สแตนดาร์ดชาร์เตอร์ด (ไทย) ระบุตลาดบัตรเครดิตไทยเข้าขั้นอิ่มตัว เผยจากยอดการเติบโต 10% เป็นผู้ถือบัตรเก่าอยู่แล้ว 8% ส่วนการแข่งขันยังมีต่อเนื่อง เน้นให้สิทธิประโยชน์ตรงใจ และการเพิ่มยอดใช้จ่ายหลังความเชื่อมั่นเพิ่ม ล่าสุดเปิดตัวบัตรเคดริตไทเทเนียมเจาะกลุ่มคนรุ่นใหม่
นายยุทธชัย เตยะราชกุล ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการใหญ่ ฝ่ายสินเชื่อเพื่อการอุปโภคบริโภค ธนาคารสแตนดาร์ดชาร์เตอร์ด (ไทย) เปิดเผยว่า ขณะนี้ธุรกิจบัตรเครดิตในประเทศไทยนั้นค่อนข้างจะอิ่มตัวมาก โดยจะเห็นได้จากการเติบโตของจำนวนบัตรเครดิตในปี 2550 ซึ่งอยู่ที่ 10% นั้นเป็นการเติบโตจากลูกค้าเก่าที่ถือบัตรเครดิตอยู่แล้ว 8% ส่วนอีก 2% นั้นเป็นลูกค้าใหม่ เนื่องจากปัจจุบันผู้ที่มีรายได้ที่ 15,000 บาทนั้น 90% ถือบัตรเครดิตอยู่แล้ว ส่วนยอดหนี้คงค้างเติบโตเพียง 5% เป็นผลจากจำนวนบัตรใหม่ที่เพิ่มน้อยและการเพิ่มยอดชำระขึ้นต่ำมาเป็น 10% ทำให้ยอดหนี้คงค้างอยู่ในจำนวนที่เท่ากับปีที่ผ่านมา และยอดใช้จ่ายเติบโต 12% เป็นผลจากลูกค้าที่ถือบัตรอยู่แล้วมีกำลังซื้อมากขึ้น
ส่วนการแข่งขันธุรกิจบัตรเครดิตในปีนี้ยังคงมีอย่างต่อเนื่อง โดยจะเน้นไปเรื่องของการมอบข้อเสนอและสิทธิพิเศษ โดยการเติบโตของธุรกิจบัตรเครดิตทั้งระบบในปีนี้น่าจะอยู่ที่ 12-15% ใกล้เคียงกับปีก่อน ซึ่งต้องขึ้นอยู่กับภาวะเศรษฐกิจและความเชื่อมั่นของผู้บริโภค แต่ภาพรวมในปีนี้ส่งสัญญาณว่าจะดีกว่าปีก่อน ส่วนตัวเลขหนี้ที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้ของตลาดบัตรเครดิตอยู่ที่กว่า 1% จากสิ้นปีก่อนอยู่ที่ 1.5-1.8% และคาดว่าในปีนี้ตัวเลขดังกล่าวจะปรับตัวดีขึ้นอย่างต่อเนื่อง ส่วนการถือครองบัตรเครดิตของลูกค้า 1 รายจะถือบัตรเครดิต 3 บัตร
ในส่วนของธนาคารคาดว่าปีนี้จำนวนฐานบัตรเครดิตจะอยู่ที่กว่า 400,000 บัตร จากสิ้นปีก่อนอยู่ที่ 300,000 บัตร ซึ่ง 2 เดือนที่ผ่านมามียอดบัตรเพิ่มขึ้นแล้วกว่า 10,000 บัตร ส่วนยอดใช้จ่ายเมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อนเพิ่มขึ้น 10% สำหรับบัตรที่มีการใช้จ่ายอย่างต่อเนื่อง (แอคทีฟ) ปัจจุบันอยู่ที่ 75% ส่วนยอดการใช้จ่ายเฉลี่ยต่อบัตรเมื่อเทียบกับฐานบัตรทั้งหมดอยู่ที่ 5,000-6,000 บาทต่อเดือน แต่หากคิดเฉพาะยอดบัตรที่แอคทีฟจะอยู่ที่ 7,000 บาทต่อเดือน ส่วนยอดการอนุมัติใบสมัครปัจจุบันอยู่ที่ 50%
