TPIPL อ้างข้อกฎหมายที่บริษัทไม่ชำระค่าปรับตามคำพิพากษาของศาล เนื่องจากคดียังไม่สิ้นสุดและอยู่ระหว่างการดำเนินการตามกระบวนการศาล ระบุคดีสามารถฎีกาคัดค้านคำพิพากษาได้ บริษัทจึงมีเวลาเตรียมการและจัดหาเงินค่าปรับ หากที่สุดศาลฎีกามีคำพิพากษาว่าบริษัทมีความผิด พร้อมชำระค่าปรับได้ภายใน 30 วัน
บริษัท ทีพีไอ โพลีน จำกัด (มหาชน) (TPIPL) แจ้งข้อมูล เรื่อง การชำระค่าปรับระหว่างที่คดียังอยู่ระหว่างการดำเนินการตามกระบวนการศาล ตามที่ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย ขอให้บริษัทชี้แจง โดย TPIPL ได้อ้างข้อกฎหมายการทุเลาการบังคับในคดีอาญาตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญาบัญญัติ มาตรา 246 และมาตรา 247 ขณะที่การขอทุเลาการบังคับคดีในส่วนของค่าปรับ หรือขอผัดผ่อนการชำระค่าปรับไม่มีบทบัญญัติ โดยที่ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 29 วรรคแรกบัญญัติ ผู้ใดต้องโทษปรับและไม่ชำระค่าปรับภายในสามสิบวัน นับแต่วันที่ศาลพิพากษาผู้นั้นจะต้องถูกยึดทรัพย์สินใช้ค่าปรับ
ส่วนการบังคับคดีอาญา ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา ภาค 6 การบังคับตามคำพิพากษาและค่าธรรมเนียม หมวด 1 การบังคับตามคำพิพากษา มาตรา 245 วรรคแรก ภายใต้บังคับแห่งมาตรา 246 , 247 และ 248 เมื่อคดีถึงที่สุดแล้ว ให้บังคับคดีโดยไม่ชักช้า ซึ่งจะเห็นได้ว่า หากไม่ปฏิบัติตามคำพิพากษาศาลในคดีอาญา กฎหมายบัญญัติให้ทำการบังคับคดีให้เป็นไปตามคำพิพากษาของศาลอาญาเมื่อคดีถึงที่สุดแล้ว การที่จะถือว่าคดีถึงที่สุด หมายถึง ศาลฎีกามีคำพิพากษา หรือถ้าเป็นกรณีที่ศาลชั้นต้นหรือศาลอุทธรณ์มีคำพิพากษาแล้วคดีจะถึงที่สุดต่อเมื่อไม่มีการอุทธรณ์ หรือ ฎีกาคำพิพากษาของศาลชั้นต้น หรือศาลอุทธรณ์ ภายในอายุอุทธรณ์หรือฎีกา ตามลำดับ
ขณะที่ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 188 คำพิพากษา หรือคำสั่งมีผลตั้งแต่วันที่ได้อ่านในศาลโดยเปิดเผยเป็นต้นไป แต่การบังคับคดีอาญาตามคำพิพากษาหรือคำสั่ง ต้องอยู่ภายใต้บังคับแห่งมาตรา 245 คือ เมื่อคดีถึงที่สุดแล้วเท่านั้น เพราะถ้ามีการบังคับคดีให้ชำระค่าปรับก่อนคดีถึงที่สุด หากต่อมาศาลอุทธรณ์หรือศาลฎีกามีคำพิพากษาว่า จำเลยไม่มีความผิดหรือยกฟ้องโจทก์จะคืนค่าปรับให้จำเลยได้โดยวิธีไหน อย่างไร เพราะในขณะชำระค่าปรับเป็นการรับไปตามคำพิพากษาของศาลชั้นต้น แต่เมื่อจะคืนกลับไม่มีบทบัญญัติใดให้อำนาจไว้ว่าใครจะเป็นผู้สั่งคืน
ดังนั้น บริษัทจะถูกบังคับให้ชำระค่าปรับตามคำพิพากษาศาลอาญาเมื่อคดีถึงที่สุดแล้ว กรณีหากเมื่อคดีถึงที่สุดศาลสูงมีคำพิพากษาลงโทษ โดยกำหนดค่าปรับเท่าศาลชั้นต้นหรือมีการปรับลดลง บริษัทก็สามารถชำระค่าปรับต่อศาลได้ภายในสามสิบวันนับแต่วันที่ศาลสูงพิพากษา ก่อนที่จะมีการดำเนินการบังคับคดีให้ชำระค่าปรับ และโดยที่คดีนี้ไม่ต้องห้ามการฎีกาคัดค้านคำพิพากษา บริษัทจึงมีระยะเวลาในการเตรียมการและหาแนวทางในการจัดหาเงินค่าปรับไปจนกว่าศาลฎีกาจะมีคำพิพากษา (ปัจจุบันคดีอยู่ระหว่างการอุทธรณ์) หรือเมื่อคดีถึงที่สุด ศาลสูงมีคำพิพากษาว่าบริษัทไม่มีความผิดหรือยกฟ้อง บริษัทก็จะไม่ต้องมีภาระในส่วนของค่าปรับนี้แต่อย่างใด
