตราดอกเบี้ยจะประกาศล่วงหน้าก่อนจำหน่าย 2 วันทำการก่อนวันจำหน่ายวันแรกของพันธบัตรแต่ละรุ่นโดยใช้อัตราเฉลี่ยของอัตราผลตอบแทนจากการลงทุนในพันธบัตรรัฐบาลอายุ 3 ปี จำนวน 5 วันทำการก่อนวันประกาศกำหนดอัตราดอกเบี้ยเป็นฐาน บวกด้วยส่วนต่างไม่เกินร้อยละ 15 ของอัตราผลตอบแทน
นางรัชนี นพเมือง ผู้ช่วยผู้จัดการใหญ่ ผู้อำนวยการลูกค้าบุคคลนครหลวง ธนาคารกรุงเทพ จำกัด (มหาชน) หรือ BBL เปิดเผยว่า จากที่ธนาคารได้รับจัดจำหน่ายพันธบัตรออมทรัพย์พิเศษของรัฐบาล ในปีงบประมาณ พ.ศ. 2551 อายุ 2 ปี วงเงินรวม 12,000 ล้านบาท อัตราดอกเบี้ยร้อยละ 3.60 ต่อปี ซึ่งธนาคารได้รับการจัดสรรมาจำนวน 6,000 ล้านบาท โดยกระทรวงการคลังกำหนดให้จำหน่ายได้เฉพาะผู้สูงอายุตั้งแต่ 55 ปีขึ้นไปนั้น วานนี้ (2 เม.ย.) ได้เปิดจำหน่ายเป็นวันแรก ปรากฎว่าพันธบัตรดังกล่าวได้รับความสนใจจากกลุ่มลูกค้าผู้สูงอายุ โดยได้ทะยอยเข้ามาซื้อในช่วงเช้าตั้งแต่ธนาคารเปิดให้บริการ ทำให้ธนาคารสามารถกระจายพันธบัตรสู่ลูกค้าทั่วประเทศได้ครบตามวงเงินที่ได้รับการจัดสรรมาแล้ว
‘ก่อนเริ่มวันเปิดจำหน่ายได้มีลูกค้า และประชาชนทั่วไปจำนวนมากสนใจสอบถามรายละเอียดเกี่ยวกับพันธบัตรออมทรัพย์พิเศษดังกล่าว โดยเฉพาะอย่างยิ่งที่ในครั้งนี้ได้เปิดโอกาสให้กับผู้ที่มีอายุ 55 ปีขึ้นไปได้รับสิทธิ์ในการจองซื้อก่อน อีกทั้งอัตราดอกเบี้ยสูงถึงร้อยละ 3.60 ต่อปี ได้รับปีละ 2 ครั้ง ซึ่งสามารถจูงใจให้กับกลุ่มลูกค้าและประชาชนที่ต้องการความมั่นคงในการออมด้วยพันธบัตรพิเศษดังกล่าวเป็นของกระทรวงการคลังประกอบกับระยะเวลาในการลงทุนเพียง 2 ปี ซึ่งไม่ยาวมากนักจึงเป็นปัจจัยที่ทำให้พันธบัตรพิเศษดังกล่าวสามารถจัดจำหน่ายได้หมดตั้งแต่ครึ่งวันแรกของการเปิดขาย’
นางรัชนี กล่าวเพิ่มเติมว่า สำหรับลูกค้าและประชาชนทั่วไปที่สนใจ และพลาดโอกาสในครั้งนี้ ธนาคารยังคงมีพันธบัตรออมทรัพย์ของรัฐบาล ในปีงบประมาณ พ.ศ.2551 ที่ออกโดยกระทรวงการคลัง และมอบหมายให้ธนาคารกรุงเทพ จำกัด (มหาชน) ได้รับสิทธิเป็นผู้แทนในการจัดจำหน่ายแต่เพียงผู้เดียว อายุพันธบัตร 3 ปี ซึ่งกำหนดจำหน่ายทุกเดือนๆ ละ 500 ล้านบาท วงเงินรวมทั้งปี 6,000 ล้านบาท โดยรุ่นต่อไปจะเป็นรุ่นที่ 7 เริ่มจำหน่ายตั้งแต่วันที่ 16-25 เมษายน 2551ที่สาขาธนาคารกรุงเทพทั่วประเทศ ยกเว้นสาขาไมโคร
โดยอัตราดอกเบี้ยจะประกาศล่วงหน้าก่อนจำหน่าย 2 วันทำการก่อนวันจำหน่ายวันแรกของพันธบัตรแต่ละรุ่นโดยใช้อัตราเฉลี่ยของอัตราผลตอบแทนจากการลงทุนในพันธบัตรรัฐบาลอายุ 3 ปี จำนวน 5 วันทำการก่อนวันประกาศกำหนดอัตราดอกเบี้ยเป็นฐาน บวกด้วยส่วนต่างไม่เกินร้อยละ 15 ของอัตราผลตอบแทน