นายยุทธชัย กล่าวว่า ล่าสุดธนาคารได้ทำการเปิดตัวบัตรเครดิตไทเทเนียม เพื่อเจาะกลุ่มลูกค้าที่เป็นคนรุ่นใหม่มีอายุระหว่าง 25-40 ปี และกลุ่มที่เริ่มทำงานที่มีรายได้ตั้งแต่ 15,000 บาทขึ้นไป พร้อมมอบข้อเสนอในการับคะแนนสะสมสแตนดาร์ดชาร์เตอร์ดพอยท์ 3 เท่า แคชแบค 10% ที่สตาร์บัคส์ และสิทธิพิเศษมากมายในเครือเมเจอร์ โดยธนาคารตั้งเป้าหมายว่าจะขยายจำนวนบัตรเครดิตจากบัตรดังกล่าวไว้ที่ 60,000-80,000 บัตร และคาดว่ายอดการใช้จ่ายของผู้ถือบัตรในกลุ่มนี้จะอยู่ที่ 7,000 บาทต่อบัตรต่อเดือน
สำหรับยอดการยกเลิกบัตรเครดิตของธนาคารปัจจุบันอยู่ที่ 10% โดยในส่วนการยกเลิกโดยธนาคารเป็นผู้ขอยกเลิกนั้นมีสัดส่วนที่น้อยลง เนื่องจากอัตราการผิดนัดชำระของลูกค้ามีจำนวนที่น้อยลง ส่วนอัตราการชำระนั้นจะเป็นแบบชำระเต็ม 50% และเป็นแบบผ่อนชำระ 50%
"การเติบโตของบัตรเครดิตเราปีนี้คงจะเน้นการเติบจากบัตรไทเทเนียมและบัตรแพลตินัม ซึ่งในส่วนการใช้จ่ายของลูกค้าถือบัตรแพลตินัมนั้นเฉลี่ยอยู่ที่ 12,000-15,000 บาทต่อเดือน ขณะที่บัตรไทเทเนียมซึ่งเราเพิ่งเปิดตัวนี้ก็คาดว่าจะมียอดการใช้จ่ายอยู่ที่ประมาณ 7,000 บาทต่อเดือน และยอดการอนุมัติบัตรของเราอยู่ที่ 40-60% ขึ้นอยู่กับประเภทของบัตรและรายได้ของลูกค้า โดยหากเป็นบัตรคลาสสิกการอนุมัติก็จะน้อยแต่หากคิดโดยเฉลี่ยรวมทั้งหมดแล้วยอดการอนุมัติก็จะอยู่ที่ 50% ของจำนวนใบสมัครที่เข้ามา" นายยุทธชัย กล่าว
นายยุทธชัย เตยะราชกุล ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการใหญ่ ฝ่ายสินเชื่อเพื่อการอุปโภคบริโภค ธนาคารสแตนดาร์ดชาร์เตอร์ด (ไทย) เปิดเผยว่า ขณะนี้ธุรกิจบัตรเครดิตในประเทศไทยนั้นค่อนข้างจะอิ่มตัวมาก โดยจะเห็นได้จากการเติบโตของจำนวนบัตรเครดิตในปี 2550 ซึ่งอยู่ที่ 10% นั้นเป็นการเติบโตจากลูกค้าเก่าที่ถือบัตรเครดิตอยู่แล้ว 8% ส่วนอีก 2% นั้นเป็นลูกค้าใหม่ เนื่องจากปัจจุบันผู้ที่มีรายได้ที่ 15,000 บาทนั้น 90% ถือบัตรเครดิตอยู่แล้ว ส่วนยอดหนี้คงค้างเติบโตเพียง 5% เป็นผลจากจำนวนบัตรใหม่ที่เพิ่มน้อยและการเพิ่มยอดชำระขึ้นต่ำมาเป็น 10% ทำให้ยอดหนี้คงค้างอยู่ในจำนวนที่เท่ากับปีที่ผ่านมา และยอดใช้จ่ายเติบโต 12% เป็นผลจากลูกค้าที่ถือบัตรอยู่แล้วมีกำลังซื้อมากขึ้น