บริษัท ทีพีไอ โพลีน จำกัด (มหาชน) (TPIPL) แจ้งข้อมูล เรื่อง การชำระค่าปรับระหว่างที่คดียังอยู่ระหว่างการดำเนินการตามกระบวนการศาล ตามที่ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย ขอให้บริษัทชี้แจง โดย TPIPL ได้อ้างข้อกฎหมายการทุเลาการบังคับในคดีอาญาตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญาบัญญัติ มาตรา 246 และมาตรา 247 ขณะที่การขอทุเลาการบังคับคดีในส่วนของค่าปรับ หรือขอผัดผ่อนการชำระค่าปรับไม่มีบทบัญญัติ โดยที่ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 29 วรรคแรกบัญญัติ ผู้ใดต้องโทษปรับและไม่ชำระค่าปรับภายในสามสิบวัน นับแต่วันที่ศาลพิพากษาผู้นั้นจะต้องถูกยึดทรัพย์สินใช้ค่าปรับ
ส่วนการบังคับคดีอาญา ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา ภาค 6 การบังคับตามคำพิพากษาและค่าธรรมเนียม หมวด 1 การบังคับตามคำพิพากษา มาตรา 245 วรรคแรก ภายใต้บังคับแห่งมาตรา 246 , 247 และ 248 เมื่อคดีถึงที่สุดแล้ว ให้บังคับคดีโดยไม่ชักช้า ซึ่งจะเห็นได้ว่า หากไม่ปฏิบัติตามคำพิพากษาศาลในคดีอาญา กฎหมายบัญญัติให้ทำการบังคับคดีให้เป็นไปตามคำพิพากษาของศาลอาญาเมื่อคดีถึงที่สุดแล้ว การที่จะถือว่าคดีถึงที่สุด หมายถึง ศาลฎีกามีคำพิพากษา หรือถ้าเป็นกรณีที่ศาลชั้นต้นหรือศาลอุทธรณ์มีคำพิพากษาแล้วคดีจะถึงที่สุดต่อเมื่อไม่มีการอุทธรณ์ หรือ ฎีกาคำพิพากษาของศาลชั้นต้น หรือศาลอุทธรณ์ ภายในอายุอุทธรณ์หรือฎีกา ตามลำดับ
ขณะที่ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 188 คำพิพากษา หรือคำสั่งมีผลตั้งแต่วันที่ได้อ่านในศาลโดยเปิดเผยเป็นต้นไป แต่การบังคับคดีอาญาตามคำพิพากษาหรือคำสั่ง ต้องอยู่ภายใต้บังคับแห่งมาตรา 245 คือ เมื่อคดีถึงที่สุดแล้วเท่านั้น เพราะถ้ามีการบังคับคดีให้ชำระค่าปรับก่อนคดีถึงที่สุด หากต่อมาศาลอุทธรณ์หรือศาลฎีกามีคำพิพากษาว่า จำเลยไม่มีความผิดหรือยกฟ้องโจทก์จะคืนค่าปรับให้จำเลยได้โดยวิธีไหน อย่างไร เพราะในขณะชำระค่าปรับเป็นการรับไปตามคำพิพากษาของศาลชั้นต้น แต่เมื่อจะคืนกลับไม่มีบทบัญญัติใดให้อำนาจไว้ว่าใครจะเป็นผู้สั่งคืน
ดังนั้น บริษัทจะถูกบังคับให้ชำระค่าปรับตามคำพิพากษาศาลอาญาเมื่อคดีถึงที่สุดแล้ว กรณีหากเมื่อคดีถึงที่สุดศาลสูงมีคำพิพากษาลงโทษ โดยกำหนดค่าปรับเท่าศาลชั้นต้นหรือมีการปรับลดลง บริษัทก็สามารถชำระค่าปรับต่อศาลได้ภายในสามสิบวันนับแต่วันที่ศาลสูงพิพากษา ก่อนที่จะมีการดำเนินการบังคับคดีให้ชำระค่าปรับ และโดยที่คดีนี้ไม่ต้องห้ามการฎีกาคัดค้านคำพิพากษา บริษัทจึงมีระยะเวลาในการเตรียมการและหาแนวทางในการจัดหาเงินค่าปรับไปจนกว่าศาลฎีกาจะมีคำพิพากษา (ปัจจุบันคดีอยู่ระหว่างการอุทธรณ์) หรือเมื่อคดีถึงที่สุด ศาลสูงมีคำพิพากษาว่าบริษัทไม่มีความผิดหรือยกฟ้อง บริษัทก็จะไม่ต้องมีภาระในส่วนของค่าปรับนี้แต่อย่างใด