ส่วนการแข่งขันธุรกิจบัตรเครดิตในปีนี้ยังคงมีอย่างต่อเนื่อง โดยจะเน้นไปเรื่องของการมอบข้อเสนอและสิทธิพิเศษ โดยการเติบโตของธุรกิจบัตรเครดิตทั้งระบบในปีนี้น่าจะอยู่ที่ 12-15% ใกล้เคียงกับปีก่อน ซึ่งต้องขึ้นอยู่กับภาวะเศรษฐกิจและความเชื่อมั่นของผู้บริโภค แต่ภาพรวมในปีนี้ส่งสัญญาณว่าจะดีกว่าปีก่อน ส่วนตัวเลขหนี้ที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้ของตลาดบัตรเครดิตอยู่ที่กว่า 1% จากสิ้นปีก่อนอยู่ที่ 1.5-1.8% และคาดว่าในปีนี้ตัวเลขดังกล่าวจะปรับตัวดีขึ้นอย่างต่อเนื่อง ส่วนการถือครองบัตรเครดิตของลูกค้า 1 รายจะถือบัตรเครดิต 3 บัตร
ในส่วนของธนาคารคาดว่าปีนี้จำนวนฐานบัตรเครดิตจะอยู่ที่กว่า 400,000 บัตร จากสิ้นปีก่อนอยู่ที่ 300,000 บัตร ซึ่ง 2 เดือนที่ผ่านมามียอดบัตรเพิ่มขึ้นแล้วกว่า 10,000 บัตร ส่วนยอดใช้จ่ายเมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อนเพิ่มขึ้น 10% สำหรับบัตรที่มีการใช้จ่ายอย่างต่อเนื่อง (แอคทีฟ) ปัจจุบันอยู่ที่ 75% ส่วนยอดการใช้จ่ายเฉลี่ยต่อบัตรเมื่อเทียบกับฐานบัตรทั้งหมดอยู่ที่ 5,000-6,000 บาทต่อเดือน แต่หากคิดเฉพาะยอดบัตรที่แอคทีฟจะอยู่ที่ 7,000 บาทต่อเดือน ส่วนยอดการอนุมัติใบสมัครปัจจุบันอยู่ที่ 50%
นายยุทธชัย กล่าวว่า ล่าสุดธนาคารได้ทำการเปิดตัวบัตรเครดิตไทเทเนียม เพื่อเจาะกลุ่มลูกค้าที่เป็นคนรุ่นใหม่มีอายุระหว่าง 25-40 ปี และกลุ่มที่เริ่มทำงานที่มีรายได้ตั้งแต่ 15,000 บาทขึ้นไป พร้อมมอบข้อเสนอในการับคะแนนสะสมสแตนดาร์ดชาร์เตอร์ดพอยท์ 3 เท่า แคชแบค 10% ที่สตาร์บัคส์ และสิทธิพิเศษมากมายในเครือเมเจอร์ โดยธนาคารตั้งเป้าหมายว่าจะขยายจำนวนบัตรเครดิตจากบัตรดังกล่าวไว้ที่ 60,000-80,000 บัตร และคาดว่ายอดการใช้จ่ายของผู้ถือบัตรในกลุ่มนี้จะอยู่ที่ 7,000 บาทต่อบัตรต่อเดือน
สำหรับยอดการยกเลิกบัตรเครดิตของธนาคารปัจจุบันอยู่ที่ 10% โดยในส่วนการยกเลิกโดยธนาคารเป็นผู้ขอยกเลิกนั้นมีสัดส่วนที่น้อยลง เนื่องจากอัตราการผิดนัดชำระของลูกค้ามีจำนวนที่น้อยลง ส่วนอัตราการชำระนั้นจะเป็นแบบชำระเต็ม 50% และเป็นแบบผ่อนชำระ 50%
"การเติบโตของบัตรเครดิตเราปีนี้คงจะเน้นการเติบจากบัตรไทเทเนียมและบัตรแพลตินัม ซึ่งในส่วนการใช้จ่ายของลูกค้าถือบัตรแพลตินัมนั้นเฉลี่ยอยู่ที่ 12,000-15,000 บาทต่อเดือน ขณะที่บัตรไทเทเนียมซึ่งเราเพิ่งเปิดตัวนี้ก็คาดว่าจะมียอดการใช้จ่ายอยู่ที่ประมาณ 7,000 บาทต่อเดือน และยอดการอนุมัติบัตรของเราอยู่ที่ 40-60% ขึ้นอยู่กับประเภทของบัตรและรายได้ของลูกค้า โดยหากเป็นบัตรคลาสสิกการอนุมัติก็จะน้อยแต่หากคิดโดยเฉลี่ยรวมทั้งหมดแล้วยอดการอนุมัติก็จะอยู่ที่ 50% ของจำนวนใบสมัครที่เข้ามา" นายยุทธชัย กล่าว